ปีที่ 2 ฉบับพิเศษ ประจำวันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2542
ใครให้ทำ-ทำให้ใคร
ในระยะปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ไม่มีข่าวใด ที่จะนำความ เศร้าสลดใจไปกว่า ข่าวกระทรวงศึกษาธิการ แจ้งความ ดำเนินคดีกับ พระราช ภาวนาวิสุทธิ์ ในข้อหา เจ้าพนักงาน ยักยอกทรัพย์ นอกจากนั้น ยังมีข้าราชการ ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้อง หลายคน รวมทั้ง รมช.ศึกษาฯ นายอาคม เอ่งฉ้วน เปลี่ยนหน้ากัน ออกมาแถลงข่าว ในทำนองว่า หากเจ้าพนักงาน สอบสวน มีดุลยพินิจ ไม่ให้ประกันตัว ก็ต้องสึกจาก พระภิกษุ ฟังแล้ว ยิ่งน่าหวาดเสียว เข้าไปใหญ่ ในฐานะ ชาวพุทธ ย่อมไม่ตกอยู่ใน มงคลตื่นข่าว เมื่อพิจารณาตาม หลักกฎหมาย และหลักฐาน พยาน แวดล้อม แล้ว ขัดต่อความ เป็นจริงและปกติวิสัย ดังนี้
1. ใครเป็นเจ้าของที่ดิน ต้นเหตุของเรื่องนี้เกิด จากการโอนที่ดิน ฉะนั้น ต้องมาดูกันว่า ใครเป็นเจ้าของที่ดิน ที่แท้จริง ซึ่งเรียกว่า ผู้ทรงสิทธิ์ ปรากฏตาม เอกสารสิทธิ์ว่า เป็นของ พระราชภาวนาวิสุทธิ์ อันได้มา โดยชอบ ด้วยกฎหมาย จากการบริจาค เป็นส่วนตัว โดยเฉพาะ เจาะจง ผู้บริจาค อนุญาต ให้นำที่ดิน ไปใช้ตามอัธยาศัย หรือจะใช้เป็น สถานที่ ปฏิบัติธรรม (ธุดงคสถาน) จะเป็นการดีที่สุด เพราะปัจจุบัน พระภิกษุ ผู้ปฏิบัติ ทางสมาธิ จะหาที่ อันเป็นสัปปายะ ปฏิบัติธรรมนั้น หาได้ยากยิ่ง แต่มิได้มีเจตนา ให้เป็นที่วัด เพื่อสร้างวัด อันมีอยู่มากมาย ทั่วประเทศ ที่ดินอัน พระราชภาวนาวิสุทธิ์ ได้รับริจาคมานั้น ตามกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 1623 ให้การคุ้มครอง สมบัติของพระ ไว้อย่างเด่นชัด และ รัฐธรรมนูญ 2540 ก็ให้คุ้มครอง สิทธิ์ ดังกล่าวตาม มาตรา 27 มาตรา 48 จึงเป็นผู้มีสิทธิ์ ครอบครอง ที่ดิน ดังกล่าว เพียงผู้เดียว โดยถูกต้อง ตามกฎหมาย ทั้งปวง และมีสิทธิ์ จะมอบ หรือ ไม่มอบให้ใคร ก็ได้ทั้งสิ้น แต่ท่าน ก็ได้มีจิตศรัทธา โอนที่ดิน ดังกล่าว ให้กับ วัดพระธรรมกาย (ปรากฏตาม หนังสือแสดง เจตนาเรื่องที่ดิน) และตัวแทนผู้โอนคือ นายมานิต รัตนสุวรรณ
2. ใครเป็นผู้รับโอน ผู้มีส่วนได้เสีย ในผลประโยชน์ โดยตรงก็คือ วัดพระธรรมกาย และไม่เคยปรากฏว่า กรรมการ วัดพระธรรมกาย ได้มีการ ฟ้องร้องเรียก สิทธิ์การครอบครอง ที่ดินใดๆ กับ พระราชภาวนาวิสุทธิ์ มาก่อนเลย เมื่อวัดพระธรรมกาย ได้รับหนังสือ แสดงเจตนา ดังกล่าวตาม (1) วัดพระธรรมกาย จึงเป็นคู่ สัญญา เพียงผู้เดียว ตามหลักแห่ง การทำนิติกรรม (ปพ.มาตรา 149) โดยมีตัวแทน วัดพระธรรมกาย ผู้รับโอนคือ นาย วิระศักดิ์ ฮาดดา เป็นคู่สัญญา
3. กรมศาสนา และ รมช.ศึกษาฯ คือฐานะอะไร เป็นธรรมชาติ และเป็นธรรมดา ที่ประชาชน และสังคม ต้องเชื่อถือ ในการแถลงข่าวของ ข้าราชการ ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง การแถลงข่าวของ กรมการศาสนา ระบุว่า ได้รับมอบอำนาจ ให้ทำการ แทน วัดพระธรรมกาย โดยการแสดง เอกสาร (หนังสือ แสดงเจตนา เรื่องที่ดิน) โดยอ้างว่า เป็น หนังสือมอบอำนาจ ซึ่งโดยความเป็นจริงนั้น วัดพระธรรมกาย ไม่เคยมอบอำนาจ ให้กรมการศาสนา ทำนิติกรรมใดๆ แทนเลย เอกสารที่กรมศาสนา นำมาแสดงนั้น เป็นเพียงเอกสาร ให้กรมศาสนา นำหนังสือ แสดงเจตนานั้น เสนอต่อ มหาเถรสมาคม เพื่อใช้ในการประชุม ฉะนั้น โดยความเป็นจริง และข้อแท้จริง กรมศาสนา จึงไม่มีหน้าที่ใดๆ ตามกฎหมาย ที่จะทำการ แทนวัดพระธรรมกาย ด้วย ประการทั้งปวง มีฐานะเป็นเพียงพยาน เท่านั้น เพียงทำหน้าที่ ประสานงาน และอำนวย ความสะดวก หรือให้คำปรึกษา เมื่อร้องขอ โดยเฉพาะ นายอาคม เอ่งฉ้วน ไม่ปรากฏ มีฐานะใดๆ ทางกฎหมาย เกี่ยวกับ นิติกรรม การโอนที่ดิน เลยในทุกกรณี
4. ใครให้ทำ ตามที่ได้กล่าวมาใน (1) (2) และ (3) จะเห็นได้ชัดว่า คู่สัญญาในการโอนที่ดินนี้ จะมีอยู่แค่บุคคล 2 คนเท่านั้น คือ ฝ่ายผู้โอน คือ นายมานิต รัตนสุวรรณ ตัวแทนของ พระราชภาวนาวิสุทธิ์ และ นายวิระศักดิ์ ฮาดดา ตัวแทน ของ วัดพระธรรมกาย ไม่ปรากฏว่า มีการแต่งตั้งใดๆ เป็นทางการ จากวัดพระธรรมกาย ให้กรมการศาสนา ทำการแทน ทั้งสิ้น หากเรามองดู เพื่อให้เห็นภาพง่ายๆ ก็คือ ท่านผู้อ่าน เป็นคนไปซื้อที่ดิน จากบริษัท ผู้ขายอสังหาริมทรัพย์ ท่านผู้อ่าน ก็จะเป็นคู่สัญญา ฝ่ายผู้รับโอน บริษัทผู้ขาย ก็คือ คู่สัญญา ฝ่ายผู้โอน การตกลงว่า จะโอนกัน แบบไหน ช้า หรือเร็ว เป็นเรื่องของการ ยอมรับเงื่อนไข ซึ่งกันและกัน ระหว่าง ผู้โอนกับผู้รับโอน คนอื่นไม่เกี่ยว เมื่อพิจารณาตาม เอกสาร บันทึกการหารือ เกี่ยวกับ การโอนที่ดิน วันที่ 1 มิ.ย. 2542 จะเห็นได้ว่า นี่คือเงื่อนไขระหว่าง คู่สัญญา ที่จะตกลงกัน ผู้ได้ประโยชน์คือ วัดพระธรรมกาย ซึ่งตัวแทน วัดพระธรรมกาย ก็ได้ลงนาม ยอมรับเงื่อนไข ข้อตกลง ในการรับโอนที่ดิน อันจะได้รับบริจาค จาก พระราชภาวนาวิสุทธิ์ โดยตัวแทน ลงนามแทน ถูกต้องครบถ้วน ตามหลักนิติกรรม มี 1. นายพิภพ กาญจนะ 2.นายเชลียง เทียมสนิท 3. นายสุทธิวงศ์ ตันตยาพิสุทธิ์ 4. นางจุฬารัตน์ บุญยากร เจ้าหน้าที่ของ กรมการศาสนา ลงนามเป็นพยาน ซึ่งไม่มีสิทธิ์ ฟ้องร้องสิทธิ์ใดๆ กับ คู่สัญญาทั้งสอง
ในระยะเวลาต่อมา ได้มีการแถลงข่าวของ เจ้าหน้าที่กรมการศาสนา และ รมช.ศึกษาฯ ปรากฏต่อสื่อมวลชนว่า พระราชภาวนาวิสุทธิ์ พยายามบ่ายเบี่ยง จะไม่ยอมโอนที่ดินให้ ตามที่ให้สัญญาไว้ หากไม่เป็นไป ตามสัญญา ต้องจัดการกล่าวโทษ ดำเนินคดี ตามกฎหมาย ตามที่ได้ กล่าวไปแล้วว่า เจ้าหน้าที่กรมการศาสนา อยู่ในฐานะพยาน และ รมช.อาคมฯ ยิ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ใดๆ ทั้งสิ้น ไม่ได้รับมอบหมายจาก ผู้จะต้องได้ รับประโยชน์คือ วัดพระธรรมกาย แต่ใครให้ทำหน้าที่ ออกมา ทวงสิทธิ์ในการโอน หรือจำนวนที่ดิน ที่ต้องโอน การเรียกเอา โฉนดจาก พระราช ภาวนาวิสุทธิ์ โดยไม่มีอำนาจ ทางกฎหมาย รวมทั้งการให้นำโฉนดทั้งหมด มาให้กับกรมศาสนา ลักษณะการกระทำ ดังกล่าวนี้ เป็นไปโดยพลการ ทั้งสิ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากกล่าวกันตามกฎหมายแล้ว เรื่องภายในวัดหรือผลประโยชน์ของวัดนั้น เป็นเรื่องของเจ้าอาวาสทั้งสิ้น ปรากฏคำ พิพากษา ฎีกา ที่ 763/2513 เรื่อง พรบ.คณะสงฆ์เรื่องการจัดการวัด ศาลฎีกาวิเคราะห์ว่า เรื่องการบำรุงรักษาวัดนั้น กฎหมายให้อยู่ในอำนาจ และ หน้าที่ของเจ้าอาวาสโดยเฉพาะ บุคคลอื่นใด หามีสิทธิ์ที่จะอาจเอื้อม เข้าไปจัดการโดยพลการไม่...
ดังนั้น การกระทำของเจ้าหน้าที่กรมการศาสนา อันเป็นเจ้าพนักงานตาม ป.อาญา จึงมิชอบด้วยกฎหมาย ด้วยประการทั้งปวง และทั้งๆ ที่กรมการศาสนา มีประสบการณ์และชำนาญ ในด้านเกี่ยวกับงานสงฆ์อยู่แล้ว เหตุใดจึงอาจกล่าวว่า ไม่ทราบในกรณีนี้ ทำในฐานะอะไร ใครให้ทำ
วันที่ 10 มิ.ย. 2542 นายมานิตฯ ตัวแทนพระ-ราชภาวนาวิสุทธิ์ คู่สัญญาฝ่ายผู้โอน ได้นำโฉนดที่ดินจำนวน 300 กว่าไร่ เพื่อนำมามอบให้ นายวิระศักดิ์ฯ ตัวแทนวัดพระธรรมกาย คู่สัญญาฝ่ายผู้รับโอน โดยมี เจ้าหน้าที่กรมการศาสนา สักขีเป็นพยาน
แต่ รมช.ศึกษาฯ ซึ่งไม่มีฐานะทางกฎหมายใดๆ อันเกี่ยวข้องกับการทำนิติกรรม ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า พระราชภาวนาวิสุทธิ์ ได้แจ้ง ความเท็จ กระทำผิดสัญญาที่ได้ให้ไว้ (กับใคร ???) ซึ่งการโอนที่ดินนี้จะต้องโอนทั้งหมด เท่ากับจำนวนโฉนด ที่ได้นำมามอบให้ไว้คือ 1,747 ไร่ ไม่ใช่โอนเพียง 300 กว่าไร่ อย่างนี้ รับโอนไม่ได้
ตามความจริงแล้ว บุคคลที่จะรับโอนหรือไม่ คือหน้าที่ของตัวแทนวัดพระธรรมกาย ซึ่งเป็นผู้ที่จะได้รับประโยชน์หรือเสียประโยชน์ จาก การทำนิติกรรมการโอนที่ดินครั้งนี้ ด้วยเหตุดังกล่าว จึงไม่ได้มีการโอนที่ดินใดๆ เกิดขึ้น
วันที่ 11 มิ.ย. 2542 นายอาคมฯ รมช.ศึกษา ได้มีคำสั่งให้ นายพิภพ กาญจนะ อธิบดีกรมการศาสนา ไปแจ้งความกล่าวโทษ ซึ่งนายพิภพ กาญจนะ ได้มอบหมายให้นายเชลียง เทียมสนิท ซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชา ไปแจ้งความกล่าวโทษ พระราชภาวนาวิสุทธิ์ ผู้เป็นเจ้าของที่ดินโดยชอบ และมีจิตเจตนาจะบริจาคให้กับวัดพระธรรมกาย ต่อเจ้าพนักงานตำรวจที่กองปราบปราม ว่า พระราชภาวนาวิสุทธิ์ ไม่ยอมโอนที่ดินให้กับ วัดพระ ธรรมกาย ทั้งๆ ที่ตนเอง (นายเชวงฯ) มีชื่อเป็นเพียงพยาน (ปรากฏตามเอกสาร) มิได้เป็นผู้เสียหายแต่อย่างใด และไม่มีฐานะใดๆ ทางกฎหมาย อันอาจยกกล่าวอ้าง ในการร้องทุกกล่าวโทษทั้งสิ้น ดังได้กล่าวไปแล้ว และนี่คือ เรื่องแปลกแต่จริง
5. ทำให้ใคร สิ่งที่ต้องพิจารณาเป็นอย่างยิ่งสำหรับชาวพุทธก็คือ เจตนาของผู้กระทำคือ นายอาคม เอ่งฉ้วน มีเจตนา ประสงค์ต่อผล อย่างไร หากพิจารณาว่า ต้องการให้ พระราชภาวนาวิสุทธิ์ โอนที่ดินให้กับ วัดพระธรรมกาย ให้หมด เท่าที่มีอยู่ในชื่อของท่านนั้น เป็นไปไม่ได้ เพราะอะไร เนื่องจาก ทางกฎหมายนั้น ทรัพย์สินอันเป็น สมบัติของพระนั้น หากมีการสิกขาลาเพศ จากการเป็นพระภิกษุแล้ว ทรัพย์สินนั้น ก็มิใช่จะตกเป็น ของวัด ยังเป็นสมบัติของผู้นั้นต่อไป ตามมาตรา 1623 และมีการสร้างกระแส โดยการแถลงข่าวว่า เป็นดุลยพินิจของ พนักงานสอบสวน หากไม่ให้ ประกันตัว ก็ต้องสึก และ หากมีการลาสิกขา คือสึกจริง วัดพระธรรมกาย อาจจะไม่ได้รับโอนที่ดินเลย แม้แต่สักแปลงก็ได้ เพราะเป็นสิทธิ์อันชอบ ธรรม ตามกฎหมายของ พระราชภาวนาวิสุทธิ์ อีกด้วย ฉะนั้น ข้ออ้างว่า การแจ้งความกล่าวโทษ เพื่อให้มีการโอนที่ดิน เป็นจุดที่แสดงให้เห็นว่า ไม่ใช่เป็นการแจ้งความ ด้วยความสุจริต ว่า จะให้มีการโอน แต่เจตนาแท้จริงคือ ต้องการให้ พระราชภาวนาวิสุทธิ์ สึกจากพระภิกษุ ไม่มีเหตุผลใด มากไปกว่านั้น เพราะ
1. ตามหนังสือแสดงเจตนาเจตนาเรื่องที่ดินในนามส่วนตัว ไม่ได้ระบุว่าโอนเมื่อใด
2. สัญญานี้ได้ทำระหว่างพระภาวนาวิสุทธิ์กับวัด พระธรรมกาย ไม่ได้ทำกับกรมการศาสนา
3. มติมหาเถรสมาคมซึ่งนายอาคมฯ กล่าวถึงนั้น ไม่ได้ระบุว่า ให้พระราชภาวนาวิสุทธิ์ ต้องโอนที่ดินให้แก่วัดแต่อย่างใด (เพราะจะขัดต่อ ปพ.1623)
4. การละเมิดพระธรรมวินัยมิได้เกิดขึ้น เพราะการให้เป็นไปตามคำยินยอมของผู้บริจาค เป็นหน้าที่ของพระภิกษุที่จะต้องรักษาศรัทธา (เจตนาเดิม) ของผู้บริจาคตามพระธรรมวินัย ซึ่งเป็นวัตรปฏิบัติแห่งสงฆ์โดยปกติ
5. การเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญานั้น ได้มีคำพิพากษา ฎีกาที่ 259/2509 เรื่องพระราชบัญญัติ แม้พระราชบัญญัติ คณะสงฆ์ มาตรา 45 จะบัญญัติให้ถือว่า พระภิกษุซึ่งได้รับแต่งตั้ง ให้ดำรงตำแหน่ง ในการปกครอง คณะสงฆ์ เป็นเจ้าพนักงาน ตามประมวล กฎหมายอาญา ก็ดี ก็มีแต่อำนาจ สอบสวน อธิกรณ์ และสั่งลงโทษเฉพาะแต่ พระภิกษุผู้ล่วงละเมิดพ ระธรรมวินัยเท่านั้น ฯลฯ
6. ตามคำสั่งของนายอาคมฯ ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 27, 38, 48 ทำให้นิติกรรมใดๆ อันจะกระทำลงไป เป็นโมฆะ
จากที่กล่าวมาแล้วนี้จะเห็นได้ว่า นายอาคม เอ่ง ฉ้วน ถือว่า เป็นบุคคลที่ไว้วางใจ ของประชาชน จึงได้รับเลือกเป็น สมาชิกสภา ผู้แทน ราษฎร มีความรู้ความสามารถ มีสติสัมปชัญญะ เป็นเลิศ จนได้รับความไว้วางใจ จากรัฐบาล ให้เป็นรัฐมนตรี ทำหน้าที่ดูแลกำกับและ บริหารงานใน กระทรวง ศึกษาธิการ และมีกรมการศาสนา ซึ่งดูแลงาน ด้านศีลธรรมอันดีของ ประชาชน อันเป็นหน่วยงาน ใต้บังคับบัญชา เป็นข้าราชการรับเงิน เดือนประจำ ตามวิธีงบประมาณ จัดเป็นเจ้าพนักงาน ตามประมวล กฎหมายอาญาด้วย
ในทุกสัปดาห์ รัฐบาลจัดให้มีการประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อรับรู้แนวนโยบายปฏิบัติ ซึ่งนายอาคมฯ ย่อมต้องรับรู้ข้อมูลใดๆ อันเกี่ยวข้อง ด้วยงานภายใต้การบริหารของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณีวัดพระธรรมกาย เป็นที่สนใจของประชาชน และประชาชาติ เป็น เหตุที่เกิดขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง มาเกินกว่าครึ่งปี จึงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า ไม่ได้รับรู้ใดๆ
เมื่อ 24 พ.ค. 2542 ที่นายสหัสชัย โภคสมบัติ ร้องเรียนต่อนายกรัฐมนตรี ในกรณีให้มีการสอบสวน พระลิขิต แม้นายอรรคพล สรสุชาติ โฆษกรัฐบาล อันไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกรณีนี้ ยังทราบเรื่องดี ปรากฏเป็นหลักฐานต่อสื่อมวลชนและสาธารณชน ยิ่งไปกว่านั้นในวันที่ 4 มิ.ย. 2542 ได้มีหนังสือร้องเรียนมายังนายอาคมฯ หมายเลข 820 ให้สั่งการสอบสวนกรณีเดียวกัน ซึ่งเท่ากับนายอาคมฯ ได้รับแจ้งความเป็นหลักฐานแล้ว ทั้งสิ้น
ในฐานะของเจ้าพนักงานอันมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง ทั้งทางกฎหมาย และเป็นรับผิดชอบกรณีพิเศษ จากคณะรัฐมนตรี ควรที่จะสั่งการ ให้หน่วยงานใต้บังคับบัญชาโดยตรงซึ่งปฏิบัติ งานร่วมกันมาตลอด สอบสวนดำเนินการ หาข้อเท็จจริงจึงจะชอบ แต่ก็มิได้กระทำเช่นนั้น อัน วิญญูชน ผู้มีหน้าที่รับมอบหมายพึงกระทำ แสดงให้เห็นถึงเจตนาอันมิชอบ และ กรณีที่ต้องสอบสวนนั้น จะเป็นการป้องกัน การเสื่อมเสีย ต่อ องค์ประมุขแห่งสงฆ์ และความเสียหาย แก่สังฆมณฑล ทั้งประเทศ อันมีผลกระทบ ไปสู่ความมั่นคง ของสังคม ประเทศชาติ และประชาชนผู้เป็น พุทธศาสนิกชน เนื่องเพราะพุทธศาสนา เป็นสถาบันหลักของประเทศ
การใช้อำนาจหน้าที่ขอแถลงข่าวใดๆ อันเป็นการข่มขืนใจให้ พระราชภาวนาวิสุทธิ์ ยอมมอบโฉนดที่ดิน อันเป็นทรัพย์สินให้ ทั้งๆ ที่ตน ไม่มีฐานะทางนิติกรรมใดๆ แม้กระทั่ง มีส่วนได้ส่วนเสียในการโอนสิทธิ์ การครอบครองที่ดินดังกล่าว แต่กลับให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ไปแจ้งความ กล่าวโทษ พระราชภาวนาวิสุทธิ์ จึงเป็นการกระทำตรงกันข้าม กับสิ่งอันเจ้าพนักงานพึงกระทำโดยชอบ ด้วยตำแหน่ง และหน้าที่
ฉะนั้น การกระทำทั้งสิ้นของนายอาคม เอ่งฉ้วน และพวก ในกรรมเดียวนี้ อาจปรับเข้าครบ องค์ประกอบ แห่งความผิด ตามประมวล กฎหมาย อาญา ได้หลายสถาน เช่น มาตรา 148 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ใช้อำนาจ ในตำแหน่งโดยมิชอบ ข่มขืนใจ หรือจูงใจ เพื่อให้บุคคลใด มอบให้ หรือหามา ให้ซึ่งทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด เพื่อตนเอง หรือผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่ ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ สองพัน บาท หรือประหารชีวิต
เมื่อมาถึงตรงนี้ ก็เกิดคำถามขึ้นในใจของท่านผู้อ่านว่า
แล้ว นายอาคมฯ ทำไปทำไม เพื่ออะไร ใครให้ทำ-ทำให้ใคร
ก็นั่นน่ะซิ ผมเอง ก็สงสัยเหมือนกันนั่นแหละ???
เบญจ์ บาระกุล