คำสั่งภาษา HTML.

1. โครงสร้าง

<HTML>

<HEAD> ..... </HEAD> แสดงข้อคำสั่งในส่วนหัว

<BODY>.........</BODY> แสดงข้อคำสั่งในส่วนเนื้อความ

</HTML>

2. <TITLE> .......................</TITLE> แสดงข้อความในส่วน TITLE (ส่วนบน)

3. <BR> ขึ้นบรรทัดใหม่

4. <P> เว้นเป็นย่อหน้าใหม่โดยจะเว้นบรรทัดให้ 1 บรรทัดด้วย

<P ALIGN=?> เพิ่มแอตทริบิวต์ ชื่อ ALIGN เพื่อจัดย่อหน้า โดยกำหนดค่าได้ 3 แบบ คือ CENTER (จัดกึ่งกลาง) LEFT (จัดชิดซ้าย) RIGHT (จัดชิดขวา)

5. <BLOCKQUOTE> .................... </BLOCKQUOTE> การใช้แท็ก คำสั่งนี้บางรุ่นจะไม่สามารถใช้ได้

6. <CENTER>..............</CENTER> จัดกึ่งกลาง

7. <PRE>.....</PRE> จัดตามต้นฉบับ คือ พิมพ์อย่างไรปรากฏอย่านั้น

8. <HR> ตีเส้นขั้นหน้า

<HR SIZE=ตัวเลข> แสดงขนาดความหนาบางของเส้น โดยเริ่มจาก 1 บางสุด

<HR WIDTH=ตัวเลขเป็นเปอร์ซ็นต์ %> กำหนดความยาวของเส้นบรรทัด

<HR NOSHADE> เป็นการกำหนดไม่แสดงเส้นแบบมีเงา คือ แสดงสีทึบ

* นอกจากนี้ยังสามารถกำหนด แอตทริบิวต์ ชื่อ ALIGN เพื่อจัดย่อหน้า โดยกำหนดค่าได้ 3 แบบ คือ CENTER (จัดกึ่งกลาง) LEFT (จัดชิดซ้าย) RIGHT (จัดชิดขวา)

<HR SRC="ที่อยู่และชื่อของภาพ"> แสดงเส้นโดยใช้ภาพนั้น

9. <H?> ........</H?> (? แทนตัวเลข 1 - 6) กำหนดขนาดของตัวหัวเรื่อง 1 ใหญ่สุด

10. <B>....</B> แสดงตัวหนา

11. <I>....</I> แสดงตัวเอียง

12. <U>...</U> แสดงตัวอักษรขีดเส้นใต้

* <EM>....</EM> เน้นข้อความ และ <STRONG> ....</STRONG> ตัวเข้ม ทั้งสองคำสั่งนี้บางรุ่นไม่แสดง หรือ แสดงไม่เหมือนกัน

13. <TT>....</TT> ทำให้ข้อความเป็นตัวอักษรเท่ากันหมด ไม่นิยมใช้เพราะมีปัญหามากในการจัดรูปแบบ

14.ชุดคำสั่งเลือกตัวอักษร

14.1 <FONT FACE="ชื่อฟอนต์"> ....</FONT> เป็นการกำหนดรูปแบบอักษรที่ใช้

14.2 <BASEFONT SIZE=ตัวเลข> โดยกำหนดได้ตั้งแต่ 1-7

<FONT SIZE="+/- ตัวเลข"> ...... </FONT> เป็นการกำหนดเพิ่มหรือลดขนาดตัวอักษรจาก BASEFONT ดังนั้นคำสั่งนี้ใช้ร่วมกับ BASEFONT ทั้งนี้ก็แสดงได้แค่ 1 - 7 เท่านั้น

15. คำสั่งการแสดงข้อมูลแบ่งเป็นข้อย่อย

คือ ชุดคำสั่งที่แสดงเนื้อหาเป็นข้อๆหรือส่วนๆ

15.1 <UL>...</UL> สร้างเนื้อหาแบบไม่เรียงลำดับ โดยภายในคำสั่งนี้จะขั้นด้วยคำสั่ง <LI>...</LI> เช่น

<UL>

<LI> ข้อความที่ 1 </LI>

<LI> ข้อความที่ 2 </LI>

</UL>

ในชุดคำสั่งนี้สามารถซ้อน <UL>..<UL>...<UL> .... </UL></UL></UL>ลงไปเพื่อแบ่งย่อยได้

นอกจากนั้นยังแทรก TYPE ไว้ที่ <UL> หรือ <LI> ได้ดังนี้ คือ <UL TYPE=circle> หรือ <LI TYPE=SQUARE> เพื่อเป็นการกำหนด สัญลักษณ์ โดย TYPE ที่แทรกได้ คือ disc เป็นวงกลมทึบ , circle เป็นวงกลมโปร่ง , square เป็นสี่เหลี่ยมทึบ

15.2 <OL> .....</OL> มีวิธีใช้เหมื่อน <UL> โดยแทรก <LI> เป็นตัวขั้น แต่ คำสั่งนี้เป็นการสร้างเนื้อหาแบบเรียงลำดับ คือ มี 1 .. 2... 3... เป็นต้น และสามารถแทรก TYPE ได้ เช่น

TYPE=A แสดงเป็น A B C D ... TYPE=I แสดงเป็น I II III IV...

TYPE=a แสดงเป็น a b c ... TYPE=i แสดงเป็น i ii iii iv ...

และยังสามารถแทรก START=ตัวเลข เพื่อให้การแสดงผลเริ่มที่อันดับตัวเลขที่ต้องการ เช่น ถ้าเริ่มที่ 5 ก็จะแสดงหัวข้อ 5 6 7 ...

16. การใส่สี

16.1 <BODY TEXT="รหัสสี" BGCOLOR="รหัสสี"> เป็นการใส่สีข้อความโดยใช้คำสั่ง TEXT และ สีพื้นหลังโดยใช้คำสั่ง BGCOLOR โดยการใส่ไว้ใน BODY เพื่อแสดงเหมือนกันตลอดทั้ง WEP

16.2 <FONT COLOR="ชื่อสี/รหัสสี"> ............</FONT>เป็นการแสดงสีเฉพาะบางจุด

17. การใส่ภาพ

<IMG SRC="ที่อยู่/ชื่อ">

เช่น <IMG src="//www..../test.jpg">

นอกจากนี้ยังสามารถจัดตำแหน่งต่างๆโดยใช้ ALIGN เช่น

<IMG SRC="TEST>JPG" ALIGN=baseline> โดยมีการกำหนดค่าของ ALIGN ดังนี้

LEFT ไว้ทางซ้าย RIGHT ไว้ทางขวา

TOP ขอบบนของรูปภาพจะอยู่ในแนวเดียวกับจุดสูงสุดของอักษรหรือรูปภาพที่อยู่บรรทัดเดียวกัน

TEXTTOP ขอบบนของรูปภาพจะอยู่ในแนวเดียวกับจุดสูงสุดของอักษร

MIDDLE จุดกึงกลางของภาพจะอยู่กลางความสูงอักษร

ABSMIDDLE จัดตำแหน่งข้อความเฉพาะที่อยู่ในแนวเดียวกันกับภาพให้ตรงกับจุดกึงกลางของอักษร

BASELINE ขอบล่างสุดจะตรงกับ baseline ของอักษร

BOTTOM เหมือนกับ baseline

ABSBOTTOM ขอบล่างสุดอยู่ในแนวต่ำสุดของอักษร

การใช้ ALT เพื่อแสดงข้อความกรณีที่เว็บนั้นไม่สามารถแสดงรูปได้ เช่น <IMG SRC="TEST.JPG" ALT="ข้อความ">

การใช้ BORDER กำหนดความกว้างของกรอบ

เช่น <IMG SRC="TEST.JPG" BORDER=2>

การใช้ VSPACE และ HSPACE เพื่อกำหนดความกว้างของช่องว่างของรูปภาพในแนวตั้งและแนวนอนตามลำดับ

การใช้ HEIGHT กับ WIDTH กำหนดความสูงและความกว้างของรูปภาพ โดยอาจกำหนดเป็นตัวเลข หรือ เป็น % ก้ได้

18. การซ้อนภาพเป็นพื้นหลัง

<BODY BACKGROUND="TEST1.JPG">

19. การเชื่อมโยง

19.1 การแปลงข้อความให้เป็นลิงก์

<A HREF="http://...."> ข้อความ </A>

19.2 การแปลงภาพให้เป็นลิงก์

<A HREF="http://...."> <IMG SRC="...."></A>

19.3 การสร้างลิงค์ให้มีสีสรร

LINK ใช้กำหนดสีที่ยังไม่ได้ลิงค์

VLINK ใช้กำหนดสีที่ลิงค์แล้ว

ALINK ใช้กำหนดสีที่กำลังลิงค์

เช่น <BODY LINK=WHITE VLINK=GRAY ALINK=RED>

<A HREF="http"> .......</A>

</BODY>

20. คำสั่งสร้างตาราง

<TABLE>

<TR>

<TD> ข้อมูลแถวที่ 1 คอลัมน์ที่ 1 </TD>

<TD> ข้อมูลแถวที่ 1 คอลัมน์ที่ 2 </TD>

</TR>

<TR>

<TD> ข้อมูลแถวที่ 2 คอลัมน์ที่ 1 </TD>

<TD> ข้อมูลแถวที่ 2 คอลัมน์ที่ 2 </TD>

</TR> </TABLE>

คำสั่งสร้างตาราง

เราสามารถสร้างตารางเพื่อกำหนดข้อความหรือรูปภาพให้อยู่ในลักษณะที่เป็นระเบียบมากขึ้น โดนมีรูปแบบคำสั่งดังนี้ คือ

<TABLE>

<TR>

<TD> ข้อมูลแถวที่ 1 คอลัมน์ที่ 1 </TD>

<TD> ข้อมูลแถวที่ 1 คอลัมน์ที่ 2 </TD>

</TR>

<TR>

<TD> ข้อมูลแถวที่ 2 คอลัมน์ที่ 1 </TD>

<TD> ข้อมูลแถวที่ 2 คอลัมน์ที่ 2 </TD>

</TR> </TABLE>

การปรับรูปแบบของตาราง

ในการสร้างตารางนั้นเราสามารถเพิ่มแอตทริบิวต์ของแท็ก <TABLE> , <TR> และ <TD> ได้ดังนี้

1. เพิ่ม BORDER ใน <TABLE> โดยเติมค่าเป็นตัวเลข เพื่อกำหนดขนาดของกรอบนอกของตาราง เช่น <TABLE BORDER=10> เป็นต้น

2. เพิ่ม CELLPADDING กับ CELLSPACING ใน <TABLE> ใช้จัดระยะห่างของเซลล์ต่างๆในตาราง โดยใช้หน่วยเป็นพิกแซลโดยมีรูปแบบต่างกัน คือ

2.1 CELLPADDING ใช้กำหนดระยะห่างระหว่างสิ่งที่อยู่ในเซลล์กับเส้นแบ่งเซล เช่น <TABLE BORDER CELLPADDING=20> เป็นต้น

2.2 CELLSPACING ใช้กำหนดระยะห่างระหว่างช่องของเซลล์มีผลทำให้เส้นแบ่งช่องใหญ่ขึ้น เช่น <TABLE BOREDR CELLSPACING=20>

3. เพิ่ม WIDTH กับ HEIGHT ใน <TABLE> ใช้กำหนดความกว้างและความสูงของตารางตามลำดับ โดยกำหนดเป็นพิกเซลหรือเปอร์เซ็นต์ เช่น <TABLE BORDER WIDTH=50% EIGHT=300> ข้อเสียในการกำหนดเป็นเปอร์เซ็นต์ คือ ไม่แสดงผลใน Netscape Navigator

4. เพิ่ม WIDTH กับ HEIGHT ใน <TD> ให้ผลเช่นเดียวกับใช้ใน <TABLE> แต่แสดงผลจำกัดแค่ช่องและช่องที่เกี่ยวข้อง

5. เพิ่ม ALIGN ใน <TABLE> ใช้จัดตำแหน่งของตาราง คือ left , right , center

6. เพิ่ม ALIGN และ VALIGN ใน <TR>

ALIGN ใช้จัดตำแหน่งข้อความหรือรูปภาพในแถวให้ชิดซ้าย ขวา กลาง ค่าที่กำหนดได้ คือ LEFT , RIGHT , CENTER ส่วน VALIGN ใช้จัดตำแหน่งข้อความหรือภาพในเซลให้ชิดด้านบน ด้านล่าง หรือ อยู่ตรงกลาง ค่าที่กำหนดได้ คือ TOP , BOTTOM , MIDDLE นอกจากนั้นเรายังใช้

ALIGN และ VALIGN ใน <TD> เพื่อกำหนดค่าเฉพาะเซลล์ได้อีกด้วย

7. เพิ่ม ROWSPAN และ COLSPAN ใน <TD> ใช้สำหรับรวมผลเซลที่อยู่ทางขวา หรือ ด้านล่างให้เป็นเซลเดียว ไม่มีเส้นแบ่งเซล ROWSPAN ใช้รวมด้านล่าง ส่วน COLSPAN ใช้รวมทางขวา

เช่น <TABLE BORDER>

<TR>

<TD ROWSPAN=2> ข้อมูลในแถวที่ 1 กับ 2 คอลัมน์ที่ 1 </TD>

<TD> ข้อมูลในแถวที่ 1 คอลัมน์ที่ 2 </TD>

<TD> ข้อมูลในแถวที่ 1 คอลัมน์ที่ 3 </TD>

</TR>

<TR>

<TD> ข้อมูลในแถวที่ 2 คอลัมน์ที่ 2 </TD>

<TD> ข้อมูลในแถวที่ 2 คอลัมน์ที่ 3 </TD>

</TR>

<TR>

<TD ROWSPAN=3> ข้อมูลในแถวที่ 2 </TD>

</TR>

</TABLE>

การตกแต่งตารางด้วยภาพและสี

เราสามารถเพิ่มแอตทริบิวต์ ได้ดังนี้

1. เพิ่ม BGCOLOR ใน <TABLE> , <TR> , <TD> ใช้กำหนดสีพื้นหลังของตาราง

2. เพิ่ม BORDERCOLOR ใน <TABLE> , <TR> , <TD> เพื่อกำหนดสีของขอบตาราง

3. เพิ่ม BACKGROUND ใน <TABLE> , <TR> , <TD> เพื่อกำหนดภาพพื้นหลังของตาราง

เช่น

<BODY TEXT=WHITE>

<TABLE BORDER=10 BGCOLOR=BLACK BORDERCOLOR=RED>

<TR BACKGROUND="AAA.JPG">

ข้อควรระวัง ในเว็บเบราเซอร์บางตัวอาจไม่แสดงผลในบางคำสั่งเช่น แสดงใน Netscape Navigator แต่ไม่แสดงใน Microsoft Internet Explorer บางรุ่นเป็นต้น

คำอธิบายและข้อมูลหัวตาราง

1. ใช้คำสั่ง <CAPTION> ตามด้วยข้อความสำหรับอธิบายตาราง แล้วปิดด้วย </CAPTION>

2. ใช้คำสั่ง <TH> ตามด้วยข้อมูลที่ต้องการจะเป็นหัวตาราง แล้วปิดด้วย </TH>

หมายเหตุ : นอกจากคำสั่งทั้งหมดแล้ว เรายังสามารถสร้างตารางซ้อนตารางได้อีกด้วย