ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านเดิมทีประชาชนเผ่าแรกที่อพยพมาอยู
ในพื้นที่แถบนี้เป็นชาวไทยใหญ่ต่อมาเกิดโรคไข้ป่าระบาด  (ไข้มาลาเรีย)
ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก จึงพากันย้ายไปอยู่บ้านหิดแตกในบ้านหินแตก
เก่าจึงกลายเป็นหมู่บ้านร้าง ความว่าหินแตกเป็นเพราะมีลำห้วยดอยแสง
มาบรรจบกับแม่น้ำคำซึ่งมีหินก้อนหนึ่งเกิดรอยแยกแตกส่วนบน โดยส่วนล่าง ยังติดกันอยู่จึงได้ชื่อว่าหมู่บ้านหินแตก
ในปี พ.ศ.2505    ได้มีชาวไทยใหญ่จากอำเภอแม่สาย อำเภอแม่จันและจากรัฐฉาน  (เมืองไต)   สหภาพเบียนมาร์
ซึ่งในขณะนั้น กำลังมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองก็ได้อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารบนผืนแผ่นดินไทยต่อมา
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี   ได้พระราชทานชื่อหมู่บ้านให้ใหม่ว่า    "บ้านเทอดไทย"      ตั้งแต่
5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2525  เป็นต้นมา

                บ้านเทอดไทยตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 1 ตำบลเทอดไทย    อำเภอแม่ฟ้าหลวง     จังหวัดเชียงรายห่างจากที่ว่าการ
อำเภอแม่ฟ้าหลวงเป็นระยะทาง   48   กม.      และห่างจากตัว    อ.เมือง   จ.เชียงราย   เป็นระยะทาง  66  กม.
หมู่บ้านเทอดไทยมีพื้นที่ประมาณ   20   ตารางกิโลเมตร หรือ 13,437 ไร่     มีประชากรทั้งหมด 831   ครัวเรือน
5,042 คน    ประกอบไปด้วยชนหลากหลาย  เชื้อชาติ ได้แก่ ชาวเขาเผ่าต่าง ๆ เช่น อาข่า,มูเซอ, ลีซอ, ลัวะ, ไทยใหญ่,
จีนฮ่อ

รายละเอียดทั่วไปเกี่ยวกับหมู่บ้านเทอดไทย
                    1. ที่ตั้งอาณาเขตของหมู่บ้าน
บ้านเทอดไทย หมู่ที่ 1 ต.เทอดไทย อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอแม่ฟ้าหลวง เป็นระยะทาง
48 กิโลเมตร และห่างจากตัวอำเภอเมือง จ.เชียงราย เป็นระยะทาง 66 กิโลเมตร
                     2. อาณาเขต
                          ทิศเหนือ             - ติดกับบ้านอากู่ ต.เทอดไทย อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
                          ทิศใต้                  - ติดกับแม่น้ำคำ
                          ทิศตะวันออก     - ติดกับบ้านห้วยผึ้ง ต.แม่สลองใน อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
                          ทิศตะวันตก       - ติดกับบ้านหินแตก ต.แม่สลองใน อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
                     ขนาดพื้นที่ของหมู่บ้านเทอดไทย ประมาณ 20 ตารางกิโลเมตร หรือ 13,437 ไร่
                     3. ลักษณะภูมิประเทศ
                        พื้นที่ส่วนใหญ่ เป็นทิวเขาน้อยใหญ่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 500 เมตร มีพื้นที่ราบระหว่างหุบเขา
                        ทิวเขาเพียงเล็กน้อย มีแหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่ แม่น้ำคำ ลำห้วยดอยเครือ ลำห้วยดอยแสง ลำห้วยไม้ซาง
                        และมีอ่างเก็บน้ำประจำหมู่บ้าน 1 แห่ง
                     4. ประชากรในหมู่บ้าน
                         มีประชากรทั้งหมด 831 ครัวเรือน 5,042 คน
                         ชาย 2,455 คน และหญิง 2,587 คน
                     5. นับถือศาสนา
                          - พุทธ, คริสต์ ,อิสลาม

การปกครอง
                    
 6. การก่อตั้งหมู่บ้าน
                          หมู่บ้านเทอดไทย ตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 จัดตั้งเป็นหมู่บ้าน
ตาม พรบ. ลักษณะปกครองท้องที่เมื่อวันที่    5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525
 
สภาพเศรษฐกิจ
                      7. ประชาการส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม มีการทำนาตามพื้นที่ราบระหว่างภูเขา
และที่ราบบริเวณลุ่มแม่น้ำ ในบริเวณภูเขามีการปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวไร่ ข้าวโพด ขิง นอกจากนั้นยังมีการปลูก
พืชสวน  เช่น  ชา และผลไม้ เช่น ลิ้นจี่ ท้อ บ๊วย ประชากรบางส่วนยังประกอบอาชีพค้าขาย และรับจ้าง

 

บ้านพักขุนส่าบริเวณบ้านเทอดไทย

ประวัติบ้านขุนส่า   หลังจากทหารไทยได้ถล่มบ้านหินแตก(บ้านเทอดไทย) ตั้งแต่   พ.ศ. 2525นานถึง 9 ปี
เมื่อวันที่ 14 กรกฏาคม 2534 ทางหมู่บ้านได้มอบหมายให้คุณเครือเดือน ตุงคำเป็นตัวแทนให้สัมภาษณ์
แก่นักข่าวเป็นครั้งแรก     เปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวบ้านขุนส่า    หลังจากเผยแพร่ออกข่าวไปแล้วมีนักข่าว
นักท่องเที่ยว ให้ความสนใจ มาเที่ยวบ้านขุนส่าที่ หมู่บ้านเทอดไทย หมู่ที่ 1 ต,เทอดไทย   อ. แม่ฟ้าหลวง
จ. เชียงรายอย่างไม่ขาดสายขุนส่า เกิดเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2477 ที่รัฐฉานบิดาเป็นชาวจีน  บิดาเสีย
ชีวิตตั้งแต่ขุนส่ายังเด็กมารดาเป็นชาวไทยใหญ่ แต่งงานใหม่กับเจ้าเมืองตอมและเสียชีวิตในเวลาต่อมา
และขุนส่าได้รับการเลี้ยงดูจากปู่ปู่สอนการทำไร่ชา สอนภาษาจีน ส่วนลุงสอนการต่อสู้ เป็นการปลูกฝัง
ให้ขุนส่าเป็นนักสู้กู้ชาติในเวลาต่อมาเขาได้รับรวมรวมสมัครพรรคพวกรุ่นเดียวกันก่อตั้งชมรมต่อต้าน
ชมรมจีนก๊กมินตั๋งได้รับการยอมจากเพื่อนและได้เข้าสู่ขบวนการกองกำลังติดอาวุธและเป็นที่มาของกา ร
ต่อสู้อันยาวนานสำหรับการมาตั้งหลักปักฐานของขุนส่าที่บ้านหินแตก ในเขตอ.แม่จัน (อ.แม่ฟ้าหลวง)
เริ่มมาตั้งแต่ปี    พ.ศ. 2503     ซึ่งในขณะนั้นเปรียบเสมือนพื้นที่ไร้การควบคุมเพราะส่วนราชการเข้าไป
ควบคุมไม่ทั่วถึง  ทำให้ขุนส่าและพรรคพวกได้มาบุกเบิกและนำคนมาอยู่อาศัย ขุนส่ากับชาวบ้านได้บูรณะ
ปฏิสังขรณ์พระธาตุเก่าแก่บนยอดดอยนั่นคือ     พระธาตุกาคำ    ในปัจจุบัน และมีการปลูกผิ่นและค้าฝิ่น 
จนกระทั่งรัฐบาลไทยออกกฏหมายประกาศยกเลิกการค้าฝิ่นและสูบฝิ่น ขุนส่าในนาม ราชาฝิ่นได้ถูกประกาศ
ให้ออกจากผืนแผ่นดินไทย จึงทำให้บ้านพักขุนส่ากลายเป็นอนุสรณ์สถานที่น่าศึกษาแห่งหนึ่งในบ้านเทอดไทย
ภายในบ้านพักขุนส่า มีหมู่บ้านจำลอง แสดงให้เห็นชีวิตความเป็นอยู่เหมือนจริงของชนเผ่าต่างๆ อาทิเช่น
หมู่บ้านอาข่า, ลาหู่ , ปะหล่อง , ว้า , ลีซอ , จีนฮ่อ และยังมีอาคารพิพิธภัณฑ์ชีวิตส่วนตัวขุนส่ากับ อาคาร
พิพิธภัณฑ์ขุนส่ากับขบวนการค้ายาเสพติดและ    อาคารพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ชนชาติไทยใหญ๋และ
ความเป็นมาของขบวนการกู้ชาติไทยใหญ่กับบทบาทขุนส่าในอดีต

วัดกาคำ วัดประจำหมู่บ้านเทอดไทย

วัดพระธาตุกาคำ(ก๋าคำ)เป็นพระธาตุเก่าแก่บนยอดอยสร้างขึ้นในสมัยโยนก สมัยนั้นนำโดยปู่จ้าวลาวจก
เป็นผู้นำองค์กรปกครอง หรือหัวหน้าใหญ๋ของอ้ายลาว บ้านหินแตกในขณะนั้นมีชาวไทยใหญ่ อาศัยอยู่เป็น
จำนวนมาก มีเรื่องเล่าว่ามีพ่อค้าวัวต่างถิ่น สองคนพี่น้องมาจากเมืองแสนหวีได้เข้ามาค้าขาย พักแรม เป็นเวลา
นานนับเดือน ตาม เส้นทางตั้งแต่เมืองสาต, หินแตก , ฝาง ,เชียงดาว จุดหมายปลายทางสิ้นสุดที่เมืองเชียงใหม๋
พ่อค้าชาวไทยใหญ๋ทั้งสอง ได้สร้างพระธาตุขึ้นองค์หนึ่งในระหว่างทางดอยตุงกับเมืองฝาง  คือ  พระธาตุกาคำ
โดยได้นำเอาทองคำหล่อหลอมเป็นรูปอีก    จำนวน   2 ตัว    ไว้ในองค์พระธาตุชาวไทยใหญ่เรียกว่า    ก๋าคำ
( ก๋า หมายถึง อีกา , คำ หมายถึง  ทองคำ ) วัดพระธาตุกาคำมีพื้นที่ประมาณ 20 ไร่ และพระธาตุ1องค์เป็น
พระธาตุเก่าแก่ที่ทรุดโทรมไปเป็นเวลานานชาวบ้านจึงได้บรูณะปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2506 ความสำคัญ
ของวัดนี้ เพราะเป็นสถานที่ที่ชาวบ้านให้ความศรัทธาและนับถือ เป็นที่พิ่งทางใจของชาวบ้าน มีประวัติและ
ความเป็นมาที่น่าประทับใจ ลักษณะการปลูกสร้างก็เป็นแบบดั้งเดิมของชาวไทยใหญ่พิธีกรรมต่างๆ ก็ยังอนุรักษ์
ไว้แบบเดิม