รัชกาลที่ ๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชสมภพเมื่อวันพุธ เดือน ๑๑ แรม ๑๔ หรือตรงกับวันที่ ๘ พฤษจิกายน พุทธศักราช ๒๔๓๖ ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๗๖ ใน พระบาทสมเด็จะรัจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง ทรงมีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ แต่ในราชสำนักเรียกขานกันว่า ทูลกระหม่อมเอียดน้อย ต่อมาพระราชมารดาทรงขอให้เปลี่ยนเป็น ทูลกระหม่อมฟ้าน้อย ครั้นพระชนมายุ ๑๒ พรรษา ได้รับพระราชทานพระสุพรรณบัฏเฉลิมพระนาม เป็นเจ้าฟ้าต่างกรมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา
เพราะทรงเป็นพระราชโอรสองค์เล็กที่สุด สมเด็จพระบรมราชชนกและสมเด็จพระราชชนนี จึงทรงเลี้ยงทูลกระหม่อมฟ้าน้อยไว้ใกล้ชิดพระองค์ ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ และเมื่อทรงเจริญพระชันษาควรแก่การศึกษาเล่าเรียนแล้ว ได้ทรงเล่าเรียนภาษาไทยเบื้องต้น ในพระบรมมหาราชวังตามโบราณราชประเพณี จนเมื่อทรงโสกัณฑ์แล้วสมเด็จพระบรมราชชนกจึงได้ส่งพระองค์ไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษ โดยทรงศึกษาวิชาสามัญ ที่วิทยาลัยอีตัน ( Eton College ) แล้วเสด็จฯ ไปศึกษาวิชาทหารที่โรงเรียนนายร้อยรอแยลอแคเดมี ( The Royal Military Academy ) แผนกวิชาทหารปืนใหญ่ม้า ที่เมืองวูลิช ( Woolwich ) ทรงสามารถสอบไล่ได้เต็มตามหลักสูตรและได้รับสัญญาบัตรเป็นนายร้อยกิตติมศักดิ์ แห่งกองทัพบกอังกฤษ แล้วเสด็จฯ ไปประจำกรมทหารปืนใหญ่ม้ารักษาพระองค์( The Royal Horse Artillery ) ที่เมืองออลเดอร์ชอต ( Aldershot ) ต่อมาไม่านานเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๑ ขึ้นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ ได้ทรงแสดงความกล้าหาญที่จะขอเข้าร่วมรบกับเพื่อนนายทหารในกรมด้วย แต่พระเจ้ายอร์ชที่ ๕ แห่งอังกฤษไม่ทรงอนุญาตเนื่องประเทศไทยยังประกาศเป็นกลางอยู่ในเวลานั้น
หลังจากที่ประทับอยู่ในประเทศอังกฤษเป็นเลา ๙ ปี สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนสุโขทัยธรรมราชา เสด็จฯนิวัติคืนสู่กรุงเทพมหานคร เมื่อปลายปี พุทธศักราช ๒๔๕๗ แล้วทรงเข้ารับราชการในกองทัพบก ในตำแหน่งนายทหารคนสนิทพิเศษของจอมพลสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถเสนาธิการทหารบก จากนั้นทรงได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็นนายร้อยเอก ผู้บังคับกองร้อยทหารปืนใหณ่ รักษาพระองค์ ประจำกรมบัญชาการกองทัพน้อยที่ ๒ ในตำแหน่งนายทหารฝ่ายเสนาธิการ ก่อนที่จะทรงรับเลื่อนตำแหน่งเป็น นายพันโทราชองครักษณ์ ตำแหน่งผู้บังคับการโรงเรียนนายร้อยทหารบกชั้นประถม ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๔๖๐ ได้ทรงลาราชการเสด็จออกผนวชตามราชประเพณีที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วไปประทับจำพรรษาที่วัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อเล่าเรียนพระธรรมวินัยจนเป็นที่พอพระทัยสมเด็จพระอุปัชฌาย์เป็นที่ยิ่ง จนทรงได้คำแนะนำจากองค์อุปัชฌาย์ให้ดำรงอยู่ในสมณเพศตลอดไป เพื่อที่ต่อไปจะได้ทรงเป็นองค์ประมุขปกครองฝ่ายสงฆ์ต่อไป
แต่ด้วยเหตุผลส่วนพระองค์บางประการจึงได้ทูลปฏิเสธ และทรงลาผนวชจากสมเพศในเวลาต่อมา หลังจากนั้นได้เสด็จกลับเข้ารับราชการดังเดิม พร้อมกับทรงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตต่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวผู้เป็นพระเชษฐา เพื่ออภิเษกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี และได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณให้จัดการพระราชพิธีอภิเษกสมรส ขึ้นเมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๖๑
สมเด็จเจ้าฟ้า กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ไปรักษาพระองค์ในยุโรปเนื่องจากทรงมีสุขภาพที่ไม่แข็งแรงนัก และทรงพระประชวรอยู่บ่อยๆ เมื่อสมเด็จเจ้าฟ้า กรมขุนสุโขทัยธรรมราชาทรงหายจาอาการประชวรแล้ว ทรงมีพระประสงค์จะทรงศึกษาวิชาการทหารชั้นสูงต่อขึ้นไปอีก จึงได้เสด็จฯ เข้าประจำอยู่ในกรมบัญชาการกองทัพน้อยทหารบกของฝรั่งเศส แล้วได้ทรงเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนฝ่ายเสนาธิการชื่อ Ecole'de Guerre ณ กรุงปารีส จนจบหลักสูตร จากนั้นได้เสด็จฯ กลับกรุงเทพมหานคร โดยเสด็จฯผ่านประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการศึกษาเพิ่มเติมและทอดพระเนตรวัฒนธรรมความเจริญของบ้านเมืองเหล่านั้น เมื่อเสด็จฯ กลับมาทรงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้เข้ารับราชการในตำแหน่งปลัดกรมเสนาธิการทหารบก เลื่อนพระยศขึ้นเป็นนายพันเอก และนายพลตรี ตำแหน่งผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ ๒ ตามลำดับ
เนื่องจากสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนสุโขทัยธรรมราชาทรงเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์สุดท้องที่ร่วมพระชนกชนนีเดียวกันกับ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ฐานะของพระองค์จึงห่างไกลต่อพระราชบัลลังก์นัก แต่แล้วภายในเวลาเพียง ๕ ปี สมเด็จพระเชษฐาภาดา ถึง ๓ พระองค์คือ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ (ทูลกระหม่อมจักรพงษ์) สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนเพชรบูรณ์อินทราชัย(ทูลกระหม่อมจุฑาธุช) และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนครราชสีมา (ทูลกระหม่อมอัษฎางค์) เสด็จทิวงคตลงในปีพุทธศักราช ๒๔๖๓ ๒๔๖๖ และ ๒๔๗๖ ตามลำดับ ดังนั้น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมสุโขทัยธรรมราชาจึงทรงอยู่ในฐานะองค์รัชทายาทที่จะสืบราชบัลลังก์ขึ้นมาทันที ประกอบกับในเวลานั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังไม่ทรงมีพระราชโอรสหรือพระราชธิดาเลย พระองค์จึงต้องเริ่มศึกษางานราชการแผ่นดินในหน้าที่ของพระมหากษัตริย์ และทรงปฏิบัติหน้าที่แทนพระองค์ในคราวที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวมิได้เสด็จประทับอยู่ในพระนคร จึงทรงได้รับการเลื่อนพระเกียรติขึ้นเป็น สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษจิกายน พุทธศักราช ๒๔๖๗
หลังจากได้ทรงรับสถาปนาเป็นกรมหลวงได้ไม่ถึงเดือน พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวก็เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๒๖ พฤษจิกายน พุทธศักราช ๒๔๖๘ พระบรมวงศานุวงศ์และเสนาบดีได้ประชุมกันเพื่อปรึกษาหารือเรื่องการสืบราชสมบัติและการพระบรมศพ พร้อมกับได้เปิดพระราชหัตถเลขาพินัยกรรมของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงทำขึ้นในปีพุทธศักราช ๒๔๖๗ โดยทรงแสดงพระราชประสงค์ว่า หากพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ซึ่งทรงพระครรภ์อยู่มีพระประสูติกาลเป็นพระราชโอรสก็ให้ถวายราชสมบัติแด่พระราชโอรสองค์นั้น แต่ถ้าหากเป็นพระราชธิดาก็ใคร่ให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา ทรงรับรัชททายาทสืบราชสันตติวงศ์เป็นพระเจ้าแผ่นดินต่อไป สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงสุโขทัยธรรมราชาไม่ทรงยินดีในการเสด็จขึ้นครองราชย์นัก จึงขอถอนพระองค์ โดยทรงให้เหตุผลว่าทรงอ่อนพระชนมายุกว่าเจ้านายพระองค์อื่นๆ ทั้งยังทรงมีพระสุขภาพไม่สมบูรณ์และไม่เคยแก่ราชการเพียงพอ จึงทรงปฏิเสธเสนอเวนพระราชสมบัติต่อไปให้แก่จอมพลสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช พระปิตุลาของพระองค์ หรือจอมพลสมเด็จเจ้าฟ้าชายบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิจ สมเด็จพระเชษฐาต่างมารดาของพระองค์ แต่ปรากฏว่าทั้ง ๒ พระองค์กล่าวปฏิเสธและทรงรับรองแข็งขันว่าจะถวายความช่วยเหลือในการบริหารประเทศอย่างเต็มความสามารถ ดังนี้แล้วสมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชายิ่งทรงยินยอมรับอัญเชิญ ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินสืบราชสันตติวงศ์เป็นราชกาลที่ ๗ แห่งราชวงศ์จักรี โดยมีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๖๙ ทรงพระนามตามพระสุพรรณบัฏว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก มหันตเดชนดิลกรามาธิบดี เทพยปรียามหาราชรวิวงศ์ อสัมภินพงศพีระกษัตรบุรุษรัตนราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาตสังสุทธเคราะหณี จักรีบรมนาถจุฬาลงกรณราชวรางกูร มหมกุฏวงศวีรสูรชิษฐ ราชธรรมทศพิธ อุต์กฤษฎานิบุณย์อดุลยฤษฎาภินิหาร บูรพาธิการสุสาธิต ธันยลักษณ์วิจิตรเสาวภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคมานท สนธิมตสมันตสมาคม บรมราชสมภาร ทิพยเทพวตารไพศาลเกียรติคุณ อดุลยศักดิเดช สรรพเทเวศปริยานุรักษ์ มงคลลคนเนมาหวัยสุโขทัยธรรมราชา อภิเนาวศิลปศึกษาเดชาวุธ วิชัยยุทธศาสตร์โกศล วิมลนรรยพินิต สุจริตสมาจาร ภัทรภิชญาณประดิภานสุนทร ประวรศาสโนปสุดมภก มูลมุขมาตยวรนายกมหาเสนานี สราชนาวีพยูหโยธโพยมจร บรมเชษฏโสทรสมมต เอกราชยยศสธิคมบรมราชสมบัติ นพปฏลเศวตฉัตราดิฉัตร ศรีรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเษกาภิศิกต์ สรรพทศทิศวิชิตเดโชไชย สกลมไหศวรยมหาสยามินทร มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวศรัย พุทธาธิไตรรัตนวิศิษฎศักดิ์อัครนเรศวราธิบดี เมตตากรุณาศีตลหฤทัย อโนปไมยบุณยการ สกลไพศาลมหารัษฎราธิบดินทร์ ปรมินทรธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว