ชื่อไทย มะนาว
ชื่อวิทยาศาสตร์ Citrus aurantifolia Swing
ชื่ออื่น โกรยชะม้า(สุรินทร์), ปะนอเกล,มะนอเกละ, มะเน้าด์เล (กระเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), หมากฟ้า(จาน-แม่ฮ่องสอน), ส้มมะนาว,มะลิว(เชียงใหม่)
ลักษณะ
ไม้ต้นขนาดเล็ก หรือไม้พุ่ม สูง ๑.๕-๔ เมตร แตกกิ่งก้านสาขา ต้นกิ่งมี หนามแหลมคม ใบเป็๋นใบประกอบ มีใบย่อยใบเดียว (Unifoliate) มีครีบ (Winged petiole) ขนาดเล็กมาก ผิดกับมะกรูดที่มีขนาดใหญ่ ใบมีกลิ่นหอม เนื่องจากมีต่อม น้ำมันเป็นจำนวนมาก ดอกออกเป็นช่อรวมกันเป็นกระจุก สีขาว มีกลิ่นหอม กลีบ ดอกสีขาว ร่วงง่าย ผลกลมมีหลายขนาด แล้วแต่พันธ์ เส้นผ่าศูนย์กลางของผล ประมาณ ๓-๔.๕ ซม. ผลเป็นชนิด (hesperidium) ภายในผลมีน้ำที่มีรสเปรี้ยวจัด
ส่วนที่ใช้
ผิวผล ผลแก่จัด เมล็ด ใบและราก
สารสำคัญ
ผิวของผลมีน้ำมันหอมระเหย ประกอบด้วย Citral, Imonnene, linadol, linalyl acetate, terpineol, cymene
น้ำมะนาว มีซิตริค เอซิด และวิตามินซี สูง
ใบมีน้ำมันหอมระเหย มี coumarin, isopimpinellin
วิธีทำน้ำมะนาว
ชงน้ำตาลด้วยน้ำร้อนพอละลาย เติมเกลือเล็กน้อยตามชอบ แล้วคั้นน้ำมะนาว ลงไปคนให้เข้ากันดี ชิมรสตามชอบ อาจดื่มอุ่นๆ หรือใส่น้ำแข็งดื่มชุ่มคอดี หรือจะ นำไปปั่นต่อเป็๋นไอศครีมมะนาว ประกอบด้วย วิตามินซี ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน หวัด ผสมในเครื่องดื่มและอาหาร เพิ่มรสชาติ
สารอาหารจากน้ำมะนาว
คาร์โบไอเดรท ๘.๓ กรัม โปรตีน ๐.๕ กรัม
ไขมัน - กรัม แร่ธาตุ(ca.P.fe.) ๙,๘,๐.๑ กรัม
พลังงาน ๒๔ แคลอรี่ วิตามิน เอ(แคโรทีน) - กรัม
วิตามินบี ๑ ๐.๐๒ มก. วิตามินบี ๒ ๐,๐๓ กรัม
วิตามินบี ๔ (ไนอะซิน) ๐.๒ มก. วิตามินซี ๒๕ มก.
|