ปีที่ 2 ฉบับที่ 706 ประจำวันศุกร์ที่ 18 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2542
พิเศษ
มือกฎหมายของประเทศ เลขาธิการ ครม.ยืนยัน
"บังคับพระให้โอนที่ดินไม่ได้" ผู้ใช้อำนาจรัฐโดยมิชอบ
กรมการศาสนา ไม่มีฐานะทางกำหมายใดในการทำนิติกรรม ตามข้อความนี้ จึงเป็น การข่มขู่ กรรโชก เพราะตามหนังสือ แสดงเจตนา เรื่องที่ดิน พระราชภาวนาวิสุทธิ์ ผู้ทรงสิทธิ์ ตามกฎหมาย มีสิทธิ์ ที่จะโอนหรือไม่โอนให้ก็ได้ อีกทั้ง มิได้ระบุระยะเวลา ในการโอนที่ดิน ไว้ในหนังสือ แต่อย่างใด ฉะนั้น การนำข้อความ ของกรมการศาสนา ลงตีพิมพ์ในสื่อมวลชน จึงเป็น เจตนาให้ประชาชน เข้าใจผิด ในข้อแท้จริง และสนับสนุน การกระทำของ กรมศาสนาทุกอย่าง ว่าเป็นการถูกต้อง
พระบริสุทธิ์ ถูกกล่าวหาว่า ยักยอกทรัพย์สินของตนเอง
นายอาคม เอ่งฉ้วน รมช.ศึกษาฯ และกรมการศาสนา ดำเนินการเกินกว่าเหตุ ก่อนที่จะมีคำยืนยัน หรือหลักฐานที่ชัดเจน
ปรากฏเป็นหลักฐานต่อสาธารณะว่า นายอาคมฯ หรือกรมการศาสนา ไม่มีอำนาจในการทำนิติกรรมใดๆ ทั้งสิ้น ฉะนั้น การแจ้งความ กล่าวโทษ ในฐานะผู้เสียหาย ต่อพระราช ภาวนาวิสุทธิ์ ซึ่งเป็นผู้ทรงสิทธิ์ โดยชอบด้วยกฎหมาย (ตาม ปพพ.1623 ซึ่งรักษาสิทธิ์ ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์ ไว้ชัด) แม้วันที่ 10 พ.ค. 2542 จะมีมติมหาเถรฯ ให้ตั้งอนุกรรมการฯ และคณะ อนุกรรมการฯ มีคำสั่งให้กรมศาสนา ทำหน้าที่ก็ตาม แต่ไม่มีการ แต่งตั้ง อนุกรรมการฯ ดังนั้น คำสั่งดังกล่าวจึง "โมฆะ" ไม่มีผลบังคับใช้ ฉะนั้น การที่นายอาคมฯ และกรมการศาสนา อ้างว่า กระทำตามมติ มหาเถรสมาคม จึงเป็นการแอบอ้าง ปิดบังความจริง เพื่อให้ประชาชน สำคัญผิด ในฐานะทางกฎหมายของตน
การอ้างมติมหาเถรสมาคม เป็นเท็จ ไม่มีการตั้งอนุกรรมการฯ ใดๆ
นายทินกร รัตนกุสุมภ์ เลขานุการในสมเด็จพระสังฆราช ฝ่ายคฤหัสถ์ กล่าวถึงกรณีมหาเถรสมาคม มีมติแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการ เพื่อ ติดตาม การดำเนินการ ตามมติ มหาเถรสมาคม ของวัดพระธรรมกายว่า ตามกฎหมาย การแต่งตั้งคณะกรรมการ หรืออนุกรรมการ ของ มหาเถรสมาคม นั้น สมเด็จพระสังฆราช จะต้องทรงลง พระนามแต่งตั้ง หากไม่ทรงลงพระนาม การแต่งตั้งดังกล่าว ถือเป็นโมฆะ
น.ส.พ.ข่าวสด 23 พฤษภาคม 2542
ผู้เชี่ยวชาญกรมการศาสนายืนยัน กรมการศาสนาฟ้องร้องไม่ได้
ขณะเดียวกัน นายมาณพ พลไพรินทร์ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษกรมการศาสนา ให้สัมภาษณ์ว่า การยื่นฟ้องที่เกิดขึ้น ต้องกระทำโดยส่วนตัว กรมการศาสนา เป็นนิติบุคคล จะเป็นโจทก์ ยื่นฟ้องร้อง กล่าวหาไม่ได้ โดยไม่มีอำนาจ และไม่มีน้ำหนักในการฟ้องร้อง
น.ส.พ.เดลินิวส์ 23 พฤษภาคม 2542
กรมการศาสนา มีหน้าที่เพียงติดตาม แล้วรายงานผล ไม่ใช่จัดการ
นายอรรคพล สรสุรชาติ โฆษกรัฐบาลเปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรีได้กำชับกรมการศาสนา ระหว่างการประชุม ครม. ครม.ยังได้มอบหมายให้ กรมการศาสนา ติดตามมติมหาเถรฯ อย่างใกล้ชิด คือเรื่องการโอนที่ดิน ให้รายงานความคืบหน้า เป็นลำดับ
น.ส.พ.เดลินิวส์ 26 พฤษภาคม 2542
จากหลักฐานสาธารณะอันนำมาแสดงนี้ จะเห็นได้ว่า นายอาคมฯ และกรมการศาสนา ไม่มีทั้งหน้าที่หรือฐานะทางกฎหมายใดๆ ที่จะไป ดำเนินการ จัดการทำนิติกรรม แทนวัดพระธรรมกายได้ ด้วยประการทั้งปวง
อัยการสูงสุด ยืนยันไม่เคยให้คำแนะนำ หรือชี้แนะข้อกฎหมาย ในคดีอาญาแก่กรมการศาสนา
ปรากฏเป็นหลักฐานต่อสาธารณะว่า อัยการสูงสุดไม่เคยให้คำแนะนำ นายอาคมฯ หรือกรมการศาสนา เกี่ยวกับข้อกฎหมาย ในคดีอาญา ใดๆ ทั้งสิ้น ฉะนั้น ความเห็นใดๆ ในการ แจ้งความ ดำเนินคดี ล้วนแต่เป็นความเห็นส่วนตัว ของ นายอาคม เอ่งฉ้วน ที่ใช้อำนาจของตนโดยมิชอบ
ทางด้าน นายพันธ์ สุริยพร รองอัยการสูงสุด ในฐานะประธานคณะทำงานพิจารณาคำร้องของกรมการศาสนาเปิดเผยว่า ได้พิจารณา ประเด็นข้อหารือ ของกรมการศาสนาทั้งหมดแล้ว เห็นว่า ถ้านายไชยบูลย์มีความผิด ตามหลักฐานที่ส่งมา กรมการศาสนา ก็สมควรฟ้องร้อง กล่าวโทษ ดำเนินคดี แต่อัยการสูงสุด จะไม่ชี้แนะข้อกฎหมาย ให้ฟ้องร้อง ในเรื่องไหน ทั้งมาตรา 137 ในข้อหา แจ้งความเท็จ, ตามมาตร 147 ข้อหาเป็น เจ้าพนักงาน ยักยอกทรัพย์, และมาตรา 157 เป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหน้าที่ โดยมิชอบ เนื่องจากไม่เหมาะสม เพราะ จะเป็นการก้าวก่าย อำนาจใน กระบวนการ ยุติธรรม และได้ทำเรื่องเสนอ กลับไปยัง กรมการศาสนา ในวันที่ 10 มิ.ย. นี้
น.ส.พ.เดลินิวส์ 10 มิถุนายน 2542
แต่นายอาคมฯ ไม่สนใจว่า อัยการสูงสุดอันเป็น สถาบันกฎหมาย ของประเทศ จะมีความเห็นเช่นไร เพราะเจตนาคือ ขอให้ได้แจ้งความ ดำเนินคดีกับ พระราชภาวนาวิสุทธิ์ ผู้ทรงสิทธิ์โดยชอบ ด้วยกฎหมายเท่านั้น นี่คือ หลักฐานสาธารณะ ที่ชี้ถึงการกระทำ ของนายอาคม
รมช.ศึกษาฯ กล่าวต่อว่า ความจริงแล้วมาตรา 147 และ 157 เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ประชาชนทั่วไป ก็สามารถฟ้องร้องได้ และหาก วันที่ 10 มิ.ย. ยังไม่ยอมโอนที่ดิน แล้วสำนักงานอัยการสูงสุด ก็ไม่ส่งคำตอบกลับมา กรมการศาสนาก็ควรพิจารณาว่า จะยื่นฟ้องกล่าวโทษเลย ได้หรือไม่ แต่ตนคิดว่า หากมั่นใจ ข้อกฎหมาย ก็ฟ้องได้ และเมื่อสำนักงานอัยการสูงสุด ส่งคำตอบมา ก็ค่อยนำไป ประกอบ เพิ่มเติมทีหลัง และถ้า หลังจาก วันที่ 10 มิ.ย. แล้ว กรมการศาสนา ยังไม่ยื่นฟ้อง อธิบดีก็ต้องชี้แจงว่า ทำไมถึงไม่ฟ้อง ส่วนการพิจารณาโทษ กรณีที่ไม่ยอมฟ้องนั้น ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
น.ส.พ.ข่าวสด 10 มิถุนาน 2542
ทางด้านนายอาคม เอ่งฉ้วน รมช.ศึกษาธิการ กล่าวถึงการดำเนินการให้ พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (พระธัมมชโย) เจ้าอาวาส วัดพระธรรมกาย โอนที่ให้ วัดพระธรรมกายว่า เพื่อรักษาสัญญา ที่ให้ไว้กับประชาชน เมื่อครบกำหนด ให้เจ้าอาวาส วัดพระธรรมกาย โอนที่ดินให้เป็นของวัด ในวันที่ 10 มิ.ย. ซึ่งเป็นวันสุดท้าย ที่ตนเป็นผู้กำหนดไว้ ถ้ายังไม่ปฏิบัติตน ตามที่ได้แจ้งไป ก็จะให้กรมการศาสนา ไปร้องกล่าวโทษ เจ้าอาวาส วัดพระธรรมกายในคดีอาญาแผ่นดิน ทันที โดยไม่จำเป็น ต้องรอคำตอบ หรือข้อกฎหมายจาก อัยการสูงสุด และถ้า นายพิภพ กาญจนะ อธิบดีกรม การศาสนา ไม่ไปกล่าวโทษ ก็จะพิจารณาโทษ อธิบดีกรมการศาสนา โดยจะให้เวลาตั้งแต่วันที่ 11-15 มิ.ย.นี้ เนื่องจาก การฟ้องกล่าวโทษนี้ ทั้งฝ่ายกฎหมาย และรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงยุติธรรม ได้ชี้ช่องแล้ว กฎหมายสามารถ ดำเนินคดีได้ ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 11-14 มิ.ย. กรมการศาสนา ยังไม่ไปดำเนินการ ตามที่ตนแถลง ตนก็ต้องสั่งการให้ อธิบดีกรมการศาสนา ชี้แจงว่า เหตุใดจึงไม่ไปกล่าวหา
น.ส.พ. พิมพ์ไทย 10 มิถุนายน 2542
รองอธิบดีกรมอัยการฯ ยืนยัน
กรมการศาสนาไม่มีอำนาจใดฯ ในทางแพ่ง ฟ้องร้องไม่ได้
ปรากฏเป็นหลักฐานต่อสาธารณะว่า กรมการศาสนาไม่มีอำนาจทางกฎหมายใดๆ ทางแพ่ง ที่จะฟ้องร้องในฐานะผู้เสียหาย ต่อ พระราชภาวนาวิสุทธิ์ ซึ่งเป็นผู้ทรงสิทธิ์ โดยชอบด้วยกฎหมาย (ตาม ปพพ.มาตรา 1623 ซึ่งรักษาสิทธิ์ ในทรัพย์สินของ ผู้เป็นเจ้าของไว้ชัด) และเป็นเจ้าทรัพย์
นายพชร ยุติธรรมดำรง รองอธิบดีกรมอัยการ หนึ่งในคณะทำงานพิจารณาข้อหารือกรมการศาสนา ต่อประเด็นความผิด การดำเนินคดี ทางแพ่ง จากหลักฐานเอกสารต่างๆ ที่มีในขณะนี้ ยังไม่สามารถกระทำได้ จนกว่า กรมการศาสนา จะรวบรวมหลักฐาน ให้ชัดเจนกว่านี้
น.ส.พ.เดลินิวส์ 10 มิถุนายน 2542
แต่นายอาคม เอ่งฉ้วน รมช.ศึกษาฯ ก็มิได้เคารพต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายแผ่นดินแต่อย่างใด ทั้งๆ ที่ผู้เสียหายที่แท้จริงคือ วัดพระธรรมกาย มิใช่นายอาคมฯ ตามคำพิพากษาฎีกา 763/2513 เรื่องการจัดการวัด "เรื่องการบำรุงวัดนั้น กฎหมายให้อยู่ในอำนาจ และหน้าที่ของ เจ้าอาวาส โดยเฉพาะ บุคคลอื่นใด หามีสิทธิ์ที่จะอาจเอื้อมเข้าไปจัดการโดยพลการ หาได้ไม่" ดังนั้น ตามหลักฐานที่ นายอาคมฯ สั่งการให้ แจ้งความ ดำเนินคดีกับ พระราชภาวนาวิสุทธิ์ นายอาคมฯ ใช้อำนาจอะไร?
เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 11 มิถุนายน ที่กระทรวงศึกษาธิการ นายอาคม เอ่งฉ้วน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้สัมภาษณ์ถึง กรณี นายมานิต รัตนสุวรรณ ที่ปรึกษา วัดพระธรรมกาย ตัวแทนนายไชยบูลย์ สุทธิผล อดีตพระธัมมชโย เจ้าอาวาส วัดพระธรรมกาย นำโฉนดที่ดิน จำนวน 304 ไร่ มามอบให้กรมการศาสนา และแสดงเจตนา จะโอนให้ วัดพระธรรมกาย ตามที่กรมการศาสนา ขีดเส้นตายไว้ ในวันที่ 10 มิถุนายน ที่ผ่านมาว่า จากการตรวจสอบพบว่า ทางวัดนำโฉนดที่ดินมาให้กรมเพียง 12 แปลง และไม่ได้แสดงเจตนาว่า จะโอนที่ดินส่วนที่เหลือ ให้อีก เมื่อไหร่ รวมทั้งไม่มีเหตุผล ที่ไม่ยอมโอนที่ดินให้ทั้งหมด
"ดังนั้น ผมจึงได้สั่งการให้กรมการศาสนาดำเนินการฟ้องร้องกล่าวโทษธัมมชโย ในทางอาญา 3 ข้อหาคือ 1) ในความผิด ฐานแจ้งความเท็จ ต่อเจ้าพนักงาน 2) ฐานเป็นเจ้าพนักงาน เบียดบัง ยักยอกทรัพย์ 3) ฐานเป็นเจ้าพนักงาน ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยมิชอบ ตามประมวล กฎหมาย อาญา มาตรา 137, 147, และ 157 และให้กรม พิจารณาด้วยว่า เมื่อมีการสอบสวน และปรากฏหลักฐานว่า มีกรรมการวัดคนใด อันเป็นบุคคล ธรรมดา ร่วมสนับสนุน ช่วยเหลือ ก่อนหรือ ขณะกระทำผิด ในการที่เจ้าอาวาส เบียดบังยักยอกทรัพย์ ตามข้อกล่าวหา ให้กรมการศาสนา กล่าวโทษ บุคคลเหล่านั้นด้วย ฐานเป็นผู้สนับสนุน เจ้าพนักงาน ยักยอกทรัพย์ และละเว้นการ ปฏิบัติหน้าที่ โดยมิชอบ ตาม มาตรา 147, 157 และ 86" นายอาคมกล่าว
มติชนชนรายวัน 12 มิถุนายน 2542
การกระทำนี้ จึงได้ไปซึ่งทรัพย์สิน คือ โฉนดที่ดินตัวจริง ของเจ้าทรัพย์
นายสุทธิวงศ์ ตันตยาพิศาลสุทธิ์ รองอธิบดีกรมการศาสนา ให้สัมภาษณ์ว่า การไปแจ้งความดำเนินคดี ที่กองปราบปราม เป็นเพียงการ กล่าวโทษ เบื้องต้นเท่านั้น จากนั้น พนักงานสอบสวน ต้องดำเนินการสอบ ในรายละเอียด แล้วนำพยานหลักฐาน มามอบให้กับอัยการ เมื่ออัยการ พิจารณาเห็นว่า มีมูลฟ้อง ก็จะสั่งฟ้อง กรณีเอกสารที่ดินของ นายไชยบูลย์ ที่แจ้งมาว่า จะโอนจำนวน 304 ไร่ แต่เมื่อยังไม่ได้ มอบค่าโอนมาให้ ก็ถือว่า ยังไม่โอน ซึ่งต้องไปดำเนินการโอน และจ่ายค่าโอน ที่กรมที่ดินต่อไป สำหรับเอกสาร ที่ได้รับ เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน ที่ผ่านมา จากการ ตรวจสอบ แล้ว พบว่า เป็น โฉนดตัวจริง ขณะนี้ ฝ่ายศาสนสมบัติ กรมการศาสนา กำลังดำเนินการอยู่ และจะนำส่งให้ กรมที่ดิน พิจารณาต่อไป คาดว่าคงเป็นเร็วๆ นี้
มติชนชนรายวัน 12 มิถุนายน 2542
นายอาคมฯ อาศัยอำนาจอะไร? มากำหนดวันสุดท้ายในการโอนที่ดิน
วิษณุ เครืองาม เลขาธิการ ครม. มือกฎหมายของประเทศยืนยัน
"บังคับพระให้โอนที่ดินไม่ได้"
นายวิษณุ เครืองาม เลาขาธิการคณะรัฐมนตรี มือกฎหมายของประเทศ ก็ยืนยันต่อสาธารณะ ปรากฏต่อสื่อมวลชนว่า "ไม่สามารถบังคับ ให้พระโอนที่ดินให้กับวัดได้"
ด้านนายวิษณุ เครืองาม เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ว่า "เรื่องที่ดินของพระ จะไปบังคับให้โอนให้วัดก็ไม่ได้ เพียงแต่เจรจาต่อรอง ให้ท่าน จัดการให้วัดเสีย การมอบที่ดิน ให้พระ เขาต้องการให้ไปสร้างวัด ที่ต่างจังหวัด หากมอบที่ดินให้วัด ตามกฎหมายไปทำไม่ได้ ด้วยตาม กฎหมาย จะตั้งวัดชื่อซ้ำกัน ไม่ได้ แม้แต่ที่ของวัดเอง เวลาที่ราชการ จะเอาไปทำถนน หรือสะพาน ยังต้องออกกฎหมายเวนคืน มันวุ่นวายไปหมด" นายวิษณุกล่าว
ข่าวสด 12 มิถุนายน 2542
ด้านนายวิษณุ เครืองาม เลขาธิการคณะรัฐมนตรี กล่าวถึงเรื่องการโอนที่ดินนั้น จะไปบังคับพระให้เร่งดำเนินการ ก็คงทำไม่ได้ แต่ต้อง เจรจา ให้มีการโอนให้วัด
เดลินิวส์ 12 มิถุนายน 2542
คำถามจึงอยู่ที่ว่า ทำไม นายอาคม เอ่งฉ้วน รมช.ศึกษาธิการ จึงละเมิดกฎหมายที่ให้การคุ้มครองสมบัติของพระ ตามประมวล กฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1623 เป็นการ กระทำโดยเจตนา ที่จะละเมิด บทบัญญัติ รัฐธรรมนูญ มาตรา 27 มาตรา 38 มาตรา 48 โดยอาศัย ตำแหน่ง หน้าที่
หลักฐานประกอบคดีอาญา มาตรา 148
"ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ ข่มขืนใจ หรือจูงใจ เพื่อให้บุคคลใดมอบให้ หรือหามาให้ ซึ่งทรัพย์สิน หรือ ประโยชน์อื่นใดแก่ตนเองหรือผู้อื่น ต้องระวาง โทษจำคุก ตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่สองพันบาท ถึงสี่หมื่นบาท หรือ ประหารชีวิต"
เบญจ์ บาระกุล