ปีที่ 2 ฉบับที่ 687 ประจำวันพฤหัสบดีที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2542
สหัสวรรษที่ 3
ใครเป็นผู้ทำลายพระพุทธศาสนากันแน่
นับแต่เกิดปัญหาวัดพระธรรมกายขึ้นมา กล่าวกันว่า ความขัดแย้งวุ่นวายในวงการพุทธบริษัท ดูเหมือนหนักหนาสากรรจ์ กว่าครั้งใด ในประวัติศาสตร์ หากจะมองอย่างไม่คำนึงถึง องค์ประกอบของสังคมอื่นๆ ที่มีส่วนกำหนดอยู่ ก็อาจเห็นเช่นนั้นได้
จริงๆ แล้วการมีความขัดแย้ง การทะเลาะเบาะแว้งกัน ของคนในวงการเดียวกัน หรือชาติเดียวกัน ศาสนาเดียวกัน เป็นเรื่องที่เกิดมีได้ มีมาแล้วนับแต่พระเกิด มีที่เรียกว่า คนหรือโลก ไม่ต้องพูดถึงการต่อสู้กัน ฆ่าฟันกันระหว่าง ชาวศาสนาคริสต์กับอิสลาม ที่เรียกว่า สงครามครูเสด กว่าจะสงบได้ต้องใช้เวลาเป็น 100 ปี คนตาย เลือดนองแผ่นดิน จนมีผู้กล่าวว่า ท่วมหัวเข่า
มันเป็นการแย่งชิงอำนาจ ทางการค้า การเมือง ของผู้ที่ไร้ศาสนา เป็นเครื่องมือชีวิตของ บริษัทศาสนานั้นๆ ที่อาสาไปตายเพื่อพระเจ้า เขาได้สังเวชไปแล้วนับล้านๆ
ในไอซ์แลนด์เหนือ การต่อสู้ของผู้ที่เป็นศาสนิกชน คาทอลิกและโปรเตสแตนท์ ก็ดำเนินมาแล้ว พอถึงบัดนี้ยังไม่สามารถพูดจากันได้ ทั้งที่ เป็นฝรั่งด้วยกัน เป็นเวลากว่า 800 ปีแล้ว และความขัดแย้งนั้น ไม่เพียงแต่ด้านความคิดและการด่าทอกันธรรมดา แต่ได้ใช้อาวุธทุกชนิด ทั้งต่อหน้า และลับหลัง ฆ่ากันอย่างไม่ต้องคำนึงถึงคำว่า ศีล หรือบาปกรรมใดๆ
และก็เป็นที่รู้กันดีว่า ฝ่ายที่แสวงหาประโยชน์ ที่มีกำลังอาวุธเหนือกว่า ก็ใช้ ความขัดแย้งทางศาสนาทางความคิด หรือทางเศรษฐกิจ เป็น เครื่องมือ ให้มีการต่อสู้กัน ทำสงครามกันไม่ว่าในตะวันออกกลาง ยูโกสลาเวีย อินโดนีเซีย ฯลฯ
ในประเทศไทยเรา ที่พระพุทธศาสนาเป็นตัวความคิดหลัก ที่มีอิทธิพล คานอำนาจไว้อยู่ ไม่ให้เกิดปัญหาเรื่องสงครามศาสนา มาเป็นเวลา ยาวนาน ในประวัติศาสตร์ของชาติไทย แต่เพราะกระแสของโลก ที่ถูกกำหนดโดยฝ่ายทาส
"ประโยชน์กับความขัดแย้ง ประกอบกับ แต่ละฝ่ายที่ขัดแย้งก็มีหลักคิดที่กิเลสตัณหา เป็นผู้ควบคุมประจำอยู่แล้ว การตกเป็นเหยื่อ ของ ความหายนะ จึงจะเกิดขึ้นในโลก รายแล้วรายเล่า
ประเทศไทยเรา แม้มีหลักพระพุทธศาสนาที่ดีเลิศ แต่เนื่องจากกระแสกิเลสตัณหา จากภายนอกโหมกระหน่ำรุนแรง บุคลากรของ พระพุทธศาสนา ก็ตกเป็นเหยื่อของกระแส และก็ทำฆาตกรรมตัวเองอย่างน่าสงสาร กรณีวัดพระธรรมกาย เป็นแบบฉบับของบทเรียน ที่น่าจะ นำมาศึกษาวิจัย และแก้ไขปัญหาของสังคมได้ดีทีเดียว ทั้งนี้เพราะ
1. วัดพระธรรมกาย เพิ่งเกิดมาไม่ถึงครั้งร้อยปี แต่สามารถพัฒนาตัวเองได้เป็นอย่างดี ทั้งด้านวัตถุ บุคลากรและการสร้างคนให้เป็นคนดี ของสังคม ที่เป็นรูปธรรมชัดเจน สำหรับผู้มีความเป็นธรรมในจิตใจ
2. วัดพระธรรมกาย เกิดในท่ามกลางกระแสโลก ที่เรียกว่า โลกาภิวัตน์ หรือโลกาวิบัติ กำลังเชี่ยวกราก การพัฒนาตนเองในภาวะเช่นนี้ จึงเป็นบ่อเกิดแห่งความอิจฉาริษยา ของฝ่ายที่ไม่หวังดีต่อสังคม แก่ประเทศไทย และ
3. การแย่งชิบประชากรของสงคราม บริโภคนิยม ที่โหมกระหน่ำโลกอยู่ ทั้งภายในสังคมที่เรียกว่า ศาสนา ที่เรียกว่า นิกายต่างๆ ไม่ว่า ในประเทศหรือในโลก ล้วนเป็นประเด็นที่ต้องได้ให้ความสำคัญ
นำมาเป็นข้อศึกษาวิจัย เป็นแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหา ต่อไปเป็นแน่แท้ ขณะที่เรากำลังขัดแย้ง หรือทะเลากันอยู่นี้ เราพูดกัน ไม่รู้เรื่องแน่ๆ แม้แต่พระพุทธองค์ก็ยังหนีไปอยู่ป่า ให้ช้างกับลิงเท่านั้นอุปถัมภ์ ใครช่างบังอาจเป็นผู้รู้วิเศษ ตัดสินใครต่อใครเช่นที่แล้วมา และ กำลังทำอยู่เลย ขอคารวะ ให้เอาอย่างพระพุทธองค์ และพระดำรัสสมเด็จพระสังฆราชฯ ที่ยกนิทานเรื่องลิงกับช้าง ยังห่วงพระพุทธองค์นั้นเถิด ครับ...
พระพุทธศาสนาในยุคใหม่
ยุคใหม่ ในความหมายนี้ ได้แก่ยุคที่วัตถุเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ ได้พัฒนามาจนในขณะนี้ ได้มีอำนาจอิทธิพลครอบงำจิตใจคน อย่างแทบ กล่าวได้ว่าสิ้นเชิง ที่กล่าวว่า "แทบ" เพราะยังมีน้อยคนนักที่มีสำนึก ปฏิบัติตน ให้เหมือนอยู่เหนือการครอบครองวัตถุนั้น แต่โดยทางอ้อมแล้ว ทุกคนอยู่ภายใต้ การกำหนดของวัตถุนั้นอย่างปฏิเสธไม่ได้ ซึ่งหาด้านจิตใจอยู่เหนือได้ ก็เป็นที่เข้าใจยากของศีลพวกหนึ่ง ผู้ค้นพบการพัฒนา ของวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ซึ่งทำให้วัตถุกลายเป็น "พระเจ้า" ตามความรับรู้ที่มีอยู่ให้คำนิยามมาแล้ว จนเป็นภาษิตของเขาว่า พระเจ้าก็คือเงิน หรือเงินก็เป็นพระเจ้า ซึ่งเนห์รูฯ อดีตนายกรัฐมนตรีอินเดีย เคยพูดว่า
จากการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้โรงงานกลายเป็น "วัด" เป็นสรณะที่พึ่ง ของกรรมกร หรือคนทั้งหลายมากขึ้น จึงเห็นได้ว่า แม้ใน ประเทศ ไทยเรา ลูกบ้านหลานเมือง ได้พากันหลั่งไหลเข้าโรงงาน เป็นสมาชิกของ โรงงานจนรับไม่ไหว เกิดเป็นคนตกงาน สร้างปัญหาแก่ฝ่าย จัดการ หางาน ให้คนทำ ในขณะที่วัด ที่เป็นแห่งอบรมบ่มเพาะจิตใจ กระทั่งให้ การศึกษา เพื่อให้เป็นคนดีมีศีลธรรม และมีอาชีพด้วย มาแต่เก่าก่อนนั้น ถูกเมินเสียอย่างน่าเป็นห่วง ซึ่งรูปแบบการทำงานแบบวัดพระธรรมกาย เป็นตัวอย่างให้เราคิด
นี้คงมีสาเหตุมาจากการที่วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี แบบวัตถุนิยมตะวันตก ได้สร้างวัด คือโรงงานอุตสาหกรรม มาแทนวัดวาอารามของ พวกเรา เสียมากมายจนเกิดมลพิษ มลภาวะ กันอยู่ทั่วแผ่นดินโลก ถึงจะเป็นพิษเป็นโทษอย่างไร คนที่ตกเป็นทาสของวัตถุ เป็นผู้มอบกายถวายชีวิต ให้กับพระเจ้า คือ เงิน แล้วนั้น อย่างสิ้นเชิง ก็ยังหารู้สึกสำนึกไม่ รวมทั้งผู้รับจ้าง เปิดประเด็นทั้งหลายที่ดังๆ ขณะนี้
เพราะการพัฒนาที่มีอำนาจกำหนดคนเช่นที่กล่าวมานี้ พระพุทธศาสนาไม่ว่า ศาสนบุคคลหรือศาสนวัตถุ หรือแม้แต่วิธีการเผยแพร่ การ สอนทฤษฎีก็ดูเปลี่ยน ดัดแปลง ไปตามที่เรียกว่า ผลประโยชน์ จะโดยตรงหรือโดยอ้อมก็ตาม แต่เรื่องนี้ เป็นความจริง ที่เกิดมีอยู่แล้ว นับแต่ที่ พระพุทธองค์ได้ทรงประกาศคำสอนมา จึงเห็นได้ว่า ตั้งแต่ไม่มีสิกขาบท ข้อห้าม จนมาถึงมีบทบัญญัติ มีข้อห้าม ข้อปฏิบัติ เป็นร้อยเป็นพัน ก็เพราะ มีการเปลี่ยนแปลงของโลก ดังที่กล่าวมาแล้ว
ณ บัดนี้ เป็นเวลากว่า 2,500 ปี การพัฒนาของวัตถุ ของโลก ได้ข้ามมาถึงยุคไร้พรมแดน ยุคที่เรา ตั้งชื่อว่า โลกาภิวัตน์ พระพุทธศาสนา ทั้งศาสนบุคคล ศาสนวัตถุ ล้วนเปลี่ยนแปลงมาก เราจึงควรใช้สติปัญญา อย่างชาวพุทธ อย่างมีจิตสำนึก ในการมอง การเข้าใจปัญหาทั้งหลายที่เกิดขึ้นในโลก กระทั่งการมองเอกสารหนึ่งที่เขียนขึ้นแต่งขึ้น บอกเล่ากันมาอย่างห้าวหาญ เป็นเรื่องที่เป็น คนละยุค คนละการพัฒนา มีปัจจัยหลายอย่าง
ปัญหาที่เกิดกับสังคมชาวพุทธ ประเทศไทยสำหรับบางกลุ่มขณะนี้ยังขาดทักษะในคำนี้นั่นเอง การตกเป็นเครื่องมือของฝ่ายมอง การทำลาย พุทธศาสนา ทำลายประเทศไทยหรือรับใช้ผลประโยชน์
ของฝ่ายที่ไม่หวังดี ของบางกลุ่ม แม้เป็นผู้ที่ได้เรียนรู้มาแล้วอย่างดี ขนาดเรียกว่า "นักปราชญ์ ราชบัณฑิต ก็หลีกไม่พ้นจาก สถานะเช่นนั้น ได้เลย เราชาวพุทธที่เป็นพุทธที่แท้จริง ต้องไม่วิ่งตามกระแสแห่งพาลชน เช่นนั้น ควรมานั่งคิด ปรึกษาหารือกัน ทำความเข้าใจกันอย่างบัณฑิต ไม่ใช่ เอาท่าทีของพาลชนมาสร้างกระแส ไม่ปรารถนาคำว่า "แพ้" มุ่งแต่ว่า ข้านี้แหละถูกต้อง ข้านี่แหละวิเศษสุด เหนือกว่าพระผู้ทรงศีลเสียอีก หรือสังคมนี้จะกลายเป็นสังคมที่ฆราวาสปกครองพระ กระนั้นหรือ?
บุญถิ่น จันทร์มนตรี