ประวัติโรงเรียนนครวรรค์

โรงเรียนนครสวรรค์ เป็นโรงเรียนมัธยมที่มีชื่อเสียง ของจังหวัดนครสวรรค์ เกี่ยวกับประวัติ และ ความเป็นมา ของโรงเรียนนั้น มีสิ่งที่แปลกอยู่ ๒ ประการ คือ.... ย้ายสถานที่ ๔ แห่ง และ เปลี่ยนชื่อ ๔ ครั้ง ประวัติของโรงเรียนนครสวรรค์ มีดังต่อไปนี้
ในปี พ.ศ.๒๔๔๘ ท่านพระครูธรรมฐิติวงศ์ เจ้าอาวาสวัดโพธาราม ได้จัดตั้งโรงเรียนขึ้น โดยใช้ ศาลาการเปรียญ เป็นโรงเรียน และ ให้ชื่อว่า "โรงเรียนธรรมฐิติวงศ์วิทยา" เปิดสอนชั้นมูล แรกเปิด มีนักเรียนจำนวน ๒๓ คน ต่อมา เมื่อจำนวนนักเรียน เพิ่มมากขึ้น ในปี พ.ศ.๒๔๕๖ ทางการได้อนุมัติเงิน ให้สร้าง อาคารเรียนใหม่ ให้แยกจากศาลาการเปรียญ เป็นโรงเรียนเอกเทศ เมื่อย้ายมาได้ ๙ เดือน ก็เกิดเพลิงไหม้ อาคารเรียนเสียหายมาก กระทรวงธรรมการ จึงได้อนุมัติเงิน จำนวน ๓,๐๐๐ บาท เพื่อทำการ ปลูกสร้าง โรงเรียนใหม่ ในบริเวณวัดหัวเมือง (วัดนครสวรรค์ปัจจุบัน) โรงเรียนหลังใหม่นี้ ได้ชื่อว่า "โรงเรียนประจำมณฑลนครสวรรค์" นับว่าเป็น การย้ายที่สร้างอาคารเรียน เป็นครั้งที่ ๓ และ เปลี่ยนชื่อ เป็นครั้งที่ ๒
ต่อมามณฑลนครสวรรค์ถูกยุบเป็นจังหวัดนครสวรรค์ โรงเรียนประจำมณฑลนครสวรรค์ จึงเปลี่ยนชื่อ เป็น "โรงเรียนประจำจังหวัดนครสวรรค์" นับเป็น การเปลี่ยนชื่อ ครั้งที่ ๓ โรงเรียนประจำจังหวัดนครสวรรค์ ตั้งอยู่ ณ บริเวณวัดหัวเมือง เป็นเวลานานถึง ๔๖ ปี จึงได้ย้าย ที่สร้างอาคารเรียน เป็นครั้งที่ ๔ มาอยู่ ณ บริเวณเชิงเขากบ ในปัจจุบัน
ในปี พ.ศ.๒๕๐๑ กระทรวงศึกษาธิการ ได้อนุมัติ ให้เปิดสอน ชั้นเตรียมอุดมศึกษา และ ได้เปลี่ยนชื่อ จาก โรงเรียนประจำจังหวัดนครสวรรค์ มาเป็น "โรงเรียนนครสวรรค์" นับเป็น การเปลี่ยนชื่อ ครั้งที่ ๔ และ โรงเรียนได้ใช้ชื่อนี้ ตั้งแต่บัดนั้น เป็นต้นมา
สำหรับอาคารเรียนใหม่ที่บริเวณเชิงเขากบนี้ กระทรวงศึกษาธิการ ได้อนุมัติ เงินงบประมาณ เพื่อสร้างอาคาร ในระยะแรก จำนวน ๑๔๔,๗๐๐ บาท โดยให้สร้างเป็น อาคารไม้ ซึ่งคณะกรรมการศึกษา ได้พิจารณาเห็นว่า สมควรสร้าง อาคารตึก ให้ทันสมัย จึงขอเปลี่ยน การใช้ เงินงบประมาณนั้น เป็นการสร้าง รั้วรอบๆ บริเวณ ที่จะสร้างโรงเรียนก่อน ในปี พ.ศ.๒๕๐๔ กระทรวงศึกษาธิการ ได้อนุมัติ เงินงบประมาณ เพื่อสร้างอาคาร อีก ๘๐๐,๐๐๐ บาท ซึ่งเงินงบประมาณ จำนวนนี้ ยังไม่พอ ที่จะสร้าง อาคารตึกได้ ทางจังหวัด จึงได้จัดตั้ง คณะกรรมการขึ้น มี คุณสวัสดิ์วงศ์ ปฏิทัศน์ ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน และ มี อาจารย์โชติ สุวรรณชิน อาจารย์ใหญ่ เป็นกรรมการ และ เลขานุการ ได้ออกหาเงิน จากผู้มีจิตศรัทธา ได้เงินทั้งสิ้น จำนวน ๖๓๘,๑๐๔ บาท สมทบกับ เงินงบประมาณ สร้างอาคารเรียนหลังใหม่ สร้างอาคารเรียน เป็นตึกรูป ปีกเครื่องบิน "บี ๒๙" นับว่าเป็น อาคาร ที่ถูกสุขลักษณะที่สุด
ตึกรูปปีกเครื่องบิน 'บี ๒๙'
ตึกรูปปีกเครื่องบิน "บี ๒๙"
ในระยะนี้ โรงเรียนนครสวรรค์ ได้เจริญรุ่งเรืองขึ้น จำนวนนักเรียน เพิ่มมากขึ้น และ โรงเรียน ได้งบประมาณ เพิ่มเติม สร้างหอประชุม สร้างโรงฝึกงาน และ สิ่งก่อสร้างอื่นๆ อีกหลายอย่าง ในปี พ.ศ.๒๕๑๑ โรงเรียน ได้เปลี่ยนเป็น โรงเรียนมัธยมแบบประสม เปิดสอน วิชาต่างๆ ตามหลักสูตร คมส. ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๑ เป็นต้นมา จนกระทั่ง มีการเปลี่ยนแปลง หลักสูตร มัธยมศึกษาตอนต้น ในปี พ.ศ.๒๕๒๑ และ หลักสูตร มัธยมศึกษาตอนปลาย ในปี พ.ศ.๒๕๒๔ โรงเรียน ได้ใช้หลักสูตร ทั้งสองนี้ จนถึง สิ้นปีการศึกษา ๒๕๓๒ จึงได้เปลี่ยน มาใช้ หลักสูตร มัธยมศึกษา ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช ๒๕๓๓ ในปีการศึกษา ๒๕๓๓ เป็นต้นไป
ปัจจุบัน โรงเรียนนครสวรรค์ เปิดสอน ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ ๑, ๒, ๓ จำนวน ๓๖ ห้องเรียน และ เปิดสอน ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ ๔, ๕, ๖ จำนวน ๖๐ ห้องเรียน รวมจำนวน ห้องเรียน ทั้งหมด ๙๖ ห้องเรียน
แต่ละระดับชั้น โรงเรียนได้จัดวิชาต่างๆ ให้นักเรียนเลือกเรียน อย่างกว้างขวาง มีวิชาเลือก ทั้งทาง วิชาการสามัญ และ วิชาชีพ หลายสาขา ในการจัด การเรียนการสอน นอกจาก จะส่งเสริม ความรู้ความสามารถ เพื่อการศึกษาต่อแล้ว โรงเรียน ยังมุ่งเน้น ให้นักเรียน ได้ฝึกทักษะ และ ประสบการณ์ ที่จะออกไป ประกอบอาชีพ โดยอิสระส่วนตัว และ มีรายได้ระหว่างเรียน อีกด้วย
ในด้านการปกครองของโรงเรียน มุ่งเน้น ให้นักเรียน รู้จักตนเอง เคารพตนเอง เพื่อการเจริญเติบโต เป็นพลเมืองดี ของประเทศชาติ ต่อไป
โรงเรียนนครสวรรค์เป็นโรงเรียนที่ได้รับความสนับสนุน และ การร่วมมือ ในด้านต่างๆ จากผู้ปกครอง และ ชุมชน อย่างดียิ่ง ทั้งในอดีต และ ปัจจุบัน ในปีการศึกษา ๒๕๒๗ ศาสตราจารย์ ด.ร.อำนาย คอวนิช, นายจำนง คอวนิช และ นายมนัส คอวนิช ศิษย์เก่าโรงเรียนนครสววรค์ ได้ร่วมกัน บริจาคเงิน จำนวน ๘๐๐,๐๐๐ บาท (แปดแสนบาทถ้วน) จัดสร้าง ห้องสมุด "คอวนิช" ให้แก่ โรงเรียนนครสวรรค์
การจัดการศึกษา ของโรงเรียน ได้มี ความเจริญก้าวหน้า ยิ่งขึ้น โดยลำดับ ได้รับ รางวัลพระราชทาน ให้เป็น โรงเรียนดีเด่น ระดับมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ในปี พ.ศ.๒๕๒๔ นับได้ว่า โรงเรียนนครสวรรค์ เป็นโรงเรียน ที่มี ความสำคัญยิ่ง ของจังหวัดนครสวรรค์ เป็นที่ยอมรับ และ นับถือ แก่ ชาวจังหวัดนครสวรรค์ และ ชุมชน โดยทั่วไป

Back