การจัดโต๊ะหมู่สำหรับตั้ง ร.๖
พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙  ทรงแต่งเครื่องแบบลูกเสือครั้งแรก ในงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งที่ ๔ ณ สวนลุมพินี
พระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ พระราชทานธงประจำกองลูกเสือ เมื่อ ๒๙ พ.ย. ๒๔๘๑
สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ทรงเครื่องแบบลูกเสือ
ธงประจำกองลูกเสือ
การตั้งโต๊ะหมู่ในพิธีการลูกเสือ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คติพจน์ของลูกเสือ " เสียชีพอย่าเสียสัตย์ "
คำปฏิญาณของลูกเสือ
"คำปฎิญาณลูกเสือสำรอง" " ข้าสัญญาว่า" ข้อ ๑ ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ข้อ ๒ ข้าจะยึดมั่นในกฎของลูกเสือสำรองและบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่นทุกวัน "คำปฎิญาณลูกเสือสามัญ,สามัญรุ่นใหญ่,วิสามัญ" " ด้วยเกียรติของข้า ข้าสัญญาว่า" ข้อ ๑ ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ข้อ ๒ ข้าจะช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ ข้อ ๓ ข้าจะปฏิบัติตามกฎของลูกเสือ
กฎของลูกเสือ
"กฎลูกเสือสำรอง" ข้อ ๑ ลูกเสือสำรองทำตามลูกเสือรุ่นพี่ ข้อ ๒ ลูกเสือสำรองไม่ทำตามใจตนเอง "กฏลูกเสือสามัญ,สามัญรุ่นใหญ่,วิสามัญ" ข้อ ๑ ลูกเสือมีเกียรติเชื่อถือได้ ข้อ ๒ ลูกเสือมีความจงรักภัดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และซื่อตรงต่อผู้มีพระคุณ ข้อ ๓ ลูกเสือมีหน้าที่กระทำตนให้เป็นประโยชน์และช่วยเหลือผู้อื่น ข้อ ๔ ลูกเสือเป็นมิตรของคนทุกคนและเป็นพี่น้องกับลูกเสืออื่นทั่วโลก ข้อ ๕ ลูกเสือเป็นผู้สุภาพเรียนร้อย ข้อ ๖ ลูกเสือมีความเมตตากรุณาต่อสัตว์ ข้อ ๗ ลูกเสือเชื่อฟังคำสั่งของ บิดา มารดา และผู้บังคับบัญชาด้วยความเคารพ ข้อ ๘ ลูกเสือมีใจร่าเริ่ง ไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก ข้อ ๙ ลูกเสือเป็นผู้มัธยัสถ์ ข้อ ๑๐ ลูกเสือประพฤติชอบด้วย กาย วาจา ใจ
การแสดงรหัสของลูกเสือ

รหัสของลูกเสือเป็นเครื่องหมายเฉพาะในวงการลูกเสือ ซึ่งลูกเสือรับรู้และเข้าใจความหมายซึ่งกันและกัน วัตถุประสงค์ของการแสดงรหัสลูกเสือเพื่อจะให้ลูกเสือรู้และเข้าใจว่า "เราเป็นพวกเดียวกัน"

"วิธีแสดงรหัส " งอข้อศอกขึ้นชิดลำตัว หันฝ่ามือข้างหน้าสูงเสมอไหล่ ให้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วก้อยรวบจนติดกันนิ้วหัวแม่มือทับนิ้วก้อย อีกสามนิ้วที่เหลือเหยียดขึ้นไปตรงๆและติดกัน " นิ้วทั้งสามมีความหมายถึงคำปฎิญาณสามข้อ นิ้วหัวแม่มือกดทับนิ้วก้อยหมายถึงผู้ที่แข็งแรงกว่าคุ้มครองและช่วยเหลือผู้ที่อ่อนแอกว่า และที่นิ้วหัวแม่มือทับนิ้วก้อยเป็นวงกลม หมายถึงลูกโลก ลูกเสือเป็นพี่น้องกันทั่วโลก "โอกาสที่จะแสดงรหัส "เมื่อลูกเสือกล่าวคำปฎิญาณ หรือในพิธีที่ลูกเสืออื่นกล่าวคำปฎิญาณ หรือ เมื่อพบกับลูกเสืออื่นในหรือต่างประเทศเพื่อให้รู้ว่าเป็นพวกเดียวกัน
การทำความเคารพของลูกเสือ

"ลูกเสือสำรอง "จะแสดงความเคารพ ได้ ๒ วิธี คือ ๑.แสดงความเคารพเป็นบุคคล ลูกเสือจะสวมหมวกหรือไม่สวมหมวก ทำวัทยหัตถ์ ๒ นิ้ว คือ ยกมือขวาขึ้นแยกนิ้วชี้กับนิ้วกลางออกเหยียดตรง (รูปตัววี) แล้วให้นิ้วชี้แตะที่กะบังหมวกต่อขอบหมวก ถ้ามิได้สวมหมวกให้นิ้วชี้แตะที่หางคิ้วขวา ๒.การทำความเคารพเป็นหมู่ คือการทำแกรนด์ฮาวล์ "ลูกเสือสามัญ ,ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่,ลูกเสือวิสามัญ "จะแสดงความเคารพได้ ๒ วิธีคือ ๑. วันทยหัตถ์ คือยกมือขวาขึ้นให้ นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง ติดกันชี้ขึ้นตรง นิ้วห้วแม่มือกดนิ้วก้อย แล้วให้นิ้วชี้แตะที่ขอบหมวก หมวกปีก หรือแตะที่หางคิ้วขวาถ้าสวมหมวกทรงอ่อน (เบเร่ต์) หรือมิได้สวมหมวก ถ้าอยู่ในแถวผู้กำกับฯจะบอก "ตรง" ๒.วันทยาวุธ คือการ เคารพท่าพลองหรือไม้ง่าม ให้ยืนตรงพลองหรือไม้ง่ามแนบชิดตัวทางขวา ยกมือซ้ายทำแบบเดียวกับแสดงรหัสขึ้นแตะพลองหรือไม้ง่ามให้แขนซ้ายอยู่เสมอแนวระดับไหล่ คว่ำฝ่ามือลง การสัมผัสมือแบบลูกเสือ ยืนมือซ้ายออกไปแล้วสัมผัสกับมือซ้ายของอีกฝ่ายหนึ่ง ส่วนมือขวาอาจจะทำวัทยหัตถ์ก็ได้
กลุ่มลูกเสือ - กองลูกเสือ

กองลูกเสือสำรองประกอบด้วยลูกเสืออย่างน้อย ๒ หมู่และไม่เกิน ๖ หมู่ หมู่หนึ่งมีลูกเสือ ๔ - ๖ คน รวมทั้งนายหมู่และรองนายหมู่ด้วย มีผู้กำกับลูกเสือ ๑ คน และรองผู้กำกับลูกเสือ กองลูกเสือสามัญประกอบด้วยลูกเสืออย่างน้อย ๒ หมู่และไม่เกิน ๖ หมู่ หมู่หนึ่งมีลูกเสือ ๖ - ๘ คน รวมทั้งนายหมู่และรองนายหมู่ด้วย มีผู้กำกับลูกเสือ ๑ คน และรองผู้กำกับลูกเสือ กองลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ประกอบด้วยลูกเสืออย่างน้อย ๒ หมู่และไม่เกิน ๖ หมู่ หมู่หนึ่งมีลูกเสือ ๔ - ๘ คน รวมทั้งนายหมู่และรองนายหมู่ด้วย มีผู้กำกับลูกเสือ ๑ คน และรองผู้กำกับลูกเสือ กองลูกเสือวิสามัญประกอบด้วยลูกเสือ ๑๐ - ๖๐ คนปกติมีเพียง ๒๐ - ๓๐ คน กองลูกเสือวิสามัญจะแบ่งเป็นชุดหรือหมู่ตามความจำเป็นและความต้องการก็ได้ และควรมีนายหมู่ ๑ คน และรองนายหมู่ ๑ คน ต่อลูกเสิอวิสามัญ ๔ - ๖ คน มีผู้กำกับลูกเสือ ๑ คน และรองผู้กำกับลูกเสือ กลุ่มลูกเสือ ประกอบด้วยกองลูกเสือ ๔ ประเภท คือ กองลูกเสือสำรอง กองลูกเสือสามัญ กองลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ กองลูกเสือวิสามัญ รวมกันประเภทละ ๑ กองเป็นอย่างน้อย เรียกว่ากลุ่มลูกเสือที่สมบูรณ์ หรือประกอบด้วยลูกเสือประเภทเดียวตั้งแต่ ๔ กองขึ้นไป หรือลูกเสือประเภทละ ๒ กอง รวม ๔ กองขึ้นไปเรียกว่ากลุ่มลูกเสือไม่สมบูรณ์ การเรียกชื่อกลุ่มลูกเสือให้เรียกตามสถานที่ตั้งกลุ่มลูกเสือ เช่น " กลุ่มลูกเสือโรงเรียน......................."
ธงลูกเสือ

๑.ธงคณะลูกเสือแห่งชาติ ีมีรูปลักษณะขนาดตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติธงและธงดังกล่าวนี้จะได้รับพระราชทานจาก พระประมุขของคณะลูกเสือแห่งชาติ ๒.ธงลูกเสือประจำจังหวัดมีรูปลักษณะขนาดตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติธงและธงดังกล่าวนี้จะได้รับพระราชทานจาก พระประมุขของคณะลูกเสือแห่งชาติ ๓.ธงประจำกลุ่มหรือกองลูกเสือแบ่งตามประเภทของลูกเสือดังนี้ - ธงลูกเสือสำรอง ทำด้วยผ้าสีเหลืองขนาด ๙๐ X ๖๐ ซม. มีครุยสีเขียวยาว ๘ ซม. สามด้าน ตรงกลางมีรูปตราคณะลูกเสือแห่งชาติสีเขียวขนาด ๔๐ X ๒๕ ซม. ใต้ตราบอกชื่อกลุ่มกองลูกเสือ ตัวอักษรพิมพ์ธรรมดาสีเขียว ขนาดพองาม ยอดคันธงทำด้วยโลหะเป็นรูปวชิรสีเงิน - ธงลูกเสือสามัญ ทำด้วยผ้าสีเขียวขนาด ๑๒๐ X ๘๐ ซม. มีครุยสีเหลือง ยาว ๘ ซม. สามด้าน ตรงกลางมีรูปตราคณะลูกเสือแห่งชาติสีเหลือง ขนาด ๔๐ X ๒๕ ซม. ใต้ตราบอกชื่อกลุ่มกองลูกเสือ ตัวอักษรพิมพ์ธรรมดาสีเหลือง ขนาดพองาม ยอดคันธงทำด้วยโลหะเป็นรูปวชิรสีเงิน - ธงลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ทำด้วยผ้าสีเลือดหมูขนาด ๙๐ X ๖๐ ซม. มีครุยสีเหลืองยาว ๘ ซม. สามด้าน ตรงกลางมีรูปตราคณะลูกเสือแห่งชาติสีเขียวขนาด ๔๐ X ๒๕ ซม. ใต้ตราบอกชื่อกลุ่มกองลูกเสือ ตัวอักษรพิมพ์ธรรมดาสีเหลือง ขนาดพองาม ยอดคันธงทำด้วยโลหะเป็นรูปวชิรสีเงิน - ธงลูกเสือวิสามัญ ทำด้วยผ้าสีขาบ ขนาด ๙๐ X ๖๐ ซม. มีครุยสีเหลืองยาว ๘ ซม. สามด้าน ตรงกลางมีรูปตราคณะลูกเสือแห่งชาติสีเขียวขนาด ๔๐ X ๒๕ ซม. ใต้ตราบอกชื่อกลุ่มกองลูกเสือ ตัวอักษรพิมพ์ธรรมดาสีเหลือง ขนาดพองาม ยอดคันธงทำด้วยโลหะเป็นรูปวชิรสีเงิน ๔.ธงประจำหมู่ลูกเสือ
พิธีเข้าประจำกองลูกเสือสำรอง

"ในพิธีเข้าประจำกองลูกเสือสำรองหรือเรียกว่าพิธีปฏิญาณตนหรือเรียกว่าพิธีต้อนรับลูกเสือใหม่นั้น ให้เป็นหน้าที่ของกองลูกเสือต่างกองต่างจัดทำ" ๑. กองลูกเสือสำรองทำรูปวงกลมใหญ่ ๒. หมวกที่ติดเครื่องหมายลูกเสือสำรองแล้วกับเครื่องหมายลูกเสือสำรองที่จะติดกระเป๋าเสื้ออยู่ที่ผู้กำกับ ๓. ธงประจำกองให้รองผู้กำกับฯถือไว้ในท่าตรงนอกวงกลม ๔. ลูกเสือใหม่อยู่นอกวงกลม (แต่งเครื่องแบบครบเว้นแต่เครื่องหมายลูกเสือสำรอง) ด้านหลังของหมู่ที่จะเข้าไปอยู่ ๕. ผู้กำกับฯเรียกลูกเสือใหม่เข้ามาในวงกลมหน้าผู้กำกับ (ถ้าหลายคนให้เข้าแถวหน้ากระดาน) ๖. ผู้กำกับสอบถามลูกเสือใหม่ดังนี้ - ผู้กำกับฯ " เจ้าต้องการเป็นลูกเสือสำรองใช่หรือไม่" - ลูกเสือใหม่ " ใช่ครับ" - ผู้กำกับฯ " เจ้าเข้าใจ กฏ คำปฏิญาณ การทำความเคารพ และการทำแกรนด์ฮาวล์ หรือไม่" - ลูกเสือใหม่ " ข้าเข้าใจและปฏิบัติได้" - ผู้กำกับฯ " กฎมีว่าอย่างไร " - ลูกเสือใหม่ " ข้อ ๑ ลูกเสือสำรองทำตามลูกเสือรุ่นพี่" " ข้อ ๒ ลูกเสือสำรองไม่ทำตามใจตนใจ" - ผู้กำกับ " ถ้าเช่นนั้นจะให้เชื่อได้หรือไม่ว่า ข้อ ๑ เจ้าจะจงรักภักดีต่อ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ข้อ ๒ เจ้าจะยึดมั่นในกฎของลูกเสือสำรองและบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่นทุกวัน" - ลูกเสือใหม่ ทำวันทยาหัตถ์ " ข้าสัญญาว่า ข้อ ๑ เจ้าจะจงรักภักดีต่อ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ข้อ ๒ เจ้าจะยึดมั่นในกฎของลูกเสือสำรองและบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่นทุกวัน" - ผู้กำกับ " เจ้าจงรักษาสัญญาของเจ้าไว้ให้มั่นต่อไป บัดนี้เจ้าได้เข้าเป็นลูกเสือสำรอง และเป็นสมาชิกผู้หนึ่งในคณะพี่น้องลูกเสือแห่งโลกอันยิ่งใหญ่แล้ว" ลูกเสือลดมือลง ๗. ผู้กำกับฯมอบเครื่องหมายลูกเสือสำรองสำหรับติดที่กระเป๋าเสื้อ และมอบหมวกให้ลูกเสือรับมาสวมเอง ลูกเสือทำวันทยาหัตถ์และลดมือลงแล้วสัมผัสมือกับผู้กำกับฯ ๘. เสร็จแล้วลูกเสือใหม่ทำกลับหลังหันทำความเคารพลูกเสือเก่าด้วยท่าวันทยาหัตถ์ลูกเสือเก่ารับความเคารพด้วยการทำวันทยาหัตถ์เช่นกันแล้วลดมือลงพร้อมกัน ๙. ผู้กำกับฯสั่งลูกเสือใหม่เข้าประจำหมู่ โดยสั่งว่า " ลูกเสือใหม่เข้าประจำหมู่ วิ่ง " ลูกเสือใหม่วิ่งเข้าประจำหมู่ของตนที่ได้จัดแบ่งไว้แล้ว ๑๐. เสร็จพิธีแล้วทำแกรด์ฮาวล์ หมายเหตุขณะที่ลูกเสือกล่าวคำปฏิญาณต่อหน้าผู้กำกับฯนั้น ผู้กำกับฯทำวันทยหัตถ์ ๒ นิ้ว ส่วนรองผู้กำกับฯหรือผู้บังคับบัญชาท่านอื่น ทำรหัสลูกเสือ ๓ นิ้ว ส่วนลูกเสือเก่าและลูกเสือใหม่ที่กล่าวคำปฎิญาณแล้วทำวันทยหัตถ์ ลูกเสือใหม่ที่ยังไม่กล่าวคำปฏิญาณให้ยืนตรงเฉยๆ
พิธีเข้าประจำกองลูกเสือสามัญ

พิธีเข้าประจำกองลูกเสือสามัญ หรือเรียกว่าพิธีปฎิญาณตนนี้ให้เป็นหน้าที่ของกองลูกเสือต่างกองจัดทำและให้ปฎิบัติดังต่อไปนี้ โดยให้ทำพิธีเปิดประชุมกองก่อน ๑.จัดลูกเสือเก่า (คือลูกเสือที่ปฎิญาณตนแล้ว) อย่างน้อย ๖ คน เป็นผู้แทนคณะลูกเสือแห่งชาติ เข้าแถวหน้ากระดาน และลูกเสือใหม่(คือลูกเสือที่จะปฎิญาณตน) เข้าแถวหน้ากระดานเหมือนกันอยู่หลังลูกเสือเก่า (ลูกเสือเก่าและลูกเสือใหม่มีไม้พลอง) ๒. ผู้กำกับฯยืนอยู่แถวหน้า มีรองผู้กำกับฯยืนอยู่ด้านขวามือ เพื่อรับฝากพลองกับหมวกของลูกเสือใหม่ ๓. ผู้กำกับฯเรียกชื่อลูกเสือใหม่ ว่า . "ลูกเสือ.....มาแล้วหรือยัง" นายหมู่ของลูกเสือผู้นั้น ก้าวออกมาข้างหน้า ๑ ก้าว ทำวันทยาวุธ พร้อมกับขานว่า " มาแล้ว" และให้นายหมู่เรียกชื่อนั้นซ้ำ ลูกเสือผู้นั้นขานรับว่า " อยู่" แล้ววิ่งออกมามอบพลองกับหมวกไว้ที่รองผู้กำกับฯ (เวลาวิ่งให้วิ่งไปทางด้านซ้ายของแถว) แล้วไปยืนหน้าผู้กำกับฯ เป็นแถวหน้ากระดานทีละคนจนครบทั้งหมู่ เมื่อครบแล้วให้นายหมู่วิ่งไปยืนอยู่หัวแถว ๔. ผู้กำกับฯสอบถามดังนี้ " เจ้าเข้าใจหรือไม่ว่า คำมั่นสัญญาของเจ้าคืออะไร" - ลูกเสือใหม่" ข้าเข้าใจว่าคือข้าสัญญา ว่าจะทำอย่างไรแล้วต้องทำเหมือนปากพูดทุกอย่าง" - ผู้กำกับฯ " ถ้าเช่นนั้นจะให้เชื่อได้หรือไม่ว่า" ข้อ ๑ เจ้าจะจงรักภัดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ข้อ ๒ เจ้าจะช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ ข้อ ๓ เจ้าจะปฏิบัติตามกฎของลูกเสือ - ลูกเสือใหม่แสดงรหัส และกล่าวว่า " ด้วยเกียรติของข้า ข้าสัญญาว่า" ข้อ ๑ ข้าจะจงรักภกัดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ข้อ ๒ ข้าจะช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ ข้อ ๓ ข้าจะปฏิบัติตามกฎของลูกเสือ (ขณะที่ลูกเสือใหม่กล่าวคำปฎิญาณ ลูกเสือเก่าและลูกเสือใหม่ที่ได้กล่างคำปฎิญาณตนไปแล้ว ให้ยกไม้พลองมาวางไว้กึ่งกลางระหว่างเท้าทั้งสอง ไม้พลองส่วนบนพิงแขนซ้ายซึ่งงอเป็นมุมฉากรอรับอยู่แล้ว แสดงรหัส ลูกเสือและผู้บังคับบัญชาที่อยู่ในบริเวณนั้นแสดงรหัสด้วย) - ผู้กำกับฯ " เจ้าจงรักษาคำมั่นสัญญาของเจ้าไว้ให้มั่นต่อไป บัดนี้เจ้าเป็นลูกเสือสามัญและเป็นสมาชิกผู้หนึ่งของคณะพี่น้องลูกเสือแห่งโลกอันยิ่งใหญ่" ๕. เมื่อสิ้นคำของผู้กำกับฯในข้อที่ ๔ ให้รองผู้กำกับฯนำพลอง และหมวกไปมอบให้ลูกเสือใหม่ - เมื่อลูกเสือใหม่รับพลองกับหมวกเรียบร้อยแล้ว นายหมู่สั่ง " ลูกเสือใหม่ กลับหลังหัน" นายหมู่และลูกเสือใหม่กลับหลังหัน นายหมู่สั่งต่อลูกเสือใหม่ " ทำความเคารพลูกเสือเก่า วันทยาวุธ" ทั้งลูกเสือใหม่และลูกเสือเก่าทำวันทยาวุธพร้อมกัน นายหมู่สั่ง "เรีบยอาวุธ" เมื่อทุกคนเรียบอาวุธแล้ว ่๗.ผู้กำกับสั่ง " ลูกเสือใหม่ เข้าประจำหมู่ วิ่ง" ให้นายหมู่ลูกเสือใหม่วิ่งเข้าประจำที่เดิม ่๘. เมื่อทุกคนได้ปฎิญาณตนแล้ว ผู้กำกับฯจัดแถวให้หันหน้าไปทางกรุงเทพฯ ถ้าอยู่ในกรุงเทพฯให้หันหน้าไปทางพระบรมมหาราชวัง ผู้กำกับวิ่งไปอยู่แถวหน้าแล้วสั่งว่า " ลูกเสือ ถวายความเคารพแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันทยาวุธ " ลูกเสือทุกคนทำวันทยาวุธ ผู้กำกับฯกล่าวนำ " พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระเจริญ" ให้ลูกเสือทุกคนรับ " ไชโย" พร้อมกัน ๓ ครั้ง แล้วจึงสั่ง "เรียบอาวุธ" และสั่งลูกเสือกลับที่เดิม แล้วจึงสั่งเลิกแถว
พิธีเข้าประจำกองลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่

พิธีการเข้าประจำกองลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้ ๑. กองลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ จัดแถวเป็นรูปครึ่งวงกลม ผู้กำกับฯยืนอยู่ในครึ่งวงกลม ลูกเสือใหม่ยืนอยู่นอกครึ่งวงกลมหลังหมู่ที่จะเข้าไปอยู่ ๒. ผู้กำกับฯเรียกลูกเสือใหม่เข้ามายืนตรงหน้าผู้กำกับแล้วถามว่า " ......(ออกชื่อลูกเสือ)....เต็มใจที่จะปฎิญาณตนเป็นลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่หรือ " ๓. ลูกเสือตอบว่า " ข้าเต็มใจ" ผู้กำกับฯ " เจ้าเข้าใจหรือไม่ว่า การที่เข้ามาเป็นลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ จะต้องปฏิบัติตนให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ลูกเสือรุ่นน้องในกลุ่มลูกเสือของเรา ต้องแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าในชีวิตของลูกเสือของเจ้า และต้องปฏิบัติตามกฎและคำปฏิญาณของลูกเสือทุกเมื่อ" ๔. ลูกเสือใหม่ " ข้าทราบและปฎิบัติได้" ผู้กำกับฯ " เจ้าพร้อมที่จะยืนยันและปฎิบัติตามคำปฏิญาณแล้วหรือ" ลูกเสือใหม่ " ข้าพร้อมแล้ว" ผู้กำกับฯ " ขอให้เจ้าทบทวนคำปฎิญาณอีกครั้ง" ๕. ลูกเสือใหม่ "ด้วยเกียรติของข้า ข้าสัญญาว่า" ข้อ ๑ ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ข้อ ๒ ข้าจะช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ ข้อ ๓ ข้าจะปฏิบัติตามกฎของลูกเสือ (ขณะที่ลูกเสือใหม่กล่าวคำปฎิญาณ ลูกเสือเก่าและลูกเสือใหม่ที่ได้กล่างคำปฎิญาณตนไปแล้ว ให้ยกไม้พลองมาวางไว้กึ่งกลางระหว่างเท้าทั้งสอง ไม้พลองส่วนบนพิงแขนซ้ายซึ่งงอเป็นมุมฉากรอรับอยู่แล้ว แสดงรหัส ลูกเสือและผู้บังคับบัญชาที่อยู่ในบริเวณนั้นแสดงรหัสด้วย) ๖. ผู้กำกับฯ " ข้าเชื่อในเกียรติของเจ้าว่าเจ้าจะปฏิบัติตามคำสัญญาที่เจ้าได้กล่าวไว้" ๗. ผู้กำกับฯติดอินทรธนู ให้กับลูกเสือใหม่แล้วกล่าวว่า " บัดนี้เจ้าได้เข้าเป็นลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ และเป็นสมาชิกผู้หนึ่งของคณะพี่น้องลูกเสือแห่งโลกอันยิ่งใหญ่แล้ว ขอให้เจ้าปฏิบัติหน้าที่ของลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่และมีความสุขความเจริญตลอดกาลนาน" ๘. ในโอกาสนี้ผู้กำกับฯอาจมอบเครื่องหมายลูกเสือโลก หรือเครื่องหมายอื่นแก่ลูกลูกเสือ และผู้บังคับบัญชาเข้ามาแสดงความยินดีกับลูกเสือ ๙. ลูกเสือใหม่กลับหลังหันไปแสดงความเคารพต่อกองลูกเสือด้วยท่าวันทยาหัตถ์ แล้วกลับเข้าประจำหมู่ของตน ลุกเสือสามัญรุ่นใหญ่ใช้ไม้ง่ามแทนไม้พลอง
พิธีเข้าประจำกองลูกเสือวิสามัญ

"พิธีเข้าประจำกองลูกเสือวิสามัญให้ปฎิบัติดังนี้" ให้นำเตรียมลูกเสือวิสามัญในเครื่องแบบมายืนอยู่ข้างหน้ากองลูกเสือวิสามัญ และอยู่ระหว่างพี่เลี้ยง ๒ คน มีโต๊ะพิธีซึ่งปูด้วยธงชาติ ผู้กำกับฯยืนอยู่ด้านหนึ่งของโต๊ะพิธี หันหน้าเข้าหาลูกเสือที่จะเข้าประจำกอง แล้วเรียกชื่อลูกเสือที่จะเข้าพิธีประจำกอง และถามดังนี้ ผู้กำกับฯเรียกชื่อผู้สมัคร " เจ้ามาที่นี่เพื่อที่จะเข้าเป็นลูกเสือวิสามัญในคณะพี่น้องลูกเสือแห่งโลกอันยิ่งใหญ่หรือ " ลูกเสือ " ครับ" ผู้กำกับฯ " ถึงแม้ว่าเจ้าจะมีข้อยุ่งยากมาบ้างแล้วในอดีต แต่บัดนี้เจ้าก็ได้ตั้งใจที่จะทำให้ดีที่สุดเพื่อเป็นผู้มีเกียรติ มีสัจจะ มีความซื่อตรงในการงานทั้งปวง พร้อมที่จะปฎิบัติชอบด้วยกาย วาจา ใจ ใช่หรือไม่ " ลูกเสือ " ใช่ครับ" ผู้กำกับฯ " เจ้าได้คิดรอบคอบดีแล้วหรือว่า เจ้าพร้อมที่จะเข้าเป็นลูกเสือวิสามัญ" ลูกเสือ" ข้าได้คิดรอบคอบดีแล้ว" ผู้กำกับฯ " เจ้าเข้าใจหรือไม่ว่าคำว่า "บริการ" นั้นหมายความว่า ตลอดเวลาเจ้าจะต้องมีใจหนักแน่นต่อผู้อื่น ทุกคนและเจ้าจะทำดีที่สุดเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น ถึงแม้ว่าการช่วยเหลือนั้นไม่สะดวกไม่เป็นที่พอใจ หรือไม่เป็นที่ปลอดภัยแก่ตัวเอง และเจ้าจะไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ ในการให้บริการนั้น " ลูกเสือ " ข้าเข้าใจดีแล้ว " ผู้กำกับฯ " เจ้าเข้าใจหรือไม่ว่าการที่เจ้าจะเป็นลูกเสือวิสามัญนั้น เจ้ากำลังจะร่วมอยู่ในคณะลูกเสือที่ต้องการจะช่วยเหลือเจ้า ให้สามารถปฎิบัติตามอุดมคติของเจ้าและเราขอให้เจ้าปฏิบัติตามข้อบังคับและคติพจน์ของเราในเรื่องการให้บริการแก่ผู้อื่น" ลูกเสือ " ข้าเข้าใจดีแล้ว" ผู้กำกับฯ " ถ้าเช่นนั้นขอให้เจ้ากล่าวคำปฏิญาณของลูกเสือและพึงเข้าใจไว้ด้วยว่า เจ้าแปลความหมายของคำปฎิญาณนี้ไม่ใช่อย่างเด็ก แต่จะแปลอย่างผู้ใหญ่ " ลูกเสือ ก้าวออกมาข้างหน้าเอามือซ้ายจับชายธงประจำกองลูกเสือวิสามัญ มือขวาแสดงรหัส ลูกเสือในกองทุกคนแสดงรหัส ลูกเสือวิสามัญกล่าวคำปฏิญาณ "ด้วยเกียรติของข้า ข้าสัญญาว่า" ข้อ ๑ ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ข้อ ๒ ข้าจะช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ ข้อ ๓ ข้าจะปฏิบัติตามกฎของลูกเสือ ครั้นแล้วผู้กำกับฯจับมือลูกเสือวิสามัญด้วยมือซ้ายแล้วกล่าวว่า " ข้าเชื่อเจ้าว่าด้วยเกียรติของเจ้า เจ้าจะปฎิบัติตามคำปฏิญาณที่เจ้าให้ไว้แล้ว" ผู้กำกับฯติดแถบที่ไหล่ลูกเสือและมอบเครื่องหมายให้พร้อมกับกล่าวว่า " แถบที่ไหล่นี้มี ๓ สี คือ สีเหลือง สีเขียว สีแดง สีเหล่านี้เป็นสีของลูกเสือทั้ง ๓ ประเภท ที่อยู่ในวงพี่น้องลูกเสือ ข้าขอต้อนรับเจ้ามาอยู่ด้วย ขอให้สีทั้ง ๓ นี้จงเป็นเครื่องเตือนใจ ให้เจ้าระลึกถึงหน้าที่ของเจ้าที่มีต่อลูกเสือรุ่นน้อง และขอให้เจ้าระลึกถึงความรับผิดชอบของเจ้าในฐานะที่เป็นลูกเสือวิสามัญ ในการที่จะบำเพ็ญตนให้ดีที่สุดที่จะเป็นตัวอย่างแก่ลูกเสือรุ่นน้องต่อไป " ครั้นแล้วลูกเสือวิสามัญก้าวเข้ามาล้อมรอบลูกเสือ และจับมือกล่าวคำต้อนรับ
พิธีการมอบเครื่องหมายวูดแบด ให้แก่ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ

เครื่องหมายวูดแบดจ์ควรมอบในโอกาสที่มีการประชุมผู้บังคับบัญชาลูกเสือหรือในโอกาสอันเหมาะสม และทุกคนควรแต่งเครื่องแบบลูกเสือโดยในโอกาสรับเครื่องหมายวูดแบดจ์นี้เป็นงานที่ภาคภูมิใจของผู้ที่ได้รับเป็นครั้งแรก ผู้เป็นประธานกล่าวแสดงความยินดีในผลงานที่ผู้ได้รับเครื่องหมายวูดแบดจ์ได้กระทำมาต่อกิจการลูกเสือ และได้ปฎิบัติหน้าที่สมกับที่ได้เป็นผู้บังคับบัญชาลูกเสือแล้ว ผู้ได้รับเครื่องหมายวูดแบดจ์ถอดผ้าผูกคอเดิมออก สายบีดที่จะมอบให้ สวมใส่คอผู้เป็นประธาน ไว้ก่อน(ซึ่งได้รับเครื่องหมายวูดแบดจ์แล้ว) ผู้รับเดินตรงมาหาประธาน ทำความเคารพด้วยการทำวันทยหัตถ์ ประธานถอดสายบีดออกจากคอสวมให้กับผู้รับ และรับผ้าผูกคอจากผู้ที่ส่งให้ สวมผ้าผูกคอกิลเวลล์และห่วงผ้าผูกคอกิลเวลล์ เมื่อสวมให้เรียบร้อยแล้ว จับมือซ้ายและทำวันทยาหัตถ์ แสดงความยินดี ผู้รับทำตอบ เมื่อมอบเสร็จทุกคนแล้วประธานกล่าวให้โอวาทและแสดงความยินดีต่อผู้ที่ได้เครื่องหมายวูดแบดจ์ และให้กล่าวทบทวนคำปฎิญาณ ผู้บังคับบัญชาลูกเสือที่มาร่วมในพิธีเข้ามาจับมือแสดงความยินดี (การสวมสายบีดให้สวมทับผ้าผูกคอตรงด้านหน้าส่วนด้านหลังให้เอาไว้ใต้ผ้าผูกคอ ต่างจากการสวมสายนกหวีดซึ่งจะสวมทับผ้าผูกคอทั้งด้านหน้าและด้านหลัง)
การทำความเคารพด้วยธงประจำกองลูกเสือ

ขณะอยู่กับที่ ให้ถือธงด้วยมือขวา โคนคันธงจดพื้นและแนบกับลำตัว แขนซ้ายแนบลำตัวอยู่ในท่าตรง เมื่อได้ยินคำสั่งให้ทำความเคารพ ใช้มือซ้ายจับคันธงเหนือมือขวาและ ยกคันธงขึ้นมาด้วยมือซ้ายมือขวาเจับคันธงเหยียดตรงแนบลำตัว ยกคันธงขึ้มาจนแขนซ้ายเสมอบ่าขวา ข้อศอกซ้ายตั้งได้ฉาก ครั้นแล้วทำกึ่งขวาหัน ลดปลายธงลงข้างหน้าช้าๆ ขนคันธงขนานกับพื้น มือซ้ายอยู่เสมอแนวบ่าห่างจากตัวพอสมควร มือขวาจับโคนคันธงแขนเหยียดตรงไปทางด้านหลังตามแนวคันธง แล้วค่อยๆยกคันธงขึ้นช้าๆ จนคันธงตั้งตรง ทำกึ่งซ้ายหัน ใช้มือซ้ายจับคันธงลดลงมา จนมือซ้ายชิดมือขวา โค่นคันธงจดพื้น สลัดมือซ้ายกลับอยู่ในท่าตรง ท่าตามระเบียบพัก ก็ยืนเหมือนกับที่ตรง เพียงหย่อนเข่าซ้ายหรือขวาเล็กน้อย ขณะเดิน เมื่อได้ยินคำสั่งให้สวนสนามและแบกอาวุธ ให้ใช้มือซ้ายจับคันธงเหนือมือขวาแล้วชิดมือขวา ยกคันธงขึ้นมาด้วยมือซ้ายมือขวาเจับคันธงเหยียดตรงแนบลำตัว ยกคันธงขึ้มาจนแขนซ้ายเสมอบ่าขวา ข้อศอกซ้ายตั้งได้ฉาก ปล่อยมือซ้ายกลับลงที่เดิม งอข้อศอกขวา ๙๐ องศา คันธงอยู่บนบ่าขวา อยู่ในท่าแบกอาวุธ เมื่อเดินถึงธงที่ ๑ (ธงระวัง) ให้ลดธงลงจากบ่ามาแนบลำตัว มือซ้ายจับคันธงข้อศอกงอตั้งฉากขนานกับพื้น แขนขวาเหยียดตรงข้าลลำตัว ปลายธงชี้ตรง เมื่อถึงธงที่ ๒ (ธงทำความเคารพ) ให้เหยียดแขนซ้ายตรงไปข้างหน้ากำคันธงไว้ ให้คันธงเอนออกไปข้างหน้าประมาณ ๔๕ องศา แขนขวาเหยียดตรงแนบข้างลำตัว ตาแลตรงไปข้างหน้า เมื่อถึงธงที่ ๓ (ธงเลิกทำความเคารพ) ให้ดึงธงขึ้นมาอยู่ในท่าตรงสลัดแขนซ้ายกลับที่เดิม งอข้อศอกขวา คันธงอยู่บนบ่าขวา อยู่ในท่าแบกอาวุธ เดินไปตามปกติ โอกาสที่จะทำความเคารพจะทำเมื่อ มีการบรรเลงเพลงชาติ เพลงสรรเสริญพระบารมี เพลงมหาฤกษ์ เพลงมหาชัย เพลงสรรเสริญเสือป่า เมื่อธงคณะลูกเสือแห่งชาติ ธงลูกเสือจังหวัด ที่เชิญผ่านไป องค์พระประมุขคณะลูกเสือแห่งชาติสมเด็จพระบรมราชินีนาถ พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ ประธานในพิธีการลูกเสือที่แต่งเครื่องแบบ
พิธีการถวายราชสดุดี

โอกาสที่จะกระทำพิธีถวายราชสดุดี จะกระทำเมื่อ วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของ องค์สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งผู้ที่เป็นลูกเสือทุกคนจะไปร่วมพิธีวางพวงมาลา และน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ และจะกระทำเมื่อ ทำพิธีการเปิดการฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือในระดับต่างๆและการเข้าค่ายฝึกอบรมของลูกเสือ ขั้นตอนการทำการถวายราชสดุดี คือ เมื่อประธานเดินมาตรงหน้าพระบรมรูปให้ทำวันทยาหัตถ์ (ในกรณีที่แต่งเครื่องแบบ)หรือถวายคำนับ 1 ครั้ง แล้ววางพวงมาลาหรือดอกไม้ หน้าพระบรมรูป แล้วจุดเทียน 1 ดอก จุดธูป 1 ดอก ถวายบังคม 3 ครั้ง ลุกขึ้นยืน วันทยาหัตถ์หรือถวายคำนับ ถอยออกมานั่งคุกเข่า โดยการยืนตรง ก้าวเท้าซ้ายครึ่งก้าว ย่อตัวลงนั่งโดยให้เข่าซ้ายตั้งขึ้น เข่าขาจรดลงพื้น มือขวาวางบนเข่าขวา มือซ้ายอยู่บนเข่าซ้ายในลักษณะงอแขน หมวกวางบนมือซ้าย ซ้นเท้าขวายกขึ้น เท้าซ้ายวางเรียบกับพื้น ก้มหน้าเล็กน้อย แล้วเริ่มร้องเพลงถวายราชสดุดี ด้วยอาการอันสงบ ลูกเสือและผู้อยู่ร่วมในพิธีก็ทำเช่นเดียวกับประธานโดยเริ่มเมื่อประธานเริ่มจะนั่งคุกเข่าหรือพิธีกรสั่ง