วัดพุทไธศวรรย์   (Wat PhutThaiSaWan)

            วัดพุทไธสวรรย์ มีฐานะเป็นพระอารามหลวง พระมหากษัตริย์ผู้สร้างคือ
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ดังมีเรื่องราวการสร้างวัดปรากฎอยู่ใน
พงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ซึ่งกล่าวถึงเหตุการณ์การสร้างวัดในสมัย
กรุงศรีอยุธยา ว่า ศักราช 715 ปีมะเส็ง เบญจศก วันพฤหัสบดีเดือน 4 ขึ้น 1 ค่ำ
เพลา 2 นาฬิกา 5 บาท ทรงพระกรุณาตรัสว่า ที่พระตำหนักเวียงเหล่านี้ให้สถาปนา
พระวิหารและพระมหาธาตุ เป็นพระอารามแล้วให้นามชื่อ "วัดพุทไธศวรรย์" พระตำ
หนักเวียงที่กล่าวไว้ในพงศาวดารนี้คือ บริเวณที่ประทับของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1
(อู่ทอง) ก่อนที่จะยกข้ามแม่น้ำไปสร้างพระราชวังที่บึงพระราม
              วัดพุทไธสวรรย์ เป็นวัดซึ่งตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองกรุงศรีอยุธยา ใน
คราวที่พม่านำกำลังมาล้อมกรุงไว้นั้น วัดนี้จึงกลายเป็นที่ตั้งทัพของพม่าอยู่คราวหนึ่ง
คือ เมื่อพระเจ้าบุเรงนองแห่งกรุงหงสาวดีทรงส่งพระราชสาสน์ขอม้าขอช้างเผือก
จากสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ แต่ถูกปฏิเสธ
              พระเจ้าบุเรงนองจึงยกทัพเข้ามาและกวาดต้อนเอากำลังทางหัวเมืองเหนือ
ของไทยมาสมทบด้วย เมื่อยกทัพมาถึงกรุงศรีอยุธยา จึงโปรดให้พระมหาอุปราชาเป็น
กองหน้าตั้งค่าย ณ ตำบลเพนียด ทัพพระเจ้าแปรเป็นปีกซ้าย ตั้งค่าย ณ ตำบลทุ่งวัด
โพธาราม ทัพพระเจ้าอังวะเป็นปีกขวา ตั้งค่าย ณ ตำบลวัดพุทไธศวรรย์ ทัพพระยาตองอู
ทับพระยาจิตตอง ทัพพระยาละเคิ่งเกียกกาย ตั้งค่ายวัดท่าการ้องลงไปถึงวัดไชยวัฒนาราม
               ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าเสือ ราว พ.ศ.2243 กรมหลวงโยธาเทพ กรมหลวง
โยธินสมเด็จพระอัครมเหสีฝ่ายซ้าย และฝ่ายขวา ในสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ โปรดฯให้ตั้ง
พระตำหนักใกล้วัดพุทไธศวรรย์ และได้ผนวช "เจ้าตรัสน้อย" พระโอรสที่วัดพุทไธศวรรย์นี้
ด้วย
               ครั้นต่อมาในปี พ.ศ.2258 กรมหลวงโยธาทิพ ทิวงคต ณ พระตำหนัก ริมวัด
พุทไธศวรรย์ พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระจึงได้จัดงานพระศพตามพระราชประเพณี
              ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จ
พระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดพุทไธศวรรย์ เมื่อวันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 12 ปีเถาะ
               แต่เดิมนั้น วัดพุทไธศวรรย์ ถือเป็นพระอารามหลวง เนื่องจากกษัตริย์เป็นผู้
สร้างต่อมาได้กลายเป็นวัดราษฎร์แต่เมื่อใดไม่มีหลักฐานปรากฎ สันนิษฐานกันว่าคงเป็นใน
ช่วงปลายรัชกาลที่ 4 นี่เอง
               วัดพุทไธศวรรย์ทางกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน โดย
ได้รับประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 เมื่อวันที่ 8 มี.ค.2478
                ศิลปะโบราณวัตถุสถาน มีพระปรางค์ตั้งอยู่กึ่งกลางของเขตพุทธาวาส ล้อม
รอบด้วยระเบียงคดและกำแพงแก้ว มีพระทุทธรูปประดิษฐานอยู่ภายใน องค์พระปรางค์
ตั้งอยู่บนฐานไพทีย่อมุมงดงาม มีบันไดขึ้นทางทิศตะวันตกและตะวันออก มีมณฑปตั้งอยู่
บนฐานเดียวกัน 2 หลัง ทางด้านเหนือและใต้ ภายในมณฑปมีพระประธาน ด้านตะวันออก
ของฐานไพทีเป็นมุขเด็จ เดิมมีพระรูป (เทวรูป) พระเจ้าอู่ทองประดิษฐาน ต่อมาพระบาท
สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงโปรดฯ ให้อัญเชิญพระรูปนี้ไปไว้ที่กรุงเทพฯ
และโปรดให้หล่อองค์ใหม่ไปประดิษฐานไว้แทน ส่วนองค์จริงที่อัญเชิญมาไว้ ณ หอพระเทพบิดร
ทรงโปรดให้หล่อขึ้นใหม่ เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องหุ้มเงินทั้งองค์
               พระอุโบสถอยู่ทางทิศตะวันตกของพระปรางค์ วิหารหลวงอยู่ต่อกับพระระเบียง
คดวิหาร พระนอนอยู่ทางทิศใต้ วิหารน้อย อยู่ด้านหน้าของวิหารพระนอน พระเจดีย์ ตำหนัก
สมเด็จพระพุทโฆษาจารย์ ภายในมีจิตรกรรมฝาผนัง ฝีมือช่างสมัยอยุธยา

cuty.gif (410 bytes)

home.JPG (7842 bytes)     back.JPG (5029 bytes)