สิทธิมนุษยชนถูกใช้เป็น Double Standard ของตะวันตก

แน่นอนนี่เป็นความเคลื่อนไหวที่บริสุทธิ์ แต่การอ้างอิง “สิทธิมนุษยชน” ทำให้นึกถึงท่านอาจารยืเสน่ห์ จามริก ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน องค์กรตามรัฐธรรมนูญ 2540 ที่เคยเตือนไว้เมื่อเดือนมีนาคม 2545 ว่าประเด็นนี้ในปัจจุบันมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น โดยเฉพาะมีความสัมพันธ์กับสมครามเศรษฐกิจในโลกยุคใหม่หลังสมครามเย็น สิ้นสุดเมื่อไม่เกิน 15 ปีมานี้

 

ยุคนี้ทุนข้ามชาติขึ้นมาเป็นใหญ่ ไม่มีดุลอำนาจโดยค่ายสังคมนิยม สิทธิมนุษยชนจึงถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองของมหาอำนาจ ตะวันตก เพื่อทำการเปิดตลาด เราต้องคำนึงให้ดีด้วย เช่นเมื่อเราวิจารณ์พม่าว่าลิดรอนสิทธิทางการเมือง ก็ต้องมองอีกด้านหนึ่งด้วยว่าสิทธิทางการเมืองเป็นช่องทางให้ทุนข้ามชาติเข้ามาฉวยประโยชน์ ปัจจุบันเกือบ 100 % การใช้เสรีภาพทางธุรกิจ ตลาดเสรี โดยอ้างสิทธิมนุษยชนตามมุมมองตะวันตก คือ ช่องทางเข้าไปล่วงละเมิดสิทธิทางเศรษฐกิจสังคม โดยเฉพาะการเข้าไปยึดหลักฐานทรัพยากรธรรมชาติ

 

ความเป็นประชาธิปไตยในนิยามของตะวันตก หมายถึงต้องเปิดตลาด เป็น 2 สิ่งที่คู่กันไป อาจารย์เสน่ห์ จามริกเห็นควรใคร่ครวญไม่ใช่ให้เพิกเฉยต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพม่า แต่อย่าลืมว่าหลัง 11 กันยายน 2544 รัฐบาลสหรัฐอเมริกาก็ละเมิดสิทธิมนุษยชนคนอเมริกันด้วยเช่นกัน

 

พม่าก็มีเหตุผลของพม่า จีนก็มีเหตุผลของจีน การชูธงในประเทศไทยเรียนร้องให้จีนเคารพ “สิทธิมนุษยชน” คงจะสร้างความเหน็ดเหนื่อยให้รับบาลไทยในอนาคตเป็นแน่

 

 

 

เสน่ห์  จามริก

การประท้วงหน้าสถานทูตจีนประจำประเทสไทยเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2545 ขอให้ทางการจีนยุติการระเบิดแก่งนโดยขอให้เคารพสิทธิมนุษยชน และศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมใหม่