ต้ปุ้.    

  หน้าหลัก  
  สินค้า & บริการ  
  บริการหลังการขาย  
  เกี่ยวกับพวกเรา  



  เรื่องดีๆ มีไว้แบ่งปัน  
  ขำขัน & แปลก  
  จิตวิญญาณ  
 
  ห้องเรียน  
  เรียนภาษาอังกฤษ  
  Gravity Probe B  
  รอบเดือนครั้งสุดท้าย  
  สามเหลี่ยมของคุณอาพิทากอรัส  
การป้องกัน และ ระงับเหตุอัคคีภัย
 
  เตรียมตัวสอบ CISA  
  How to lose your customer in 10 days ?  
  Success of the Leader  
  Proxy Server คือ ....  
  Management Needs  
  BCP   &   DRP  
  IT Objective  
  Objective  
  Basel II  
  Control  
  Leader  
  Risk  
  NPV  
 
  Computer NetWorking  
  Linux  



  บทเพลง  
  Link  
  ปิงปอง  


   
  ไทย  
   
 
การป้องกัน และ ระงับเหตุอัคคีภัย


        วันศุกร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ 2547 เราเข้าร่วมการฝึกอบรม.... "การป้องกัน และ ระงับเหตุอัคคีภัย" โดยวิทยากรจากกองบังคับการ ตำรวจดับเพลิง.... มีทั้งภาคทฤษฎี และ ภาคปฏิบัติ.... สนุกดี.... มีประโยชน์กับชีวิต....




4 นาทีเท่านั้น....

        พวกเรานั่งดู VDO การทดลองจุดเทียนไขทิ้งไว้บนเก้าอี้รับแขก แล้วปล่อยทิ้งไว้จนห้องทั้งห้องลุกไหม้.... สังเกตุ อัตราการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิภายในห้อง.... ( ติด เทอร์โมมิเตอร์ ไว้ที่ข้างฝา เพื่อวัดอุณหภูมิของอากาศภายในห้อง.... ) พบว่า....

  เวลา
  ( นาที : วินาที )  
  อุณหภูมิอากาศภายในห้อง  
00 : 0017 Cº
........
03 : 0030 Cº
03 : 1040 Cº
03 : 2050 Cº
03 : 3060 Cº
03 : 40100 Cº
........
04 : 00400 Cº


สรุปก็คือ เรามีเวลาเพียงไม่เกิน 4 นาทีที่จะดับไฟ.... ( อันที่จริง 3 นาที กะอีกไม่กี่วินาทีเองน่ะ ) ที่จะดับไฟ....

แฮะ แฮะ แฮะ อุณหภูมิเดือนเมษายน แค่ 40 Cº ก็ร้อนจะตายอยู่แล้ว.... ลองจินตนาการดูสิว่าเดินเข้าไปในห้องที่มีอุณหภูมิของอากาศในห้อง 100 Cº อุณหภูมิเดียวกะน้ำเดือด ดูดิ....

ถ้า ไม่ดับไฟให้ได้ภายใน 4 นาที.... มันจะกลายเป็นไฟกองใหญ่ ที่ไหม้รุนแรงและร้อนเกิดกว่าที่เราคนเดินดินกินข้าวแกงจะจัดการดับเอง.... ต้องให้เจ้าหน้าที่ดับเพลิงพร้อมอุปกรณ์เครื่องมือดับเพลิง มาจัดการ....

ไฟที่ลุกไหม้ ไม่เกิน 4 นาที.... นักดับเพลิง เขาเรียกว่า เพลิงขั้นต้น



องค์ประกอบของไฟ

        ไฟจะลุกไหม้ได้จะต้องประกอบด้วย 3 องค์ประกอบนี้ ....

  1)   เชื้อเพลิง   ( Fuel )
  2)   ความร้อน   ( Heat )
  2)   อากาศ   ( Oxygen )



การดับไฟ

        การดับไฟ คือการทำให้ องค์ประกอบที่ทำให้เกิดไฟแยกออกจากกัน.... หรือ การตัดองค์ประกอบอย่างใด อย่างหนึ่ง ที่ทำให้เกิดไฟ ออกไป....

  1)   ตัดเชื้อเพลิง   เช่น การที่พนักงานดับเพลิงฉีดน้ำหล่อเลี้ยงบ้านที่อยู่รอบๆ ใกล้ๆ บ้านที่กำลังถูกไฟไหม้.... ป้องกันไม่ให้ไฟขยายใหญ่โตลุกลาม....
 
  2)   ดับความร้อน   เช่น การใช้น้ำดับไฟ
 
  3)   ตัดอากาศ   เช่น กรณีที่เรากำลังทำอาหาร และ น้ำมันในกะทะเกิดไฟลุกไหม้.... ให้เราใช้ ฝาหม้อใหญ่ๆมาครอบปิดไว้ซักครู่



ชนิดของไฟ....
        แบ่งตาม ชนิดของเชื้อเพลิง ที่ทำให้เกิดไฟ ได้ดังนี้....

  1)   เชื้อเพลิงธรรมดา   เช่น กระดาษ , ไม้ , ฟางข้าว , ..... ( ที่สามารถใช้น้ำดับได้ )

 ใช้สัญลักษณ์
    ใช้สัญลักษณ์ ตัวอักษร A ใหญ่ ในสามเหลี่ยม พื้นสีเขียว      หรือ  
 
 
  2)   น้ำมันเชื้อเพลิง, ก๊าซหุงต้ม   ไม่สามารถใช้น้ำดับไฟ.... ต้องใช้วิธีทำให้ อับอากาศ หรือ ตัดการหนุนเนื่องของเชื้อเพลิง....

 ใช้สัญลักษณ์
    ใช้สัญลักษณ์ ตัวอักษร B ใหญ่ ในสี่เหลี่ยม พื้นสีแดง      หรือ  
 
 
  3)   ไฟฟ้า   เกิดจากอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ยังคงมีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่.... ดับด้วย สารเคมีที่ไม่เป็นสื่อไฟฟ้า

 ใช้สัญลักษณ์
    ใช้สัญลักษณ์ ตัวอักษร C ใหญ่ ในวงกลม พื้นสีน้ำเงิน      หรือ  
 
 
  4)   โลหะที่ติดไฟได้   ดับด้วย การใช้ทรายกลบ

 ใช้สัญลักษณ์
    ใช้สัญลักษณ์ ตัวอักษร D ใหญ่ ในดาว 5 แฉก พื้นสีเหลือง



ถังดับเพลิง   ( Fire Extinguisher )

       
    Fire Extinguisher

    Fire Extinguisher    347x463     Fire Extinguisher


        ถังดับเพลิง ก็คือ ถังบรรจุน้ำยาดับเพลิง แล้วอัดความดันสูงเข้าไป.... เมื่อเราปลดสลักล็อค แล้วกดคานเพื่อเปิดวาวล์.... ความดันในถัง จะดันน้ำยาดับเพลิงให้พุ่งออกมา....

ถังดับเพลิง แต่ละชนิด แตกต่างกันที่ น้ำยาดับเพลิงที่บรรจุอยู่ภายใน....

ถังดับเพลิง แต่ละถังจะมี สัญลักษณ์ชนิดของไฟ พิมพ์อยู่บนถัง เพื่อบ่งบอกว่า ถังดับเพลิง ถังนี้ใช้ดับไฟประเภทไหน....

ถังดับเพลิงบางถัง จะสามารถใช้ดับเพลิงได้มากกว่าหนึ่งชนิดน่ะ เช่น ถ้าสามารถดับเพลิงประเภท A และ B ได้ ก็จะพิมพ์ สัญลักษณ์ของ ไฟประเภท A และ สัญลักษณ์ของ ไฟประเภท B ลงบนถัง....

ถังดับเพลิงถังหนึ่งๆ จะสามารถฉีดน้ำยาดับเพลิงออกมาอย่างต่อเนื่องได้นานประมาณ 20 - 30 วินาที เท่านั้นเองน่ะ....



การใช้งาน ถังดับเพลิง
        วิธีใช้ง่ายมาก เพียงแค่ ดึง , ปลด , กด , ส่าย

  1)   ดึง   คือ ดึงสลักล็อคออก
( ขั้นที่ 1 : Pull Pin ใน Flash ข้างล่าง )
 
  2)   ปลด   สายฉีด ชี้ไปที่ ฐานของกองไฟ.... อย่าไปฉีดที่เปลวไฟ.... เพราะไฟจะไม่ดับ.... เปลืองน้ำยา....
 
  3)   กด   คาน เพื่อให้น้ำยาดับเพลิงพุ่งออกมาจากหัวฉีด....
( ขั้นที่ 2 : Press Level ใน Flash ข้างล่าง )
 
  4)   ส่าย   หัวสายฉีด.... ให้น้ำยาดับเพลิงพ่นออกไปได้ทั่วๆ.... ไม่ใช่ส่ายหัวคนฉีดน่ะ.... แฮะ แฮะ แฮะ....