รัชกาลที่
๓
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
มีพระนามเดิมว่า
"ทับ"
ทรงเป็น
พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ใน
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
และ
พระเจ้าจอมมารดาเรียม
(ต่อมาทรงได้รับการเฉลิมพระอิสริยศักดิ์เป็น
กรมสมเด็จพระศรีสลาลัย)
เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันจันทร์ที่
๓๑ มีนาคม
พุทธศักราช
๒๓๓๐
เมื่อแรกประสูติทรงดำรงพระยศเป็น
"หม่อมเจ้า"
ด้วยในเวลานั้นพระราชบิดายังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น
เจ้าฟ้าต่างกรม
และพระราชมารดาเป็นเพียงสามัญชน
จนเมื่อสมเด็จพระราชบิดาได้รับการสถาปนาเป็นที่
กรมพระราชวงบวรสถานมงคล
หรือตำแหน่งพระมหาอุปราชแล้ว
พระราชโอรสและพระราชธิดาที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดา
จึงได้เลื่อนพระยศขึ้นเป็น
"พระองค์เจ้า"
ทุกพระองค์
ต่อมาในปีพุทธศักราช
๒๓๕๖
ภายหลังที่พระราชบิดาเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติแล้ว
จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้สถาปนา
พระองค์เจ้าทับ
ขึ้นเป็นเจ้าฟ้าต่างกรม
ทรงพระนามตามพระสุพรรณบัฏว่า
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ
กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์
กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์
ทรงพระปรีชาสามารถในศาสตร์หลายแขนง
อาทิ
ในด้านอักษรศาสตร์
พุทธศาสตร์
รัฐประศาสนศาสตร์
นิติศาสตร์
สถาปัตยกรรมศาสตร์
เศรษฐศาสตร์
และพาณิชยศาสตร์
จึงเป็นเหตุให้ทรงได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยจากพระบรมชนกนาถให้ไปบังคับบัญชาหน่วยราชการอื่นๆ
ต่างพระเนตรพระกรรณ
เช่น
ที่กรมท่า (กระทรวงการต่างประเทศในปัจจุบัน)
กรมพระคลังมหาสมบัติ
และกรมพระตำรวจว่าความฎีกา
ซึ่งเป็นหน่วยงานสำคัญในการรับเรื่องราวร้องทุกข์และชำระคดีความ
เป็นต้น
ในช่วงต้นของรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ประเทศต้องประสบกับภาวะเศรษฐกิจเนื่องมาจากเงินทองของแผ่นดิน
ที่สะสมมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยามีอันต้องสูญสิ้นไปในระหว่างที่เสียกรุงให้กับพม่าเมื่อปีพุทธศักราช
๒๓๑๐
และหลังจากนั้นมาจนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ก็เป็นช่วงแห่งการศึกสงครามป้องกันประเทศมาโดยตลอด
ทำให้ญานะทางการเงินของไทยอยู่ในฐานะที่ไม่ดีนัก
กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ในเวลานั้นได้ทรงแต่งสำเภาหลวงไปค้าขายที่ประเทศจีน
นำเงินตราเข้าประเทศเป็นจำนวนมากจนเศรษฐกิจของไทยฟื้นตัวและมีความเจริญมั่งคั่งในเวลาต่อมา
เป็นเหตุให้สมเด็จพระราชบิดาทรงล้อกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ว่าเป็ฯ
"เจ้าสัว"
เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคตโดยมิได้ทรงตรัสมอบราชสมบัติพระราชทานให้แก่ผู้ใด
ประกอบกับในรัชกาลของพระองค์ก็มิได้ทรงแต่งตั้งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
หรือตำแหน่งรัชทายาทไว้หลังจากที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคลพระองค์เดิมทิวงคตไปแล้ว
ดังนั้นพระราชวงศ์และบรรดาข้าราชการจึงได้ปรึกษากันตามโบราณราชประเพณี
เพื่อเลือกผู้สืบราชสมบัติ
เมื่อเห็นพ้องต้องกันแล้วจึงพากันเข้าเฝ้าฯทูลเชิญสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ
กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ
แม้ตามที่ควรแล้วราชสมบัติควรจะตกแก่เจ้าฟ้ามงกุฏพระราชโอรสที่ประสูติแต่สมเด็จพระบรมราชินีในรัชกาลที่
๒
แต่ด้วยเหตุที่เจ้าฟ้ามงกุฏยังทรงพระเยาว์และไม่เคยทรงงานใหญ่มาก่อน
ในขณะที่กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ทรงเจริญพระชนมายุมากกว่า
และได้ทรงปฏิบัติราชกิจต่างพระเนตรพระกรรณจนเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยมาโดยตลอดตั้งแต่ต้นรัชกาลที่
๒
ผนวกกับพระองค์ทรงเป็นผู้มีน้ำพระทัยเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่จนเป็นที่รักใคร่นับถือแก่บรรดาเจ้านาย
ข้าราชการ
พ่อค้าและประชาชนโดยทั่วไป
รวมทั้งในช่วงเวลานั้นบ้านเมืองยังไม่สงบเรียบร้อยดี
และยังคงมีข้าศึกมาประชิดติดพันอยู่เนืองๆ
เมื่อพิจารณาเห็นดังนี้แล้วจึงได้พร้อมกันถวายสิริราชสมบัติแด่กรมหมื่อนเจษฎาบดินทร์
โดยมีการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกขึ้นเมื่อวันที่
๒๑ กรกฎาคม
๒๓๖๗
ทรงพระนามตามพระสุพรรณบัฏว่า
พระบาทสมเด็จพระปรมาธิวรเสรฐ
มหาเจษฎาบดินทร์
สยามินทรวิโรดม
บรมธรรมิกมหาราชาธิราช
บรมนารถบพิตร
พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว