สารศิลปยาไทย
ฉบับที่ ๒๐

 


กานพลู

                ชื่อวิทย์    E. earyophyllata  Thungberg
                ชื่อวงศ์    MYRTACEAE
                ชื่ออื่น     จันจี่

 

สมาคมผู้ประกอบโรคศิลปแผนไทย
เชียงใหม่


 

 



 





 

 

สัพเพ  ธัีมมา นาลัง อภินิเวสายะ

สรรพสิ่งทั้งหลายไม่ควรยึดมั่นถือมั่น

 


 

 





กานพลู

 ชื่อวิทย์  E. earyophyllata Thungberg
 ชื่อวงศ์  MYRTACEAE
 ชื่อทั่วไป จันจี่(เหนือ)

 

สรรพคุณ

รสเผ็ดร้อนปร่า กระจายเสมหะ แก้เสมหะเหนียว แก้หืด ทำให้อาหารงวด แก้ปวดฟัน แก้รำมะนาด แก้ปวดท้อง แก้ลม แก้เหน็บชา แก้พิษโลหิต พิษน้ำ เหลือง ขับน้ำคาวปลา ทำให้อุจจาระเป็นปกติ แก้ธาตุทั้ง ๔พิการ แก้ท้องขึ้น กดลมให้ลงสู่เบื้องต่ำ ดอกกานพลูมีแคลเซี่ยม และฟอสฟอรัส ช่วยบำรุงกระ ดูก และฟันให้แข็งแรง

 








 

 


ความลับของกานพลู

 

๑.   แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ใช้กานพลู ๕-๖ ดอก ต้มกับน้ำเล็กน้อย ดื่มเป็นยาได้ดี

๒.   แก้เด็กอ่อน ท้องอืดเฟ้อ   ใช้กานพลู ๑ ดอก แช่ไว้ใน กระติกน้ำร้อน ที่ใช้ชงนมให้เด็กอ่อน

๓.   ดับกลิ่นปาก   ใช้ดอกกานพลูบุบพอแตก อมแก้ปากเหม็น

๔.   แก้หืด ไอ   ใช้กานพลูผสมในยาแก้ไอ ช่วยขับเสมหะ และทำให้หายใจได้สะดวก

๕.   แก้ปวดฟัน   ใช้สำลีชุบน้ำมันกานพลูอุดฟันที่ปวด





 

 




ยาหม่องสมุนไพรกานพลู


๑.   วาสลินขาว
๒.   การบูร
๓.   เมนทอล
๔.   น้ำมันระกำ
๕.   พิมเสน
๖.   น้ำมันสะระแหน่
๗.   น้ำมันกานพลู
๘.   น้ำมันอบเชย
๙.   พาราฟินชนิดไขขาว
๑๐. น้ำมันสกัดจากกานพลู
๑๑. น้ำใบพลุเข้มข้น

๑๐๐๐
๑๐๐๐
๔๕๐
๙๐๐
๑๐๐๐
๔๕๐
๕๐
๕๐
๕๐๐
๕๐๐
๕๐๐

กรัม
กรัม
กรัม
กรัม
กรัม
กรัม
กรัม
กรัม
กรัม
กรัม
กรัม

 

วิธีปรุง  เอาหม้อแสตนเลส ใส่วาสลีนลงไป วางหม้อนี้ลงในหม้อใบใหญ่ ที่มีน้ำ ทำการตุ๋นตัวยาในหม้อแสตนเลสสตีล โดยใช้ความร้อนจาก น้ำร้อน จากน้ำร้อนในหม้อใบใหญ่ ตุ๋นด้วยไฟไม่แรงนัก เมื่อวาสลิน ละลาย ใส่ไขพาราฟินลงไปผสม กวนให้เข้ากัน จากนั้นเอาตัวยา ๒-๘ ใส่ลงไป ตามดัวยตัวยา ในข้อ ๑๐,๑๑ ใส่ตามลงไป เมื่อตัวยาเข้ากันดี ยกลงปล่อยให้เย็นลงพอสมควร ก็ใส่ขวดปากกว้างใส่ตลับนำไปใช้ได้

สรรพคุณ  ทาแก้หวัด คัดจมูก แก้ปวดเมื่อย แก้แมลงสัตว์กัดต่อย

 


 

 




จิตตภาวนา

       จิตตภาวนา แปลว่า การทำจิตให้เจริญ
นี้ก็อย่างหนึ่ง หรือจะเรียกว่า สมาธิภาวนา นี้แปลว่า
การทำให้เกิดคุณค่าด้วยอำนาจของสมาธิ
คือใช้สมาธิให้เกิดคุณค่าต่างๆ
จะเรียกว่าจิตตภาวนาก็ได้
เพราะว่ามันต้องทำด้วยจิตที่เจริญ
เรียกว่าทำด้วยสมาธิก็ได้
เพราะทุกอย่างนั้นต้องทำด้วืยจิตทีเ่ป็นสมาธิ
ถ้าว่าแยกออกไปอีกมันก็กลายเป็นเรื่องสมถะ
คือทำในส่วนจิต, และเป็นเรื่องวิปัสสนา
ทำในส่วนที่เป็นปัญญา


พุทธทาสภิกขุ


 




 

HOME