อำเภอห้วยทับทัน

ข้อมูลทั่วไป
สภาพทั่วไปของอำเภอห้วยทับทัน

KS452.JPG (15377 bytes)

1. สภาพภูมิศาสตร์

                    อำเภอห้วยทับทันตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดศรีสะเกษ ระยะทางจากตัวจังหวัดประมาณ 40 กิโลเมตร ได้แบ่งพื้นที่แยกจากอำเภออุทุมพรพิสัยมาจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอเมื่อ 17 มกราคม 2520 ได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อ 21 มีนาคม 2529
KS398.JPG (14761 bytes)

2. อาณาเขต

                    มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 215.58 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 134,737 ไร่ มีอณาเขตติดต่อดังต่อไปนี้
                            ทิศเหนือ                 ติดต่อกับ             อ.เมืองจันทร์   จ.ศรีสะเกษ
                            ทิศใต้                     ติดต่อกับ             อ.ปรางค์กู่       จ.ศรีสะเกษ
                            ทิศตะวันออก          ติดต่อกับ             อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ
                            ทิศตะวันตก             ติดต่อกับ             อ.สำโรงทาบ   จ.สุรินทร์

3. การปกครอง

                    แบ่งการปกครองออกเป็น 6 ตำบล คือ ตำบลห้วยทับทัน   ตำบลเมืองหลวง  ตำบลปราสาท   ตำบลจานแสงไชย  ตำบลผักไหม   ตำบลกล้วยกว้าง  78 หมู่บ้าน   มีการปกครองท้องถิ่น 6 อบต. และ   1 เขตเทศบาลตำบล   จำนวนประชากร  ณ  วันที่ 28 กุมภาพันธ์  2544 มี  40,625  คน   แยกเป็น ชาย  20,450  คน  หญิง   20,175  คน

4. ภูมิประเทศ

                    พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ ดินเป็นดินร่วนปนทราย เหมาะสมกับการปลูกข้าว พื้ชล้มลุก และพืชไร่ทั่วไป ทางทิศตะวันตกของอำเภอมีลำห้วยทับทันไหลผ่าน และเป็นเขตกั้นเขตจังหวัดระหว่างจังหวัดสุรินทร์กับจังหวัดศรีสะเกษ

5. ด้านเศรษฐกิจ

                    โดยส่วนรวม อำเภอห้วยทับทันภาวะเสรษฐกิจผูกพันกับรายได้ของเกษตรกรรมเป็นหลัก เพราะประชากรในพื้นที่ร้อยละ 70 ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและรับจ้างทางด้านเกษตรกรรม อีก 30 % เป็นผู้รับจ้างด้านแรงงานในและต่างประเทศ ด้านแรงงานก่อสร้าง ทอผ้า ช่างฝีมือ ในแหล่งอุตสาหกรรม/เกษตรกรรมขนาดใหญ่ในต่างประเทศเป็นช่วงๆ ตามช่วงฤดูกาล เมื่อถึงฤดูกาลเพาะปลูกใหม่ก็จะกลับมาลงงานด้านเกษตรกรรมในพื้นที่สลับกันไป เฉลี่ยแล้วประชากรมีการครอบครองที่ดินต่อครัวเรือนประมาณ 5.10 ไร่ รายได้เฉลี่ยตกคนละ 8,622.44 บาท ต่อปี

6. ด้านเกษตรกรรม

                    ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรมในพื้นที่ประมาณ 93,692 ไร่ นอกจากการปลูกพืชเศรษฐกิจแล้ว ยังมีการเพาะปลูกผักสวนครัวเพื่อการบริโภคในครัวเรือน โดยทั่วไปและมีการเลี้ยงไก่พื้นเมืองส่งร้านค้า ผลิตไก่ย่างห้วยทับทัน ซึ่งทำรายได้ให้แก่ผู้เลี้ยงและผู้ย่างไก่ได้เป็นอย่างดีอีกจำนวนหนึ่ง

7. ด้านอุตสาหกรรม

                    มีโรงสีข้าวขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ในเขตเทศบาล จำนวน 2 แห่ง ประกอบกิจการสีข้าง รับซื้อข้าวเปลือก ผลิตข้าวสารส่งขายในตลาดการค้าข้าว

8. การพานิชย์

                    ยังไม่มีธนาคารสาขาในพื้นที่ คงมีแต่หน่วยของธนาคารเพื่อการเกษตรสหกรณ์การเกษตร(ธกส) 1 แห่ง จากอำเภออุทุมพรพิสัยมาดำเนินการในพื้นที่เท่านั้น มีร้านค้าทั่วไปประมาณ 300 แห่ง มีปั้มน้ำมันขนาดกลาง 3 แห่ง

9. สินค้าสำคัญของอำเภอ

                    อำเภอห้วยทับทันมีชื่อเสียงด้าน ไก่ย่างห้วยทับทัน ซึ่งมีการใช้ไก่บ้านมาย่างมีไม้มะดันเป็นไม้สำหรับคีบไก่ย่าง รสชาดอร่อย เป็นที่ถูกใจประชาชนที่นิยมบริโภคไก่ย่าง นอกจากไก่ย่างแล้ว ยังมีขนมใส่ไส้บ้านห้วยทับทัน ฝรั่งบ้านนานวน และส้มเขียวหวานหนองสะมอน เป็นที่นิยมรู้จักของแขกผู้มาเยือนอีกด้วย
KS361.JPG (18774 bytes)KS343.JPG (17309 bytes)
KS359.JPG (20792 bytes)

10. สถานที่ท่องเที่ยว

                    1. ปราสาทวัดบ้านปราสาท
                                ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลปราสาท ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 8 กิโลเมตร ลักษณะเป็นปรางค์ 3 ยอด รูปดอกบัวตูม ตรงกลางเป็นยอดสูงและปรางค์อีก 2 องค์ ขนาบข้างลดหลั่นลงมา อยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม ซึ่งควรได้รับการบูรณะซ่อมแซมเป็นการด่วน

สภ.อ.ห้วยทับทัน102.jpg (293851 bytes)

                    2. ศาลากลางน้ำอ่างบ้านห้วยยาง
                                ตั้งอยู่บ้านห้วยยาง ตำบลเมืองหลวง ริมทางหลวง รพช. สายห้วยทับทัน - พะวร - ปรางค์กู่ ห่างจากอำเภอประมาณ 4 กิโลเมตร ตัวศาลากลางน้ำสร้างด้วย คสล. ตั้งอยู่กลางน้ำ ขอบอ่างมีสะพาน คสล.เชื่อมถึงฝั่งถนน มีดอกบัวหลวงออกดอกบานให้ชมโดยรอบตลอดปี บางฤดูจะมีนกเป็ดน้ำลงมาหากินในอ่างน้ำเป็นจำนวนมาก จัดเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของคนในอำเภอห้วยทับทันและผู้ที่เดินทางผ่านไปมาในวันหยุดพักผ่อนเป็นอย่างดี

สภ.อ.ห้วยทับทัน104.jpg (147018 bytes)

11. ด้านการศึกษา

                    มีโรงเรียน (สปช) 28 แห่ง เป็นโรงเรียนขยายโอกาส 2 แห่ง โรงเรียนมัธยม 2 แห่ง ประชากรอ่านออกเขียนได้ประมาณ 95 % เรียนจบชั้นประถมศึกษาประมาณ 98 % เรียนจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาประมาณ 87 % และจบชั้นประถมศึกษาประมาณ 8 % และมีศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ 1 แห่ง  ห้องสมุดประชาชน 1 แห่ง

KS180.JPG (12161 bytes)

12. ข้อมูลด้านสาธารณะสุข

                    โรงพยาบาลห้วยทับทันเป็นโรงพยาบาลชุมชน 30 เตียง 1 แห่ง
                    สถานีอนามัย   8  แห่ง
                    สถานพยาบาลเอกชน คลีนิค  2  แห่ง
                    ร้านขายยาแผนโบราณ 2 แห่ง
                    อาสาสมัครสาธารณสุข   343 คน
                    ผดุงครรภ์แผนโบราณที่อบรมแล้ว   37  คน

KS319.JPG (13759 bytes)

13. ด้านศาสนาและวัฒนธรรม

                    ฝ่ายมหานิกาย
                    วัด 23 วัด
                    สำนักสงฆ์   9  แห่ง
                    ฝ่ายธรรมยุต
                    วัด   2  วัด
                    สำนักสงฆ์   4  แห่ง
                    ศาลเจ้า   1  แห่ง

KS375.JPG (18195 bytes)

14. ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

                    สถานีตำรวจภูธรอำเภอห้วยทับทัน กำลังพล 75 นาย มีตู้ยาม 1 แห่ง เพื่อให้ความคุ้มครองและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

KS456.JPG (17923 bytes)

15. ด้านคมนาคม

                    ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข   226  ศรีสะเกษ - สุรินทร์ เป็นถนนลาดยางมาตรฐานของกรมทางหลวง และมีทางรถไฟ สายกรุงเทพ -อุบลราชธานี ผ่าน หยุดรับส่งคนโดยสารตั้งแต่ระดับรถเร็วลงมา ที่สถานีรถไฟห้วยทับทัน

KS449.JPG (14654 bytes)KS448.JPG (12535 bytes)
KS334.JPG (13907 bytes)KS338.JPG (10423 bytes)

16. ด้านการติดต่อสื่อสารและสาธารณูปโภค

                    มีสำนักงานชุมสายโทรศัพท์             1  แห่ง จำนวน 75 เลขหมาย ตู้โทรศัพท์สาธารณะ  45 ตู้
                    มีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข              1   แห่ง
                    สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค       1  แห่ง
                    ประปาขนาดใหญ่                           1   แห่ง(ยังบริการไม่เต็มพื้นที่)
                    มีประปาหมู่บ้าน                            19    แห่ง

KS462.JPG (8163 bytes)

17. ด้านทรัพยากรธรรมชาติ

                    ดิน      ลักษณะเป็นดินเหนียวปนทราย
                    น้ำ      มีลำห้วยทับทัน ลำห้วยวะ ไหลผ่าน มีอ่างเก็บน้ำ ฝายน้ำล้น ฝายกักน้ำ สระ ประมาณ 14 แห่ง
                    ป่าไม้   มีเขตป่าสงวนแห่งชาติ (ป่าฝั่วขวาห้วยทับทัน) 1 แห่ง เนื้อที่ประมาณ  31,000 ไร่