รัชกาลที่
๕
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระราชโอรส
พระองค์ที่ ๔
ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ซึ่งประสูติแต่พระนางเธอพระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์
(สมเด็จพระเทพศิรินทรา
พระบรมราชินี)
เสด็จพระราชสมภพเมื่อปีฉลู
แรม ๓ ค่ำ
เดือน ๑๐
ตรงกับ
วันอังคารที่
๒๐ กันยายน
พุทธศักราช
๒๓๙๖
ในพระบรมมหาราชวัง
มีพระนามเดิมว่า
สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์บดินทรเทพมหามงกุฏ
บุรุษยรัตนราชรวิวงศ์วรุตมพงศบริพัตรสิริวัฒนราชกุมาร
ครั้นในปีพุทธศักราช
๒๔๐๔
เมื่อพระชนมายุได้
๙ พรรษา
ทรงได้รับสถาปนาเป็น
กรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ
และต่อมาปีพุทธศักราช
๒๔๑๐
ทรงได้รับเลื่อนพระอิสริยยศเป็น
กรมขุนพินิจประชานารถ
ทรงได้รับตำแหน่งในการกำกับราชการกรมมหาดเล็ก
กรมพระคลังมหาสมบัติ
และว่าการกรมทหารบกวังหน้าตามลำดับ
เมื่อทรงพระเจริญพระชัญษาพอสมควรแก่การศึกษาแล้ว
สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ฯ
ได้ทรงเริ่มการศึกษาในสำนักพระเจ้าวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าบุตรี
โดยทรงศึกษาด้านวิชาการและโบราณราชประเพณีต่างๆ
นอกจากนี้ยังทรงเรียนภาษาอังกฤษกับแหม่มแอนนา
เลียวโนเว็นส์
(Anna Leonowens)
ครูสตรีชาวอังกฤษที่สมเด็จพระราชบิดาจ้างเข้ามาสอนในพระบรมมหาราชวัง
เป็นเวลานานถึง
๕ ปี
ทำให้ทรงมีความรู้ด้านภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี
ในปีพุทธศักราช
๒๕๐๙
สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ทรงผนวชเป็นสามเณรตามราชประเพณี
และเมื่อทรงลาสิกขาบทแล้วได้เสด็จฯ
ออกไปประทับอยู่ฝ่ายหน้า
และได้ทรงศึกษาภาษาอังกฤษต่อกับมิชชั่นนารีชาวอเมริกันชื่อ
นายชันเดอร์
(Chandler)
พร้อมกันนั้นก็ทรงได้รับการอบรมศึกษาสรรพวิชาทั้งปวงจากบรรดาข้าราชการชั้นผู้ใหญ
่และจากสมเด็จพระราชบิดาของพระองค์เอง
โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ติดตามใกล้ชิดในเวลาที่ทรงออกว่าราชการ
นอกจากนี้ในเวลาที่พระราชบิดาทรงมีพระราชวินิจฉัยในข้อราชการก็มักมีคำสั่งให้สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ฯ
เข้าเฝ้าเพื่อรับฟังพระบรมราโชวาทและพระบรมราชาธิบายในข้อราชการรวมไปถึงราชประเพณีต่างๆ
ด้วย
ทั้งนี้เพื่อเป็นการเตรียมพระองค์พระราชโอรสให้พร้อมที่จะปกครองบ้านเมืองต่อไปในภายหน้า
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตแล้ว
บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์
และเหล่าข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ได้กราบบังคมทูลเชิญสมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์
กรมขุนพินิจประชานารถเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบต่อจาก
สมเด็จพระราชบิดา
เมื่อวันที่
๑ ตุลาคม
พุทธศักราช
๒๔๑๑
ทรงพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์
บดินทรเทพยมหามงกุฏ
บุรุษรัตนราชรวิวงศ์
วรุฒมพงษืบรพัตร
วรขัติยราชนิกโรดม
จาตุรันต
บรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ
อุภโดสุชาตสังสุทธเคราะหณี
จักรีบรมนาถ
อดิศวรราชรามวรังกูร
สุภาธิการรังสฤษดิ์
ธัญลักษณวิจิตโสภาคยสรรพางค์มหาชโนตมางคประนตบาทบงกชยุคล
ประสิทธิสรรพศุภ
ผลอุดมบรมสุขุมมาลย์
ทิพยเทพาวตารไพศาลเกียรติคุณอดุลยวิเศษ
สรพรรพเทเวศรานุรักษ์
วิสิษฐศักดิ์สมญาพินิตประชานาถ
เปรมกระมล
ขัติยราชประยูรมูลมุขราชดิลก
มหาปริวาร
นายกอนันต์มหันตวรฤทธิเดช
สรรวิเศษสิรินทร
อเนกชนนิกรสโมสรสมมติ
ประสิทธิ์วรยศ
มโหดมบรมราชสมบัติ
นพปดลเศวตฉัตราดิฉัตร
สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเษกกาภิสิต
สรรพทศทิศวิชิตไชย
สกลมไหสวริยมหาสวามินทร์
มเหศวรมหินทรามหารามาธิราชวโรดม
บรมนาถชาติ
อาชาวศรัย
พุทธาธิไตยรัตนสรณารักษ์
อดุลยศักดิ์อรรคนเรศราธิบดี
เมตตากรุณาสีตลหฤทัยอโนปมัยบุญการสกลไพศาล
มหารัษฎาธิบดินทร์
ปรมินทรธรรมิกหาราชาธิราช
บรมนาถบพิตร
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
และเนื่องจากขณะที่เสด็จขึ้นครองราชย์นั้นทรงมีพระชนมายุได้เพียง
๑๕ พรรษา
ที่ประชุมจึงเห็นควรให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
( ช่วง บุนนาค)
เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ไปก่อนจนกว่าจะทรงบรรลุนิติภาวะแล้ว
โดยตลอดช่วงระยะเวลาที่มีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์นั้น
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงได้รับการฝึกฝนในการเป็นพระมหากษัตริย์ตามโบราณราชประเพณีพร้อมกันกับการศึกษาวิทยาการสมัยใหม่ควบคู่กันไป
เพื่อที่จะทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่สมบูรณ์พร้อมต่อไป
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
มีพระชนมายุครบ
๒๐
พรรษาและทรงบรรลุพระราชนิติภาวะแล้ว
ได้เสด็จออกผนวชเป็นพระภิกษุเป็นเวลา
๑๕ วัน
ซึ่งเมื่อทรงลาสิกขาบทแล้วจึงไดโปรดเกล้าฯ
ให้จัดการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกขึ้นเป็นครั้ง
๒
ในปีพุทธศักราช
๒๔๑๖
และนับตั้งแต่นั้นมาจึงทรงมีพระราชอำนาจสิทธิขาดในการปกครอง
และบริหารราชการแผ่นดินได้อย่างเต็มที่ด้วยพระองค์เองสืบต่อไป