สารศิลปยาไทย
ฉบับที่ ๑๗

 

 

ตะไคร้

 

ชื่อวิทย์  Cymbopagon  citratus Stapf
ชื่อวงศ์  GRAMINAE
ชื่ออื่น   เยี่ยงเฮื้อ  สิงไค

 

สมาคมผู้ประกอบโรคศิลปแผนไทย
เชียงใหม่

 

 

 

 

 

พ่อฉัน...ตอนที่ฉันอายุ..

๔   ขวบ    พ่อฉันจัดการให้หมดทุกอย่าง
๕   ขวบ    พ่อฉันรู้ทุกเรื่อง
๖   ขวบ     พ่อฉันฉลาดกว่าพ่อเธออีก
๘   ขวบ    จริงๆแล้วพ่อก็ไม่ได้รู้ไปหมดทุกอย่างหรอกนะ
๑๐ ขวบ     สมัยนี้กับสมัยที่คุณพ่อยังเป็นเด็กไม่เหมือนกันเสียหน่อย
๑๒ ขวบ    เฮ้อ..อย่างว่าแหละนะ คุณพ่อก็ใช่ว่าจะเป็นพหูสูต ความจริง
                ท่านก็จำอะไรสมัยเด็กไม่ค่อยได้หรอก อายุป่านนี้แล้ว
๑๔  ปี       อย่าไปสนใจคุณพ่อเลย ท่านหัวโบราณออก
๒๑  ปี       คุณพ่อนะหรือ  โอ๊ย  ไดโนเสาร์ชัดๆ
๒๕ ปี        คุณพ่อก็รู้อะไรบ้างนิดๆหน่อยๆละน่า จะไม่รู้ได้ยังไง ท่าน
                อยู่มาจนป่านนี้
๓๐  ปี        บางทีเราน่าจะถามคุณพ่อก่อนนะ อย่างน้อยท่านก็มี ประสพ                 การณ์
๓๕ ปี        ฉันจะไม่ทำอะไรทั้งนั้น อย่างน้อยท่านก็มีประสบการณ์
๔๐  ปี       แหม ..อยากรู้จังว่า ถ้าเป็นคุณพ่อจะทำยังไง ท่านฉบาด                รอบรู้ เหลือเกิน แถมผ่านร้อนผ่านหนาวมานาน
๕๐ ปี        ฉันอยากให้คุณพ่อยังอยู่ด้วยกันเหลือเกิน จะได้ปรึกษาท่าน                น่าเสียดาย ทีฉันไม่ได้รู้ซึ้งถึงภูมิปัญญาของท่าน มิฉะนั้นคง                เรียนรู้  จากท่านได้มากมาย

แอนน์ แลนเดอร์ส

 

 

 

 

 

ตะไคร้

ชื่อวิทย์  Cymbopogon  citratus Stapt
ชื่อวงศ์  GRAMINAE
ชื่ออื่น    จะไคร(เหนือ), ไคร(ใต้), คาหอม(แม่ฮ่องสอน), หัวสิงโต(เขมรปราจีณ บุรี)


สรรพคุณ

ใบ
ต้น

เหง้า

ทั้งต้น

รสหอมปร่า, ลดความดันโลหิต
รสหอมปร่า ขับลม แ้ก้โรคทางเดินปัสสาวะ แก้นิ่ว ดับกลิ่นคาว
เจริญอาหาร
รสหอมปร่า แก้เบื่ออาหาร บำรุงไฟธาตุ แก้กระษัย ขับลมใน ลำไส้ แก้ปัสสาวะพิการ แก้นิ่ว
รสหอมปร่า แก้หืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ ขับเหงื่อ

สารสำคัญ   เมื่อนำมาสกัดด้วยไอน้ำ ได้น้ำมันหอมระเหย
          lemmongrass oil

                 หมายเหตุ  ตะไคร้ กับตะไคร้หอม เป็นพืชคนละชนิด


 

 



ความลับของตะไคร้

๑.   แก้ปวดมวนท้องไส้  ตะไคร้ ๓ ต้น ตัดต้นตัดใบดอกออก ล้างให้ สะอาด คั้นน้ำดื่มสัก ๑ ถ้วยตะไล

๒.   ขับปัสสาวะ  ตะไคร้ ๓ ต้นคั้นน้ำดื่ม ๑ ถ้วยตะไล ดื่มเช้าเย็น อาการ ปัสสาวะ ไม่ปกติจะทุเลาลง

๓.   ขับลมในลำไส้  เอาตะไคร้มาโขลกคั้นน้ำดื่ม

๔.   บำำรุงไฟธาตุ  ไฟธาตุไม่ดีพอ อึดอัดท้องไส้ ระบบทางเดินอาหารไม่ ปกติ(ไฟธาตุพิการ) เอาน้ำตะไคร้คั้นน้ำดื่ม ๑ ถ้วยตะไล หรือใช้ตะไคร้ต้ม กับน้ำดื่ม เช้า กลางวัน เย็น ไฟธาตุจะทำงานได้ตามปกติ

๕.   เจริญอาหาร  เอาตะไคร้สัก ๕ ต้น ล้างสะอาดทุบพอแตกต้มน้ำดื่ม ก่อนอาหาร เช้า เย็น จะหายจากการเบื่ออาหาร

๖.   แก้โรคหืด   ตะไคร้ต้มน้ำดื่มเช้า กลางวัน เย็น กลิ่นและรสของตะไคร้ ช่วยทำให้อาการของหืดทุเลาลง และหายได้ในที่สุด

๗.   ขับเหงื่อได้ดี  เมื่อเกิดครั้นเนื้อครั่นตัว ไม่สบาย อึดอัด เอาตะไคร้ ต้มน้ำดื่มสัก ๑ แก้วอุ่นๆ พอเหงื่อออก จะรู้สึกสบายเนื้อสบายตัว (ตะไคร้้เอาทั้งใบและต้น)

๘.   ลดความดันโลหิตสูง  เอาใบตะไคร้ต้มน้ำดื่ม สัก ๑ แก้ว เช้า กลางวัน เย็น ดื่มไปเรื่อยๆ ๕-๗ วัน ความดันจะเข้าสู่ปกติ

๙.   แก้นิ่ว  รากตะไคร้ล้างสะอาด ๑ กำมือ ต้มน้ำ เคี่ยวจนงวด ดื่มเช้า กลางวัน เย็น ครั้งละครึ่งแก้ว

 

 

 

 

 

๑๐.   เป็นยานอนหลับ  หัวตะไคร้ ต้มน้ำเคี่ยว ให้งวด ดื่มก่อนนอนทุกคืน ครั้งละ ครึ่งแก้ว อาการนอนไม่หลับ กระสับกระส่าย จะค่่อยๆ หายไปอย่าง ไม่น่าเชื่อ

๑๑.   แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ   เอาหัวตะไคร้ล้างน้ำสะอาด ต้ม เคี่ยวให้งวด ดื่มครั้งละครึ่งแก้ว ก่อนอาหาร หรือเวลามีอาการ

๑๒.   แก้ซาง  เอาหัวตะไคร้ต้มดื่ม เช้า กลางวัน เย็น อาการโรคซางจะ ค่อยๆหายไปได้

๑๓   แก้ลมอัมพาต  เอาหัวตะไคร้ล้างสะอาด ๑ กำมือ ต้มน้ำ เคี่ยวให้งวด ดื่มแก้ลมอัมพาต และลมอื่นๆด้วย

๑๔.   แก้กระษัยเส้น   หัวตะไคร้ ๑ กำมือ ต้มน้ำดื่ม อาการปวดเมื่อยเส้น เอ็น จะหายไป

 

 

 

 

 

 

 

ธูปหอมกันยุง

๑.  ตะไคร้หอมบดละเอียด
๒.  ผิวส้มทุกชนิด
๓.  เปลือกไก๋
๔.  ดินประสิว
๕.  กาวลาเท็กซ์, แป้งเปียก
๖.  ไม่ไผ่เหลาใช้ทำก้านธูป
๗.  น้ำมันตะไคร้หอม





พอประมาณ
พอประมาณ
พอประมาณ
ส่วน
ส่วน
ส่วน
ส่วน




        วิธีทำ

๑.  นำสมุนไพรในข้อ ๑ ๒ ๓ ตากแดดให้แห้ง บดละเอียด
๒.  นำผงสมุนไพรทั้งหมด ผสมกับดินประสิว คลุกให้เข้ากัน
๓.  นำไม้ไผ่ที่เหลาแล้วชุบกาว หรือแป้งเปียก แล้วนำมาหมุนใน สมุนไพรข้อ ๒ จนรอบไม้ไผ่ แล้วนำไปชุบกับน้ำมันตะไคร้หอมจนชุ่ม

วิธีใช้   จุดไล่ยุงและแมลงต่างๆ

สรรพคุณ  ปัองกันยุง แมลงสัตว์กัดต่อย

ข้อควรระวัง  เก็บไว้ห่างจากเด็ก สัตว์เลี้ยง แสงแดด อย่าจุดธูปใกล้ วัตถุไวไฟ

 

 

 

 

 

ของฝากจากกัลยาณมิตร

เทียนตะไคร้หอม

๑.  น้ำมันตะไคร้หอม
๒.  พาราฟีนแข็ง
๓.  ไส้เทียน
๔.  สีผสมน้ำมัน(ตามชอบใจ)
๕.  แบบพิมพ์
๑๕
๓๐๐
ซีซี.
กรัม

วิธีทำ

๑.   ละลายพาราฟีนแข็งด้วยวิธีผ่านความร้อน
๒.   ผสมสีลงในน้ำมันตะไคร้หอม คนให้เข้่ากันแล้ว เทผสม ลงในข้อ ๑
๓.   เตรียมไส้เทียนลงในแบบพิมพ์
๔.   เทส่วนผสมในข้อ ๒ ลงในแบบพิมพ์จนเกือบเต็ม รอให้ แข็งตัว แล้วเก็บไว้ใช้

วิธีใช้  จุดไล่แมลง ยุง

ข้อควรระวัง   อย่าไว้ใกล้มือเด็ก หรือจุดใกล้วัตถุไวไฟ

 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

HOME