วิธีพิจารณาความอาญา

http:www.oocities.org/thailegal ศูนย์รวมความรู้ทางด้านกฎหมายไทย Update everyweek

<Home> <Webboard> <Guestbook> <Condition> <About Me>
 <
แพ่งและพาณิชย์> <อาญา> <วิธีพิจารณาความแพ่ง> <วิธีพิจารณาความอาญา> <คำคม>
 <
Education> <Legal Word> <Coffee Break><The Rule of Law>

 
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 บัญญัติว่า
"สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปดั่งต่อไปนี้
(1) โดยความตายของผู้กระทำผิด
(2) ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้อง หรือยอมความกัน โดยถูกต้องตามกฎหมาย
(3) เมื่อคดีเลิกกันตามมาตรา 37
(4) เมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง
(5) เมื่อมีกฎหมายออกใช้ภายหลังการกระทำผิด ยกเลิกความผิดเช่นนั้น
(6) เมื่อคดีขาดอายุความ"

ฟ้องคดีแพ่งเรียกเงินตามเช็คแล้วทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาล
มีผลอย่างไรในคดีอาญาตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ
ศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้ในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 433/2542 ว่า

โจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลแพ่ง และศาลได้มี คำพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว ทำให้หนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้น สิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลซึ่งพิจารณาคดีนี้มีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7 สิทธิของโจทก์ ในการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. ม.39(3) ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ย่อมมีผลเท่ากับว่า ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกา ตาม ป.วิ.อ. ม.220

(คำพิพากษาศาลฎีกาของสำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ ปี 2542 เล่ม 3 หน้า 56)


Webmaster : Thailegal
more information,contact : thailegal@yahoo.com
Copyright(c)2000,Thailegal,All Right Reserved