วิธีพิจารณาความอาญา

http:www.oocities.org/thailegal ศูนย์รวมความรู้ทางด้านกฎหมายไทย Update everyweek

<Home> <Webboard> <Guestbook> <Condition> <About Me>

 <Education> <Legal Word> <Cooffee Break> <The Rule of Law>

 <แพ่งและพาณิชย์> <วิธีพิจารณาความแพ่ง> <วิธีพิจารณาความอาญา> <อาญา> <คำคม>

 

พิพากษาไม่เกินคำขอ

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 บัญญัติว่า

"ห้ามมิให้พิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง

ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดั่งที่กล่าวในฟ้อง ให้ศาลยกฟ้องคดีนั้น เว้นแต่ข้อแตกต่างนั้นมิใช่ในข้อสาระสำคัญและทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลจะลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นก็ได้

ในกรณีที่ข้อแตกต่างนั้นเป็นเพียงรายละเอียด เช่น เกี่ยวกับเวลาหรือสถานที่กระทำความผิด หรือต่างกันระหว่างการกระทำผิดฐานลักทรัพย์ กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ฉ้อโกง โกงเจ้าหนี้ ยักยอก รับของโจร และทำให้เสียทรัพย์ หรือต่างกันระหว่างการกระทำผิดโดยเจตนากับประมาท มิให้ถือว่าต่างกันในข้อสาระสำคัญ ทั้งมิให้ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องเกินคำขอ หรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ เว้นแต่จะปรากฏแก่ศาลว่าการที่ฟ้องผิดไปเป็นเหตุ ให้จำเลยหลงต่อสู้ แต่ทั้งนี้ศาลจะลงโทษจำเลยเกินอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับ ความผิดที่โจทก์ฟ้องไม่ได้

ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงบางข้อดั่งกล่าวในฟ้อง และตามที่ปรากฏในทางพิจารณาไม่ใช่เป็น เรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ห้ามมิให้ศาลลงโทษจำเลยในข้อเท็จจริงนั้น ๆ

ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามฟ้องนั้นโจทก์สืบสม แต่โจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยฐานความผิดที่ถูกต้องได้

ถ้าความผิดตามที่ฟ้องนั้นรวมการกระทำหลายอย่าง แต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง ศาลจะลงโทษจำเลยในการกระทำผิดอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่พิจารณาได้ความก็ได้"

โจทก์บรรยายฟ้องในข้อเดียวกันว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้อาวุธมีดฟันผู้เสียหายทั้งสองโดย เจตนาฆ่าและคมมีดถูกผู้เสียหายทั้งสองบริเวณคอ ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยที่ 1 ใช้ อาวุธมีดฟันผู้เสียหายที่ 1 แล้วเดินตามไปฟันผู้เสียหายที่ 2 ขณะกำลังเดินเข้าไปในงาน มีปัญหาว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดกี่กรรม และศาลลงโทษได้กี่กรรม ซึ่งศาลฎีกาได้วินิจฉัยเป็นคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2987/2543 ว่า

ฟ้องข้อ ข. โจทก์บรรยายให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันใช้อาวุธมีดฟันผู้เสียหายทั้งสองโดย เจตนาฆ่าและคมมีดถูกผู้เสียหายทั้งสองที่บริเวณคอ  รายละเอียดบาดแผลปรากฏตามผล การตรวจชันสูตรบาดแผลของแพทย์ท้ายฟ้อง ซึ่งปรากฏว่าผู้เสียหายที่ 1 มีบาดแผลที่บริเวณ คอหนึ่งแผล และผู้เสียหายที่ 2 มีบาดแผลที่บริเวณคอสองแผล อันเป็นการกระทำต่อผู้เสียหาย แต่ละคนแยกออกจากกันได้ จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธมีดฟันผู้เสียหายที่ 1 แล้วเดินตามไปฟัน ผู้เสียหายที่ 2 ขณะกำลังเดินเข้าไปในงาน ห่างประมาณ 5 เมตร เป็นการฟันผู้เสียหายทั้งสอง คนละคราวกัน การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลชั้นต้น พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานพยายามฆ่าเป็นสองกระทงความผิด จึงมิใช่เป็นการพิพากษา เกินคำขอหรือมิได้กล่าวในฟ้องตาม ป.วิ.อ.ม.192 วรรคแรก

หมายเหตุ คดีนี้ โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดต่อกฎหมายหลาย กรรมต่างกันเพียง 2 ข้อ คือ ข้อ ก.จำเลยทั้งสองร่วมกันพาอาวุธมีดติดตัวไปในเมืองและ ชุมนุมชนโดยไม่มีเหตุสมควร และข้อ ข.จำเลยทั้งสองร่วมกันพยายามฆ่าผู้เสียหายทั้งสอง สำหรับความผิดตาม ป.อ.ม.371 นั้นความผิดคนละกระทงกับความผิดฐานพยายามฆ่าอยู่แล้ว มีปัญหาแต่เพียงว่า ความผิดฐานพยายามฆ่าเป็นความผิดกรรมเดียว หรือสองกรรม แต่ตามลักษณะการบรรยายฟ้องของโจทก์น่าจะแสดงให้เห็นว่า ประสงค์ให้ลงโทษฐาน พยายามฆ่ากรรมเดียวหรือไม่ และที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษสองกรรมจะเกินคำขอหรือไม่ ศาลฎีกาได้วินิจฉัยเป็นคำพิพากษาฎีกานี้แล้ว

(คำพิพากษาศาลฎีกาของสำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ ปี 2543 เล่ม 3 หน้า 189)

บันทึก

นอกจากนี้ แม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดหลายกรรมและมิได้อ้าง ป.อ.ม.91 ศาลจะพิพากษาลงโทษหลายกรรมได้หรือไม่ ศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้ในคำพิพากษา ศาลฎีกาที่ 1223/2543 ว่า

โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดหลายกรรมและมิได้อ้าง ป.อ.ม.91 แต่คำฟ้อง ก็ได้ระบุมาแจ้งชัดว่าจำเลยออกเช็ค 2 ฉบับ ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลาย กรรมต่างกันตามเช็คแต่ละฉบับ ศาลลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ.
ม.91 ได้ ทั้ง ป.วิ.อ.ม.158(6) เพียงแต่บัญญัติให้โจทก์อ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่า การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดเท่านั้น หาได้บัญญัติให้จำต้องอ้างถึงบทมาตราเกี่ยวกับการ ลงโทษหลายกรรมด้วยไม่ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฎีกา แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาปรับบทลงโทษให้ถูกต้องได้

หมายเหตุ คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยสองกรรม จำเลยอุทธรณ์ขอให้รอการลงโทษ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่า ตามคำฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายว่าการกระทำของจำเลยเป็น ความผิดหลายกรรมต่างกัน และในคำขอท้ายฟ้องก็ไม่ได้อ้าง ป.อ.ม.91 เท่ากับโจทก์ไม่ ประสงค์ให้ศาลลงโทษจำเลยหลายกระทง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย สองกระทงจึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.ม.192 วรรคแรก พิพากษา แก้เป็นลงโทษกระทงเดียวและให้รอการลงโทษ โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำคุกจำเลยโดย ไม่ต้องรอการลงโทษ ศาลฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่าฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น และพิพากษา แก้เป็นให้ลงโทษจำเลยสองกระทง ดังเหตุผลที่ระบุข้างต้น

(คำพิพากษาศาลฎีกาของสำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ ปี 2543 เล่ม 3 หน้า 112)

Thailegal 18/01/44  


Webmaster : Thailegal
more information,contact : thailegal@yahoo.com
Copyright(c)2000,Thailegal,All Right Reserved