หัวเข็มแผ่นเสียง  หัวใจของ การเล่นแผ่นเสียง
                 ที่ผมขึ้นต้นแบบนี้เพราะว่า ไม่ว่าท่านจะมี เครื่องเล่นแผ่นเสียงดีเท่าใด มีแอมป์ดีขนาดไหน หรือมีลำโพงดีปานใด  ถ้าหัวเข็มหัก หรือมีคุณภาพไม่ดีเสียงที่ออกมาก็คงไม่ต่างจากเอาผมไปร้องเพลง
ให้ท่านฟังละครับ    เรามาทำความเข้าใจเรื่องเข็มแผ่นเสียงกันเลยนะครับ
                  ชนิดของหัวเข็มแผ่นเสียง  สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ชนิดดังนี้ครับ
    ... .ข้อคิดง่ายๆของหัวเข็มแผ่นเสียงเกิดจากความจริงที่ว่า ...เสียงเกิดจากการสั่นสะเทือน......
              1  หัวเข็มตะปู หัวเข็มชนิดนี้จะใช้กับเครื่องเล่นแผ่นเสียงสมัยแรกๆที่คนไทยเราเรียกว่าเครื่อง
ไขลานหรือที่สากลเค้าเรียก ว่าPHONOGRAPH AND GRAMOPHONE ครับพวกนี้จะเล่นกับแผ่นเสียง
ที่มีความเร็ว 78รอบต่อนาทีครับแผ่นเสียงชนิดนี้จะมีความแข็งเป็นอย่างมากครับ แต่ตกแตกข้อควร
ระวังคือ อย่านำแผ่น เสียงขนาด 12 นิ้ว  หรือ แผ่นเสียงขนาด 7 นิ้วที่เป็นแผ่นทั่วๆไปไปเล่นเพราะ
คุณจะไม่ได้ยินเสียงเพลงครับแต่จะได้ยินเสียงร้องไห้มาจากส่วนลึกของหัวใจคุณเอง เพราะเข็มตะปู
จะทำให้ร่องแผ่นพวกนี้พังทันทีครับ
                            2  หัวเข็มแม่เหล็กเคลื่อนไหว ( MOVING MAGNET)  หรือที่เรียกกันในหมู่นักเล่น
ว่าหัวเข็ม MM เป็นหัวเข็มที่เป็นที่นิยมมากที่สุดเข็มชนิดนี้ใช้มูลฐานที่ว่าด้วยเรื่อง การเกิดกระแสไฟฟ้า
โดยการเอาก้านเข็มยึดกับแม่เหล็กแล้วติดกับยางที่ยืดหยุ่นได้พอแม่เหล็กเคลื่อนไหวก็ทำให้เกิดสนาม
แม่เหล็กกับคอยล์ที่อยู่ใกล้ๆเกิดเป็นพลังงานไฟฟ้าขึ้นครับ
                            3 หัวเข็มคอยล์เคลื่อนไหว ( MOVING COIL) หรือที่เรียกกันว่าเข็ม MC การทำงาน
ใช้มูลฐานเหมือนกับเข็ม MM ต่างกันตรงที่ใช้ คอยล์เป็นตัวเคลื่อนไหวแล้วให้แม่เหล็กอยู่กับที่ครับ
แต่เนื่องจากขั้นตอนในการทำจะยากกว่า ราคาของเข็มแบบนี้จึงสูงครับ และเป็นที่ยอมรับในหมู่นัก
เล่นแผ่นเสียงหูทองทั้งหลายว่าดีมากๆเลยครับ
                            4 หัวเข็มไอออนเคลื่อนไหว( MOVING IRON ) หรือที่เรียกกันว่าเข็ม MI ไม่ต่างจาก
หัวเข็ม MM มากนักครับเพียงใช้ สารโลหะ IRON ซึ่งมีน้ำหนักเบากว่าแม่เหล็กมาแทนแม่เหล็กเท่านั้น
ครับ
                             5 หัวเข็มแก้ว เข็มพวกนี้จะมีอยู่ในยุคต่อจากเข็มตะปูครับ ไม่ค่อยเป็นที่นิยมในหมู่
นักฟังเพลงเท่าใดนักเนื่องจากให้เสียงที่ไม่ค่อยดีนัก  แต่ก็มีข้อดีตรงที่ไม่ต้องใช้ช่องPHONOใน การเล่น หัวเข็มชนิดนี้มักจะติดมากับเครื่องเล่นแผ่นเสียงราคาถูกๆ  มีทั้งที่เป็นระบบ MONOและแบบ
STEREO ข้อดีของมันก็มีนะครับ หัวเข็มแบบนี้จะเล่นเพลงเก่าสภาพไม่ดีได้ดีครับและหักยากมาก
และข้อดีอีกอย่างนึงคือมันสามารถเล่นกับแผ่นเสียงที่ใช้หัวตะปูเล่น   ได้ด้วยครับ  แต่ที่แน่ๆมันเป็น
เข็มแบบแรกที่ ผมมีครับ
                                                                                       มีต่อครับ