: หมุน้ำ หรือ ปลาดูหยง
: Dugong dugon
: Dogongidae
พะยูนถูกค้นพบครั้งแรกปี พ.ศ. 2319 โดยตัวอย่างต้นแบบที่จับได้จากน่านน้ำแหลมกู๊ดโฮบถึงฟิลิปปินส์ เนื่องจากมีรูปร่างคล้ายปลาวาฬ เดิมพะยูนจึงถูกจัดรวมอยู่ในอันดับเดียวกันคือ Cetacea แต่จากการศึกษาลักษณะโครงสร้างโดยละเอียดพบว่าแตดต่างกันมาก ขนาดเล็กกว่า หัวกลม รูจมูกแยกจากกัน ปลาเล็ก มีฟันหน้าและฟันกรามพัฒนาดี ไม่เป็นฟันยอดแหลมธรรมดาเหมือน ๆ กันอย่างปลาวาฬ และมีเส้นขนที่ริมฝีปากตลอดชีวิต จึงมีการจำแนกออกตั้งเป็นอันดับใหม่ คือ Sirenia
พะยูนเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเช่นเดียวกับโลมาและปลาวาฬ แตกต่างกันที่พะยูนไม่มีครีบหลังหางซึ่งแผ่แบนแยกเป็นสองแฉกคล้ายหางปลาในแนวราบและไม่มีแกนกระดูกเช่นเดียวกัน ที่ปลายนิ้วแต่ละนิ้วของพะยูนจะไม่มีเล็บซึ่งต่างจากพวกมานาตี หรือพะยูนแถบทวีปอเมริกา ขาหลังลดรูปหายไป ส่วนหัวกลมมน มีปาดอยู่ด้านล่างของหัว ริมฝีปากบนหนา มีขนหนวดขึ้นประปรายเมื่อโตเต็มที่ พะยูนตัวผู้จะมีเขี้ยวยาว 1 คู่ ที่บริเวณขากรรไกรบน ลักษณะคล้ายงาช้างยื่นมาชัดเจน
ขนาดตัวของพะยูน มีความยาวรวมรวมครีบหางประมาณ 2.2 - 3.5 เมตร ขนาดของครีบหางกว้างประมาณ 0.75 - 0.85 ขนาดวัดรอบอกประมาณ 1.6 - 2.5 เมตร ครีบอกหรือขาหน้ายาวประมาณ 0.35 - 0.45 เมตร น้ำหนักตัวประมาณ 280 - 380 กิโลกรัม
พบอาศัยอยู่ตามชายฝั่งมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิก และตอนเหนือของทวีปออสเตเรีย ในประเทศไทยเคยมีพะยูนอาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลทั้ง 2 ด้านของประเทศ แต่ปัจจุบันคาดว่าจะมีพะยูนเหลืออยู่ไม่เกิน 70 ตัวในประเทศไทย
พะยูนเป็นสัตว์น้ำที่หายใจด้วยปอด ปกติดำน้ำได้ไม่ลึก และอยู่ใต้น้ำได้ไม่นานอย่างกับโลมาและปลาวาฬ ต้องโผล่ขึ้นมาหายใจเหนือผิวน้ำอยู่เสมอ ลักษณะการแทะเล็มหญ้าทะเลของพะยูน ดูคล้ายการกินหญ้าของวัว ทำให้ได้ชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษเรียกว่า " วัวทะเล Sea cow " ระยะตั้งท้องประมาณ 1 ปี ปกติออกลูกท้องละ 1 ตัวคลอกลูกใต้น้ำ ลูกพะยูนแรกเกิดจะต้องรีบโผล่ขึ้นมาหายใจเหนือผิวน้ำทันที ต่อจากนั้นจะว่ายน้ำติดตามกินนมแม่ ซึ่งมีเต้านมอยู่ใต้ครีบอกประมาณ 1 ปี จึงจะหย่านม พะยูนจะโตเต็มที่อายุประมาณ 13 - 14 ปี อายุยืนประมาณ 40 ปี
เนื่องจากถูกล่าเพื่อเอาเนื้อมาเป็นอาหาร หรือหลงติดอวนดักปลาของชาวประมงจนเสียชีวิต และความเชื่อที่ว่าน้ำมันพะยูนใช้เป็นยาแก้ปวดเมื่อยได้ประกอบกับพะยูนแพร่พันธุ์ได้ช้า และนิสัยการกินอาหารของพะยูนที่เลือกกินแต่หญ้าทะเลเป็นอาหารหลักซึ่งปัจจุบันแหล่งหญ้าทะเลถูกทำลายลงเหลือน้อยลงส่งผลให้พะยูนหาอาหารได้ยาก