สารศิลปยาไทย

ฉบับที่ ๗


หนุมานประสานกาย

 

 

 

ชื่อวิทยาศาสตร์
Scheffera  Levcantha  vigvier

ชืี่อวงศ์
ชื่ออื่น

 

ARALIACEAE
ว่านอ้อยช้าง ( เลย )

 

สมาคม ผู้ประกอบโรคศิลปแผนไทย
เชียงใหม่


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ผู้ฝังใจในความแพรวพราวของแสงไฟแห่งยุค
ย่อมไม่เห็นคุณค่าของชีวิตสามัญ
ผู้ฝังใจในความสวยความสาว
ย่อมสะอึกสะอื้นถึงเส้นผมที่หงอกขาว

ถิ่นฐาน สมบัติ อำนาจ ล้วนเป็นบทบาทมงกุฎทีสมมุติชั่วคราว
ใยต้องรอให้เกษียณแล้วจึงเข้าใจความจริงนี้
อย่าว่าแต่สมบัติรัศมีอำนาจเลย
แม่แต่ร่างกาย, พระเจ้าให้มายืมใช้เพียงชั่วคราวเช่นกัน

 

 

 

 

 

 

 


ลูกกลอนหนุมาณประสานกาย
ลดอาการหืดหอบ ไอเรื้อรัง ช้ำใน

 

 

 

ตัวยา



วิธีทำ










สรรพคุณ

๑. หนุมานประสานกาย ( บดเป็นผงละเอียด)
๒. น้ำผึ้ง


๑.  นำน้ำผึ้งไปเคี่ยวเพื่อให้ระเหยน้ำออก เดี่ยวจนน้ำผึ้งจับตัวเป็น ก้อน รอจนน้ำผึ้งเย็น จึงค่อยนำไปผสมกับตัวยา
๒.  ผสมผงยาและน้ำผึ้งลงในภาชนะ ที่เตรียมไว้ ค่อยๆเทน้ำผึ้งทีละ นิดและคลุกเคล้าเรื่อยๆ จนตัวยาเหนียวเป็นก้อน ปั้นได้
๓.  พอเหนียวได้ที่ ก็แผ่ออกเป็นแผ่น แล้วใช้เครื่องพิมพ์ลูกกลอนกด จะได้ลูกกลอนกลมเท่ากัน
๔.  นำไปอบแห้งที่อุณหภูมิ ๔๕ องศา เซ็นติเกรด ผึ่งแดด ๓-๔ วัน ให้แห้ง
๕. เก็บใส่ขวดปิดฝาให้สนิท ใส่ซิลิก้า เจ็ล ลงไปด้วยเพื่อป้องกันความ ชื้น

แก้อาการแพ้ หอบหืด ช้ำใน ไอเรื้อรัง





 

 

 

 

ความลับของหนุมานประสานกาย

๑.  เอาหนุมาณประสานกาย ๕-๑๐ ช่อ ต้มกับน้ำประมาณ ๗-๑๐ แก้ว แล้วดื่มต่าง น้ำ หรือ ดื่มวันละ ๑ ครั้ง แก้หวัด ภูมิแพ้ หอบหืด

๒.  ใช้หนุมาณประสานกาย ๑-๓ ช่อ ตำละเอียดต้มกับน้ำครึ่งแก้ว แล้วกรองด้วย ผ้าบาวบาง ใช้น้ำยานี้กิน ทุกเช้า-เย็น เป็นตัวยาค่อนข้างเข้มช้น เหมาะกับการ รักษาโรคช้ำใน

๓.  รับประทานใบสด ๑-๒ ใบ เคี้ยวให้ละเอียด แล้วกลืน เช้า-เย็น เหมาะกับอาการ แผลในปากที่เกิดจากร้อนใน

๔.  ใช้ใบสด ๑๐ ใบ ตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำผสมกับเหล้าขาว ใช้เป็นยาแก้ไอ แก้หอบหืด แก้อาเจียนเป็นเลือด

๕.  ใช้ใบสดตำให้ละเอียด เอากากมาพอก หรือทา สมานแผล และห้ามเลือด

 

 

๖.  วัณโรค ใช้รากสดพุดตาน ๑๐ กรัม ใบหนุมาณประสานกาย ๑๐ ช่อ ต้มน้ำกิน

๗.  แก้เจ็บคอ  ใช้ใบหนุมานประสานกาย เคี้ยวสดๆ กลืนช้าๆ

๘.  การตกเลือดเนื่องจากการคลอดบุตร ในระหว่างคลอด หรือภายหลังคลอดบุตร หรือเนื่องจากตกเลือด เพราะใกล้หมดประจำเืดือน ให้เอาใบหนุมานประสานกายสด ๑๐-๑๕ ช่อ ตำให้ละเอียดผสมสุราโรง ๔-๖ ช้่อน แล้วคั้นเอาน้ำกิน

 

 

 

 

 

 

 


มองแต่ในแง่ดีเถิด

 

เขามีส่วน
จงเลือกเอา
เป็นประโยชน์
ส่วนที่ชั่ว

 

จะหาคน
อย่ามัวเที่ยว
เหมือนเที่ยวหา
ฝึกให้เคย

เลวบ้าง
ส่วนที่ดี
โลกบ้าง
อย่าไปรู้

 

มีดี
คนหาสหายเอ๋่ย
หนวดเต่า
มองแต่ดี

ช่างหัวเขา
เขามีอยู่
ยังน่าดู
ของเขาเลย ....

 

โดยส่วนเดียว

ตายเปล่าเลย
มีคุณจริงๆ

 

( ร้อยกรองคำกลอน - ท่านพุทธทาส อินฺทปญฺโญ )

 

 

 

 

 

 

 

 

ชื่อวิทยาศาสตร์
ชื่ออื่น
ลักษณะ 
Schefflera  leucantha  Viguier
ว่านอ้อยช้าง (เลย), ชิดฮะลั้ง (จีน)

           

          เป็นไม้พุ่มขนาดย่อม สูง ๑-๓ เมตร ใบประกอบแบบนิ้วมือ ใบย่อย ๕-๗ ใบ รูปหอกแคบปลายและโคนเรียวแหลม ไม่หนาเกินไป ผิวและขอบเรียบ ก้านใบช่อ สั้น ก้านช่อใบยาว ดอกเล็กสีขาว แกมเหลือง เขียวเป้นช่อ กระจาย
          ผลกรมเท่าเมล็๋ดพริกไทย สีเหลือง เป็นพวงหนาแน่น

ขยายพันธุ์    
        
ด้วยเมล็ดและกิ่งตอน

สรรพคุณ
        ใบ   
รสหอมเผ็ดปร่า ขมฝาดเล็กน้อย ตำผสมสุราหรือต้มกับน้ำ รับประทาน แก้เจ็บคอ คออักเสบ แก้ปอดและหลอดลมอักเสบ แก้ช้ำใน แก้เส้นเลือดฝอยในสมอง แตก ทำให้เป็นอัมพาต แก้อาเจียนเป็นเลือด ตำพอกแผลสด ห้ามเลือด สมานแผล แก้อักเสบบวม กระจายเลือดที่จับเป็นก้อนหรือคั่งในสมอง เส้นเลือด ในสมองแตก เนื่องจากกระทบกระแทก เป็นอัมพาตทั้งต้น รสหอมเผ็ปร่าขมฝาดเล็กน้อย ปรุงยา แก้ปวดเมื่อยตามเนื้อ ตัว แก้อัมพฤษ์ ทำให้เลือดลมเดินสะดวก ต้มดื่มรักษา โรคกระ เพาะอาหารและลำไส้

สารสำคัญ
        
มี ๒ ชนิด ชนิดแรก มีฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อหลอดลมขยาย แต่ไปหดหัวใจ
          อีกชนิดหนึ่งมีฤทธิ์ ทำให้กล้ามเนื้อหลอดลมตีบ และไปกระตุ้นหัวใจ เป็นสาร พวก ซาโปนิน มี ๕ ชนิด

 

 

 

 

 

 

 


ของฝากจากหมอโพธิ์

ยาแก้แพ้อากาศ ภุมิแพ้

 

๑.  หนุมานประสานกาย
๒.  ผิวมะกรูด
๓.  โกฐสอ
๔.  ไพล
๕.  เกสรทัง ๙
๒๐
๒๐
๒๐
๒๐
๒๐
กรัม
กรัม
กรัม
กรัม
กรัม


         วิธีปรุงยา     ผสมยาทั้งหมดคลุกเคล้าหใ้เข้ากัน แล้วนำบรรจุแคปซูล
   
          อัตรากิน     ๓-๔ แคปซูล ก่อนอาหาร และก่อนนอน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ยามไหนก็ได้

 

ยามจะได้
ยามจะเป็น
ยามจะตาย
ถ้าอย่างนี้

ได้ให้เห็นผ
เป็นให้ถูก
ตายให้เป็น
ไม่มีทุกข์

ไม่เป็นทุกข์
ตามวิถี
เห็นสดุดี
ทุกวันเลย ๆ

 

( จากร้อยธรรมคำสอน - ท่านพุทธทาส อินทฺปญฺโญ )