ประจำวันอังคารที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2542 - วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ.2542
สหัสวรรษที่ 3
ข้อเท็จจริงกรณีวัดพระธรรมกายกับความอยู่รอดของคณะสงฆ์ไทย
พุทธศาสนากับประเทศไทย เปรียบประดุจหัวใจกับโลหิต ย่อมเป็นหนึ่งเดียวกันและเสริมสร้างผลักดัน ให้เกิดพลังสร้างสรรค์ ความมั่นคง ให้กับชาติ มาแต่อดีตกาล พุทธศาสนาเป็นทั้งที่พึ่งทางใจ ในยามสงบ และยามศึกสงคราม
พุทธศาสนา คือ ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม และสังคมของชาติไทย หล่อหลอมความเป็นชาติ สร้างบุคคลสำคัญ เป็นกำลัง กอบกู้ เอกราชให้แก่แผ่นดิน และบริหารราชการแผ่นดิน อีกทั้งเป็นหลักชัย ในการปกครองมาทุกยุค ตราบเท่าปัจจุบัน จนเป็นสถาบันสูงสุด ปรากฏ ในตราแผ่นดินเป็นหลักฐาน
ด้วยศักยภาพและบูรณภาพแห่งพุทธศาสนา โดยเฉพาะหลักธรรมคำสั่งสอน มีความทันสมัยในตัวเอง สามารถปรับใช้ได้ ในทุกสภาวะ และสถานะ ทำให้ศาสนาต่างๆ ต้องการนำเอาหลักพุทธศาสนาไปดัดแปลง แล้วใช้สั่งสอน โดยอ้างว่า เป็นคำสั่งสอนของศาสดาของตน การ บิดเบือนทำลายพุทธศาสนาในประเทศไทย มีมาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากความสมานสามัคคี ของพุทธบริษัท โดยเฉพาะ ความแข็งแกร่งของ พระภิกษุสงฆ์ในคณะสงฆ์ไทย ทำให้พุทธศาสนาในประเทศไทย อยู่รอดปลอดภัยตลอดมา
ในช่วงระยะ 20 ปี ที่ผ่านมา สิ่งที่จะเห็นได้ชัดอย่างเป็นรูปธรรมคือ การบ่อนทำลายวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี สังคม มีการถอด หลักสูตรวิชา "ศีลธรรมพุทธศาสนา" ออกจากชั้นอนุบาล ประถม มัธยมศึกษา ภาพที่เราเคยเห็น นักเรียนสวดมนต์ก่อนเข้าขั้นเรียน หมดไปจาก สังคมไทย ประชาชนในชาติ จากระดับล่างถึงระดับสูง ขาดศีลธรรมจรรยา สื่อสารมวลชน จะประโคมข่าว เป็นเรื่องใหญ่ในทางลบ เมื่อมีเรื่อง เกี่ยวกับพุทธศาสนา (หลังจากที่มีการอภัยโทษให้ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ อันเป็นศัตรูสำคัญของพุทธศาสนา)
ณ ปัจจุบัน (2542) กลุ่มทำลายพุทธศาสนา ได้ขยายตัวและมีอิทธิพลทั้งทางการเมือง สถาบันการศึกษา และทางธุรกิจ ถึงขนาดที่ มหาวิทยาลัย บางแห่ง เปิดสอนหลักสูตรตั้งแต่ระดับ ปริญญาตรีถึงปริญญาเอก โดยมีปรัชญาที่ไม่ให้เชื่อในพิธีการทางสงฆ์ ซึ่งถือว่า เป็นเรื่อง งมงาย พิสูจน์ไม่ได้ ให้เชื่อเฉพาะที่พิสูจน์ได้ โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น??
รัฐมนตรีช่วย ประจวบ ไชยศาสน์ เดินทางเข้าพบ สันตปาปา ประมุขแห่งศาสนาคริสเตียน ณ กรุงวาติกัน และ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้เข้าพบประธานอิสบามสากล ณ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ผลปรากฎว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปี พ.ศ.2540 จึงไม่ปรากฎ บทบัญญัติที่ระบุให้ "พุทธศาสนา" เป็นศาสนาประจำชาติ
และเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.2542 จึงเป็นช่วงวิกฤตอย่างยิ่ง สำหรับคณะสงฆ์ไทย ที่จะต้องประสบกับการตัดสินใจ ในแนวทางที่ถูกต้อง มีความสุขุม รอบคอบ ลุ่มลึกในการพิจารณาสถานการณ์ เมื่อเผชิญกับการประสาน ผลประโยชน์ของ กลุ่มนอกศาสนาต่างๆ ซึ่งใช้กระแสว่า ปกป้องพุทธศาสนา ซึ่งโดยความเป็นจริง บุคคลที่ปรากฎนามต่างๆ ไม่เคยเป็นผู้นำ ในการรณรงค์ให้ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาประจำชาติ มาก่อนเลย
สิ่งที่น่าพิจารณาและหาคำตอบให้ได้ก็คือ การสร้างกระแสให้เกิดขึ้นในสังคม เพื่อทำลาย หรือสร้างภาพพจน์แก่ พุทธศาสนาในทางลบ หรือ เสียหายแก่สายตาชาวโลก จะเห็นได้ว่า กลุ่มผู้โจมตีพระพุทธศาสนา ได้เคยออกแถลงกับสถานีวิทยุ BBC ของประเทศอังกฤษ เขามี วัตถุประสงค์ เพื่ออะไรกันแน่??? การพยายามทำให้สังคมเห็นว่า เป็นความคิด หรือความเห็นมาจาก บุคคลหลายกลุ่ม ซึ่งมีความห่วงใย พุทธศาสนา นั้น เป็นความจริงหรือไม่???
เป็นที่น่าสังเกตว่า กลุ่มบุคคลที่ออกมาต่อต้าน หรือโจมกรณีวัดพระธรรมกาย เป็นบุคคลกลุ่มเดียวกัน เช่น พระพยอม กัลยาโณ พระธรรมปิฎก นายเสฐียรพงษ์ วรรณปก ล้วนมาจากแหล่งเดียวกัน ปัญหานี้ต้องมีคำตอบว่า เพราะอะไร??
กรณีวัดพระธรรมกาย เป็นลักษณะของการทำลาย โดยอาศัยพวกเดียวกัน (เหมือนนิทานกษัตริย์ลิจฉวี) ซึ่งผลลัพท์ที่ออกมา ไม่ว่า จะเป็นอย่างใด ผลเสียก็จะตกกับ "คณะสงฆ์ไทย" และมหาเถรสมาคม ซึ่งกลุ่มที่มิใช่พุทธศาสนิกชน ต้องการให้เป็นเช่นนั้นอยู่แล้ว
จุดผกผันแห่งประวัติศาสตร์ของศาสนาพุทธ และคณะสงฆ์ไทยขณะนี้ เปรียบดั่งอยู่บนเส้นด้าย ที่พาดบนปากเหว พุทธบริษัท จึงควร พิจารณา ใคร่ครวญ และหาแนวทางป้องกัน
ก่อนที่พุทธศาสนาจะกลายเป็นเพียงเครื่องประดับ หรือวัตถุโบราณเท่านั้น
อนุสนธิ (ภาคผนวก)
1. กลุ่มนอกศาสนา ใช้อิทธิพลแทรกตัวเข้าสู่วงการต่างๆ และรู้อยู่แล้วว่า รัฐธรรมนูญปี 2540 จะไม่มีการบัญญัติให้ศาสนาพุทธ เป็น ศาสนาประจำชาติ จึงได้จัดตั้ง "ศูนย์ศาสนศึกษา" โดยมหาวิทยาลัยมหิดล เปิดหลักสูตรในวันที่ 1 มกราคม 2540 ตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ถึง ปริญญาเอก โดยมีปรัชญาการสอนว่า "พิธีกรรมใด ๆ ในศาสนาพุทธ ซึ่งไม่สามารถพิสูจน์ได้ โดยวิธีวิทยาศาสตร์ เป็นเรื่องงมงาย เชื่อถือไม่ได้" ได้รับการสนับสนุน โดย "กองทุนมูลนิธิน้ำทอง" (ไม่มีใครทราบว่า มีที่มาที่ไปอย่างไร)
จุดประสงค์ เพื่อสร้างบุคลากรให้มีคุณสมบัติตรงตามกฎหมายลูก ประกอบรัฐธรรมนูญ เพื่อใช้ในการควบคุมคณะสงฆ์ไทย และมีศักดิ์ สูงกว่า "มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย" หรือ พระผู้จบเปรียญธรรม ผู้จบจากสถาบันนี้ จะเป็นผู้เข้าควบคุม และบริหารวัด และคณะสงฆ์ตาม กฎหมายลูก ประกอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งขณะนี้ (มี.ค.2542) กำลังรอผ่านสภา
อาจารย์ผู้สอนซึ่งเป็นสงฆ์คือ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต)
อาจารย์ผู้สอนในศูนย์ศาสนศึกษานี้ ได้กล่าวต่อสาธารณชน มีการถ่ายทอดทั่วประเทศ โดยสถานีวิทยุแห่งประเทศไทย ในวันที่ 12 มีนาคม 2542 ความว่า
"ศาสนาพุทธไม่มีใครเป็นเจ้าของ ไม่ว่าจะมีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นหรือไม่ และไม่ว่ามนุษย์ในโลกนี้ จะรู้จักพระพุทธศาสนาหรือไม่ก็ตาม เขาเหล่านั้น ก็มีสิทธิค้นพบหลักธรรมนี้ได้อยู่แล้ว หลักธรรมนี้ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ใครๆ เอาไปใช้ก็ได้ และไม่จำเป็นต้องรู้จักพระพุทธเจ้า ด้วยซ้ำไป"
ท่านที่เป็นพุทธศาสนิกชนโปรดไตร่ตรองความหมายด้วย นี่หมายความว่า ต่อแต่นี้ไป การนำเอาพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ไปดัดแปลง ใช้กับศาสนาอื่นก็ย่อมทำได้ อย่ามาห้าม เพราะไม่มีเจ้าของใช่หรือไม่?
การที่คณะสงฆ์ไทย ต่อต้านศาสนาอื่น บิดเบือนคำสอนพุทธศาสนามาตลอด ต่อไปนี้ห้ามทำใช่ไหม? (ความเต็มปรากฏในเทป งาน วันครบรอบ 60 ปี พระธรรมปิฎก)
2. ระบบคณะสงฆ์ไทย โดยเฉพาะมหาเถรสมาคม จะไม่ใช่การปกครองโดยคณะสงฆ์ การบริหารการจัดการ ถูกควบคุมโดยบุคคลที่เป็น คฤหัสถ์ หรือผู้ที่จบจาก "ศูนย์ศาสนศึกษา" โดยคุณสมบัติตามกฎหมาย
ส่วนผู้จบจากมหาจุฬาลงกรณ์ หรือเปรียญธรรม ก็เป็นได้แค่ พระราชาคณะ ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของบุคคลที่จบจากศูนย์นี้เท่านั้น
หากไม่รีบป้องกันให้ทัน ก่อนที่กฎหมายลูกจะผ่านสภา กรณีวัดพระธรรมกาย จึงเป็นข้ออ้างในการออกกฎหมาย เข้าควบคุม ความมี ระเบียบ ในคณะสงฆ์นั่นเอง ซึ่งจะเห็นว่า มีการชี้แนะ และโจมตีว่า มหาเถรสมาคม ไม่มีประสิทธิภาพ เฉื่อยชา ล่าช้า ฯลฯ เพื่อทำลายภาพพจน์ และเก็บไว้เป็นหลักฐานประกอบ ในการออกมาตราในกฎหมาย
3. กลุ่มอิสลาม เนื่องจากกลุ่มอิสลาม ครองพื้นที่ภาคใต้ มีอิทธิพลทางด้านฐานเสียง ของพรรคการเมืองพรรคหนึ่ง ดังนั้น จึงมีการต่อรอง ในการใช้คะแนนเสียง แลกกับการขอขยายพื้นที่ในการประกาศ ศาสนาอิสลาม ซึ่งเดิมจำกัดเฉพาะ 4 จังหวัดภาคใต้ พรรคการเมืองดังกล่าว ได้แต่งตั้งให้นายเด่น โต๊ะมีนา เป็นประธานกรรมาธิการทางศาสนา ควบคุมดูแลพุทธศาสนาด้วย ภายใต้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายอาคม เอ่งฉ้วน (สส.ภาคใต้)
ในวันที่ 10 พ.ย.2540 ได้มีการประกาศใช้ พรบ.ขยายพื้นที่จังหวัดที่เปิดสอนศาสนาอิสลาม โดยสามารถสอนได้ในทุกภาค และทุก มหาวิทยาลัย
ในปี 2541 ได้มีการอนุมัติงบประมาณ 118 ล้านบาท (แต่เมื่อเทียบกับงบประมาณที่ให้กับวัด ในพุทธศาสนา ต่างกันหรือไม่?) เพื่อใช้ใน การขยายขอบเขตการศึกษา ศาสนาอิสลาม พร้อมกับกำหนดหลักสูตรให้กระทรวงศึกษาธิการ บรรจุศาสนาอิสลาม เข้าเป็นหลักสูตร ประจำใน ทุกโรงเรียน (ในขณะที่ถอดวิชาศีลธรรม และศาสนาพุทธ ออกให้เหลือเพียงเป็นวิชาเลือก) พร้อมกับบรรจุ ตำราเรียนศาสนาอิสลาม เข้าไปด้วย
ในวันพุธที่ 14 มีนาคม นายอาคม เอ่งฉ้วน ได้แถลงต่อสภาผู้แทนฯ ว่า ได้มีคำสั่งไปยังโรงเรียนทุกแห่งทั่วประเทศ ให้เปิดสอนวิชาศาสนา อิสลาม และหากโรงเรียนใดสอนวิชาศาสนาอิสลาม จะมีงบพิเศษให้ (ปรากฏเป็นหลักฐาน สามารถขอบันทึกการประชุมสภาฯ ได้) และจะเพิ่ม งบประมาณขยายการศึกษาศาสนาอิสลาม ในสถานศึกษาให้เป็น 127 ล้านบาท
4. ผู้ควบคุมด้านเศรษฐกิจ และการเงินของชาติ เป็นคริสเตียน (กรณีนี้คงไม่ต้องอธิบาย) เป็นผู้กำหนดจ่ายงบประมาณของประเทศ
5. ส.ส. ในสภา 9 ใน 10 เป็นอดีตผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ซึ่งจะเห็นได้ว่า ทุกพรรคการเมือง ต่างเห็นด้วยในการให้ยกเลิก พระราชบัญญัติ คอมมิวนิสต์ (พรบ.นี้ระบุไว้ชัดแจ้ง เป็นลายลักษณ์อักษรว่า ป้องกันศาสนาพุทธ โดยเฉพาะมีแผนปฏิบัติการร่วม ระหว่างคณะสงฆ์ไทย และ กอ.รมน.)
สถาบันพุทธศาสนากับการเมือง
ในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ.2540 ได้มีความพยายามให้บรรจุ พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งพุทธศาสนิกชนไทย คงจะจำได้ดี ถึงการรณรงค์ในเรื่องนี้ แต่ไม่ประสบความสำเร็จแต่อย่างใด
เมื่อรัฐธรรมนูญประกาศใช้ ปรากฏว่า พระพุทธศาสนามิได้เป็นศาสนาประจำชาติ ทั้งๆ ที่พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ มาแต่ โบราณกาล ตั้งแต่ตั้งประเทศสมัยสุโขทัย
ในยุครัตนโกสินทร์ ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 สมเด็จพระปิยมหาราช ได้มีพระบรมราชโองการ เป็นลายลักษณ์อักษร อีกทั้งบรรจุศาสนาพุทธ เป็นศาสนาประจำชาติ ปรากฏไว้ในตราแผ่นดิน ซึ่งปัจจุบันใช้เป็นตราหน้าหมวกตำรวจแห่งชาติ และตราของคำพิพากษา (ความหมาย คำอธิบาย ภายในดวงตรา ให้ค้นคว้าได้ที่ กองอาญาสิทธิ์ สำนักพระราชวัง)
ยิ่งไปกว่านั้น แม้ในพระอาญาของพระองค์ท่าน ยังได้ระบุถึงข้าราชการไทย ต้องนับถือศาสนาพุทธเท่านั้น ยกเว้น ที่ท่านโปรดเกล้า ด้วย พระองค์เอง เป็นกรณีพิเศษ แต่เหตุไฉนในรัฐธรรมนูญของชาติ จึงไม่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเช่นนี้ ถือว่า เป็นการละเมิด หมิ่นพระมหากษัตริย์ ได้หรือไม่??? เพราะพระบรมราชโองการพระมหากษัตริย์ ถือเป็นกฎหมาย จะยกเลิกโดยปริยายมิได้
คำตอบก็คือ ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ เป็นผู้คัดค้านในเรื่องนี้อย่างสุดฤทธิ์ และประธานผู้นี้ครั้งหนึ่ง ก็เป็นผู้ที่ถูกทางราชการระบุว่า มีพฤติกรรมเป็นภัยต่อชาติ ต้องหลบหนีออกนอกประเทศ และที่สำคัญคือ นับถือศาสนาคริสต์ ประกอบกับสมาชิกสภาร่างส่วนใหญ่ และนักการเมือง ขณะนั้น ส่วนใหญ่ อดีตเป็นผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ที่ได้รับ การอบรมอุดมการณ์ ต่อต้านพุทธศาสนา ว่าเป็นเรื่องงมงาย เป็นยาเสพติด
จนกระทั่ง มหาเถรสมาคมในสมัยก่อน ต้องจัดคณะพระธรรมฑูต ออกสู่ประชาชนในชนบท เพื่อดึงประชาชนกลับ จึงจะเห็นว่า เมื่อร่าง รัฐธรรมนูญสภา จึงไม่มีผู้แทนราษฎรทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล (ปี 2540) ผู้ใดออกมาคัดค้าน ที่รัฐธรรมนูญ ไม่บรรจุศาสนาพุทธ เป็น ศาสนา ประจำชาติ
ผลประโยชน์ของกลุ่มนอกศาสนา กับนักการเมือง
ในการออก พระราชบัญญัติ แก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ ในพ.ศ. 2535 เป็นการแก้ไขในเรื่องของ มูลนิธิ และ สมาคม โดยเฉพาะ ผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการ ในขณะนั้น คือ คนๆ เดียวกับผู้ที่ไม่ยอมให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ และเป็นคริสเตียน เราปฏิเสธไม่ได้ว่า ณ ปัจจุบันนี้ (พ.ศ.2542) เขาผู้นี้ เป็นผู้มีอิทธิพลต่อพรรคการเมือง ซึ่งเป็นรัฐบาลอยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะรัฐมนตรีคลัง ซึ่งดูแล ทางด้านการเงินและเป็นผู้ดำเนินการวางแผนเศรษฐกิจไทย ก็เป็นคริสเตียน และเวลากำจัดพุทธศาสนาก็มาถึง
พรบ. ดังกล่าวนั้นมีชื่อว่า "พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่" สาระ สำคัญอยู่ที่ มาตรา 8 และมาตรา 11 ของ พรบ.นี้ว่า
มาตรา 8 "ให้บรรดา สมาคม ที่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ ก่อนวันที่ พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เป็นสมาคมตาม บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้
สมาคมใด ที่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มิได้ใช้ชื่อว่า "สมาคม" ประกอบ กับชื่อของสมาคม ให้ยื่นคำขอแก้ไขข้อบังคับของสมาคมให้ถูกต้อง ตามมาตรา 80 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ แห่งพระราชบัญญัตินี้ ... ฯลฯ
มาตรา 11 "ให้บรรดา มูลนิธิ ที่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เป็นมูลนิธิตาม พระราชบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ ตรวจชำระใหม่... ฯลฯ
มูลนิธิใด ที่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มิได้ใช้ชื่อซึ่งมีคำว่า "มูลนิธิ" ประกอบ กับชื่อของมูลนิธิ ให้ยื่นคำขอแก้ไขข้อบังครับของมูลนิธิให้ถูกต้องตามมาตรา 113... ฯลฯ
จึงเห็นได้อย่างชัดแจ้งว่า การแก้ไขพรบ.นี้ จะมุ่งตรงไปที่ "สมาคม" และ "มูลนิธิ" เป็นหลัก ซึ่งเป็นสิ่งปฏิเสธไม่ได้ว่า สมาคมและมูลนิธิ ส่วนใหญ่นั้น จะเป็นไปเพื่อการกุศล โดยเฉพาะมูลนิธิทางพระพุทธศาสนา ซึ่งจะเป็นของคณะสงฆ์ไทย ซึ่งจะมีสมาคมพุทธศาสนามากกว่า 3,000 แห่ง และเมื่อมีการจัดระบบ สมาคม และมูลนิธิใหม่แล้ว ยังจัดระบบการโอนสิทธิ์ หรืออำนาจในการทำเอกสารต่างๆ ของสมาคม และมูลนิธิใหม่ ทั้งหมดอีกด้วย และไม่ปรากฏเหตุผลการแก้ไขใด ๆ ระบุไว้ในหมายเหตุท้ายพระราชบัญญัตินี้
"มาตรา 4 เอกสารที่มีการใช้ตราประทับแทนการลงลายมือชื่อตาม มาตรา 9 วรรค 2 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ ก่อนการ แก้ไข เพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งได้กระทำขึ้น ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้มีผลสมบูรณ์เสมือนกับลงลายมือชื่อต่อไป"
และเมื่อตามไปดู มาตรา 9 วรรค 2 ในประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ บรรพ 1 หลักทั่วไปลักษณะ 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป ก็จะพบว่า
มาตรา 9 ... ฯลฯ
"ลายพิมพ์นิ้วมือ แกงใด ตราประทับ หรือ เครื่องหมายอื่นทำนองเช่นว่านั้น ที่ทำลงในเอกสารแทนการลงลายมือชื่อ หากมีพยาน ลงลายมือชื่อรับรองไว้ด้วยสองคนแล้ว ให้เสมอกับลงลายมือชื่อ" ... ฯลฯ
นี่คือกฎหมายอนุญาตให้ปลอมลายเซ็นต์ได้นั่นเอง หมายความว่ายังไง?? ก็หมายความว่า เมื่อประทับตราวัด หรือมูลนิธิแล้ว นายหมู นายแมว ลงนามเป็นพยาน เอกสารที่ประทับตรานั้น ถือว่า ถูกต้องตามกฎหมาย ... งงไหมครับ อย่างงเลยครับ เขาแก้กฎหมาย มาล้มวัด โดยเฉพาะ ???
2542 ยุทธการปล้นวัด
สิ่งที่น่าสังเกต ขณะที่มีการพิจารณาพระราชบัญญัติเช่าอสังหาริมทรัพย์ (ให้คนต่างชาติเช่าที่ดินในประเทศไทยได้ 50 ปี ต่อสัญญาอีก 50 ปี รวมเป็น 100 ปี เท่าสัญญาอังกฤษเช่าเกาะฮ่องกง) ได้เริ่มเกิดกรณี "วัดพระธรรมกาย" ขึ้น และหลังจากที่รัฐบาล ได้ผ่านร่างพระราชบัญญัตินี้ กระแสของการต่อต้านวัดพระธรรมกาย รุนแรงขึ้น โดยเฉพาะเรื่องที่ดิน และเงินมูลนิธิฯ
สาเหตุ เพราะวัดพระธรรมกายมีที่ดินมาก และคาดว่า มีรายได้เป็นเงินสดในบัญชีมาก
วัดพระธรรมกาย จัดว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลก และของพระพุทธศาสนา เพราะไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ว่า จะมีวัดใด สามารถผลิตทรัพยากรทางพุทธศาสนา เปรียญธรรม ได้มากมายถึงขนาดนี้ โดยเฉพาะเปรียญธรรม 9 ประโยค การจัดการบริหาร ระเบียบวินัย รายได้ของวัด คุณภาพของผู้บรรพชา อุบาสกอุบาสิกา ล้วนแล้วแต่เป็นปัญญาชน ที่ต่อไปในวันข้างหน้า จะต้องเป็นผู้ที่มีบทบาท ในการบริหาร ประเทศ ทั้งทางการเมือง ธุรกิจ และการศาสนา อย่างมีระเบียบ แบบพุทธศาสน์ ซึ่งยังไม่เคยปรากฏมาก่อนในยุคใด ว่าสามารถประสบ ความสำเร็จ ได้ถึงขนาดนี้ ควรที่จะยกย่อง สนับสนุน ในความเป็นจริง และตามหลักเหตุและผลทั้งปวง
จากจุดสังเกตดังกล่าวข้างต้นนั้น เนื่องจากวัดพระธรรมกาย ถือครองที่ดินในจุดเศรษฐกิจสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในจังหวัดพิจิตร และ จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งมีเนื้อที่อยู่บนสายแร่ทองคำ อันมีมูลค่ามหาศาล ดังนั้น จึงไม่เป็นสิ่งแปลกอะไร ที่วัดพระธรรมกาย จึงต้องถูกทำลาย ก่อน วัดอื่นๆ จากผลประโยชน์ร่วมของผู้ทำลาย ดังนั้น จึงมีการจัดกระแสร่วมของกลุ่มนอกศาสนา และนักการเมืองสายคอมมิวนิสต์
นายอาคม เอ่งฉ้วน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ควบคุมกรมศาสนา) ได้แถลงต่อสื่อมวลชน ปรากฏทางรายการ "ถอดรหัส" ของสถานีโทรทัศน์ ITV ว่า "ทรัพย์สินของมูลนิธิธรรมกาย ก็ยึดเข้ารัฐไปซี่ ตามกฎหมายทำได้อยู่แล้ว" ในการกล่าวเช่นนี้ แสดงว่า นายอาคมฯ รู้อยู่แล้วว่า มีกฎหมายนี้อยู่ในมือ และกำลังจะทำอะไร เราลองมาดูกฎหมายที่ว่านี้ซิเป็นอย่างไร?
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์
มาตรา 131 "นายทะเบียน พนักงานอัยการ หรือ ผู้มีส่วนได้เสีย คนหนึ่งคนใด อาจร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งให้ เลิกมูลนิธิ ได้ในกรณีหนึ่ง กรณีใด ดังต่อไปนี้ ฯลฯ
(2) เมื่อปรากฏว่า มูลนิธิกระทำการขัดต่อกฎหมาย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรืออาจเป็นอันตรายต่อความสงบสุขของประชาชน หรือความมั่นคงของรัฐ
จากมาตรการนี้ จะเห็นได้ชัดว่า เป็นเจตนาของผู้สร้างสถานการณ์ "ธรรมกาย" เพื่อเป็นกรณีตัวอย่างให้เกิด "ฎีกา" ขึ้น ในศาล ให้เป็น บรรทัดฐานในการดำเนินการกับมูลนิธิอื่นๆ ต่อไป โดยไม่ยาก ลองพิจารณาจากเอกสาร "กรณีธรรมกาย" (ฉบับคัดตัวอย่างหน้า 3) จะเห็น ข้อความชัดแจ้งว่า ต้องการให้เข้าองค์ประกอบความผิดของมาตรา 131(2) ว่า
"มีกลุ่มคน ที่มีพฤติกรรมอันทำให้เกิดความสงสัยกันว่า กำลังทำความเสียหายต่อพระธรรมวินัย (ศีลธรรมอันดี) และ ต่อประโยชน์สุข โดยเฉพาะผลประโยชน์ทางปัญญาของประชาชน ฯลฯ"
ลักษณะการทำหนังสือ "กรณีธรรมกาย" นี้เป็นการเขียน คำฟ้องลอย แต่แทนที่จะฟ้องศาล ก็จะกลายเป็นฟ้องเท็จ จึงต้องสร้างกระแส ให้พรรคพวก ออกปลุกระดม เพื่อให้เกิดการวินิจฉัยให้เกิดความผิดให้ได้
ตามที่กล่าวอ้างไว้ว่า เป็นอันตรายต่อประชาชน คนสั่งและวินิจฉัยคือ มหาเถรสมาคม มีการใช้กระแสทางการเมืองผ่านทาง กรรมาธิการ ศาสนา (ประธานกรรมาธิการเป็นอิสลาม) เมื่อทางมหาเถรสมาคมวินิจฉัยว่า มีความผิดตามที่อ้างมานั้น ก็จะเข้าองค์ประกอบตามมาตรา 131 (2) นายทะเบียนก็สามารถนำความเข้ายื่นต่อศาล เพื่อขอเลิกมูลนิธิ จากนั้น ก็จะเข้าตามมาตรา 134 วรรค 2
มาตรา 134 ... ฯลฯ ...
ถ้ามูลนิธินั้น ถูกศาลสั่งให้เลิกตามมาตรา 131 (1) หรือ (2) หรือการจัดสรรทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งไม่อาจกระทำได้ ให้ทรัพย์สิน ของมูลนิธิ ตกเป็นของแผ่นดิน
มันง่ายเสียยิ่งกว่าง่าย ลงทุนไม่มาก แต่ได้ผลคุ้มค่า เพราะวัดต่างๆ โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ เช่น วัดจักรวรรดิ์ ฯ วัดโพธิ์ วัดสระเกศฯ ทรัพย์สิน ส่วนใหญ่ล้วนเป็นมูลนิธิ เพื่อการทำลักษณะบัญชี จึงไม่ยากในการสร้างกระแสสื่อมวลชน เพราะมีกรณีธรรมกายเป็นตัวอย่าง (เป็นฎีกาบรรทัดฐาน)
และที่ดินส่วนใหญ่ของวัด มักอยู่ในที่เจริญ เป็นที่ชุมชน มีผลประโยชน์มหาศาล จึงเหมาะแก่การทำธุรกิจ และเมื่อตกเป็นที่ดินของรัฐแล้ว ก็สามารถนำไปทำกิจการใด ๆ ก็ได้ ไม่ใช่จะกลายเป็นธรณีสงฆ์อัตโนมัติ เพราะที่ดินเป็นสมบัติของมูลนิธิ
ถึงแม้ว่า จะเป็นที่ธรณีสงฆ์มาแต่เดิม หากว่าได้นำไปจดทะเบียนที่ดินในนามของมูลนิธิในภายหลัง ที่ดินหรือทรัพย็สินนั้น ตกเป็น ของรัฐ ทันที (เข้ากระทรวงการคลัง)
ดังนั้น ในกรณี "วัดพระธรรมกาย" ซึ่งตอนแรก เป็นเรื่องอื่น แต่ในที่สุดมาเน้นเกี่ยวกับที่ดินเป็นหลัก และโยงไปถึงเรื่องมูลนิธิ ซึ่งเป็น เรื่องละเอียดอ่อนมาก
หากตามไม่ทัน ไม่เพียงแต่การสูญเสียจะเกิดขึ้นแก่วงการคณะสงฆ์ไทย อันเป็นสถาบันหลักของชาติ มาแต่บรรพกาล แต่คณะสงฆ์ จะกลายเป็น เครื่องมือ ทางการเมืองของพวกนอกศาสนาไป โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
หลักจากที่มีหมายศาลให้ยึดที่ดินของมูลนิธิแล้ว หากเจ้าอาวาสหรือประธานมูลนิธิ ไม่ยอมไม่เป็นไร เพราะเขาเตรียมกฎหมายไว้แล้ว ประทับตราวัด หรือมูลนิธิ แล้วใครก็ได้ลงชื่อเป็นพยาน 2 คน ทรัพย์สินนั้น ก็โอนเสร็จเรียบร้อย ถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ บรรพ 1 หลักทั่วไป ลักษณะ 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
มาตรา 9 "... " ฯลฯ
"ลายพิมพ์นิ้วมือ แกงใด ตราประทับ หรือเครื่องหมายอื่นทำนองเช่นว่านั้น ที่ทำลงในเอกสาร แทนการลงลายมือชื่อ หากมีพยานลง ลายมือชื่อ รับรองไว้ด้วย สองคนแล้ว ให้เสมอกับลงลายมือชื่อ"
ไม่มีข้อสงสัยใดๆ ว่า เมื่อวัดที่มีสาธุชนศรัทธาเป็นเรือนล้าน ยังสามารถถูกทำลายได้ด้วยเศษกระดาษ และกระแสสื่อมวลชน แล้ววัดต่อๆ ไป ซึ่งไม่มีศักยภาพในมวลชนมากเท่ากับวัดพระธรรมกาย จะไม่โดนทำลายจากกลุ่มนอกศาสนา
โดยความเป็นจริงแล้ว การบ่อนทำลายศาสนาพุทธ เป็นการทำลายความมั่นคงของชาติ เพราะศาสนาพุทธคือศาสนาประจำชาติ แม้แต่ ยอดธงชัยเฉลิมพลของทุกกองทัพ ยังประดิษฐานพระพุทธรูป อันศักดิ์สิทธิ์ไว้
นักการเมืองก็รู้เรื่องนี้ไดดี จึงทำการป้องกันตัว โดยมีการเสนอให้ยกเลิก พระราชบัญญัติป้องกัน การกระทำ อันเป็นคอมมิวนิสต์ ที่จะเข้าสู่สภา เพื่อยกเลิกภายในเดือนมีนาคม 2542 นี้ และเมื่อถึงเวลานั้น พระพุทธศาสนา คณะสงฆ์ไทย มหาเถรสมาคม จะมีสภาพเช่นใด ก็สุดเดา
พระภิกษุ สามารถมีที่ดินส่วนตัวได้หรือไม่?
ไม่ว่า สื่อมวลชนทำการสร้างกระแส ทีวี วิทยุ ล้วนพากันออกความเห็นกันเป็นคุ้งเป็นแควว่า พระภิกษุมีที่ดินเป็นความผิด เหมือนกับว่า พระฉ้อโกงของวัดยังงั้นแหละ
อันที่จริงแล้ว พระภิกษุมีที่ของตนเองได้ หากจะซื้อด้วยเงินทองของตนเอง โดยเงินของพระภิกษุ ที่ได้รับจากการถวายชนิดหนึ่ง คือ
การถวายบุคคลิค คือ ถวายส่วนตัวแก่พระภิกษุ ซึ่งผู้มีจิตศรัทธาต้องการ ซึ่งพระภิกษุนั้น เงินในส่วนนี้ ก็สามารถนำไปซื้อที่ดินได้ หรือรถ บ้าน ทรัพย์สินอย่างอื่นก็ได้ โดยมีกฎหมายรับรองสิทธิของพระภิกษุไว้เสียด้วย จัดเป็นทรัพย์สินของพระภิกษุ ไม่เป็นความผิดใด ๆ และไม่ถือว่า เป็นธรณีสงฆ์ ตามที่ข่าว หรือ สื่อต่างๆ แม้กระทั่ง รมว.ศึกษาธิการฯ หรือกรรมาธิการการศาสนา พูดอีกด้วย เพราะในประมวลกฎหมายแพ่ง และพานิชย์
มาตรา 1623 "ทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาระหว่างที่อยู่ในสมณเพศนั้น เมื่อพระภิกษุนั้น ถึงแก่มรณภาพ ให้ตกเป็นสมบัติของวัด ที่เป็น ภูมิลำเนาของพระภิกษุนั้น เว้นไว้แต่พระภิกษุนั้น จะได้จำหน่ายไปในระหว่างชีวิต หรือโดยพินัยกรรม
ไม่เพียงเท่านั้น ทรัพย์สินดังกล่าว ยังสามารถตกทอดเป็นมรดกของ บุตร ทายาท หรือ ผู้ที่พระภิกษุนั้น ระบุในพินัยกรรมได้อีกด้วย จะขาย ก็ยังได้ ตามกฎหมายแพ่ง
มาตรา 1624 "ทรัพย์สินใดที่เป็นของบุคคล ก่อนอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ทรัพย์สินนั้น หาตกเป็นสนบัติขอววัดไม่ และให้เป็นมรดก ตกทอด แก่ทายาท โดยธรรมของผู้นั้น หรือบุคคลนั้น จะจำหน่ายโดยประการใด ตามกฎหมายก็ได้"
ดังนั้น เมื่อมีกระแสกล่าวว่า เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย มีความผิด ที่ซื้อที่ดิน ฯลฯ ส่วนตัว ไม่โอนเข้าเป็นสมบัติของวัด มีความผิด ตาม กฎหมาย จึงเป็นการโฆษณาข้อความอันเป็นเท็จ เข้าข่ายหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญา หมวด 3
มาตรา 126 "ผู้ใดใส่ความผู้อื่น ต่อบุคคลที่สาม ที่น่าจะทำให้ผู้นั้น เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้น กระทำความผิดฐาน หมิ่นประมาท ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน สองหมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ"
เบ็ญจ์ บาระกุล