สารศิลปยาไทย
ฉบับที่ ๓๐

 

ข่า

  
    ชื่อวิทย์   Languas galanga(Linn.) Stuntz
    ชื่อวงศ์   ZINGIBERACEAE
    ชื่ออื่น    กฎุกโรหินี ข่าหลวง ข่าตาแดง

สมาคมผู้ประกอบโรคศิลปแผนไทย
เชียงใหม่



 

 







 

ความสำเร็จที่ได้มาจากการทำงาน
จะต้องเป็นสิ่งที่ยิ่งกว่าตำแหน่งหรือเงินเดือนขั้นสูง
จำไว้เลยว่ามันจะมีความหมายอันใด ถ้าใจยังเจ็บ
ตระหนักเลยว่าความเคารพนับถือ ความปิติใจนั้น
ไม่จำเป็นต้องมาจากรายได้ที่สูงส่ง

 

 


 

 



ข่า

ชื่อวิทย์   Languas galanga (Linn.) Stuntz
ชื่อวงศ์   ZINGIBERACEAE
ชื่อทั่วไป ข่าหยวก ข่าใหญ่ ข่าตาแดง             กฎุกโรหิณี ข่าหลวง

สรรพคุณ

ใบ


ดอก

ผล


หน่อ

เหง้า

 

 

ต้นแก่


ราก

 

รสเผ็ดร้อน ฆ่าพยาธิ กลากเกลื้อน ต้มอาบแก้ปวดเมื่อย ตามข้อ

รสเผ็ดร้อน แก้กลากเกลื้อน

รสเผ็ดร้อน ฉุน ช่วยย่อยอาหาร แก้ปวดท้อง แก้คลื่นเหียน อาเจียน แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้บิดมีตัว และไม่มีตัว

รสเผ็ดร้อน หวาน แก้ลมแน่นหน้าอก บำรุงไฟธาตุ

รสเผ็ดร้อน หวาน แก้ปวดท้อง จุกเสียดแน่น ขับลมให้ กระจาย แก้ฟกบวม แก้พิษ แก้บิด แก้ตกโลหิต แก้ลมบ่วง แก้กลากเกลื้อน ขับน้ำคาวปลา แก้สันนิบาตหน้าเพลิง ตำ กับมะขามเปียก และเกลือ ให้สตรีหลังคลอดรับประทาน ขับเลือด ขับน้ำคาวปลา ขับรก

รสเผ็ดร้อนซ่า ตำผสมน้ำมะพร้าว ทาแก้ปวดเมื่อยตาม กล้ามเนื้อ ตามข้อ แก้ตะคริว

รสเผ็ดร้อนปร่า ขับเลือดลม ให้เดินสะดวก แก้เหน็บชา แก้เสมหะและโลหิต




 

 




ความลับของข่า

 

๑.   ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด  นำเหง้าแก่มาฝน กับน้ำต้มสุก รับประทานครั้งละ ๑ ถ้วยตะไล หรือ ๒ ช้อนแกง แล้วดื่ม น้ำเข้าไปเล็กน้อย แก้อาการดังกล่าวได้ดีมาก

๒.   แก้กลากเกลื้อน  นำเหง้าย่าแก่ ฝนผสมกับเหล้าขาว หรือเหล้า โรง ทิ้งไว้ ๑ คืน แล้วจึงนำมาใช้ทาแผลกลากเกลื้อน( ก่อนทายาให้ไม้ ไผ่เหลาบางๆ ขูดแผลกลากเกลื้อน ให้ถลอกก่อนทายา)

๓.   แก้บวมช้ำได้ดี  เอาหัวข่าแก่ฝนน้ำ ทาบริเวณบวม ช้ำ เช้าำ-เย็น อาการบวมช้ำ อักเสบ จะค่อยๆหายไป

๔.   แก้ปวดท้อง   นำหัวข่าแก่ฝนกับน้ำ ๑ ถ้วยตะไล เติมเหล้าขาว หรือเหล้าโรง อีก ๑ ถ้วยตะไล ดื่มแก้ปวดมวนในท้อง ในไส้

๕.   แก้ลมพิษ  เอาเหง้าข่าแก่ๆ บดละเอียด ผสมเหล้าขาว หรือเหล้า โรง ทาบริเวณที่เป็นลมพิษบ่อยๆ อาการคันจากลมพิษ จะค่อยหายเป็น ปกติ

๖.   แก้ปวดฟัน บรรเทารำมะนาด   นำเหง้าแก่สด ตำผสมเกลือ เล็กน้อย โขลกให้ละเอียด ใส่ีรูฟันที่ปวด หรืออมไว้ที่เหงือก

๗.   แก้ไอ  ใช้ข่าทุบฝานบางๆ บีบมะนาว เติมน้ำตาลแล้วอมไว้ เคี้ยว กลืน

 




 

 




ยาบำรุงเลือดสตรี

๑.  ฝาง
๒.  ใบมะกา
๓.  ข่า
๔.  เกลือ



ส่วน
ส่วน
ส่วน
ส่วน


วิีธีทำ

สรรพคุณ

ต้มรับประทานก่อนอาหาร ๓ เวลา ครั้งละ ๑ แก้ว

บำรุงเลือด ขับเลือดเสีย

 



ยาแก้บวมทั้งตัวและบวมเท้า

๑.  ไพลแดง
๒.  ใบมะกา, หัวข่า
๓.  ข้าวเย็นหนือ-ใต้ สิ่งละ
๔.  การบูร


๑๐
๑๐

ตำลึง
ตำลึง
ตำลึง
บาท

ต้มกินทุกวัน

 




 

 



ยาหม่องไพล

ลดการอักเสบ แก้เคล็ดขัดยอก

๑.  น้ำมันไพล
๒.  ขี้ผึ้งหรือพาราฟินส์
๓.  วาสสีน

แก้ว
แผ่น

วิธีใช้


สรรพคุณ


วิธีทำ

ใช้ทาถูบริเวณคล็ดขัดยอก ปวดเมื่อย กล้ามเนื้อ

ลดอาการอักเสบ แก้เคล็ดขัดยอก และแก้ปวด เมื่อย

๑.  นำขี้ผึ้งมาเคี่ยว ใช้ไฟอ่อน จนละลาย แล้ว ใส่วาสลีนลงไปจนละลาย
๒.  จากนั้นก็นำน้ำมันไพลใส่ลงไป
๓.  ยกลงจากเตา ตักบรรจุใส่ขวดแก้ว(ห้าม ใส่ขวดพลาสคิ)
๔.  ถ้าชอบยาหม่องแบบแข็งๆ หน่อย ก็เติม ขี้ผึ้งลงไป ถ้าชอบยาหม่องแบบอ่อนๆ ก็เติม น้ำมันไพลเพิ่มเข้าไป)

 

 



 

 




ของฝากจากเฒ่าไม้แห้ง

แก้โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

๑.  ข่าอ่อน
๒.  กระชายดำ
๓.  เมล็ดกระเจี๊ยบแดง
๔.  น้ำผึ้ง

วิธีใช้





รับประทาน


สรรพคุณ

นำ ๑,๒,๓ หั่นตากแห้ง อย่าง ละเท่าๆกัน มาบดให้ละเอียด แล้วผสมน้ำผึ้งเล็กน้อย พอ ปั้นให้เป็นลูกกลอนเม็ดเท่าลูก มะเขือพวง

ครั้งละ ๑ เม็ด ๓ เวลาก่อน อาหาร

บำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย

 

 

 

 

 



แม่

 

แม่ผู่แก่เฒ่าเดินไม่ได้คนหนึ่งเป็นที่รำคาญใจของลูกๆเหลือเกิน
สมัยนั้นยังไม่มีสถานสงเคราะห์คนชรา จึงไม่รู้่ว่าจะเอาแม่ไปฝากใคร
ให้่เลี้ยงแทน จึงตัดสินใจแบกแม่ไปปล่อยป่า
ให้อยุ่ตามยถากรรม แม่ไม่วอนขอ ไม่ถาม ไม่ว่าอะไร
ตั้งใจหักกิ่งไม้ตามทางเรื่อยไป เข้าป่าลึกไกลมากแล้ว
ลูกวางแม่ลงบนโขดหิน แล้วหันหลังเดินกลับไปทางเดิม
ตอนนี้เอง แม่ตะโกนตามหลังลูกไปว่า
" ลุกเอ๋ย เดินตามรอยกิ่งไม้ที่แม่หักไว้ให้นะ จะได้ไม่หลงทาง"

 

 

(บทความจาก กระจกเงา -ศุภนิมิต แปลและเรียบเรียง)





HOME