WHOLE PERSON APPROACH

 WHOLE PERSON APPROACH

  ย่อความจาก WHOLE PERSON APPROACH ของ ร.ศ. พ.ญ. สมจิต พฤกษะริตานนท์

 

    การวินิจฉัยเป็นสิ่งสำคัญในการวางแผนในการรักษาและช่วยเหลือผู้ป่วย กลยุทธ์ในการดูแลผู้ป่วยแบบหนึ่งที่กล่าวถึงกันมากในปัจจุบัน คือ การดูแลแบบ Whole person approach หรือ Holistic approach วิธีการนี้ประกอบด้วยหลัก 2 ประการคือ

การวินิจฉัยโดยใช้โรคเป็นศูนย์กลาง (The disease-centred diagnosis)

การวินิจฉัยโดยใช้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง (The patient-centred diagnosis)

    การดูแลผู้ป่วยโดยใช้โรคเป็นเป็นศูนย์กลาง เป็นการใช้ ประวัติ การจรวจร่างกายและการสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ เพื่อการวินิจฉัยและรักษาโรค วิธีนี้เป็นแบบอย่างที่ใช้ในการดูแลผู้ป่วยที่รักษาในโรงพยาบาล (Hospital-based medicine) ซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นพยาธิสภาพ

    การดูแลโดยใช้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง นอกจากจะวินิจฉัยโรค ยังนำเอาประวัติทางจิตวิทยาสังคมของผู้ป่วย มาช่วยในการวินิจฉัยด้วย โดยให้ความสำคัญในด้านความรู้สึก ความกลัวหรือความต่อความเจ็บป่วย  ความคาดหวังที่จะได้รับหรือความต้องการของผู้ป่วย อิทธิพลของครอบครัว ปฏิกริยาทางอารมณต่อความเจ็บป่วย ผลของความเจ็บป่วยต่อญาติ งานและการพักผ่อน วิ๔ีการดำเนินชีวิต สิ่งแวดล้อม เป็นต้น

WHOLE PERSON DIAGNOSIS AND MANAGEMENT

การวินิจฉัยโดยใช้โรคเป็นศูนย์กลาง (disease-centred disease)

การวินิจฉัยโดยใช้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง (patient-centred diagnosis)

  • สาเหตุของโรค
  • นัยสำคัญของการเจ็บป่วย
  • ผลกระทบที่มีต่อครอบครัวและญาติ
  • ผลกระทบต่อการทำงานและรายได้
  • ผลกระทบทางจิตวิทยา ได้แก่ ความเครียดและวิตกกังวล, พฤติกรรมและการเจ็บป่วยที่ผิดปกติ, การนอนหลับ, ภาวะซึมเศร้า
  • ผลกระทบทางเพศ
  • ผลกระทบทางเจตคติ

การจัดการโดยใช้โรคเป็นศูนย์กลาง (disease-centred management)

การจัดการโดยใช้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง (patient-centred management)

  • พักผ่อน
  • ยา
  • การรักษา
  • การผ่าตัด
  • การรักษาอื่นๆ
  • การประคับประคองด้านจิตใจ
  • การให้กำลังใจที่เหมาะสม
  • ให้การศึกษาแก่ผู้ป่วย
  • การให้ผู้ป่วยรับผิดชอบดูแลตนเอง
  • ให้คำแนะนำและป้องกันเฉพาะเรื่อง
  • การป้องกัน
  • การส่งเสริมสุขภาพ
  • ให้คำแนะนำ/ปรับปรุงวิถีการดำเนินชีวิต เช่น อาหาร/โภชนาการ, การออกกำลังกาย, การดื่มแอลกอฮอล์, การสูบบุหรี่, การจำกัดความเครียด
  • การสนับสนุนครอบครัวและสังคม
  • การช่วยเหลือตนเอง
  • ทางเลือกอื่นๆ
  • การปรึกษาและการส่งต่อ
  • การติดตามผล