หมายเหตุ: บางส่วนของบทความนี้มีการใช้ฟอนต์เทงวาร์แสดงผล ผู้อ่านควรจะต้องมีฟอนต์ชื่อ "Tengwar Sindarin" ของ D.S.Smith ติดตั้งไว้ในเครื่องแล้ว ฟอนต์นี้สามารถดาวน์โหลดได้ ที่นี่
ขอเกริ่นนำด้วยสัทศาสตร์ในภาษาอังกฤษและภาษาไทยก่อน ตารางอักขระเทงวาร์โหมดสำหรับภาษาเอลฟ์ค่อนข้างจะได้รับอิทธิพลมาจากสัทศาสตร์แบบภาษาอังกฤษมาพอสมควร ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจนักก็ในเมื่อภาษาพูดของผู้แต่งเป็นภาษาอังกฤษ เมื่อเราลองนำเสียงสัทที่มีในภาษาอังกฤษมาจัดเรียงตามให้เป็นหมวดหมู่ตามกลุ่มของฐานเสียงแล้ว จะพบว่ามีความคล้ายคลึงกับตารางอักขระเทงวาร์มาก
A | B | C | D | E | F | |||
Stop | Alveolar | Bilabial | Velar | Palatal | Glottal | |||
1 | Unvoiced | T | P | K | C | - | ||
2 | Voiced | D | B | G | J | |||
Fricative | Alveolar | Labio dental | Velar | Palatal | Glottal | Dental | ||
3 | Unvoiced | S | F | KH | CH | H | TH | |
4 | Voiced | Z | V | GH | JH | DH | ||
Nasal | Alveolar | Bilabial | Velar | |||||
5 | Voiced | N | M | NG | ||||
Semivowel | Bilabial | Palatal | ||||||
6 | Voiced | W | Y | |||||
Liquid | Alveolar | |||||||
7 | Voiced | L, R |
จากตารางที่ 1 ในคอลัมน์ A-F ในแนวตั้งแสดงถึงฐานกำเนิดเสียง และในแนวนอนแสดงการแบ่งกลุ่มประเภทของเสียงและความก้องของเสียง คอลัมน์ A เป็นกลุ่มของเสียงที่เกิดจากปุ่มเหงือก, B เกิดจากริมฝีปาก, C เกิดจากเพดานอ่อน, D เกิดจากเพดานแข็ง, E เกิดจากเส้นเสียง และ F เกิดจากฟัน แถวที่ 1, 2 เป็นกลุ่มของเสียงระเบิดหรือเสียงหยุด, แถวที่ 3, 4 เป็นกลุ่มของเสียงเสียดแทรก, แถวที่ 5 เป็นกลุ่มเสียงนาสิก, แถวที่ 6 เป็นกลุ่มเสียงครึ่งสระหรืออัฒสระ และแถวที่ 7 เป็นกลุ่มเสียงเหลว เฉพาะในแถวที่ 6 และ 7 ไม่สามารถแบ่งฐานเสียงได้อย่างชัดเจน ที่จัดไว้ในตารางเป็นการประมาณเท่านั้น จะเห็นว่าในกลุ่มเสียงระเบิดและเสียงเสียดแทรกยังสามารถแบ่งออกเป็นเสียงก้อง (Voiced) กับเสียงไม่ก้อง (Unvoiced) ได้ด้วย เสียงก้องหมายถึงในการออกเสียงเส้นเสียงจะสั่นสะบัด โปรดทราบว่าสัทอักษรที่ใช้เป็นสัญลักษณ์แทนเสียงในตารางบางตัวอาจไม่ตรงกับวิธีการออกเสียงจริงของตัวอักษรนั้น เพื่อป้องกันความสับสนแก่ผู้อ่านในการออกเสียง จะขอกล่าวถึงวิธีการออกเสียงของสัทอักษรในแต่ละตัวดังนี้ แถวที่ 1 : T ออกเสียง ท, P ออกเสียง พ, K ออกเสียง ค, C ออกเสียง ช, ตัวสุดท้ายคือเสียง อ แถวที่ 2 : D ออกเสียง ด, B ออกเสียง บ, G ออกเสียง ก, J ออกเสียง จย แถวที่ 3 : S ออกเสียง ซ, F ออกเสียง ฟ, KH ออกเสียง คฮ, CH ออกเสียง ชฮ, H ออกเสียง ฮ, TH ออกเสียง ธ (เสียง ท ลิ้นแตะฟัน) แถวที่ 4 : Z ออกเสียง S เสียงก้อง, V ออกเสียง F เสียงก้อง, GH ออกเสียง KH เสียงก้อง, JH ออกเสียง CH เสียงก้อง, DH ออกเสียง TH เสียงสั่น (เสียง ด ลิ้นแตะฟัน) แถวที่ 5 : N ออกเสียง น, M ออกเสียง ม, NG ออกเสียง ง (เสียงนี้ไม่มีเป็นอักษรนำในภาษาอังกฤษ) แถวที่ 6 : W ออกเสียง ว, Y ออกเสียง ย แถวที่ 7 : L ออกเสียง ล, R ออกเสียงคล้าย ร ไม่รัวลิ้น ความสัมพันธ์เบื้องต้นระหว่างเสียงที่พอจะเห็นได้ในตารางคือ เสียงในแถวที่ 3 และ 4 ก็คือเสียงในแถวที่ 1 และ 2 ที่มีการเพิ่มเสียง ฮ เข้าไป (Aspirate) เป็นการลากเสียงให้ออกมาช้ากว่าเดิม สำหรับบางเสียงการลากเสียงเช่นนี้จะทำให้เกิดการเสียดแทรกและเสียงได้ชัดเจนขึ้นในชั้นต่อมาเรียกว่าเป็นเสียง Spirant อันได้แก่ S, F, TH, Z, V และ DH 2. สัทศาสตร์ในภาษาไทย
ภาษาไทยมีกฏเกณฑ์ในการเรียงตัวอักษรที่เป็นหลักเป็นการมากกว่าภาษาอังกฤษ(มากนัก) โดยการเรียงตัวอักษรนั้นจะเรียงตามเสียงสัทที่มีในภาษาไทยนั้นเอง ซึ่งในภาษาไทยได้ใช้วิธีการเรียงเสียงตามแบบภาษาบาลีและบางส่วนจากภาษาสันสกฤต แล้วเติมเสียงสัทที่มีเฉพาะในภาษาไทยเองเพิ่มเติมเข้าไป สัทศาสตร์ในภาษาไทยแสดงได้ด้วยตารางดังนี้
A | B | C | D | E | F | G | H | ||
ระเบิด | นาสิก | อัฒสระ | เหลว | เสียดแทรก | |||||
สิถิล | ธนิต | ||||||||
1 | เพดานอ่อน | ก | ข (ฃ) | ค (ฅ) | ฆ | ง | |||
2 | เพดานแข็ง | จ | ฉ | ช [ซ] | ฌ | ญ | ย | ศ | |
3 | ฟันและปุ่มเหงือก | {ฎ} ฏ | ฐ | ฑ | ฒ | ณ | ร | ษ | |
4 | ฟันและปุ่มเหงือก | {ด} ต | ถ | ท | ธ | น | ล (ฬ) | ส | |
5 | ริมฝีปาก | {บ} ป | ผ [ฝ] | พ [ฟ] | ภ | ม | ว | ||
6 | เส้นเสียง | {อ} | [ห] | [ฮ] |
เนื่องด้วยภาษาไทยเรารับเอาตารางเสียงตามแบบบาลี-สันสกฤตมาใช้ก็จริง แต่มีวิธีการออกเสียงที่ผิดไปจากเดิมและยังมีพยัญชนะของเราเองเข้ามาผสมด้วย จึงทำให้ตารางเสียงสัทของเราค่อนข้างจะอ่านยากและมีการจัดกลุ่มเสียงอักษรเหลื่อมล้ำกันอยู่บ้าง จำเป็นต้องอธิบายกันนอกตารางอีกทีหนึ่งดังนี้ แถวในแนวนอนแสดงถึงฐานกำเนิดเสียงส่วนคอลัมน์ในแนวตั้งแสดงถึงประเภทของเสียง แต่ก็มีอักษรบางตัวเป็นข้อยกเว้นไม่เป็นไปตามฐานเสียงหรือประเภทของเสียงในแถว/แนวนั้นอยู่บ้าง ดังจะได้กล่าวในรายละเอียดต่อไป
จากคุณลักษณะทางสัทศาสตร์ของภาษาไทยทั้งหมด นำมากำหนดตารางเทงวาร์สำหรับภาษาไทย โดยให้แต่ละคอลัมน์ในตารางเทงวาร์ (ที่เรียกว่า เทมา Téma) แสดงถึงฐานกำเนิดเสียงพยัญชนะในลักษณะเดียวกับภาษาเอลฟ์ แต่เนื่องจากในภาษาไทยมีฐานเสียงที่เกิดจากเพดานแข็ง (เช่นเสียง จ, ช) ในแบบที่ภาษาเอลฟ์ไม่มี กำหนดฐานเสียงให้กับ "เทมา" สองคอลัมน์สุดท้ายเลียนแบบตารางเทงวาร์โหมดภาษาเวสทรอน (ซึ่งมีเสียงฐานเพดานแข็งเช่นกัน) แทน ดังนั้น เทมา ทั้งสี่ในตารางเทงวาร์โหมดภาษาไทย จึงแสดงถึงเสียงที่มีกำเนิดจากฐาน 1. ฟันและปุ่มเหงือก, 2. ริมฝีปาก, 3. เพดานแข็ง, และ 4. เพดานอ่อน ตามลำดับ ส่วนการกำหนดลักษณะของเสียงในแต่ละแถวของตารางเทงวาร์ (ที่เรียกว่า เชลเล Tyelle) จะต่างกับในแบบภาษาเอลฟ์หรือภาษาเวสทรอนพอสมควร เนื่องด้วยคุณลักษณะของเสียงในภาษาไทยจะออกเสียง สิถิล ได้ชัดเจนกว่าภาษาเอลฟ์หรือภาษาเวสทรอน ในขณะที่ภาษาเรากลับขาดแคลนเสียงจำพวกเสียดแทรก อย่างไรก็ตาม ในการกำหนดลักษณะของเสียงในแต่ละเชลเลสำหรับภาษาไทยนี้ ผู้เขียนก็ได้พยายามที่จะรักษารูปแบบไว้ให้ใกล้เคียงกับตารางเทงวาร์ในโหมดภาษาเวสทรอนไว้ให้ได้มากที่สุด ในขณะที่พยายามกำหนดความหมายของ เทลโค และ ลูวา ให้เป็นระเบียบที่สุดเช่นกัน ดังนี้ ลูวา 1 วง ให้หมายถึงเสียง อโฆษะ ลูวา 2 วง ให้หมายถึงเสียง โฆษะ เทลโคแบบสั้น ให้หมายถึง เสียงอธนิต (Unaspirated) หรือ เสียงนาสิก (Nasal) เทลโคแบบปกติ ให้หมายถึง เสียงไม่เสียดแทรก (Unspirant) เทลโคแบบยก ให้หมายถึง เสียงเสียดแทรก (Spirant) ส่วนพยัญชนะในกลุ่มเศษวรรค ก็ได้นำไปจัดเรียงเข้าในอักษรที่เหลือเทงวาร์ได้อย่างลงตัว เนื่องด้วยอักษรในกลุ่มที่เหลือนี้ก็ถูกสร้างมาสำหรับใช้แทนเสียงพยัญชนะในกลุ่มเศษวรรคอยู่แล้ว และผลลัพธ์ของตารางเทงวาร์โหมดภาษาไทยจึงเป็นดังนี้
A | B | C | D | |||
ฟัน-ปุ่มเหงือก | ริมฝีปาก | เพดานแข็ง | เพดานอ่อน | |||
1 | ไม่เสียดแทรก | อโฆษะ | 1 = ท | q = พ | a = ช | z = ค |
2 | โฆษะ | 2 = ด | w = บ | s = J | x = G | |
3 | เสียดแทรก | อโฆษะ | 3 = ธ | e = ฟ | d = ซ | c = ฅ |
4 | โฆษะ | 4 = DH | r = V | f = Z | v = GH | |
5 | นาสิก | โฆษะ | 5 = น | t = ม | g = ญ | b = ง |
6 | อธนิต | อโฆษะ | 6 = ต | y = ป | h = จ | n = ก |
7 | เศษวรรค | โฆษะ | 7 = ร | u = ฤ | j = ล | m = ฬ |
8 | 8 = ส | i = ษ | k = ศ | , = ศ | ||
9 | 9 = ห | o = ฮ | l = ย | . = ว |
จะเห็นว่าอักษรที่นำไปใส่ในตารางเทงวาร์โหมดภาษาไทยนี้ อาจจะไม่ตรงกับวิธีออกเสียงสัทที่กำกับไว้ด้วยเทลโคและลูวานัก แต่อาศัยว่าถึงอย่างไรวิธีการออกเสียงในลักษณะนั้นก็ไม่มีตัวอักษรแทนในภาษาไทยอยู่แล้ว จึงได้นำอักษรที่ใกล้เคียงที่สุดไปใส่ในช่องนั้น ดังจะอธิบายรายละเอียดต่อไปนี้ แถวที่ 1 เป็นเสียงไม่เสียดแทรก, อโฆษะ แบบธนิต เมื่อออกเสียงตามฐานเสียง ฟันและปุ่มเหงือก, ริมฝีปาก, เพดานแข็ง และเพดานอ่อนแล้ว ก็จะได้เสียง ท, พ, ช และ ค ตามปกติ แถวที่ 2 เป็นเสียงไม่เสียดแทรก, โฆษะ แบบสิถิล เมื่ออกเสียงตามฐานเสียงแล้ว ในคอลัมน์ A และ B ก็จะได้เสียง ด และ บ ตามปกติ แต่ในคอลัมน์ C และ D นั้น จะเป็นเสียงที่ไม่มีในภาษาไทย โดยเสียงสำหรับคอลัมน์ C จะเป็นเสียงคล้ายตัว จ+ย ซึ่งไม่มีอักษรไทยจะมาแทน ส่วนในคอลัมน์ D ก็จะคล้ายเสียง ก+ง ซึ่งไม่มีอักษรไทยจะแสดงเช่นกัน จึงได้เขียนไว้เป็นภาษาอังกฤษด้วยตัว J และ G แถวที่ 3 เป็นเสียงเสียดแทรก, อโฆษะ แบบธนิต ซึ่งถ้าจะออกเสียงจริง ๆ แล้ว ควรจะได้เสียงเสียดแทรกแบบ TH, F, S, KH ในภาษาอังกฤษมากกว่า แต่ในภาษาไทย ตัวอักษรที่เป็นเสียงเสียดแทรกที่เข้ากับบรรทัดนี้ได้ มีเพียง ฟ และ ซ สำหรับคอลัมน์ B และ C เท่านั้น ส่วนในคอลัมน์ A ที่เป็นเสียง TH ไม่มีในภาษาไทย แต่ปกติเรามักจะใช้อักษร ธ สำหรับเสียงนี้อยู่แล้ว จึงได้นำ ธ มาวางลงในช่องนี้ ส่วนคอลัมน์ D ซึ่งเป็นเสียง KH ผู้เขียนเห็นว่าอาจใช้เป็นอักษร ฅ หรือ ฆ ก็น่าจะมีเหตุผลเพียงพอทั้งคู่ ถ้าจะดูในตารางเสียงพยัญชนะภาษาไทยลองเทียบวรรค กะ กับวรรค ปะ แล้ว จะเห็นว่า เมื่อเสียงเสียดแทรกของ พ คืออักษร ฟ แล้ว ก็ดูคล้ายกับว่าอักษร ฅ จะเป็นเสียงเสียดแทรกของอักษร ค ได้ ปัญหาคือคำที่สะกดด้วยตัว ฅ ในปัจจุบันมีน้อยมาก จนน่าจะนำ ฆ มาใช้แทนมากกว่า ซึ่งก็คงต้องแล้วแต่จะพิจารณากันต่อไป แถวที่ 4 เป็นเสียงเสียดแทรก, โฆษะ แบบสิถิล เสียงในแถวนี้ไม่มีในภาษาไทยเลย แต่พอพบเห็นในภาษาอังกฤษ จึงเขียนแทนไว้ด้วยภาษาอังกฤษคือตัว DH, V, Z, GH เป็นเสียงที่พบได้ในตารางพยัญชนะสากล เสียงโฆษะ คอลัมน์ C แถวที่ 5 เป็นเสียงนาสิก ออกเสียงตามฐานเสียงปกติทุกตัว ยกเว้นตัว ญ ซึ่งในภาษาไทย จะมีค่าเท่ากับเสียงพยัญชนะสองตัวคือ น ต่อกับ ย ไม่ได้เป็นการผสมเสียงกันระหว่าง น กับ ย จริงๆ แถวที่ 6 เป็นเสียงอโฆษะ แบบอธนิต สาเหตุที่ไม่ได้เรียกว่าแบบสิถิลโดยตรงนั้น เพราะว่าทั้งในแถวที่ 2 และ 4 ก็เป็นแบบสิถิลเหมือนกัน แต่ก็ไม่ได้ถูกจัดกลุ่มไว้เหมือนกับแถวนี้ แต่จะเห็นได้ว่าแถวนี้เป็นการนำเสียง ห ออกจากพยัญชนะในแถวที่ 1 จึงของเรียกว่าเป็นการ อธนิต (Unaspirate) แทนที่จะเรียกว่าเป็นสิถิลโดยตรง เสียงในแถวนี้ออกเสียงตามฐานเสียงในแต่ละ เทมา ได้ตามปกติ จะได้เสียง ต, ป, จ และ ก แถวที่ 7 ถึง 9 เป็นอักษรในกลุ่ม เศษวรรค ซึ่งไม่ได้ถูกกำหนดเสียงไว้ด้วย เทมา หรือ เทลโคและลูวา ดังเช่นอักษรในแถวข้างต้น การนำเสียงภาษาไทยมาใส่ในอักษรในกลุ่มนี้จะเลียนแบบตามเสียงในภาษาเอลฟ์ ซึ่งเสียงที่มีตำแหน่งลงแน่นอนแล้วก็คือเสียง ร, ล, ย และ ว อักษรในแถวที่ 7 คอลัมน์ B และ D อันนี้เป็นเสียงที่ไม่มีในภาษาไทย แต่เรายังพอมีตัวอักษรที่ใกล้เคียงเหลืออยู่ นั่นคือตัว ฬ ซึ่งเหมาะจะนำมาใส่ลงในช่องที่ 7D ส่วนช่องที่ 7B นั้นไม่มีอักษรใส่ ในที่นี้จึงได้นำตัว ฤ มาใส่ไว้ ทั้งที่จริงแล้วตัว ฤ ถือว่าเป็นสระไม่ใช่พยัญชนะ แต่ก็นับว่าออกเสียงได้ใกล้เคียงตัว ร ที่สุดแล้ว อักษรในแถวที่ 8 ในภาษาเอลฟ์จะเป็นเสียง S และ Z เมื่อจะนำมาใช้เขียนเสียง ส ในภาษาไทย ผู้เขียนจะขอใช้วิธีแบ่งเสียง ส ตามฐานเสียงในภาษาสันสกฤต ซึ่งมีอยู่ 3 ส นั่นคือ 1. ส.เสือ อยู่ฐานเสียงฟัน 2. ษ.ฤๅษี อยู่ฐานเสียงปุ่มเหงือก และ 3. ศ.ศาลา อยู่ฐานเสียงเพดาน ถ้าเรายังคงนับว่า เทมา ที่ 1 ถึง 4 คือฐานเสียง ฟันและปุ่มเหงือก, ริมฝีปาก, เพดานแข็งและเพดานอ่อนตามลำดับอย่างเดิมแล้ว ก็จะเห็นว่าพอจะนำ ศ.ศาลา ไปวางในคอลัมน์ C ได้ แต่ในคอลัมน์ A และ B เราอาจต้องแยกให้เป็นฐานเสียง ฟัน และ ปุ่มเหงือก ตามลำดับก่อน จึงจะนำ ส.เสือ และ ษ.ฤๅษีไปใส่ได้ ส่วนคอลัมน์ D ที่เหลือ ไม่รู้จะใส่อะไรแล้ว จึงนำ ศ.ศาลา ไปใส่ไว้เหมือนในคอลัมน์ C แถวที่ 9 ในภาษาเอลฟ์นั้น คอลัมน์ A คือเสียง H ส่วนคอลัมน์ B คือเสียง WH แต่ในอักษรภาษาไทยเราที่ยังเหลืออยู่อีกก็คือ ห, อ และ ฮ ซึ่งอาจเป็นได้ว่าเราจะนำอักษร ห และ ฮ ไปใส่ไว้ในช่องที่ 9A และอักษร อ ไปใส่ไว้ในช่องที่ 9B แต่เนื่องจากในภาษาเอลฟ์ยังมีตัวอักษรอีกตัวหนึ่งซึ่งคล้ายตัว i ในภาษาอังกฤษ สามารถทำหน้าที่แทนเสียงตัว อ ได้อยู่แล้ว จึงได้กำหนดให้อักษรตัวที่ 9B เป็น ฮ แทน 4. บทสรุปและข้อเสนอแนะ
ในบทความนี้ได้เสนอตารางเทงวาร์โหมดใหม่ที่สามารถครอบคลุมเสียงสัทส่วนใหญ่ในภาษาไทยและอังกฤษ โดยเลือกให้ใช้เป็นตารางเทงวาร์โหมดสำหรับภาษาไทย ซึ่งก็สามารถที่จะใช้อักษรเทงวาร์แสดงพยัญชนะภาษาไทยได้ทั้งหมดแล้ว อย่างไรก็ตามบทความนี้ยังไม่ได้กล่าวถึงการนำอักษรเทงวาร์ไปเขียนประกอบกับสระหรือการเขียนเพื่อแสดงวรรณยุกต์ โดยความเห็นของผู้เขียนแล้วคิดว่าอาจจะใช้ เท็คทา (Tehta) เขียนเพื่อแสดงสระหรือวรรณยุกต์ได้ แต่สระในภาษาไทยนั้นมีจำนวนมากกว่าสระเท็คทาที่มีอยู่ในภาษาเอลฟ์มากนัก และยังคงเป็นปัญหาอยู่ว่าจะสามารถแสดงเสียงสระไปพร้อมๆ กับวรรณยุกต์ด้วยเท็คทาได้อย่างไร ในส่วนนี้คงจะต้องทิ้งไว้เป็นประเด็นสำหรับวิจัยกันต่อไป เอกสารอ้างอิง