ข้
อ คิ ด นั ก ติ

ปรัสสะ
วา อัตตะโน วาปิ เหตุ
นะ ภาสะติ อะลิกัง ภูริปัญโญ
โส ปูชิโต โหติ สะภายะ มัชเฌ
ปัจฉาปิ โส สุคะติคามิ โหติ.
ผู้มีภูมิปัญญา ย่อมไม่พูดพล่อยๆ
เพราะเหตุแห่งคนอื่นหรือตนเอง ผู้นั้นย่อมมี
ผู้บูชาในท่ามกลางชุมนุม แม้ภายหลังเขาย่อมไปสู่สุคติ
(ขุ.ชา. ๒๗/๔๒๗)
รักจะเป็นนักติพึงศึกษาดังนี้
ถ้ายังฝึกตัวเองไม่ดีพอก็อย่าริเป็นนักติ
ถ้ายังไม่เคยชมเขาเลยก็ยังไม่สมควรติเขาเลย
อย่าติพร่ำเพรื่อ อย่าปกิณกะติ (ติเรี่ยราด)
อย่าติคนหนึ่งเพื่อประชดอีกคนหนึ่ง
อย่าติคนหนึ่งเพื่อประจบอีกคนหนึ่ง
ไม่ควรพูดพล่อยๆ วิจารณ์ไปทุกเรื่อง
ทำเขื่องว่าฉันเก่ง ฉันรู้ ฉันฉลาด
นั่นเป็นอาการของคนไม่เก่ง ไม่รู้และไม่ฉลาดเลย
ถ้าจะติ ติเมื่อจำเป็นสุดๆ
ติน้อยเรื่องที่สุด ติจุดสำคัญที่สุด
ติกับเจ้าตัวโดยตรงในที่ลับที่สุด
ติด้วยความปรารถนาดีสูงสุด
ติด้วยถ้อยคำที่คัดสรรอย่างดีแล้ว
พูดไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของทุกๆ คน
ผู้กระทำได้เช่นนี้
ย่อมเป็นที่ยกย่องของมหาชน
ย่อมประสบสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
จาก
ส่องธรรมล้ำภาษิต โดย อิ่มธรรม
วารสารกัลยาณมิตรฉบับเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๔
|