ปีที่ 2 ฉบับที่ 710 ประจำวันพุธที่ 23 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2542
ปุจฉา - วิสัชนา
ข้อคิดในการศึกษาพุทธธรรม
กลายเป็นเรื่องที่น่าคิดที่เมื่อเร็วๆนี้ มีนักวิชาการ ชาวฝรั่งเศสคือ ศ.ดร.หลุย การ์แบง มาอภิปรายเรื่อง เกี่ยวกับ การวิพากษ์วิจารณ์ พระพุทธศาสนา ในเมืองไทย เพราะอย่างน้อย ก็สะท้อนให้ คนไทยหรือ คนที่เรียกตัวเอง ว่า เป็นชาวพุทธ ได้ย้อนกลับมา พิจารณาตนเองว่า นับถือและศึกษา พระพุทธศาสนา อย่างไร
นักคิด นักปฏิบัติ
ก่อนหน้านี้ มีนักวิชาการทางปรัชญา ชาวต่างประเทศ ท่านหนึ่ง มาเมืองไทย และก็สอนหนังสือ ในสถาบัน ที่มีชื่อเสียง แห่งหนึ่ง ท่านได้ให้ข้อคิด ไว้ตอนหนึ่งว่า นักปรัชญา ทางตะวันตกนั้น จะมีเอกลักษณ์คือ ชอบคิด ชอบหาเหตุผล โดยใช้กำลังสมอง และความรู้สึกนึกคิด อันมีพื้นฐานมาจาก ประสบการณ์ ภายนอกของตน อนุสาวรีย์ ของพวกเขาเหล่านี้ มักจะมีลักษณะ ของคนที่ครุ่นคิด หน้าผากจะย่น มีแววตา เต็มไปด้วยคำถาม ความรู้ที่เกิดขึ้น มักจะอยู่ในระดับ จินตมยปัญญา คือความรู้มาจาก การคิด คิดจากประสบการณ์ คิดจาก การ เทียบเคียง กับสิ่งที่ได้รู้ได้เห็น เป็นต้น และส่วนใหญ่ของบุคลิกเหล่านี้ มักจะเป็นที่ชื่นชม ของบรรดานักคิด ทั้งหลาย เพราะมักจะมีลีลา วาทะตอบโต้ ไม่เป็นรองใคร แต่ตรงกันข้าม ดินแดน ทางตะวันออก เช่น แถบจีน ญี่ปุ่น หรือไทย ซึ่งเป็นประเทศ ที่มีพระพุทธศาสนา ฝังรากลึก ยาวนาน นักปรัชญาหรือผู้รู้ ของคนดินแดนแถบนี้ มักจะมี ลักษณะ สงบเย็น ไม่ว่า จะเป็นขงจื้อ เล่าจื้อ หรือแม้แต่องค์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ ไม่มีลักษณะ ของคน ครุ่นคิด เพราะความรู้ หรือปัญญา เกิดจากภายใน เป็นแบบ ภาวนามยปัญญา ซึ่งกิริยาอาการที่พบ จะมี ลักษณะทำสมาธิ สงบ
รู้ไม่จริงมากๆ จะยากนาน
ปัจจุบัน การศึกษาพระพุทธศาสนา มีส่วนมาก กำลังเริ่มวนเวียน อยู่เพียง จินตมยปัญญา ใช้ความคิด และตัดสิน บนพื้นฐาน ประสบการณ์ของตน ลักษณะของผู้ที่ได้รับ การยอมรับว่า เชี่ยวชาญ มักจะเป็น ผู้เรียนมาก อ่านมาก และตอบโต้วาทะ ไม่เป็นรองใครเช่นกัน ครั้นเมื่อสอบถามถึง ระดับ ภาวนามยปัญญา มักจะตอบเลี่ยง ไม่มั่นใจ ดังที่พระผู้ใหญ่ ท่านหนึ่ง ชี้ข้อสังเกตว่า ถ้าใครก็ตามไม่มั่นใจว่า นรกสวรรค์มีจริง หรือบุญบาปมีจริง อย่าเป็นผู้สอน พระพุทธศาสนาเลย แต่อย่างไรก็ตาม กลายเป็นข้อบ่งชี้ว่า เรากำลังศึกษา พระพุทธศาสนา บนแนวทาง วิธีการ แบบปรัชญา ตะวันตก ซึ่งจะทำให้เรา กำลังจะมี นักวิชาการทาง พระพุทธศาสนา ที่หน้า นิ่ว คิ้วขมวด หน้าผากย่น ยากจะค้นพบความชุ่มเย็น หรือแสดงลักษณะแห่ง ความเยือกเย็นภายใน อันเกิดจาก คุณแห่ง พระพุทธธรรม และเรากำลังจะมี นักวิชาการ ทางพระพุทธศาสนา ที่เอาแต่โต้เถียง ใช้วาทะ นำไปสู่ความ เหนือกว่า ซึ่งแน่นอนว่า
ความพ่ายแพ้คือ ความเสียหน้า เมื่อไม่อยากเสียหน้า ก็คือ ต้องเอาชนะ แม้จะด้วยวิธีการ ที่ไม่ชอบธรรม และ เป็นที่แน่นอนว่า ย่อมนำไปสู่การ คลางแคลงใจ ในเรื่องจิตวิญญาณ ภพภูมิ นรก สวรรค์ เป็นต้น ว่ามีจริงหรือไม่ เพราะเริ่มจะเอา วิทยาศาสตร์ พิสูจน์พุทธศาสน์ เข้าแล้ว
นิทานปลาฟังเต่าเล่าความจริง
ดังตัวอย่างในสมัยพุทธกาลเล่ากันว่า มีพระภิกษุ รูปหนึ่ง เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา แม้จะปฏิบัติตาม พระธรรมวินัย เป็นอย่างดี แต่ก็ยังสงสัยว่า ภพภูมิต่างๆ มีจริงหรือไม่ เทวดา นางฟ้า มีจริงอย่างไร เมื่อ สงสัยหนักเข้า อดรนทนไม่ได้ ก็เข้าไป กราบทูลถาม พระพุทธองค์ว่า ภพภูมิต่างๆ นั้น ตนเองยังไม่เคยสัมผัสเลย จะให้เชื่อ อย่างไรว่า มีจริงไม่มีจริง ทำอย่างไร จึงจะพิสูจน์ได้ ถ้าไม่เช่นนั้น ก็จะขอ ลาสิกขาดีกว่า พระพุทธเจ้า ก็ทรงเมตตา ไม่โต้แย้ง แต่ทรงพิจารณาเห็นว่า พระภิกษุรูปนี้ พอมีสติปัญญา และจะสามารถ บรรลุธรรมได้ ภายหลัง พระองค์จึงตรัส เล่านิทาน เรื่องเต่ากับปลา ให้พระภิกษุฟังว่า
ในสมัยก่อนสัตว์ทั้งหลายสามารถพูดคุยกันรู้เรื่อง มีเต่าตัวหนึ่ง อาศัยอยู่ในบึง และมีปลา เป็นเพื่อนที่รักใคร่ คุ้นเคยกัน ทั้งปลาและเต่าคู่นี้ ต่างได้พบเห็นสิ่งต่างๆ ในน้ำไม่ว่า จะเป็น ก้อนหิน สาหร่าย หรือ ปลาชนิดอื่นๆ อยู่เป็นอาจิณ หากชี้ชวนให้กันดู ก็เข้าใจกันในสิ่งที่ทั้งสอง ต่างได้เห็น ถ้าเต่าบอกว่า นี่คือก้อนหิน ปลาก็รู้เช่นกันว่า เป็นก้อนหิน บอกว่า เป็นสาหร่าย ปลาก็รู้ว่า สิ่งนั้นคือ สาหร่าย แต่วันหนึ่ง เต่าคลาน ขึ้นมาบนบก พบเห็นสิ่งต่างๆ บนบก ไม่ว่า จะเป็นบ้านเรือน เห็นดวงอาทิตย์ เห็นสัตว์บก ชนิดต่างๆ แล้วนำกลับไป บอกเล่า ให้ปลาฟัง พระพุทธองค์ เลยตรัสถามพระภิกษุว่า
ปลาจะเชื่อเรื่องที่เต่าไปเห็นมาหรือไม่ เพราะสิ่งที่เต่าเห็น ไม่มีในน้ำเลย พระภิกษุตอบว่า ปลาย่อมไม่เชื่อ เต่า เพราะ ปลาไม่อาจพิสูจน์เห็นได้ พระพุทธองค์ ตรัสถามต่อว่า แล้วสิ่งที่เต่าเห็นบนบกนั้น เป็นสิ่งที่เห็นจริง หรือไม่ พระภิกษุตอบว่า จริง พระพุทธเจ้าค่ะ พระพุทธองค์ จึงทรงตรัสสั่งสอน พระภิกษุ เปรียบเทียบ ให้เห็นว่า ถ้ามีความคิด แบบปลา ที่ยึดติดแต่เพียง ประสบการณ์ อันคับแคบ ก็คงไม่เข้าใจ ในสิ่งที่เต่าได้ไปเห็น ทั้งๆ ที่เต่า เห็นสิ่งนั้นจริงๆ ซึ่งจากเรื่องนี้ ทำให้ พระภิกษุ หมดความสงสัย และได้ดวงตาเห็นธรรม ในที่สุด
เพราะฉะนั้น ทำให้เกิดข้อคิดว่า แม้เป็นนักบวช ในพระพุทธศาสนา หากยึดติดเพียงแค่ตำรา แต่ไม่ปฏิบัติ เพื่อให้เข้าถึง ความสงบเย็น หรือสัมผัส แก่นธรรม ในพระพุทธศาสนา ประชาชนบางส่วน ย่อมจะเข้าใจเอาว่า เป็นพระสงฆ์ ก็ไม่ต่างกับ ผู้คนทั้งหลาย หากจะศึกษาธรรม ก็สามารถทำได้ ด้วยการอ่าน การคิด และนำมาถกเถียง กลายเป็นจุดอ่อน ในการศึกษา พระพุทธศาสนา กลับสร้างค่านิยมใ ห้ผู้คนมุ่งยึดมั่น ในบุคคล ที่มีคุณวุฒิ เชื่อถือใน วาทะอันโก้หรู ในที่สุด ก็ถูกชักจูง และถูกครอบงำ ด้วยความ ไม่รู้เท่าทัน
ถูกครอบงำ เพราะรู้ธรรมไม่จริง
โดยปกติผู้คนในสังคมปัจจุบัน มักจะมีลักษณะ ทะนงตัว ประการหนึ่ง คือ การรักที่จะมีความ เป็นตัวของ ตัวเอง ส่วนใหญ่ ล้วนชอบที่จะ มีความคิด และมีความเชื่อ ในสิ่งที่ตนเอง พิจารณา วินิจฉัยดีแล้ว การจะเชื่ออะไร ง่ายๆ โดยขาดข้อมูล หรือการพิสูจน์ ด้วยตัวของตัวเอง มักจะไม่ค่อยเกิดขึ้นกับ ผู้ที่มี ความเป็นตัว ของตัวเอง
เพราะฉะนั้น การตามกระแส หรือถูกชี้นำ ความคิดความเชื่อ จึงเป็นการ ริดรอน ความเป็นตัว ของตัวเอง ของบุคคล บางคน อาจจะถูกชี้นำ หรือถูกครอบงำ ด้วยข้อมูลเท็จ จนมีทัศนคติ และความเชื่อ เบี่ยงเบน จนกระทั่ง ทำให้การ ดำเนินชีวิต เปลี่ยนไป จากแบบแผน ที่ถูกต้อง ดีงาม ดังนั้น การนำเสนอข้อมูล และการจะเชื่อถือ ข้อมูลใดๆ จึงเป็น สิ่งสำคัญ อย่างยิ่ง ในสังคมที่ กำลังเจริญด้วย เทคโนโลยีการสื่อสาร เพราะขณะนี้ ผู้คนกำลังจะ แยกไม่ออก ระหว่าง อะไรคือข่าว (NEWS) อะไรคือข้อมูล (INFORMATIONS)
แต่เนื่องจาก วิถีชีวิตผู้คน ในปัจจุบัน เป็นสังคม ที่รีบด่วน ทำอะไร รวบรัด ฉับไว ทั้งการบริโภค และการ อุปโภค แม้กระทั่ง การรับข้อมูล ข่าวสาร ดังจะเห็นจาก การโฆษณาสินค้า ที่พยามจะใช้ข้อความ สั้น กระทัดรัด และทำให้ ผู้บริโภค ตัดสินใจได้ทันที หรือบางสื่อ ก็ตัดสินใจให้เลยว่า สิ่งนั้นดี สิ่งนั้นเป็นบทสรุป สุดยอดแล้ว ยิ่งมีผู้นำเสนอ หรือพรีเซนเตอร์ ที่น่าเชื่อถือ ก็ยิ่งจะทำให้สินค้านั้นๆ ได้รับความไว้วางใจ ขายดี ในระยะเวลา อันสั้น ซึ่งถือว่า ตอบสนองต่อ วิถีชีวิต ของผู้ไม่ค่อยมีเวลาคิด ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ แต่ผู้คนทั้งหลาย ก็หารู้สึกตัวเลยว่า สิ่งนี้ ได้ริดรอน ความเป็นตัวของ ตัวเองเข้าแล้ว
รู้ว่าเขาหลอก อย่าปล่อยใจให้หลอก
วิธีการดังกล่าวได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้ในหลายรูป แบบ โดยเฉพาะ การเสนอข่าว ที่สามารถ สร้างกระแส ชี้นำ ความคิด ของผู้คนสังคม หรืออ้างว่า เป็นแนวทาง ความคิด ของผู้คน ในสังคม ต่อสิ่งนั้นๆ ทั้งๆ ที่เป็นเพียง ข้อคิดเห็น ของผู้ทำสื่อนั้นๆ เท่านั้น เช่น "เขาเล่าว่า" หรือ "เขากล่าวกันว่า" ซึ่งผู้คนบางคน ก็มีแนวโน้มจะเชื่อ เพราะว่า ผู้เขียน หรือผู้ผลิตสื่อนั้น มีตำแหน่ง หน้าที่ มีคุณวุฒิ หรือวัยวุฒิ ที่น่าจะเอา ความเป็นตัวของตัวเอง ไปผูกความเชื่อไว้กับ ตำแหน่งหน้าที่ คุณวุฒิหรือวัยวุฒิ ของผู้นำเสนอสื่อนั้นๆ แต่ข้อแท้จริง หรือความเป็นจริง อย่างไร ยังไม่มีเวลา ไปเห็น ไปพิสูจน์ ด้วยตนเอง ดังเรื่องเล่า ที่พระผู้ใหญ่รูปหนึ่ง ท่านเล่าไว้อย่างน่าคิดว่า
ครั้งหนึ่งมีคนสองคนถกเถียงกันว่า สัตว์บกหรือ สัตว์น้ำมีมากกว่ากัน คนแรกบอกว่า สัตว์บกมีมากกว่า ส่วนคนที่สอง ค่อนข้างจะช่างรู้มาก เถียงว่า สัตว์น้ำมีมากกว่า เถียงกันไป เถียงกันมา แม้ต่างยกเหตุผล มาอ้าง ก็ไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ยอมแพ้ จนคนที่สอง ผู้ช่างรู้มาก บอกว่า สัตว์น้ำย่อมมีมากกว่าสัตว์บก เพราะในพระบาลี พระพุทธองค์ ตรัสไว้ชัดเจนว่า "นัตถิ เม สรณัง อัญญัง พุทโธ เม สรณัง วะรัง" แปลว่า สัตว์น้ำมีมากกว่าสัตว์บก คนแรกไม่รู้ความหมา ยของภาษาบาลีว่า แท้จริงแปลว่าอะไร พอเห็นเขา ยกคาถาบาลีขึ้นมาอ้าง ก็เลยเชื่อ และยอมแพ้ ในที่สุด (ซึ่งจริงๆ แล้วพระบาลีประโยคนี้แปลว่า สรณะอื่น ของข้าพเจ้าไม่มี พระพุทธเจ้า เป็นสรณะอันประเสริฐ ของข้าพเจ้า
ดังนั้น อย่าเชื่อสักแต่ว่า เขามีคุณวุฒิสูง และบุคคลใด จะเชื่อตาม หรือจะทวน กระแสข่าวคราว ทั้งหลาย ก็เช่นกัน จึงพึงพิจารณาว่า เราจะเอาความเป็นตัว ของ ตัวเอง ไปผูกไว้ กับใคร ขอให้พิจารณา ให้หนัก เพราะ ความเป็นตัว ของตัวเอง ถือว่า เป็นสิ่งที่มีคุณค่า ในตัวของมนุษย์ ที่ไม่ควรถูกครอบงำ หรือชี้นำเสีย จนหมดสิ้น ความเป็นตัว ของตัวเอง ซึ่งบางครั้ง เราก็อาจจะ ไม่รู้ตัว หรือได้ถ่ายทอด ความไม่เป็นตัว ของตัวเอง ให้กับ ลูกหลาน ดังเช่น มีเรื่องเล่าว่า คุณแม่พาลูกสาว ตัวเล็กๆ กำลังช่างพูด ไปเที่ยวสวนสนุก พาไปชมรถราง ชิงช้าสวรรค์ และได้ไปชม กายกรรมห้อยโหน นักกายกรรม ก็ทำท่าหวาดเสียว คุณแม่เลยถามลูกว่า กลัวไหม๊ ลูกสาวก็ตอบว่า ไม่กลัว แม่สงสัยก็เลยถาม ว่าทำไมไม่กลัว ลูกก็ตอบว่า จะกลัวทำไม ก็ลูกยังยืนอยู่ที่นี่
พอถึงตอนท้าย ณ ที่นี้ ผู้เขียนใคร่ขอเรียนท่านผู้ อ่านว่า สิ่งที่นำเสนอมาทั้งหมด เขียนขึ้นจาก ผู้ที่มีสติสัมปชัญญะคนหนึ่ง มีพ่อมีแม่ มีความสุข มีความทุกข์ มีความรู้ผิดรู้ถูก เหมือนชาวโลกทั่วไป และยืนยันว่า เป็นผู้หนึ่งที่ปฏิบัติธรรม ที่วัดพระธรรมกาย และเคยเห็น หลวงพ่อธัมมชโย มาหลายปี หากวัดนี้ไม่ดี หรือหลวงพ่อท่านไม่ดี หรือเป็นไปตามข่าว ที่เขาโจมตี ป่านนี้ ผู้เขียน ก็คงลาจากวัดนี้ ไปนานแล้ว แต่เพราะได้เห็น ได้เข้าใจ และได้มองซึ่งกันและกัน ในแง่ดี จึงทำให้เข้าใจ ในเรื่องราว และข่าวคราว จากสื่อต่างๆ ที่กำลัง ครอบงำ ผู้อ่าน อย่างเมามัน และไม่หลงตาม กระแส ข่าว เพราะยังไงๆ คนทำข่าวอื่นๆ เขาก็ยังเป็น คนแปลกหน้าสำหรับเรา เขามีอะไรแอบแฝง เราก็ยังไม่รู้ แต่เพราะพระท่าน มีคุณธรรมจริง ไม่เช่นนั้น คงไม่อดทน ถูกโจมตี อยู่อย่างสงบใจ มาได้เกือบ 8 เดือน แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อจบข่าวเรื่องนี้ ก็โจมตีเรื่องนั้น และ เขาก็คงจะหาเรื่องอื่นๆ มาเล่นโจมตีต่อไป เห็นอ้างว่า เป็นผู้พิทักษ์ พระพุทธศาสนา ไม่ทราบว่า เขารักบุญกลัวบาป กันบ้างหรือเปล่าก็ไม่รู้....?!
ใครอยู่เบื้องหลังสำนักข่าวไทย
ผมเป็นชาวพุทธผู้หนึ่งที่รัก ความยุติธรรม ได้ติดตามข่าว วัดพระธรรมกาย มานานแล้ว ทั้งหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ และวิทยุ ตลอดจน รายการต่างๆ ทางโทรทัศน์ ทุกช่อง เท่าที่ทราบข่าว สรุปได้ว่า ไม่ว่าจะอ่าน จะใช้ตาดู หรือใช้หูฟัง เรื่องราวของ วัดพระธรรมกาย เป็นเหมือนกับ ดูละครน้ำเน่า คือรู้ว่าขึ้นต้นอย่างนี้ แล้วจะจบอย่างไร หนังสือพิมพ์ หลายฉบับ เขียนข่าว ทำนองเดียวกัน โทรทัศน์ทุกช่องออกข่าวคล้ายกัน จับประเด็นได้เลยว่า เป็นข่าวที่ตั้งใจโจมตี วัดพระธรรมกาย โดยมุ่งเน้นตัว เจ้าอาวาส เป็นหลัก แนวของข่าว จะเป็นการชี้นำ ทั้งสำนวน และเนื้อหา แหล่งข่าวที่อ้างอิง ก็มาจากที่เดียวกัน คือพระนักปราชญ์ พระนักพูด ข้อมูลที่ได้ จะมาจากนอกวัด เสียส่วนใหญ่ ส่วนที่ได้มาจาก วัดพระธรรมกาย ก็นำมาเขียนใหม่
ภาพที่ได้มา ก็นำมาตัดต่อ เลือกภาพที่เป็นลบกับวัด เช่น ภาพคนนั่งสมาธิหลับบ้าง คนในวัดโหรงเหรงบ้าง มันส่อให้เห็นเจตนาชัดเจน ไม่จำเป็นต้องเป็น นักสื่อมวลชน เป็นคน ธรรมดา อย่างพวกเราๆ ท่านๆ ก็ดูออก สรุปแล้วข่าวที่ออกมา จะเป็นด้านลบกับ เจ้าอาวาสทั้งสิ้น เป็นพฤติกรรมที่เบี่ยงเบน ของสื่อมวลชน อย่างเห็นได้ชัด ในที่สุด ผมเลยเลิกอ่าน หนังสือพิมพ์ ส่วนข่าว และรายการโทรทัศน์ ยังตามดูอยู่บ้าง ก็เพื่อตามดู พฤติกรรมต่อไป จนเริ่มสังเกต เห็นอะไรผิดปกติ ได้มากขึ้น
ลืมบอกไปว่า ตอนหลังมีเพื่อนแนะนำให้อ่านพิมพ์ไทย จึงได้รู้ว่า ยังมีสื่อมวลชนที่ดี ด้านหนังสือพิมพ์ อยู่ในบ้านเมืองนี้ ที่ยึดมั่นในคุณธรรม และจรรยาบรรณ ของสื่อมวลชน ทั้งข่าว และบทความ ในคอลัมน์ต่างๆ ทำให้ผมเห็น ภาพสงครามครั้งนี้ ชัดขึ้น จนพอมองออกว่า วัดพระธรรมกาย โดยเฉพาะเจ้าอาวาส ตกเป็นเหยื่อ เสียแล้ว แต่ตัวการที่แท้จริง มิใช่สื่อมวลชนแน่ มันต้องมีอำนาจ ลึกลับ ดำมืด คอยบังคับบัญชา อยู่เบื้องหลัง สื่อทั้งหลาย จึงพร้อมใจ สอดรับกัน เป็นปี่เป็นขลุ่ย
ย้อนมาพูดถึงเรื่อง ข่าวโทรทัศน์ ที่ผมติดตามอยู่ พบว่า ช่วงเวลาแรกๆ ทุกช่องโหมกระหน่ำวัดด้วยกัน อย่างไม่ปรานีปราศรัย ทั้ง 6 ช่อง (3, 5, 7, 9, และ ITV) ทำข่าวสอดคล้องกัน รวมทั้ง หนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่ ยกเว้นพิมพ์ไทย ระยะหลังบางช่อง เริ่มแผ่วลงได้แก่ ช่อง 5 และช่อง 3 ถ้าวันไหนไม่มีเรื่องสำคัญของวัด ก็จะไม่มีข่าว และถ้ามีข่าว ก็จะเขียนมากขึ้น ไม่มีการชี้นำ ต่อมา ช่อง 3 เริ่มเปิดโอกาส ให้เวลาแก่วัด ได้ออกอากาศ ชี้แจงความจริง เท่ากับเป็นการถ่วงดุลย์ ให้มีข่าวทั้งด้านบวกและลบ ตรงนี้น่าชมเชย ที่สำนึกของ ความเป็น สื่อมวลชนที่ด ียังมีอยู่ ส่วนช่องที่ยังไม่เลิกลา คือช่อง ITV และช่อง 7 ข่าวยังเข้มข้น ใช้ภาษาสำนวนรุนแรง และยังมีการชี้นำ ตามความเห็นของคนจัด ถึงแม้บางครั้ง จะดูรู้สึกว่า เริ่มลด ดีกรีลงไปบ้าง
ที่ประหลาดใจที่สุด ซึ่งผมไม่เคยคิดมาก่อนก็คือ ช่อง 9 และ ช่อง 11 ซึ่งเป็นช่องราชการ และรัฐวิสาหกิจ อยู่ภายใต้การบริหาร ของรัฐบาลโดยตรง มีรัฐมนตรีกำกับดูแล คนเดียวกัน ทั้ง 2 ช่อง กลับทำข่าว ที่ไร้คุณธรรม และผิดจรรยาบรรณ ของสื่อมวลชน มากที่สุด นอกจากนี้ ยังมีรายการ โทรทัศน์ ของบุคคลภายนอก ที่เช่าเวลา หรือร่วมกับสถานีทั้ง 2 ช่อง ซึ่งเป็น บุคคลเดียวกัน และเป็นรายการ ที่บ่อนทำลาย พระพุทธศาสนา สร้างความแตกแยกในหมู่สงฆ์ และพุทธศาสนิกชน โดยเจตนา ในส่วนของข่าว โทรทัศน์ ข่าวช่อง 9 เป็นข่าวที่ผิด จรรยาบรรณ อย่างร้ายแรง พอยกเป็นข้อๆ ได้ดังนี้
1. บิดเบือนความจริงที่เป็นข่าวให้กลายเป็นเท็จ
2. ทำข่าวชี้นำให้เห็นแต่ภาพลบของวัดและเจ้าอาวาส
3. ไม่ทำตัวเป็นกลาง และไม่เสนอข่าวด้านที่เป็นบวกของวัด ซึ่งมีอยู่มากมาย
4. ใช้วาจาไม่สุภาพ ในการเขียนข่าวเกี่ยวกับพระสงฆ์ และชี้นำให้เกิดความเข้าใจผิด เช่นใช้คำว่า "นาย" หรือ "อดีตเจ้าอาวาส" ทั้งๆ ที่พระราชภาวนาวิสุทธิ์ ยังเป็นพระภิกษุ เป็น เจ้าอาวาส วัดพระธรรมกาย อยู่อย่างถูกต้อง ตามกฎหมาย และบางครั้ง เรียกชื่อเฉยๆ ไม่มีสมณศักดิ์
5. วิจารณ์ และพิพากษาเบ็ดเสร็จในเนื้อหาข่าว โดยไม่ยึดหลักการเขียนข่าว ตรงไปตรงมา ตามความเป็นจริง
6. เป็นการแสดงออกถึงความไม่เคารพพระพุทธศาสนา
7. เป็นสื่อมวลชนของรัฐ ควรทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดีแก่สื่ออื่นๆ
สรุปได้ว่า = การทำข่าวเช่นนี้ มิใช่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ แต่เป็นการตั้งใจ และจงใจ ให้เป็นเช่นนั้น ถ้าอย่างนั้น ใครเป็นผู้สั่งการ และใครเป็นผู้กำหนดนโยบาย ในองค์กรนี้ ทุกครั้ง ที่ผมดูรายการข่าว ทางช่อง 9 จึงคอยสังเกต ตอนท้ายข่าว จะเขียนว่า ผลิตข่าวโดย สำนักข่าวไทย และมีรายชื่อบุคคล ที่รับผิดชอบสำคัญ อยู่ตอนท้าย ซึ่งน่าจะเป็น ผู้บริหารของ สำนักข่าวไทย และผู้บริหารสูงสุด ของ อสมท. นั่นย่อมแสดงว่า ผู้บริหารทั้ง 3 ท่าน ให้ความเห็นชอบแล้ว
เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเล็กที่จะมองข้าม เป็นความรับผิดชอบต่อประเทศชาติ และประชาชนเลยทีเดียว ผลกระทบของข่าวที่เกิดขึ้น ผู้ชมรายการข่าวของช่อง 9 ซึ่งมีเครือข่ายอยู่ทั่วประเทศ ได้รับข้อมูลข่าวสาร ที่ผิดพลาด บิดเบือน หลงเข้าใจผิด เกิดความเกลียดชัง วัดพระธรรมกาย และเจ้าอาวาส และกระทบกระเทือนไปถึง พุทธศาสนาโดยรอบ ถึงแม้จะยังไม่มี ผู้ร้องทุกข์ เอาโทษกันไม่ได้ แต่โทษที่เกิดแก่สังคมชาวพุทธไทย ได้เกิดขึ้นแล้ว ซึ่งลูกหลานของท่าน ก็รวมอยู่ในสังคมนี้ด้วย ดังนั้น ชาวพุทธทั้งหลาย ควรจะพิพากษาโทษ คนเหล่านี้ เช่นไรดี
ในที่สุด เรื่องของวัดพระธรรมกาย และเจ้าอาวาส เมื่อดำเนินการไปตาม กฎนิคหกรรม โดยมหาเถรสมาคมอย่างถูกต้อง และปราศจากอำนาจเถื่อน ของกฎหมู่ มาบีบบังคับกันแล้ว และถ้าผลปรากฏว่า เจ้าอาวาสไม่มีความผิด วัดไม่ได้ทำชั่ว ผมอยากรู้ว่า มนุษย์หน้าไหน จะแอ่นอกออกมา รับผิดชอบต่อสังคมกันบ้าง ทั้งๆ ที่สังคมชาวพุทธไทย ทั้งพระและฆราวาส ต้องแหลกลาญไปแล้ว ผมคงทำอะไร ไม่ได้มากกว่านี้ ต้องขอวาน นสพ.พิมพ์ไทย ช่วยบอกกล่าวไปถึง ผู้รับผิดชอบทั้งหลาย ที่กล่าวมาแล้ว ได้กลับตัวกลับใจเสียใหม่ หันมาอยู่เคียงข้าง สังคมชาวพุทธไทย ช่วยกันสร้างสรรค์สังคม ให้ดีขึ้นกันดีกว่า
จาก ชาวพุทธผู้รักความยุติธรรม
ไอ้ทิด