หม่อมศรีพรหมา กฤดากร

	เจ้าศรีพรหมา  เป็นน้องคนสุดท้องในบรรดาเจ้าพี่เจ้าน้อง ๕ คนของเจ้าผู้
ครองนครน่าน  พระเจ้าสุริยพงศ์ผริตเดช (เจ้าสุริยะ ณ น่าน) เจ้าศรีพรหมาเกิด เมื่อวัน
ที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ.๒๔๓๑ แม่เจ้าศรีคำ ชาวเวียงจันทน์ เป็นหม่อมมารดา 

	ขณะนั้น นครน่านเป็นประเทศราชของสยาม แต่เจ้าผู้ครองนครจงรักภักดี
ต่อสมเด็จพระปิยมหาราช จึงได้รับพระราชทานศักดิ์สูงขึ้นเป็นพระเจ้าสุรยพงศ์ฯ สภาพ
การปกครองสมัยดังกล่าว  รัฐบาลกลางกรุงเทพฯ คือ สุนันทาลัย เรียนอยู่ ๕ เดือนโรง
เรียนล้มจึงไปเข้าโรงเรียนวังหลัง ต่อมากลายเป็นโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย หากเรียนได้ 
๘ เดือนก็ออก

	ด้วยเจ้าคุณและคุณหญิงมหิบาลต้องออกไปรับราชการที่ประเทศรุสเซียเพื่อ
ทำหน้าที่พระอภิบาลสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงศ์ภูวนารถ กรมหลวงพิษณุโลก
ประชานารถ  ขณะนั้นเสด็จไปศึกษาวิชาทหารที่รุสเซีย คุณหญิงอุ๊นหรือคุณหญิงมหิบาล
จึงต้องนำเจ้าศรีพรหมา ถวายตัวเป็นคุณข้าหลวงและรับการศึกษาอบรม ในสำนักสมเด็จ
พระพันปีหลวงฯ  สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ต่อมาเจ้าคุณและคุณหญิงอยู่รุสเซียได้ ๓ ปี  
ก็คิดถึงบุตรสาวมาก  จึงกราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตสมเด็จพระบรมราชินีราถ 
รับบุตรสาวก็คือ หม่อมศรีพรหมาไปอยู่ด้วย  หม่อมศรีพรหมาจึงออกจากพระราชสำนัก
และเดินทางไปยุโรปโดยเรือเดินทะเลตามลำพัง เมื่ออายุ ๑๒ ขวบ แต่อยู่รุสเซียได้ปีเดียว
เพราะมารดาป่วยและหนาวจัด ได้กลับมาพำนักที่อังกฤษ ๖ เดือน เป็นโอกาสศึกษาภาษา
อังกฤษจนช่ำชอง  และเมื่อสู่สยามจึงเข้ารับราชการในพระสำนักสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระ
บรมราชินีนาถอีกครั้ง

	สมัยรัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงขอหม่อมศรี
พรหมาจากสมเด็จพระพันปีหลวง เพื่อพระราชทานสมรสแก่หม่อมเจ้าสิทธิพรกฤดากร  
ซึ่งรับราชการในตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่ง ต่อมาทรงเบื่อหน่ายราชการและต้องการ
บุกเบิกงานกสิกรรมด้วยหวังอนาคตของประเทศชาติ มีแหล่งงานของคนรุ่นใหม่  ทั้ง
นี้ทรงปรึกษาหม่อมศรีพรหมาก่อน  จึงกราบบังคมทูลลาออกเมื่อ ๓๗ พระชันษา เป็น
อธิบดีที่หนุ่มที่สุดเวลานั้น  เริ่มบุกเบิกฟาร์มบางเปิด  เมื่อพระองค์เจ้าบวรเดชก่อการ
ต่อต้านคณะ ๒๔๗๕  ในปี พ.ศ.๒๔๗๖ และชักชวนหม่อมเจ้าสิทธิพร พระอนุชาเข้าร่วม  
เป็นมูลเหตุให้ท่านสิทธิพรต้องโทษจำคุกที่บางขวาง เกาะตะรุเตา และเกาะเต่าเป็นเวลา 
๑๑ ปี จึงรับนิรโทษกรรม ขณะนั้นหม่อมศรีพรหมาพลอยถูกฟ้องข้อหากบฎ และลูก
ชายถูกห้ามบริหารฟาร์มและดูแลส่งเสียท่านสิทธิพร  การที่ท่านชายเสียเวลาในคุกและ
ต่อมายังเป็นรัฐมนตรีด้วย ทำให้ฟาร์มทรุดโทรมลง ต้องแบ่งที่ดินบางส่วนขายจอมพล
สฤษดิ์ ธนะรัชต์
	
	หม่อมศรีพรหมา มีพลานามัยแข็งแรง เมื่ออายุ ๙๐ ปี แล้วจึงเริ่มหลงลืม
บ้าง  ในที่สุดถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ ๒๕ กันยายม ๒๕๒๑ อายุ ๙๐ ปี ๖ เดือนกับ 
๖ วัน มีบุตรธิดาคือ หม่อมราชวงศ์อนุพร และหม่อมราชวงศ์หญิงเพ็ญศรี        


กลับไปผู้แต่งประเภทสังคมวิทยา, มานุษยวิทยา, ประวัติศาสตร์สังคม