|
|
|
4.
พันธุ์ลำไย
|
พันธุ์ลำไยที่พบในปัจจุบันอาจแบ่งได้
2 ชนิด ตามลักษณะการเจริญเติบโต ลักษณะของผลเนื้อ เมล็ดและรสชาด คือ |
ลำไยเครือหรือลำไยเถา
(Euphoria scandens Winit Kerr.)
|
ลำไยชนิดนี้มีลำต้นเลื้อยคล้ายเถาวัลย์
ทรงพุ่มต้นคล้ายต้นเฟื่องฟ้า ลำต้นไม่มีแก่น ใบขนาดเล็กและสั้น ผลเล็ก
ผิวผลสีชมพูปนน้ำตาล เมล็ดโต เนื้อผลบางมีกลิ่นคล้ายกำมะถันปลูกไว้สำหรับเป็นไม้ประดับมากกว่าที่จะใช้เพื่อรับประทานผล |
ลำไยต้น
(Euphoria Langans Lan.) |
ลำไยต้นแบ่งออกเป็น
2 ชนิด คือ
|
1. |
ลำไยพื้นเมืองหรือลำไยกระดูก |
|
ออกดอกประมาณเดือนธันวาคมถึงต้นมกราคม
และเก็บผลได้ประมาณกลางเดือนกรกฏาคมถึงต้นเดือนสิงหาคม ให้ผลดก ผลมีขนาดเล็ก
ขนาดของผลเฉลี่ยกว้าง 1.8 เซนติเมตร หนา 1.6 เซนติเมตร ยาว 1.7 เซนติเมตร
รูปร่างของผลค่อนข้างกลม ผิวสีน้ำตาล เปลือกหนา เนื้อบางสีขาวใส ปริมาณน้ำตาล
19 เปอร์เซ็นต์ เมล็ดโต เปลือกลำต้นขรุขระมาก ต้นตั้งตรงสูงประมาณ 20
- 30 เมตร ใบขนาดเล็กกว่าลำไยกะโหลก มักพบตามป่าของจังหวัดเชียงใหม่
เชียงราย มีอายุยืนมาก ปัจจุบันไม่นิยมปลูกเนื่องจากผลมีขนาดเล็ก |
2. |
ลำไยกะโหลก |
|
เป็นพันธุ์นิยมปลูกกันมากเพราะผลใหญ่
เนื้อหนาและมีรสหวาน ปริมาณน้ำตาล 16 - 24 เปอร์เซ็นต์ มีอยู่ด้วยกันหลายพันธุ์
แต่ละพันธุ์มีคุณลักษณะพิเศษแตกต่างกัน พันธุ์กะโหลกที่ปลูกในประเทศไทยได้แก่ |
|
พันธุ์ดอหรืออีดอ |
|
เป็นลำไยพันธุ์เบา
คือ ออกดอกและเก็บผลก่อนพันธุ์อื่น ชาวสวนนิยมปลูกมากที่สุดเพราะเก็บเกี่ยวได้ก่อน
ทำให้ได้ราคาดี ตลาดต่างประเทศนิยมสามารถจำหน่ายทั้งผลสดและแปรรูปทำลำไยกระป๋องและลำไยอบแห้ง
เป็นพันธุ์ที่เจริญเติบโตดี โดยเฉพาะในดินอุดมสมบูรณ์และมีน้ำพอเพียง
ทนแล้งและทนน้ำได้ดีปานกลาง พันธุ์ดอ แบ่งตามสีของยอดอ่อน ได้ 2 ชนิด
คือ |
|
1.
อีดอยอดแดง เจริญเติบโตเร็วมากเมื่อเปรียบเทียบกับอีดอยอดเขียว |
|
ลำต้นแข็งแรงไม่ฉีกหักได้ง่าย
เปลือกลำต้นสีส้ำตาลปนแดง ใบอ่อนมีสีแดง ปัจจุบันอีดอยอดแดงไม่นิยมปลูก
เนื่องจากออกดอกติดผลไม่ดี และเมื่อผลเริ่มสุกถ้าเก็บไม่ทันผลจะร่วงเสียหายมาก |
|
2.
อีดอยอดเขียว มีลักษระต้นคล้ายอีดอยอดแดง ใบอ่อนเป็นสีเขียว |
|
ออกดอกติดผลง่ายแต่อาจไม่สม่ำเสมอ
นอกจากนี้ลำไยพันธุ์อีดอยังแบ่งตามลักษณะของก้านช่อผลได้ 2 ชนิด คือ
อีดอก้านอ่อน เปลือกของผลจะบาง และ อีดอก้านแข็ง เปลือกของผลจะหนาผลขนาดค่อนข้างใหญ่
ขนาดผลเฉลี่ย กว้าง 2.7 เซนติเมตร หนา 2.4 เซนติเมตร ยาว 2.5 เซนติเมตร
ทรงผลกลมแป้น เบี้ยวยกบ่าข้างเดียว ผิวสีน้ำตาล มีกระหรือตาห่าง สีน้ำตาลเข็ม
เนื้อค่อนข้างเหนียว สีขาวขุ่น บริมาณน้ำตาล 20 เปอร์เซ็นต์ เมล็ดขนาดใหญ่ปานกลาง
รูปร่างแบนเล็กน้อย |
|
พันธุ์ชมพูหรือสีชมพู |
|
เป็นลำไยพันธุ์กลาง
จัดว่าเป็นพันธุ์ที่มีรสชาดดี นิยมรับประทานในประเทศ พุ่มต้นสูงโปร่ง
กิ่งเปราะง่าย การเจริญเติบโตดี ไม่ทนแล้ง เกิดดอกติดผลง่ายปานกลาง การติดผลไม่สม่ำเสมอ
ช่อผลยาวผลขนาดใหญ่ปานกลาง ขนาดผลเฉลี่ย กว้าง 2.9 เซนติเมตร หนา 2.6
เซนติเมตรและยาว 2.7 เซนติเมตร ทรงผลค่อนข้างกลม เบี้ยวเล็กน้อย ผิวสีน้ำตาลอมแดง
ผิวเรียบ มีกระสีคล้ำตลอดผล เปลือกหนา แข็งและเปราะ เนื้อหนาปานกลาง
นิ่มและกรอบ สีชมพูเรื่อๆ ยิ่งผลแก่จัดสีของเนื้อยิ่งเข้ม เนื้อล่อน
รสหวาน กลิ่นหอม ปริมาณน้ำตาลประมาณ 21 -22 เปอร์เซ็นต์ เมล็ดค่อนข้างเล็ก |
|
พันธุ์แห้วหรืออีแห้ว |
|
เป็นลำไยพันธุ์หนัก
ลำต้นไม่ค่อยแข็งแรง เปลือกลำต้นสีน้ำตาลปนแดงเขียว กิ่งเปราะง่าย
เป็นพันธุ์ที่เจริญเติบโตดีมาก ทนแล้งได้ดี พันธุ์แห้วแบ่งได้เป็น
2 ชนิด คือ แห้วยอดแดง และ แห้วยอดเขียว ลักษณะแตกต่างกันที่สีของใบอ่อนหรือยอด
แห้วยอดแดงมีใบอ่อนหรือยอดเป็นสีแดง แห้วยอดเขียวมีใบอ่อนหรือยอดเป็นสีเขียว
เกิดดอกและติดผลค่อนข้างยาก อาจให้ผลเว้นปี ช่อดอกสั้น ขนาดผลในช่อมักไม่สม่ำเสมอกันผลขนาดใหญ่หรือปานกลาง
ขนาดผลเฉลี่ยกว้าง 2.8 เซนติเมตร หนา 2.6 เซนติเมตร ยาว2.6 เซนติเมตร
ทรงผลกลมและเบี้ยว ฐานผลบุ๋ม ผิวสีน้ำตาล มีกระสีคล้ำตลอดผล เมื่อจับรู้สึกสากมือ
เปลือกหนามาก เนื้อหนา แน่น แห้งและกรอบ สีขาวขุ่น รสหวานแหลมกลิ่นหอม
มีน้ำปานกลาง เมล็ดขนาดค่อนข้างเล็กแห้วยอดแดงจะออกดอกง่ายกว่า แห้วยอด
เขียวและมีเนื้อสีค่อนข้างขุ่นน้อยกว่า จึงนิยมปลูกกันมากกว่าแห้วยอดเขียว
|
|
พันธุ์เบี้ยวเขียวหรืออีเบี้ยวเขียว |
|
เป็นลำไยพันธุ์หนักที่เก็บผลผลิตได้ช้ากว่าพันธุ์อื่นๆ
เจริญเติบโตดี ทนแล้งได้ดี แต่มักอ่อนแอต่อโรคพุ่มไม้กวาด ออกดอกยาก
มักเว้นปี ช่อผลหลวม สีของผลเมื่อมีขนาดเล็กมีสีเขียว พันธุ์เบี้ยวเขียว
แบ่งได้ 2 ชนิด คือ เบี้ยวเขียวก้านแข็ง (เบี้ยวเขียวป่าเส้า) และ
เบี้ยวเขียวก้านอ่อน (เบี้ยวเขียวเชียงใหม่) เบี้ยวเขียวก้านแข็งให้ผลไม่ดก
ขนาดผลใหญ่มากแต่ติดผลน้อยอ่อนแอต่อโรคพุ่มไม้กวาด ไม่ค่อยนิยมปลูก ส่วนเบี้ยวเขียวก้านอ่อนให้ผลดกเป็นพวงใหญ่ผลมีขนาดใหญ่
ขนาดผลเฉลี่ย กว้าง 3.0 เซนติเมตร หนา 2.6 เซนติเมตรและยาว 2.8 เซนติเมตร
ทรงผลกลมแบนและเบี้ยวมากเห็นได้ชัด ผิวสีเขียวอมน้ำตาล ผิวเรียบ เปลือกหนาและเหนียว
เนื้อหนา กรอบ ล่อนง่าย สีขาว มีน้ำน้อย รสหวานแหลม กลิ่นหอม ปริมาณน้ำตาลประมาณ
22 เปอร์เซ็นต์ เมล็ดค่อนข้างเล็ก |
|
พันธุ์ใบดำหรืออีดำหรือกะโหลกใบดำ |
|
เป็นลำไยพันธุ์กลาง
ลักษณะเด่นของลำไยพันธุ์นี้ คือ ออกดอกติตผลสม่ำเสมอ เจริญเติบโตดีมาก
ทนแล้งและน้ำได้ดี แต่มีข้อเสียคือ ขณะที่ผลโตเต็มที่ ผลจะเล็กกว่าพันธุ์อื่นๆ
ทั้งนี้เพราะความดกมาก เมื่อผลแก่จัด มักมีเชื้อราติดที่เปลือก ปัจจุบันความนิยมพันธุ์นี้ลดลง
อาจเนื่องจากคุณภาพไม่ค่อยดี จึงจำหน่ายได้ในราคาต่ำ แต่อย่างไรก็ตาม
พันธุ์นี้เป็นพันธุ์ที่น่าสนใจสำหรับปรับปรุงพันธุ์ เนื่องจากออกดอกติดผลดีผลขนาดใหญ่ปานกลาง
ขนาดผลเฉลี่ยกว้าง 2.8 เซนติเมตร หนา 2.3 เซนติเมตร และยาว 2.3 เซนติเมตร
ทรงผลค่อนข้างกลม แบนและเบี้ยวเล็กน้อย ผิวสีน้ำตาลคล้ำ ขรุขระ เปลือกหนาและเหนียว
ทนทานต่อการขนส่ง เนื้อหนาปานกลาง สีขาวครีม รสหวาน ปริมาณน้ำตาลประมาณ
20 เปอร์เซ็นต์ เมล็ดขนาดเล็ก รูปร่างค่อนข้างยาวและแบน |
|
พันธุ์อีดอแดงหรืออีดอกลม |
|
เป็นลำไยพันธุ์กลาง
ลักษณะเฉพาะของพันธุ์นี้คือ ผลกลม เนื้อมีกลิ่นคาวคล้ายกำมะถัน ทำให้คุณภาพของผลไม่ค่อยดี
การเจริญเติบโตดีปานกลาง ไม่ทนแล้งและไม่ทนน้ำขัง จึงล้มง่าย มักยืนต้นตายเมื่อเกิดสภาพน้ำขัง
หรือปีที่ติดผลดก ลักษณะประจำพันธุ์อีกอย่างหนึ่งของพันธุ์นี้คือ เมื่ออยู่ในระยะออกดอก
ใบที่อยู่บริเวณใกล้กับช่อดอกมักจะเหลืองและร่วงหล่น เกิดดอกและติดผลง่าย
ติดผลค่อนข้างคงที่ผลขนาดใหญ่ปานกลางขนาดผลเฉลี่ยกว้าง 2.6 เซนติเมตร
หนา 2.5 เซนติเมตร และยาว 2.5 เซนติเมตร ขนาดผลค่อนข้างสม่ำเสมอ ทรงผลกลม
ผิวสีน้ำตาลอมแดง ผิวเรียบเปลือกบาง เนื้อหนาปานกลาง สีขาวครีมเนื้อเหนียว
มีน้ำมากจึงมักแฉะ ปริมาณน้ำตาล 17 เปอร์เซนต์ เมล็กรูปร่างป้อม จุกใหญ่มาก |
|
พันธุ์พวงทอง |
|
เป็นพันธุ์ที่มีช่อดอกขนาดใหญ่
กว้าง 18.6 เซนติเมตร ยาว 29.3 เซนติเมตร ขนาดผลเฉลี่ยกว้าง 2.5 เซนติเมตร
หนา 2.3 เซนติเมตร ยาว 2.4 เซนติเมตร ผลทรงค่อนข้างกลมและเบี้ยวเล็กน้อย
ผิวสีน้ำตาล มีกระสีน้ำตาล เนื้อหนา กรอบ สีขาวครีม รสหวาน ปริมาณน้ำตาลประมาณ
22 เปอร์เซ็นต์ เมล็ดขนาดปานกลางและแบน
|
|
พันธุ์เพชรสาครทะวาย |
|
จัดว่าเป็นลำไยพันธุ์ทะวาย
คือ สามารถออกดอกมากกว่าหนึ่งครั้งต่อปี ลักษณะของลำไยพันธุ์นี้มีใบขนาดเล็ก
เรียวแหลม ออกดอกและให้ผลผลิตปีละ 2 รุ่น คือ รุ่นแรกออกดอกปรายเดือนธันวาคม
- มกราคม และเก็บเกี่ยวผลได้ในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน รุ่นที่สอง ออกดอกเดือน
กรกฏาคม-สิงหาคม เก็บเกี่ยวได้ในเดือน ธันวาคม - มกราคมผลกลม เปลือกบาง
ขนาดผลกว้าง 2.7 เซนติเมตร ยาว 2.5 เซนติเมตร หนา 2.6 เซนติเมตร เนื้อมีสีขาวฉ่ำน้ำ
ปริมาณน้ำตาล 18 - 20 เปอร์เซ็นต์ เมล็ดกว้าง 1.3 ยาว 1.5 เซนติเมตร
หนา 1.1 เซนติเมตร
|
|
พันธุ์ปู่มาตีนโค้ง
|
|
มีผลสวยมาก ขนาดใหญ่ สีเขียวเป็นผลดก แต่คุณภาพและรสชาดไม่ดี มีกลิ่นคาว นอกจากนี้ยังเป็นพันธุ์อ่อนแอต่อโรคพุ่มไม้กวาด
ปัจจุบันพันธุ์นี้ลดลงเป็นอย่างมาก คงมีแต่สวนเก่าๆ ซึ่งมีเพียงบางต้นเท่านั้น
|
|
พันธุ์ตลับนาค
|
|
ผลขนาดใหญ่ ค่อนข้างกลม ผิวเปลือกเรียบ เนื้อหนาสีขาวใส เมล็ดเล็ก รสไม่ค่อยหวานจัด |
|
พ้นธุ์ใบหยก
|
|
ใบหยก เป็นชื่อพันธุ์ลำไยที่ยังไม่เป็นที่รู้จักของเกษตรกร ผู้ปลูกลำไยในจังหวัดเชียงใหม่
เป็นพันธุ์ที่ตั้งชื่อโดย อาจารย์ประพัฒน์ สิทธิสังข์ จากการสอบถาม คุณพัฒวรรณ
ซึ่งเป็นลูกสาวได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ พันธุ์ลำไย ใบหยก ว่าเป็นพันธุ์ดั่งเดิมที่ปลูกในจังหวัดเชียงใหม่
คือ พันธุ์ ใบทด ซึ่งได้นำมาปลูกไว้ในสวนประมาณ 20 ต้น เท่าที่สอบถามปรากฎว่าลำไยพันธุ์นี้ได้มีเกษตรกรนำไปปลูกไว้ที่อำเภอฮอด
และที่ไร่อรุณศรี |
|
สักษณะเด่น ของลำไยพันธุ์ ใบหยก เป็นพันธุ์หนักสามารถให้ผลผลิตไปจนเดือน
กันยายน และถ้าห่อผลจะทำให้ผลมีสีน้ำตาลอ่อนลูกใหญ่ เนื้อหนา สีเหลืองขุ่น
และแห้ง กรอบ คุณลักษณะพิเศษอีกอย่างหนึ่ง คือ จุกที่เมล็ดมีขนาดเล็ก
ถ้าปล่อยให้แก่จัด จุกบนเมล็ดจะไม่ขยายใหญ่ (ไม่ขึ้นหัว )และยังให้ผลผลิตทุกปี
บางปีมาก บางปีน้อย |
|
นอกจากพันธุ์ดังกล่าวข้างต้น ยังมีลำไยอีกหลายๆ พันธุ์ที่มีการสำรวจพบ แต่ยังไม่ได้ปลูกแพร่หลายได้แก่
อีสร้อย ดอหลวง ดอแก้วยี่ เป็นต้น |
|
สำหรับพันธุ์ลำไยที่มีการส่งเสริมให้มีการปลูกกันมากในปัจจุบันมีอยู่ 4 พันธุ์คือ
พันธุ์อีดอ แห้ว สีชมพูและพันธุ์เบี้ยวเขียว |
ตารางที่ 2 ช่วงเวลาการออกดอก การเก็บเกี่ยว และคุณลักษณะพิเศษของลำไยกะโหลกบางพันธุ์
( พาวิน , ไม่ระบุปีที่พิมพ์ ) |
พันธุ์
|
ช่วงเวลาการออกดอก
|
ช่วงเวลาการเก็บเกี่ยว
|
คุณลักษณะพิเศษ
|
อีดอ |
ปลาย
ธ.ค. - ม.ค.
|
ปลาย
มิ.ย. - ส.ค.
|
เก็บผลก่อนพันธุ์อื่น |
สีชมพู |
ปลาย
ธ.ค. - ม.ค.
|
ปลาย
ก.ค. - ส.ค.
|
เนื้อมีสีชมพูเมื่อผลแก่
รสชาดดี |
แห้ว |
ปลาย
ม.ค. - ต้น ก.พ.
|
กลาง
ส.ค. - ต้น ก.ย.
|
เนื้อแน่น
กรอบ รสชาดดี |
เบี้ยวเขียว |
ปลาย
ม.ค. - ต้น ก.พ.
|
กลาง
ส.ค. - ต้น ก.ย.
|
เก็บเกี่ยวหลังพันธุ์อื่น
รสชาดดีเยี่ยม |
ใบดำ |
ปลาย
ธ.ค. - กลาง ม.ค.
|
กลาง
ก.ค. - ต้น ส.ค.
|
ออกดอกติดผลสม่ำเสมอ
เมื่อผลแก่สามารถเก็บไว้บนต้นได้นานกว่าพันธุ์อื่น
|
อีแดงกลม
|
กลาง
ม.ค. -ปลาย ม.ค.
|
ต้น
ส.ค. - ปลาย ส.ค.
|
ผลกลมกว่าพันธุ์อื่น
เนื้อมีกลิ่นคาว คล้ายกำมะถัน |
เพชรสาคร
|
ธ.ค.
- ม.ค. ( ในฤดู )
|
พ.ค.
- มิ.ย.
|
เป็นพันธุ์ทวายออกดอกมากกว่าหนึ่งครั้งต่อปี
|
|
ก.ค.
- ส.ค. (นอกฤดู )
|
ธ.ค.
- ม.ค.
|
|
น้ำหนักผล
เปลือก เนื้อ เมล็ด และปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำ (คุณศักดิ์ ,2538)
|
พันธุ์
|
น้ำหนักผล
(กรัม)
|
น้ำหนักเปลือก
(กรัม)
|
น้ำหนักเนื้อ
(กรัม)
|
น้ำหนักเมล็ด
(กรัม)
|
ปริมาณของแข็ง
ที่ละลายน้ำ
(obrix)
|
พื้นเมือง |
5.02
|
0.78
|
3.18
|
1.06
|
17
- 19
|
อีดอ |
14.47
|
2.47
|
10.02
|
1.98
|
20
- 21
|
สีชมพู |
12.90
|
1.74
|
9.41
|
1.75
|
21
- 22
|
ใบดำ |
9.91
|
2.02
|
6.35
|
1.54
|
18
- 20
|
พวงทอง |
15.17
|
2.37
|
11.50
|
1.30
|
21
- 22
|
ปู่มาตีนโค้ง |
15.89
|
3.06
|
10.43
|
2.40
|
20
- 21
|
แดงกลม |
13.96
|
2.67
|
9.32
|
1.97
|
18
- 20
|
แห้ว |
13.90
|
2.40
|
9.59
|
1.91
|
1-
- 20
|
เบี้ยวเขียว |
15.28
|
2.97
|
11.14
|
1.17
|
20
- 22
|
พันธุ์ลำไยที่ปลูกในต่างประเทศ
ประเทศจีน
ก. พวกที่ปลูกในมณฑลกวางตุ้ง ได้แก่ พันธุ์ Hei Ho Shik Kip, Hua Kioh,
Ko Un, She Pi Lung Ngan, Tsui Yu Lung Yen, Shik Kip Lung Yen, Wu Yuen, Liu
Yueh Pao, Shep Yip Lung Yen, Ting Yuen Lung Yen, Tso Wo, Yau Ngan, Chuliang
และ Shixia จากรายงานของ LiRong et al. ( 1998 ) พันธุ์ที่ปลูกเป็นการค้าในมณฑลกวางตุ้ง
อาจแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ ลำไยพันธุ์เบาได้แก่พันธุ์ Chik, Dongbi, Zaohe และ
Chuliang พันธุ์กลางได้แก่ Fuyan, Wulyan,Honghezi, Youtanben และ Shixia พันธุ์หนักได้แก่
Bianxiazhen และ Jiouyuewu สำหรับพันธุ์ที่เหมาะจะปลูกในเขตอบอุ่นคือพันธุ์
Chuliang พันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับปลูกในเขตหนาวเย็นคือ Fuyan และ Shixia
ข. พวกที่ปลูกในมณฑลฟูเกียน ได้แก่ Shui Nam, Ha Lu, Hsi Po, Tung On,
Chai Kwai, Tzu Shih, Yu Biao, Li Yu, Shang Chiu, Wu Kok, Kwai Yuen, Fu Yuen,
Shih Ma Yuen และ Tai Pao
ไต้หวัน
พันธุ์ที่ปลูกได้แก่พันธุ์ Fuk Yen, Tang Suan Jou, Nu Tzu Yen, Tai Fun
Ke, Tun Shan Fun Ke, Tai Ching Ke, Si Kung Mou, Yeung Tau Yeh, Yick Liao
An Liao, Dun Rou, Hu Te, Ko Ping, Lung Muk และ Ching Shan
ประเทศสหรัฐอเมริกา
ก.
ปลูกในรัฐฮาวาย ได้แก่พันธุ์ Kohala, Liao, Wai และ Sweeney
ข. ปลูกในรัฐฟลอริดา ได้แก่พันธุ์ Kohala, Chompoo, Homestead No. 1 และ
Homestead No.2
, Pon Yai และ Blackball
ประเทศออสเตรเลีย
ปลูกในรัฐควีนสแลนด์
ได้แก่พันธุ์ Beow Keow, Birch, Chien Liou, Chompoo l, Chompoo ll , Homestead,
Dang, Daw, Duan Yu, Fahok Chai, Fuhko 2 , Haew, Liao, Kay Sweeney, Kohala,
Pon Yai, Saig Geeb, Shek Yip, และ Wai โดยนำพันธุ์ดังกล่าวไปทดสอบและเปรียบเทียบคุณลักษณะต่างๆ
ของผลลำไยดังที่แสดงในตารางที่ 6 ซึ่งจากตารางจะเห็นว่าลำไยพันธุ์ของประเทศไทยนั้นมีคุณภาพดีถึงดีเยี่ยมโดยเฉพาะอย่างยิ่งพันธุ์เบี้ยวเขียว
( Beow Keow )
ประเทศเวียดนาม
ได้แก่พันธุ์
หยานหลอง หยานดองเฟ็น หลองแหยน เตียงซาบอ และซวงซวง
|