Face of bangkok
เมื่อเราพูดถึง ภาพซีเปียส่วนใหญ่เราหลายคน ก็จะคิดไปถึง ภาพคน (portrait) ที่มักจะให้ความรู้สึกอบอุ่น ดูเก่าๆ เมื่อเรามีภาพ ขาว - ดำแล้วอยากจะย้อมให้เป็นสีซีเปีย ตามสูตรต้นฉบับโบราณ ที่ไม่ต้องอาศัยวิธีการทางคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ดูสูตรและ วิธีทำง่ายๆ ข้างล่างเลยครับ

สูตรน้ำยา
การย้อมสีเปียนี้จะมีน้ำยา 2 ส่วน
- ส่วน A คือน้ำยาสำหรับฟอกภาพ (ให้สีเดิมหลุดออกไป)
- ส่วน B คือส่วนที่จะทำให้สี Sepia เกิดขึ้นกับภาพ

ส่วน A น้ำยาฟอกภาพ  
น้ำเปล่า
180 มล.
โปแตสเซียมเฟอร์ไรไซยาไนด์ (Potassium Ferricyanide)
3.5 กรัม
โปแตสเซียมโบร์ไมด์ (Potassium Bromide)
3.5 กรัม
ส่วน B ส่วนที่ทำให้เกิดสี Sepia  
น้ำเปล่า
180 มล.
โซเดียมซัลไฟด์ (Sodium Sulfide)
1.8 กรัม

สารเคมีทั้งหมดหาซื้อได้ที่ ศึกษาภัณฑ์ทั่วประเทศ และแถวๆพลับพลาไชย

การย้อมสีซีเปียนี้ ไม่ค่อยอันตรายกับผิวหนัง เพราะสารเคมีทั้งหมด อยู่ในรูปของเกร็ด นอกเสียจากว่าคุณจะดื่มไซยาไนด์ ที่ละลายน้ำแล้ว เพราะเห็นว่าสีสวยน่ากิน !!!

Underground

- ที่ศึกษาภัณฑ์  

โปแตสเซียมเฟอร์ไรไซยาไนด์

ประมาณ 40 บาท
โปแตสเซียมโบร์ไมด์ 100 กรัม
ประมาณ 30 บาท
โซเดียมซัลไฟด์ (ขวดใหญ่)
18 บาท

- ที่พลับพลาไชย  

โปแตสเซียมเฟอร์ไรไซยาไนด์

80 บาท
โปแตสเซียมโบร์ไมด์ 100 กรัม
ไม่ทราบราคา เพราะที่นี่จะแนะนำ สารตัวอื่น ที่ใช้แทนกันได้
โซเดียมซัลไฟด์ (ขวดใหญ่)
80 บาท

แม่โขง
caution!!!
สารเคมี โซเดียมซัลไฟด์ Sodium sulfide ต้องสะกดด้วย ตัว d ในคำว่า sulfide หากสะกดด้วยตัว t จะเป็นผงๆ สีขาวๆ ไม่สามารถนำมาใช้ย้อมได้
สารที่ถูกต้องนี้ มีลักษณะคล้ายกับ เปลือกไข่ สีก็เหมือนเปลือกไข่ แต่หนากว่า ส่วนกลิ่นไม่ต้องพูดถึง เหม็นยังกับไข่เน่า ถ้าไปซื้อที่พลับพลาไชย ให้บอกว่า ซื้อซัลไฟด์เหม็นขวดนึง เพราะดูเหมือนว่า มันจะเป็นชื่อทางการค้า?
ขณะผสมน้ำยา และย้อมภาพสีซีเปียนี้ ควรทำในที่ๆมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก (ก็บอกแล้วว่ามันเหม็นจริง)

วิธีทำ

  1. นำรูปที่จะนำมาย้อม แช่ในน้ำเปล่าเสียก่อน (เอาแค่พอเปียกๆ)
  2. นำรูปแช่ในน้ำยา A จนกระทั่งสีดำในภาพซีดจาง จนเกือบหมดใช้เวลา ประมาณ 2-3 นาที
  3. เมื่อฟอกภาพจนซีดจางหมดแล้ว ให้นำไปล้างน้ำให้สะอาด ประมาณ 1 นาที
  4. นำรูปไปแช่ในน้ำยา B จนโทนของภาพกลับเพิ่มขึ้นเหมือนเดิม แล้วก็จะได้ภาพสีซีเปียตามต้องการ
  5. อ้าว...อย่าลืมล้างน้ำก่อนตากอีก 30 นาที

*Black and white photographic laboratory manual