![]() |
|
นวนิยาย เรื่องสั้น บทความ |
บทความแปล เอล นินโญ มันคืออะไร ? ยังมีอะไรอีกหลายเรื่องที่เราจะต้องเรียนรู้ เกี่ยวกับการที่โลกร้อนขึ้น แต่มีอยู่เรื่องหนึ่งที่มักจะเป็นหัวข้อสนทนาประจำวันของพวกเราหลายคนในปัจจุบันของเราคือ เรื่องของสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ลักษณาการอย่างหนึ่งของความเปลี่ยนแปลงของอากาศ ที่มีการเผยแพร่ข่าวสารความรู้ให้แก่กันในช่วงไม่กี่ปีมานี้ก็คือ เอล นิญโญ (El Nino) เมื่อประมาณ ๔๐๐ ปีมาแล้วชาวประมงเปรูที่จับปลาแอนโชวี่ มีกำหนดเวลาที่แน่นนอนในการออกจับปลาของพวกเขาในฤดูใบไม้ร่วงเป็นประจำทุกปี ซึ่งในเวลานั้น จะเป็นช่วงที่กระแสน้ำนอกชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกเย็นลงแล้ว มักจะมีปลาตัวเล็กๆ ปรากฎตัวเวียนว่ายในบริเวณนั้นจำนวนมหาศาล แต่เจ้าปลาแอนโชวี่ที่ปรากฎให้เห็นในปัจจุบันมีเหลืออยู่เพียงส่วนหนึ่งของจำนวนที่เคยพบมาก่อนเท่านั้น ชาวประมงพบว่าสาเหตุดังกล่าวเกิดจากกระแสน้ำมีความร้อนกว่าปกติ ร้อนเกินกว่าที่ฝูงปลาดังกล่าว อยากจะมาใช้ชีวิตอยู่ในบริเวณนั้น การที่น้ำมีอุณภูมิสูงกว่าปกติในเดือนธันวาคมซึ่งผิดฤดูกาลนี้ นับว่าเป็นปรากฎการณ์อย่างหนึ่งที่เรียกกันว่า เอล นิญโญ นอกจากนี้ยังเกิดลักษณะของปรากฎการณ์ เอล นิญโญ ขึ้นอีก นอกเหนือจากการที่น้ำร้อนกว่าปกติ นั้นคือ การเปลี่ยนแปลงความกดดันในชั้นบรรยากาศ การเปลี่ยนแปลงของความสัมพันธ์ระหว่างมหาสมุทรกับอากาศ แน่นอนย่อมต้องก่อให้เกิดผลกระทบกับสภาพภูมิอากาศทั่วโลก ตามปกติแล้ว ความกดอากาศทางแถบตะวันออกจะสูงกว่าความกดอากาศในแถบตะวันตก เป็นเหตุให้ลมสินค้าพัดจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก ข้ามตอนกลางของมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณเส้นศูนย์สูตร ในขณะเดียวกันนั้น มันก็จะพลักดันกระแสน้ำอุ่นให้เคลื่อนตัวไปข้างหน้าเกิดมีความร้อนและความชื้นขึ้นในอากาศ ก่อให้เกิดเป็นพายุและมีฝนตกในทวีปออสเตรเลียและบางส่วนของทวีปเอเชีย แต่ในทุกๆสองสามปี ความกดอากาศจะมีการเปลี่ยนแปลง เป็นเหตุให้ลมสินค้าพัดสวนกลับลไปในทิศทางเดิม หรือว่าก็สงบราบเรียบไปโดยสิ้นเชิง ทำให้เกิดกระแสอากาศร้อนที่เคลื่อนตัวตรงไปทางทิศตะวันตกสู่ทวีปเอเชีย แล้วย้อนกลับไปที่ทวีปอเมริกาใต้อีกครั้งหนึ่ง ทางแถบตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกกระแสน้ำที่อุ่นจัดนี้ ทำให้เกิดความร้อนและความชื้นในอากาศเช่นเดียวกับที่ควรจะเกิดในแถบตะวันตก ทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองที่ก่อตัวสูงมาก เป็นลำขึ้นไปในท้องฟ้าสูงเกือบถึง ๑๐ ไมล์ แม้ว่า ทั่วโลกจะได้มีโอกาสเรียนรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์เอล นิญโญ ก็ตาม ผลกระทบที่เกิดจากปรากฏการณ์นี้ ก็คงดูเหมือนว่ายังอยู่ห่างไกลนัก นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่า ผลกระทบของมัน อาจจะรับรู้ได้ไกลถึงทวีปอัฟริกา และมหาสมุทรแอนตาร์คติกทีเดียว
อย่างไรก็ดี
การเกิดปรากฏการณ์นี้ แล้วเจ้าปรากฎการณ์ เอล นิญโญ นี้จะเกิดขึ้นไปอีกนานสักแค่ไหน? มีเอกสารบันทึกไว้ในอดีตย้อนหลังไปยังต้นศตวรรษนี้ ประกอบกับการชี้แนะจากประสบการณ์ของชาวประมงเปรูว่า มันจะเกิดถี่ขึ้นใกล้กึ่งกลางปี ค.ศ. ๒๐๐๐ (Millennium) นี้ด้วยซ้ำไป ถึงอย่างไร นักวิทยาศาสตร์ก็จะยังคงศึกษาปรากฎการณ์เอล นิญโญอยู่ต่อไปอีก ด้วยความหวังว่าสักวัน เราคงจะได้เข้าใจถึงการก่อกำเนิดของมัน เพื่อจะได้พบวิถีทางในการพยากรณ์ถึงพัฒนาการในอนาคตที่เชื่อถือได้ของปรากฎการณ์นี้ต่อไป. เอล นิญโญ คำว่า ENSO เป็นอักษรย่อของคำที่นักพยากรณ์อากาศและนักวิทยาศาสตร์ เรียกเต็มๆว่า El Nino-Southern Oscillation แต่ในที่นี้มิได้มีความหมายถึงกระแสน้ำอุ่นในมหาสมุทรแปซิฟิก ทั้งๆที่เดิมทีคำนี้หมายถึง กระแสน้ำอุ่นในมหาสมุทรที่ชาวประมงนอกชายฝั่งเปรูจะพบเสมอในเดือนธันว่าคมของแต่ละปี El Nino เป็นคำในภาษา สเปน แปลว่า "เด็กชาย" (Child Boy) หรือ "พระกุมารเยซู" (Infant Jesus) กระแสน้ำอุ่น ที่กล่าวถึง ถูกเรียกตามชื่อนี้เนื่องจากมันจะปรากฎขึ้นนอกชายฝั่งเปรูในช่วงคริสต์มาสซึ่งตรงกับวันที่พระเยซูเจ้าถือกำเนิดมาในโลกนั่นเอง การใช้คำนี้ในปัจจุบันมีความหมายกว้างขึ้นไปอีก คือ คำว่า "Southern Oscillation" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชื่อเต็ม ได้มาจากการที่ กิลเบิร์ต วอล์คเกอร์ (Gilbert Walker) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษคนหนึ่งได้เฝ้าสังเกตสภาวะกอากาศเมื่อต้นปี ค.ศ. ๑๙๐๐ พบว่าเมื่อความกดอากาศทั่วทวีปออสเตรเลียลดต่ำลง ความกดอากาศของเกาะตาฮิติ ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของออสเตรเลียจะสูงขึ้น และจะเกิดขึ้นสลับกันไปมาของสภาวะอากาศระหว่างแถบตะวันตกและตะวันออกในซีกโลกภาคใต้ (Southern Oscillation) ดังกล่าวนี้เอง คือที่มาของชื่อปรากฎการณ์นี้ วิสุทธิจิตรา วานิชสมบัติ แปล จากวารสาร "The Lamp" |
Poet 2543 |
7Smooth.com Group
Copy Right 1999
poet2543@hotmail.com | poet2543@7smooth.com