อวัยวะสืบพันธุ์เจริญมาจากเนื้อเยื่อชั้นกลางดังนั้น ฮอร์โมนที่สร้างจึงเป็นพวกสารสเตอรอยด์(steroid hormone) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ พวกฮอร์โมนจากอวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย และฮอร์โมนจากอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง
1. ฮอร์โมนจากอวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย ฮอร์โมนเพศชายสร้างจากอัณฑะ (testis) ภายในอัณฑะมีกลุ่มเซลล์ซึ่งมีหน้าที่ในการสร้างฮอร์โมน คือ อินเตอร์สติเชียลเซลล์ออฟเลย์ติก อยู่ระหว่างหลอดสร้างอสุจิ เมื่อเซลล์ชนิดนี้ถูกกระตุ้นโดย ICSH หรือ LH จากต่อมใต้สมองส่วนหน้า จะสร้างฮอร์โมนเพศชายที่เรียกกกันว่า แอนโดรเจน(androgen)ตัวที่สำคัญที่สุด คือ เทสโทสติโรน(testosterone) ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธุ์ และควบคุมลักษณะขั้นที่สองของเพศชาย (male secondary characteristic) ซึ่งได้แก่ การมีเสียงแตก นมขึ้นพาน มีหนวดขึ้น มีขนขึ้นอวัยวะเพศ มีความต้องการทางเพศ มีผลในการกระตุ้นให้มีการสร้างโปรตีนมากขึ้นและเกิดการสะสมของโปรตีนในเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ยังมีผลร่วมกับโกนาโดโทรฟิน (LH และ FSH) จากต่อมใต้สมองในการกระตุ้นการสร้างอสุจิของหลอดสร้างอสุจิด้วย
ตำแหน่งอินเติร์สติเชียลเซลล์ของหลอดสร้างตัวอสุจิ
2.
ฮอร์โมนจากอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง
ฮอร์โมนเพศหญิงสร้างมาจากรังไข่
(ovary) มีฮอร์โมนสำคัญ 3 ชนิด คือ
2.1 อีสโทรเจน
(estrogen)อีสโทรเจนสร้างมาจากเนื้อเยื่อขอบนอกของแกรเฟียนฟอลลิเคิลที่เรียกว่า
ทีกาอินเทอร์นา (theca
interna)ฮอร์โมนนี้มีหน้าที่ในการกระตุ้นและควบคุมลักษณธขั้นที่สองของเพศหญิง
(fwmale secondary characteristic)
โดยกระตุ้นให้ต่อมน้ำนมเจริญเติบโตขึ้น
กระตุ้นการเจริญของอวัยวะเพศ
กระตุ้นมดลูกท่อนำไข่
การเกิดขนที่อวัยวะเพศ
ควบคุมการมีประจำเดือนร่วมกับฮอร์โมนโพรเจสเทอโรน
เมื่อปริมาณอีสโทรเจนสูงขึ้น
จะมีผลให้ LH สูงขึ้น
และกระตุ้นให้เกิดการตกไข่ด้วย
ระดับของฮอร์ดมนและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในช่วงต่าง ๆ ของรอบประจำเดือน
2.2โพรเจสเทอโรน (progesterone)
โพรเจสเทอโรนสร้างมาจากคอร์พัสลูเทียม
(corpus luteum) ของรังไข่ เมื่อตกไข่แล้ว
ผนังของฟอลิเคิลที่ไข่ตกจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นเนื้อเยื่อสีเหลือง
โดยการกระตุ้นผิวหนังมดลูกให้หนาขึ้น
(ร่วมกับอีสโทรเจน)
เพื่อเตรียมพร้อมในการฝังตัวของไข่ซึ่งได้รับการผสมแล้วมีผลในการห้ามประจำเดือน
ห้ามการตกไข่
และการกระตุ้นการเจริญเติบโตของต่อมน้ำนมด้วย
ถ้าหากไข่ที่ไม่ได้รับการผสม
คอร์พัสลูเทียมจะค่อย ๆ สลายไป
โพรเจสเทอโรนจึงลดต่ำลง
จึงไม่มีฮอร์โมนไปกระตุ้นมดลูกอีกทำให้ผนังมดลูกแตกสลายและเหตุลอกออกมา
เป็นเลือดประจำเดือน
ภาพตัดขวางของรังไข่แสดงฟอลลิเคิลและคอร์ปัสลูเทียม
ฮอร์โมนทั้งสองนี้สองนี้ถูกควบคุมโดยโกนาโดโทรฟินจากต่อมใต้สมองและฮอร์โมนทั้งสองนี้ควบคุมการหลั่งโกนาโดโทรฟินของ
ต่อมใต้สมองด้วย
ในเพศชายก็มีฮอร์โมนเพศหญิง
แต่มีในปริมาณที่น้อยกว่ามากในขณะเดียวกันเพศหญิงก็มีฮอร์โมนเพศชาย
แต่มีปริมาณที่น้อยมากเช่นกัน
2.3 รีแลกซิน (relaxin)
เป็นฮอร์โมนที่สร้างมาจากรังไข่
ขณะที่ตั้งครรภ์
เป็นสารพวกโปรตีนมีผลในการกระตุ้นการคลาตัวเอ็นที่ยึดกระดูกเชิงกราน
เพื่อให้คลอดลูกได้ง่ายขึ้น
กลับไปหน้าแรก