ข่าวการฮุบที่อุทยานแห่งชาติแหลมสน
เป็นการกระทำของข้าราชการขี้โกงบางคนที่ร่วมมือกับนายทุนฉ้อฉล

กรุงเทพธุรกิจฉบับ วันพฤหัสที่ 11 มิถุนายน พ.ศ.2541
แหลมสน
ที่ดินบริเวณเชิงเขาที่อุทยานแห่งชาติแหลมสน ซึ่งได้รับเอกสารสิทธิ นส.3 ก. ซึ่งป.ป.ป.และเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ร่วมกับตำรวจป่าไม้เข้าตรวจสอบแล้วพบว่า เป็นการออกเอกสารสิทธิโดยมิชอบเนื่องจากออกทับที่อุทยานแห่งชาติแหลมสน

ป.ป.ป.จับติดที่ทศพรโผล่กลางเขา

ป.ป.ป. จับติดบุกรุกป่ากลางเขตอุทยานแหลมสนกว่า 1,000 ไร่ เย้ยกฎหมายออก น.ส.3ก. บนเขา เผยฝ่ายปราบปรามป่าไม้เคยแจ้งดำเนินคดี 52 ผู้ต้องหา เมื่อปี 2540 ซึ่งหนึ่งในนั้นมี "ทศพร เทพบุตร" สามี "อัญชลี วานิช-เทพบุตร" ส.ส.ภูเก็ต พรรคประชาธิปัตย์ แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจกลับสั่งไม่ฟ้อง อ้างหลักฐานอ่อน เจ้าหน้าที่จากสำนักป้องกันและปราบปรามกรมป่าไม้ ร่วมกับตำรวจป่าไม้และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ได้ทำการตรวจสอบพื้นที่การออกเอกสารสิทธิ(น.ส.3 ก) โดยมิชอบบริเวณอุทญานแห่งชาติแหลมสนและบริเวณใกล้เคียงในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าชายเลนคลองม่วงกลาง และป่าแหลมหน้าทุ่ง ท้องที่อำเภอกะเปอร์และกิ่งอำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง โดยพบว่า มีพื้นที่จำนวน 58 แปลง เนื้อที่ 1,843-0-45 ไร่ ออก น.ส.3 ก. โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญา ตามมาตรา 157 ,161 ,162
ผลการตรวจสอบข้างต้น ได้สรุปในรายงานการปฏิบัติการบุกรุกยึดถือครอบครองพื้นที่บริเวณอุทยานแห่งชาติแหลมสน และบริเวณใกล้เคียง ท้องที่จังหวัดระนอง ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายป้องกันและปราบปราม กรมป่าไม้ ที่มีขึ้นเมื่อต้นปี2541นี้
โดยในรายงานดังกล่าวชี้ชัดว่าพื้นที่การบุกรุกทั้งหมดนั้น พบว่ามีการโอนซื้อ-ขาย น.ส.3ก. ที่มีปัญหาจำนวน 21 แปลงในนามของนายทศพร เทพบุตร นายอาคม ลิ่วเฉลิมวงศ์ นางอรทัย มั่นคงเจริญ นายกรีฑา วงษ์ชุมพิศ
ซึ่งจากการตรวจสอบเมื่อวันที่ 20-21 มกราคม พ.ศ. 2539 กรมป่าไม้ได้สั่งการให้นายวิฑูรย์ ชลายนนาวิน ผู้อำนวยการส่วนป้องกันและปราบปรามที่ 1 (ภาคกลาง) สำนักปราบปรามหรมป่าไม้ ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจป่าไม้ เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแหลมสน เจ้าหน้าที่ป่าไม้เขตสุราษฎร์ธานี และเจ้าหน้าที่สำนักงานป่าไม้ระนอง ได้ตรวจสอบเอกสารสารบบ น.ส. 3ก. ออกโดยมิชอบ จำนวน 32 แปลง เนื้อที่ 1,033-3-01 ไร่
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบสารบบ น.ส.3ก. ที่ออกโดยมิชอบ ทั้ง 32 แปลง มีเนื้อหาสรุปว่า ได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินมาก่อนประมวลกฎหมายที่ดินบังคับใช้ โดยอ้างว่าได้ทำประโยชน์มาตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ.2490 โดยปลูกมะม่วงหิมพานต์ และยางพาราเต็มพื้นที่ ซึ่งเจ้าของที่ดินพยาน เจ้าของที่ดินข้างเคียง ผู้ปกครองท้องที่ เจ้าพนักงานผู้พิสูจน์และผู้อนุมัติได้รับรองสภาพการทำประโยชน์ในที่ดินและขอบเขตตำแหน่งที่ดิน ถูกต้องตามความจริงไม่ได้เหลื่อมล้ำแนวเขตที่ดินข้างเคียง หรือที่สาธารณประโยชน์หรือที่สงวนหวงห้ามแต่ประการใด ทั้งยังมีการลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานด้วย
ในรายงานระบุด้วยว่า แต่จากการตรวจสอบพื้นที่จริง เมือวันที่ 20 มกราคม 2539 โดยสำนักป้องกันและปราบปราม พบว่า น.ส. 3ก. ทั้ง 32 แปลง ปรากฎว่ามีสภาพข้อเท็จจริงเป็นที่ภูเขาป่าดงดิบ และมีพื้นที่ลาดชันเกิน 35 % มีบางแปลงติดอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแหลมสน โดย น.ส. 3ก. จำนวน 26 แปลง อยู่นอกเขตอุทยานแห่งชาติ ไม่เคยมีการทำประโยชน์ใด ๆ เลย ส่วนอีก 6 แปลง อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแหลมสน
"จากผลการอ่าน แปล ตีความ และวิเคราะห์ภาพถ่ายทางอากาศ บริเวณแปลงที่ดินทั้ง 32 แปลงดังกล่าว พบว่า ตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ.2497 จนถึงปัจจุบัน (วันที่ตรวจสอบพื้นที่จริง 20 มกราคม 2539 ) พื้นที่ดังกล่าวมีสภาพเป็นป่าดงดิบ มีไม้เศรษฐกิจขึ้นอย่างหนาแน่น แสดงให้เห็นว่า ไม่มีการครอบครองมาก่อน ประมวลกฎหมายที่ดินบังคับใช้" รายงานระบุ
เอกสารของสำนักป้องกันและปราบปรามปรมป่าไม้ ให้เหตุผลต่อว่า เมื่อคณะเจ้าหน้าที่พิจารณาแล้วเห็นว่า การออก น.ส. 3ก. ทั้ง 32 แปลง เป็นการออกที่ฝ่าฝืนกฎหมายตามมาตรา 59 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ฝ่าฝืนกฎกระทรวงฉบับที่ 2 , 5 ( 9 ธ.ค. 2497) ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินแห่งชาติฉบับที่ 12 (4 ตุลาคม 2532) จึงได้นำเรื่องราวแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธร กิ่งอ.สุขสำราญ จังหวัดระนอง เพื่อดำเนินการกับกลุ่มบุคคลเจ้าของที่ดินตาม น.ส. 3ก. พยาน เจ้าของที่ดินข้างเคียง รวมทั้งหมด 32 คดี ผู้ต้องหา 52 คน
ในตอนท้ายของรายงาน ยังสรุปว่า จากากรตรวจสอบหลักฐานว่า มีจำนวนมี่ดิน 4 แปลงที่ออกในนามของนายทศพร นายอาคม และนางอรทัย โดยได้นำ น.ส.3ก. ไปจำนองกับธนาคารทหารไทย เพื่อทำบริษัทแพนอันดามันจำกัด โดยสาเหตุที่บุคคลทั้ง 4 มีความผิดฐานแจ้งความเท็จ และสนับสนุนเจ้าหน้าที่ในการกระทำความผิดเนื่องจากมีการเซ็นชื่อรับรองสภาพการทำปรโยชน์ในแปลงที่ดินว่า มีการทำประโยชน์แล้วและที่ดินที่ถูกต้องไม่มีการเหลื่อมล้ำแนงเขตที่ดินข้างเคียงหรือที่สาธารณประโยชน์ หรือที่สงวนหวงห้ามแต่ประการใด ซึ่งขัดแย้งกับการตรวจสอบยในพื้นที่ตริง
อย่างไรก็ดีเจ้าหน้าที่ฝ่ายปราบปรามกรมป่าไม้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า สำหรับคดีดังกล่าว ซึ่งกรมป่าไม้ได้ดำเนินการแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรกิ่งอ.สุขสำราญ จังหวัดระนอง ตั้วแต่ต้นปี 2540 ที่ผ่านมา แต่ปรากฎว่า ตำรวจสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาทั้งหมด โดยอ้างว่า หลักฐานของกรมป่าไม้ไม่พียงพอ ทั้ง ๆ ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่เคยทำเรื่องขอเอกสารเพิ่มเติมแต่ประการใด
ขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่ระดับสูงจากสำนักป้องกันและปราบปรามการประพฤติมิชอบและทุจริตในวงราชการ (ป.ป.ป.) ได้เปิดเผยเรื่องดังกล่าวว่า เท่าที่ตรวจสอบพื้นที่ป่าชายเลนที่มีปัญหาการนำที่ดินไปขอเอกสารสิทธิ ไมได้พบเพียงแค่จังหวัดพังงาเท่านั้น แต่พื้นที่ป่าชายเลนทั้งหมดของภาคใต้มีปัญหาค่อยข้างสูง ไม่ว่าจะเป็น จ.ระนอง จ.ภูเก็ต จ.พังงา และจ.สงขลา อย่างไรก็ตาม สำหรับข้อมูลดังกล่าว เจ้าหน้าที่จากกรมป่าไม้ได้เสนอต่อ ป.ป.ป. เพื่อให้พิจารณาแล้ว
"ขณะนี้ข้อมูลต่าง ๆ ไมาสามารถเปิดเผยได้ เนื่องจากอยู่ระหว่างการสอบสวน อย่างไรก็ตามหากพบว่า น.ส. 3ก. ในพื้นที่ดังกล่าว มีการปลอมแปลงจริงก็ต้องแจ้งไปทางจังหวัดให้มีการเพิกถอนโดยใช้อำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด ส่วนทางจังหวัดจะพิจารณาอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กัยดุลยพินิจของเขา" เจ้าหน้าที่รายเดียวกันระบุ
ขณะเดียวกัน หลังจากที่ป.ป.ป. และฝ่ายป้องกันและปราบปรามกรมป่าไม้ ได้เข้าตรวจสอบพื้นที่เขตต.เกาะคอเขา และต.บางม่วง อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากมีการร้องเรียนว่า ได้มีนายมุนรายใหญ่ได้นำที่ดินในเขตสัมปทานป่าชายเลนบริเวณดังกล่าว จำนวน 300 แปลง หรือเนื้อที่โดยประมาณ 7,000 ไร่ ไป ออก น.ส. 3ก. นั้น
มีรายงานข่าวจากสำนักปราบปรามกรมป่าไม้ว่า จาการสำรวจล่าสุดพบว่า มีการกระทำผิดจริง โดยเมื่อนำแผนที่เลขที่ 46261/ ชื่อระวาง อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา มาวิเคราะห์กับภาพถ่ายทางอากาศ และเอกสารหลักฐานต่าง ๆ พบว่า มีการนำที่ดินบริเวณดังกล่าวมาออกเอกสารสิทธิจริง ซึ่งจากการตรวจสอบข้อเท็จจริงในเบื้องต้นได้รับข้อมูลว่า สำหรับเขตพื้นที่สัมปทานป่าชายเลนที่มีการออก น.ส.3ก. นั้น แต่เดิมเป็นเขตสัมปทานทำแหมืองแร่ตะกั่วและดีบุก ต่อมาเมื่อหมดสัมปทานเจ้าของเหมืองที่ได้รับสัมปทานดังกล่าว ได้พยายามวิ่งเต้นกับเจ้าหน้าที่ทั้งเขตที่ดินอำเภอแและระดับจังหวัด ขอออกเอกสารสิทธิในพื้นที่ที่ว่านี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2520-2522 และช่วงปี พ.ศ. 2534-2535
ทั้งนี้ สำหรับรายชื่อผู้เข้าครอบครอง น.ส.3ก. ในพื้นที่สัทปทานป่าชายเลนมีทั้งนายทุนรายใหญ่และรายย่อย ซึ่งเป็นตระกูลดังของจังหวัดหลายตระกูล

กรุงเทพธุรกิจฉบับ วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ.2541
ป่าเขาเตรียม
อภิสิทธิ์ชน- พื้นที่ป่าธรรมชาติเขาเตรียม จ.ระนอง อยู่ติดกับอุทยานแหลมสน ซึ่งตามพ.ร.บ.ป่าไม้พ.ศ.2484 ระบุไว้ชัดเจนว่า ไม่สามารถออกเอกสารสิทธิได้ แต่ขณะนี้พื้นที่ดังกล่าวถูกนำมาออกนส.3ก.และนำไปจำนองกับธนาคารทหารไทย แม้จะมีหลักฐานจากกรมป่าไม้ชัดเจนว่าผิด

ทศพร ปิดปาก น.ส.3 กลางเขา
"ทศพร เทพบุตร" เดือดข่าว ครอบครองน.ส.3ก. บนอุทยานแหลมสน ไม่ขอพูดกับ "เครือเนชั่น" ขณะที่เอกสารของกรมป่าไม้ ยังระบุชัด "นายทุน" ฮุบที่ดินอุทยาน สอบพบก่อนออกน.ส.3 กวาดซื้อบัตรประชาชนใบละ 3,000 บาท ขอสิทธิทำกินเผยที่ดินไม่สามารถทำกินได้ เป็นภูเขาสูง แต่ซื้อเพราะต้องการนำโฉนดไปจำนอง "วิโรจน์ เปาอินทร์" รองประธานกรรมาธิการการปกครอง จากพรรคชาติไทย จับติดขบวนการ ออก น.ส.3 ก. ป่าชายเลนภูเก็ต-พังงา

นายทศพร เทพบุตร สามีของนางอัญชลี วานิช-เทพบุตร ส.ส.ภูเก็ต พรรคประชาธิปัตย์ ไม่ยอมที่จะให้รายละเอียดกับผู้สื่อข่าวเมื่อถูกสอบถามทางโทรศัพท์ ถึงกรณีที่มีรายชื่อที่ได้เอกสารสิทธิ น.ส.3 ก. บนในดินในเขตบริเวณอุทยานแห่งชาติแหลมสน จ.ระนอง

ทั้งนี้ นายทศพร กล่าวด้วยความไม่พอใจว่า จะไม่พูดถึงเรื่องนี้อย่างเด็ดขาด พร้อมบอกว่า ไม่ต้องโทรมาถามอีก หากจะพูดถึงเรื่องนี้

"พวกคุณมาจากเครือเนชั่น แท้จริงมีนิสัยไม่ได้แตกต่างไปจากหัวสี อย่ามาพูดกับผมดีกว่า" นายทศพร กล่าว

เจ้าหน้าที่จากสำนักป้องกันและปราบปรามกรมป่าไม้ ร่วมกับตำรวจป่าไม้ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ได้ทำการตรวจสอบพื้นที่การออกเอกสารสิทธิ (น.ส.3ก.) โดยมิชอบบริเวณอุทยานแห่งชาติแหลมสน และบริเวณใกล้เคียงในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเลนคลองม่วงกลาง และป่าแหลมหน้าทุ่ง ท้องที่อำเภอกะเปอร์ และกิ่งอำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง โดยพบว่า มีพื้นที่จำนวน 58 แปลง เนื้อที่ 1,843-0-45 ไร่ ออกน.ส.3 ก.โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญา ตามมาตรา 157,161,162

ผลการตรวจสอบข้างต้น ได้สรุปในรายงานการปฏิบัติการบุกรุกยึดถือครอบครองพื้นที่บริเวณอุทยานแห่งชาติแหลมสน และบริเวณใกล้เคียง ท้องที่จังหวัดระนอง ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายป้องกันและปราบปรามกรมป่าไม้ ที่มีขึ้นเมื่อต้นปี 2541 นี้

โดยในรายงานดังกล่าว ชี้ชัดว่า พื้นที่การบุกรุกทั้งหมดนั้น พบว่า มีการโอนซื้อ-ขาย น.ส.3 ก. ที่มีปัญหา จำนวน 21 แปลง ในนามของนายทศพร เทพบุตร นายอาคม ลิ่วเฉลิมวงศ์ นางอรทัย มั่นคงเจริญ นายกรีฑา วงษ์ชุมพิศ

ในรายงานยังสรุปว่า จากการตรวจสอบพบหลักฐานว่า มีจำนวนที่ดิน 4 แปลง ที่ออกในนามของนายทศพร นายอาคม และนางอรทัย โดยได้นำ น.ส.3ก. ดังกล่าว ไปจำนองกับธนาคารทหารไทย เพื่อทำบริษัท แพนอันตามัน จำกัด ด้วย

อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่ระดับสูงจาก จังหวัดระนอง เปิดเผยว่า กรณีการบุกรุกที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติและในเขตอุทยานแห่งชาติทางทะเลแหลมสนและมีการนำพื้นที่ดังกล่าวไปออกเอกสารสิทธิ โดยกลุ่มนายทุนอิทธิพลและนักการเมืองในท้องถิ่นในปี 2539 ได้มีเจ้าหน้าที่จากกรมป่าไม้และเจ้าหน้าที่ตำรวจ นำโดยนายวิฑูรย์ ชลายนนาวิน ผู้อำนวยการส่วนป้องกันและปราบปรามที่ 1 กรมป่าไม้ ในฐานะผู้ชำนาญการพิเศษ ด้านภาพถ่ายทางอากาศกรมป่าไม้ และผู้เชี่ยวชาญของศาลในทางวิเคราะห์ภาพถ่ายทางอากาศและแผนที่

พ.ต.ท.สถาพร สันติสิทธานนท์ สว.ผ.3 กก.4 ปม.นายพรชัย เพชรพิมพ์พันธุ์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแหลมสน ร.ต.อ.ไพรัตน์ จันทร์อบ รองสว.ผ.2 กก.3 ปม.เจ้าหน้าที่สำนักงานป่าไม้เขตสุราษฎร์ธานี เจ้าหน้าที่สำนักป้องกันและปรามปราม ได้เดินทางลงไปตรวจสอบข้อเท็จจริงในการออกน.ส.3 ในเขตท้องที่ ต.กำพวน กิ่งอ.สุขสำราญ จ.ระนอง ซึ่งพบว่า ได้มีการออกเอกสารสิทธิโดยมิชอบจริง ทั้งยังพบว่า มีการนำเอกสารดังกล่าวไปขายต่อให้กับกลุ่มนายทุน

เจ้าหน้าที่คนเดิมกล่าวว่า โดยที่ดินผืนดังกล่าวมีทั้งหมด 6 แปลง ซึ่งเป็นชื่อของ นายหมัด พินิจ เจ้าของเอกสารสิทธิเลขที่ดิน 13 เลขที่ 375,นายหมูด ทิพย์หมด เลขที่ดิน 1 เลขที่ 378,นายกอหนี ถลาง เลขที่ดิน 33 เลขที่ 413,นายหมูด มุสิทธวดี เลขที่ดิน 429 เลขที่ 28,นายหมาดส้าแหล่ เรียบร้อย เลขที่ดิน 427 เลขที่ 26,นายหยาด เขน็ดเพชร เลขที่ดิน 424 เลขที่ 23 ซึ่งทั้งหมดได้ขายขอออกโฉนดที่ดินในเวลาใกล้เคียงกัน

โดยเฉพาะนายหมาด สามารถออกโฉนดได้ เมื่อวันที่ 6 พ.ค.2532 และได้ขายให้กับกลุ่มนายทุนในวันที่ 9.พ.ย.2532 ซึ่งถ้าเป็นของชาวบ้านทั่วไป คงทำไม่ทันอย่างแน่นอน ดังนั้น จึงเป็นที่น่าสังเกตว่าจะมีเจ้าหน้าที่ร่วมรู้เห็นเป็นใจ อย่างไรก็ตาม จากการสอบสอบสวนข้อเท็จจริงของเจ้าหน้าที่ พบว่า รายชื่อผู้ที่นำมาขอออกโฉนดที่ดินก่อน ซื้อ-ขาย ได้มีการกว้านซื้อบัตรประจำตัวประชาชนในราคาใบละ 3,000 บาท เพื่อนำมาเป็นหลักฐานขอออก น.ส.3 ดังกล่าวด้วย

"การขอออกโฉนดเขาฉลาดตรงที่ไม่ขอทีเดียว 50 ไร่ แต่จะขอเพียง 49 ไร่ เพราะจะได้ไม่ต้องผ่านให้ผู้ว่าฯเซ็นอนุมัติ ซึ่งชาวบ้านที่ต.กะพวนจะทราบดี แต่ไม่มีใครกล้าเข้าไปเกี่ยวข้องอย่างที่ดิน เลขที่ 374 ชัดเจนมากว่า มีการออกโฉนดทับอุทยานแห่งชาติแหลมสน แต่ก็ยังทำโดยอ้างว่าทำกินมานาน ซึ่งถ้าเข้าไปสำรวจจริงๆ จะมีแปลงมะม่วงอยู่ไม่เต็ม เพราะว่าพื้นที่ดังกล่าวมีลักษณะเป็นเขาเข้าไปทำกินยาก"

สำหรับพื้นที่แปลงที่ดิน น.ส.3 ก.เลขที่ 375 เลขที่ดิน 13 เท่าที่สำรวจพบว่า สภาพพื้นที่ 40% มีพรรณไม้ป่าพรุขึ้นอย่างหนาแน่น ส่วนพื้นที่อีก 60% มีสภาพเป็นป่าดงดิบ มีไม้เศรษฐกิจขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น สภาพภูมิประเทศเป็นเขามีความลาดชันประมาณ 40% ที่ดินทั้งแปลงไม่มีการทำประโยชน์ โดยการปลูกมะม่วงหิมพานต์อย่างที่อ้างและก็ไม่มีสิ่งปลูกสร้างด้วยเช่นกัน

ขณะที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงจากสำนักป้องกันและปราบปราม กรมป่าไม้ กล่าวยืนยันว่า ปัญหาการออกเอกสารสิทธิในพื้นที่อุทยานแหลมสนและเขตป่าสงวนแห่งชาติเกิดขึ้นมาหลายปีแล้ว แม้ทางเจ้าหน้าที่ที่ลงไปตรวจสอบจะได้แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสภ.กิ่งอ.สุขสำราญ จ.ระนอง ตามปจว.ข้อ 2 ลงวันที่ 19 ธันวาคม 2539 เลขที่คดี 413-443 แต่ก็ไม่มีความคืบหน้าใดๆ ทั้งสิ้น ทั้งยังมีการยื้อคดีจนกระทั่งเจ้าหน้าที่ตำรวจมีคำสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาดังกล่าว

ทั้งนี้ สำหรับแปลงที่ดินที่มีปัญหา นอกจากข้างต้นแล้ว ยังพบว่า มีการออกเอกสารสิทธิในพื้นที่ป่าธรรมชาติ เขาเกรียม จ.ระนอง พื้นที่ใกล้เคียงกับอุทยานแหลมสน ซึ่งตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 ไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากที่ดินดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่ยังไม่ได้มีบุคคลใดครอบครองและทำประโยชน์มาก่อน และปัจจุบันยังไม่ได้มีการประกาศแนวเขตชัดเจน ดังนั้น การที่นำมาออกเอกสารสิทธิจึงถือว่าเป็นการกระทำโดยมิชอบ

"ที่แปลงดินทั้งหมด ผมยืนยันว่า ขณะนี้ยังมีสภาพเป็นป่าเหมือนเดิมทุกอย่าง และเข้าไปทำกินไม่ได้ เพราะอยู่ค่อนข้างลึก บางแห่งอยู่ติดกับริมทะเล ที่เขาเอาที่ไปออกเอกสารสิทธิ เพราะ ต้องการเอาโฉนดไปจำนองธนาคารอย่างเดียวและแทบทุกแห่งในภาคใต้มีปัญหาอย่างนี้หมด และเพราะเหตุนี้ป่าไม้เมืองไทยถึงไม่เหลือขนาดป่าธรรมชาติเขายังเอาเลย นี่ก็มีการขีดพื้นที่เอาไว้อีกหลายแปลง เพื่อเตรียมออกโฉนด"แหล่งข่าวระบุ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับแปลงพื้นที่กว่า 1,000 ไร่ ที่มีน.ส.3ก.แล้วอยู่ในเขตป่านั้นมี ดังนี้ คือ น.ส.3 ก.เลขที่ 374,375,378,379,440,413,414, 435,439,441,443 และบริเวณแปลงที่ดิน น.ส.3 เลขที่ 417,421 ส่วนอีก 6 แปลงอยู่ในเขตอุทยาน คือ แปลงน.ส.3 ก.เลขที่ 369,370,371,372,376 และ 377 ด้านพล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ ส.ส.อ่างทอง พรรคชาติไทย รองประธานคณะกรรมาธิการการปกครอง ซึ่งเป็นคนหนึ่งในคณะทำงานของนายปัญจะ เกสรทอง รองนายกรัฐมนตรี ที่เดินทางไปตรวจสอบการออกเอกสารสิทธิป่าชายเลนในพื้นที่ภูเก็ต และพังงา เมื่อวันจันทร์ 8 มิถุนายน กล่าวกับผู้สื่อข่าวที่รัฐสภา ว่า ได้พบความไม่ชอบมาพากล เนื่องจากเจ้าหน้าที่กรมดินได้ออกเอกสารสิทธิ ทั้งที่เป็นที่ดินของรัฐ

"ไม่ทราบว่าเจ้าหน้าที่กรมที่ดินออกเอกสารสิทธิให้ได้อย่างไรทั้งๆ ที่เป็นที่ของรัฐ แสดงว่าเจ้าหน้าที่ตาบอด ตาถั่ว ไม่ได้พิจารณาให้รอบคอบ เพราะไปออกเอกสารสิทธิครอบคลุมพื้นที่ 4 พันกว่าไร่ ซึ่งมีหลายจุดด้วยกัน" พล.ต.ท.วิโรจน์ กล่าว

พล.ต.ท.วิโรจน์ กล่าวว่า มีความต้องการที่จะให้ติดตามเรื่องนี้ในรายละเอียด ทั้งที่เกี่ยวกับพฤติกรรมที่ไม่ชอบมาพากลของเจ้าหน้าที่กรมที่ดิน ซึ่งการตรวจสอบติดค้างมา 5-6 ปีแล้ว ดังนั้น จึงได้เสนอเรื่องให้คณะ กรรมาธิการการปกครองพิจารณา ติดตามและผลักดันให้มีการลงโทษเจ้าหน้าที่ที่มีความผิด โดยในเบื้องต้นคณะกรรมาธิการได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมาธิการพิจารณากลั่นกรองเรื่องร้องเรียนซึ่งมี นายวีระ ปัทมสิริวัฒน์ ส.ส.พิษณุโลก พรรคชาติพัฒนา รองประธานคณะกรรมาธิการ เป็นประธาน โดยคณะอนุกรรมาธิการ ได้เชิญปลัดจังหวัดภูเก็ต และป่าไม้เขตนครศรีธรรมราช มาชี้แจงรายละเอียดแล้ว

พล.ต.ท.วิโรจน์ กล่าวว่า คณะอนุกรรมาธิการชุดนี้จะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจง และจะลงไปตรวจสอบข้อเท็จจริงในพื้นที่เพื่อทราบข้อมูลในเชิงลึก เนื่องจากในเบื้องต้นยังไม่ทราบว่าบุคคลที่ได้รับเอกสารสิทธิมีส่วนเกี่ยวข้องกับนักการเมืองหรือไม่


ภูเขาหญ้า กาหยูหวาน ธารน้ำแร่ มุกแท้เมืองระนอง


หากท่านมีคำแนะนำและความคิดเห็น ติชม ประการใด
โปรดติดต่อ : wichienl@yahoo.com