กำหนดการ
เวทีประชาชน 2000 : การพัฒนาต้องมาจากประชาชน
วันที่ 3-5 พฤษภาคม 2543
ณ ห้องแกรนด์ภูคำ โรงแรมเชียงใหม่ภูคำ จ.เชียงใหม่
วัน/เวลา |
กิจกรรม |
3 พ.ค.2543 | เอดีบี : ธนาคาร หรือสถาบันการพัฒนา
พิธีกรประจำวัน : อ.เครือมาศ วุฒิการ |
08.00-08.30น.
08.30-09.00น. |
ลงทะเบียน
กล่าวต้อนรับ โดย อ. ศิริชัย นฤมิตรเรขการ |
09.00-09.30น. | แสดงธรรมให้โอวาท โดย พระธรรมดิลก |
09.30-10.30น. | ปาฐกถานำเรื่อง "จักรวรรดินิยมกับความเป็นชาติของคนไทย" โดย อ.สุลักษณ์ ศิวรักษ์
และเรื่อง "เอดีบี : ความช่วยเหลือจากเงินกู้เพื่อการพัฒนา" โดย ตัวแทนจากนักวิชาการหรือนักกิจกรรมจากประเทศญี่ปุ่น ดำเนินรายการโดย รศ.วิระดา สมสวัสดิ์ |
10.30-12.30น. | อภิปรายเรื่อง "เอดีบี กับการเปิดเสรีภูมิภาคเอเซีย"
|
12.30-14.00น. | อาหารกลางวัน |
14.00-16.00น. | อภิปรายเรื่อง "บทบาทเอดีบีในอนุภูมิภาคแม่โขง"
โดย วิฑูรย์ เพิ่มพงศาเจริญ - TERRA Mr. Mark Sithirith - NGOs Forum (Cambodia) Mr. Satoru Matsumoto - Mekong Watch (Japan) Mr. Charlie Pahlman - ACT , Mekong (Australia) |
16.00-16.30น. | อาหารว่าง |
16.30-18.30น. | บทบาทเอดีบีในอนุภูมิภาคอื่น
ๆ : กรณีศึกษา
|
วัน/เวลา |
กิจกรรม |
4 พ.ค. 2543 |
เอดีบีกับสังคมไทย : ลดหรือเพิ่มความยากจน
พิธีกรประจำวัน : คุณรจเรข วัฒนพานิช |
08.00-8.30น. | ลงทะเบียน |
08.30-12.00น. | เงินกู้ภาคสังคมกับผลกระทบ โดย
ดำเนินรายการโดย คุณสวิง ตันอุด |
12.00-13.00น. | อาหารกลางวัน |
13.00-16.00น. | การปรับโครงสร้างภาคเกษตรและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ โดย
ดำเนินรายการโดย ดร.จิราพร วิทยศักดิ์พันธ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
16.00-16.30น. | อาหารว่าง |
16.30-18.30น. | เงินกู้จากเอดีบีกับการพัฒนาเมือง : กรณีโครงการโรงบำบัดน้ำเสียคลองด่าน
โดย
ดำเนินรายการโดย คุณเรวดี ประเสริฐเจริญสุข เลขาธิการ กป.อพช. |
วัน/เวลา |
กิจกรรม |
5 พค.2543 | ข้อเสนอภาคประชาชน |
08.00-09.00น. | ลงทะเบียน |
09.00-09.30น. | ประมวลสรุปเนื้อหาการสัมมนา 2 วัน
โดย คุณเรวดี ประเสริฐเจริญสุข เลขาธิการ กป.อพช. |
10.30-11.30น. | แบ่งกลุ่มย่อยแต่ละเครือข่ายเพื่อพิจารณาร่างข้อเสนอ |
11.30-12.30น. | ขอฉันทามติจากที่ประชุม |
12.30-13.30น. | อาหารกลางวัน |
13.30-14.00น. | นำเสนอข้อเสนอภาคประชาชน (ผู้แทนเอดีบีร่วมรับฟังข้อเสนอ) |
14.00-14.30น. | ปัจฉิมกถาโดย คุณเดช พุ่มคชา ประธาน กป.อพช. |
14.30-15.00น. | แถลงข่าว |
หมายเหตุ วิทยากรและผู้ดำเนินรายการกำลังอยู่ในระหว่างการติดต่อ
วันที่ 3-4 พ.ค.2543 จะมีการแถลงข่าวในเวลา 12.30-13.00 น.
วันที่ 5 พ.ค.2543 จะมีการแถลงข่าวในเวลา 15.30-16.00 น.
โครงการเวทีประชาชน 2000 : การพัฒนาต้องมาจากประชาชน
ความเป็นมา
การแก้ไขปัญหาของรัฐบาลอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศไทยที่เกิดขึ้นตั้งแต่กลางปี 2540 ได้ดำเนินการในแนวทางที่ สถาบันการเงินระหว่างประเทศได้ให้ข้อแนะนำ ซึ่งจะปรากฎในรูปของความช่วยเหลือทางวิชาการและการเงิน สถาบันต่างๆเหล่านี้ได้แก่ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF), ธนาคารโลก (WB), ธนาคารพัฒนาแห่งเอเซีย (ADB) ข้อเสนอแนะที่สำคัญต่อประเทศไทยในการก้าวข้ามวิกฤตทางเศรษฐกิจ ที่สำคัญๆ คือ ประเทศไทยยังคงต้องรักษาระบบเศรษฐกิจแบบการค้าเสรีอย่างเคร่งครัด ด้วยการฟื้นฟูขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดโลก, การปฏิรูประบบการบริหารจัดการในภาครัฐ และการกระจายผลการพัฒนา ในรายละเอียดของข้อเสนอหลักเหล่านี้ ได้นำมาสู่การปรับโครงสร้างของระบบการเงิน การคลังของภาครัฐ, การปรับโครงสร้างระบบธนาคารทั้งหมด, การแปรรูปรัฐวิสาหกิจและระบบราชการบางส่วน, การปรับโครงสร้างด้านการเกษตรและการแปรรูปจัดการทรัพยากร, การแปรรูประบบสวัสดิการสังคม (สาธารณสุขและการศึกษา) ของรัฐ ออกนอกระบบราชการ, การรักษาพันธะกรณีที่ได้ทำไว้กับองค์การระหว่างประเทศต่างๆ เช่น WTO ฯลฯ โดยภาพรวมแล้วการปรับเปลี่ยนโครงสร้างต่างๆตามข้อเสนอของสถาบันการเงินเหล่านี้ คือ การเชื่อมต่อให้ระบบทุนนิยมโลก สามารถเข้าถึงหรือเชื่อมต่อกับทรัพยากรและภาคการผลิตในทุกๆ ระดับของสังคมไทย และรัฐบาลกำลังพิจารณาสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ให้เป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 9 ซึ่งจะประกาศใช้ในปี 2544 ทิศทางที่รัฐบาลกำลังดำเนินการในขณะนี้ นอกจากจะได้สร้างความเดือดร้อนเพิ่มเติมให้กับสังคมไทยแล้ว กระแสการตรวจสอบในเชิงแนวคิดของการก้าวข้ามวิกฤตเศรษฐกิจ ที่อิงกับสถาบันการเงินเหล่านี้นั้น กำลังได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง เพราะช่วงเวลานี้คือช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญ ของโฉมหน้าสังคมไทยในสหัสวรรษหน้า
เนื่องในโอกาสที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสภาผู้ว่าการธนาคารพัฒนาแห่งเอเซีย
(เอดีบี) ครั้งที่ 33 ที่จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 6-8 พฤษภาคม 2543 ซึ่งจะมีผู้เข้าร่วมจากประเทศ สมาชิกต่างๆ ทั่วโลก ได้แก่ Board of Director, รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง, ผู้ว่าการธนาคารชาติ ของประเทศต่างๆ และสถาบันการเงินอื่นๆ อีกทั่วโลก การมาจัดการประชุมประจำปีของ ADB ที่ประเทศไทย นับว่ามีนัยยะสำคัญยิ่งต่อภาพพจน์ที่จะแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของประเทศไทยที่ดำเนินการแก้ไขปัญหาต่างๆ ตามแนวทางของ ADB (ซึ่งหมายรวมถึง WB และ IMF ไปโดยอัตโนมัติ) และช่วงเวลาดังกล่าวก็มีความสำคัญต่อภาคประชาชนเช่นกัน ที่จะได้แสดงความคิดเห็น วิพากษ์วิจารณ์ ทิศทางการให้ความช่วยเหลือของสถาบันการเงิน โดยเฉพาะ ADB ในอันที่จะส่งผลกระทบในด้านลบต่อคุณภาพชีวิต, การจัดการทรัพยากร, การเกษตรกรรม ไปยังสถาบันการเงินต่างๆ, ผู้บริหารจากประเทศต่างๆและสื่อมวลชนทุกแขนงที่มาจากทั่วโลก ในระหว่างการประชุมในครั้งนี้ คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) จึงได้ร่วมกับเครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ ตั้งคณะทำงานติดตามผลกระทบโครงการความช่วยเหลือเอดีบี ขึ้นมาหนึ่งชุด เพื่อจัดกิจกรรมเผยแพร่และรณรงค์เกี่ยวกับโครงการความช่วยเหลือของเอดีบีและผลกระทบในด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นกับสังคมไทย โดยจะได้จัดการประชุมคู่ขนานขึ้นในวันที่ 3-5 พฤษภาคม 2543 ที่จังหวัดเชียงใหม่ และการสัมมนา เสวนา ในประเด็นต่าง ๆ ก่อนหน้าเวทีคู่ขนาน
วัตถุประสงค์
องค์ประกอบของงาน
องค์ประกอบที่สำคัญของงานครั้งนี้ประกอบด้วย
ผู้เข่าร่วม ประกอบด้วย
ผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชนไทยและต่างประเทศ ผู้แทนองค์กรประชาชนจากภาคต่างๆ
เครือข่ายองค์กรพันธมิตรในเมืองเชียงใหม่ นักวิชาการ แนวร่วมแรงงานรัฐวิสาทกิจ
นักศึกษา สื่อมวลชนและผู้สนใจทั่วไป จำนวน 700คน
วัน เวลา สถานที่
วันที่ 3-5 พฤษภาคม 2543 ณ ห้องแกรนด์ภูคำ โรงแรมเชียงใหม่ภูคำ จังหวัดเชียงใหม่
คณะทำงานติดผลกระทบโครงการความช่วยเหลือ ADB
องค์กรประสานงาน
ส่วนกลาง : คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.)
เลขที่ 409 อาคาร มอส. ชั้น 3 ซ.โรหิตสุข ถ.ประชาราษฎร์บำเพ็ญ
เขตห้วยขวาง กรุงเทพ ฯ 10310 โทร / โทรสาร 691-1216
Email:ngocod@thai.com
ส่วนภูมิภาค : คณะกรรมการติดตามผลกระทบโครงการ ADB
มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ
เลขที่ 77/1 หมู่ 5 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
โทร / โทรสาร (053) 810-623-4 , 400-301,400-303