รัชกาลที่
๙
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
มีพระนามเดิมว่า
พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช
ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์เล็กในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช
กรมหลวงสงขลานครินทร์และหม่อมสังวาลย์
มหิดล ณ
อยุธยา (ภายหลังทรงได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยเป็น
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม
พระบรมราชชนกและสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี)
เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันขึ้น
๑๒ ค่ำ
เดือนอ้าย
ปีเถาะ
วันจันทร์ที่
๕ ธันวาคม
พุทธศักราช
๒๔๗๐ ณ
โรงพยาบาลเมานท์ออเบอร์น
เมืองเคมบริตจ์
มลรัฐแมสซาซูเซสส์
ประเทศสหรัฐอเมริกา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
ทรงเป็นพระอนุชาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ
เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา
กรมหลวงนราธิวาสราชนัครินทร์
ในปีพุทธศักราช
๒๔๗๑
พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช
ได้โดยเสด็จฯพระบรมราชชนกซึ่งขณะนั้น
ทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาแพทย์ศาสตร์บัณฑิตเกียรตินิยมจาก
มหาวิทยาลัยฮาร์วาด
สหรัฐอเมริกา
กลับสู่ประเทศไทยและได้ประทับอยู่
ณ วังสระปทุม
ถัดมาเมื่อวันที่
๒ กันยายน
พุทธศักราช
๒๔๗๒
สมเด็จพระบรมชนกนาถเสด็จทิวงคต
พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดชพร้อมด้วยพระราชมารดา
สมเด็จพระเชษฐาและพระเชษฐภคินียังคงประทับร่วมกับสมเด็จพระศรีสวรินทราพระบรมราชเทวี
พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
ณ วังสระปทุม
ในกรุงเทพมหานคร
เมื่อพระวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าภูมพลอดุลยเดช
ทรงมีพระชนมายุได้
๕ พรรษา
ได้เสด็จเข้ารับการศึกษาเบื้องต้น
ณ
โรงเรียนมาแตร์เดอี
กรุงเทพมหานคร
ต่อมาหลังจากเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
หม่อมสังวาลย์
มหิดล ณ
อยุธยา
พระราชมารดาจึงได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
และสมเด็จพระศรีสวรินทรา
พระบรมราชเทวี
พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
พาพระราชโอรสและพระธิดาไปประทับยังนครโลซานน์
ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
เพื่อการศึกษาและเพื่อพระพลานามัยของพระโอรส
ที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช
ได้เสด็จเข้าทรงศึกษาต่อในชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนเมียร์มองค์
จากนั้นทรงเข้าศึกษาต่อในชั้นมัธยมศึกษา
ณ
โรงเรียนเอกอล
นูแวล เดอลา
ซืออิส
โรมองต์
เมืองโลซานน์
ทรงได้รับประกาศนียบัตรทางอักษรศาสตร์จากยิมนาส
กลาซีค
กังโตนาล
แล้วจึงทรงเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยโลซานน์
โดยทรงเลือกศึกษาในแขนงวิชาวิศวกรรมศาสตร์
หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๗
ทรงสละราชสมบัติ
เมื่อวันที่
๒ มีนาคม
พุทธศักราช
๒๔๗๗
รัฐบาลไทยได้กราบบังคมทูลอัญเชิญพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดล
พระเชษฐาเสด็จขึ้นครองราชย์สืบราชสันตติวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่
๘
พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช
จึงได้รับการสถาปนาฐานันดรศักดิ์เป็น
สมเด็จพะรเจ้าน้องยาเธอ
เจ้าฟ้าชายภูมิพลอดุลยเดช
เมื่อเดือนกรกฎาคม
พุทธศักราช
๒๔๗๘
ต่อมาในปีพุทธศักราช
๒๔๘๑
ได้โดยเสด็จฯสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จฯนิวัติประเทศไทย
โดยประทับ ณ
พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
พระราชวังดุสิตเป็นการชั่วคราว
จากนั้นได้เสด็จฯกลับไปทรงศึกาาต่อที่สวิสเซอร์แลนด์
จนในปีพุทธศักราช
๒๔๘๘
หลังจากที่สงครามโลกครั้งที่
๒ สงบแล้ว
จึงได้โดยเสด็จฯสมเด็จพระเชษฐานิวัติประเทศไทยพร้อมพระราชชนนีและสมเด็จพระเชษฐภคินีอีกครั้ง
โดยในครั้งนี้ทรงประทับ
ณ
พระที่นั่งบรมพิมานในพระบรมมหาราชวัง
ในการเสด็จฯนิวัติประเทศไทยครั้งนี้
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าชายภูมิพลอดุลยเดช
ทรงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้งให้ดำรงพระยศเป็นที่ร้อยโทสมเด็จพระน้องยาเธอเจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช
นายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่
๑ กองพันที่ ๑
มหาดเล็กรักษาพระองค์
เมื่อวันที่
๒๐ พฤษภาคม
พุทธศักราช
๒๔๘๙
ครั้นเมื่อวันที่
๙ มิถุนายน
พุทธศักราช
๒๔๘๙
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
เสด็จสวรรคตโดยพระแสงปืน
ณ
พระที่นั่งบรมพิมาน
รัฐบาลจึงได้กราบบังคมทูลอัญเชิญสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ
เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช
เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่
๙
แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์
ทรงพระนามว่า
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มหิตลาธิเบศรามาธิบดี
จักรีนฤบดินทรสยามินทราธิราช
บรมนาถบพิตร
พระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย
(หมายเหตุ:*
ภายหลังพระราชพิธีบรมราชาภิเษกที่ได้จัดขึ้นหลังจากที่ทรงบรรลุพระราชนิติภาวะเมื่อวันที่
๕ พฤษภาคม พ.ศ.
๒๔๙๓
แล้วไม่ปรากฏสร้อยพระนาม
'พระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย'
ในพระสุพรรณบัฏ)
อย่างไรก็ตามขณะเสด็จขึ้นครองราชสมบัตินั้น
ทรงมีพระชนมายุเพียง
๑๙ พรรษา
ยังไม่ทรงสามารถบริหารราชการแผ่นดินด้วยพระองค์เองได้
รัฐสภาจึงทำการแต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการขึ้นประกอบไปด้วย
พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมขุนชัยนาทนเรนทร
(หรือพระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์
ต่อมาได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯให้เป็นสมเด็จกรมพระชัยนาทนเรนทร)
และพระยามานวรราชเสวี
เพื่อทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินแทนจนกว่าจะทรงบรรลุพระราชนิติภาวะแล้ว
และเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชภาระกิจในด้านการศึกษา
จึงต้องทรงเสด็จฯกลับไปประเทศสวิสเซอร์แลนด์อีกครั้งหนึ่งในเดือนสิงหาคม
พุทธศักราช
๒๔๘๙
เพื่อทรงศึกษาต่อ
ณ
มหาวิทยาลัยแห่งเดิม
แต่ในครั้งนี้ทรงเลือกศึกษาวิชากฏหมายและวิชารัฐศาสตร์แทนวิชาวิศวกรรมศาสตร์ที่ทรงศึกษาอยู่เดิม
ระหว่างที่ประทับอยู่ต่างประเทศนั้น
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
ได้ทรงพบและต้องพระราชอัธยาศัยกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์
กิติยากร
ธิดาในพระวรวงศ์เธอกรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ
(พระนามเดิมหม่อมเจ้านักขัตรมงคล
กิติยากร)
และหม่อมหลวงบัว
กิติยากร
แต่แล้วในเดือนตุลาคม
พุทธศักราช
๒๔๙๑
ประชาชนคนไทยก็ต้องตกใจเป็นอย่างยิ่งเมื่อได้ทราบข่าวว่า
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่นอกเมืองโลซานน์
ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
และต้องเสด็จฯ
เข้ารับรักษาพระองค์ในโรงพยาบาล
ต่อมาเมื่อพระอาการหายเป็นปกติแล้วได้ทรงหมั้นกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์
กิติยากร
เมื่อวันที่
๑๙ กรกฎาคม
พุทธศักราช
๒๔๙๒ ณ
เมืองโลซานน์
ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
ในปีพุทธศักราช
๒๔๙๓
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
เสด็จฯนิวัติประเทศไทยครั้งที่
๓
เมื่อวันที่
๒๔ มีนาคม
เพื่อทรงเข้าร่วมในการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่
๘
ต่อมาในวันที่
๒๘
เมษายนปีเดียวกันได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์
กิติยากร
และโปรดเกล้าฯ
ให้สถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมราชินี
ถัดมาวันที่
๕ พฤษภาคม
พุทธศักราช
๒๔๙๓
จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกขึ้น
ณ
พระที่นั่งไพศาลทักษิณในพระบรมมหาราชวัง
ในการนี้ทรงหลั่งน้ำทักษิโณทกพร้อมตั้งพระราชสัตยาธิษฐานว่า
"เราครองแผ่นดินโดยธรรม
เพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชนชาวสยาม"
ภายหลังจากพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้วได้เสด็จไปรักษาพระสุขภาพ
ซึ่งขณะนั้นยังไม่ค่อยทรงสมบูรณ์นัก
อันเนื่องมาจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่ทรงประสบเมื่อครั้งประทับอยู่ที่สวิสเซอร์แลนด์
ณ
ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
ตามคำแนะนำของคณะแพทย์ขาวสวิส
และได้เสด็จพระราชดำเนินกลับมาประทับเป็นการถาวรในประเทศไทยเมื่อเดือนธันวาคม
พุทธศักราช
๒๔๙๔
และด้วยเหตุที่ทรงเลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงผนวชเมื่อวันที่
๒๒ ตุลาคม
พุทธศักราช
๒๔๙๙ ณ
พระอุโบสถวัพระศรีรัตนศาสดาราม
ทรงได้รับการถวายสมณนามว่า
ภูมิพโล
แล้วเสด็จฯ
ไปประทับ ณ
พระตำหนักปั้นหยา
วัดบวรนิเวศวิหาร
จนถึงวันที่
๕
พฤษจิกายนศกเดียวกันจึงได้ทรงลาผนวช
ในปีรุ่งขึ้น(พุทธศักราช
๒๕๐๐)
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ
ได้ทรงย้ายที่ประทับจากพระที่นั่งอัมพรสถาน
กลับไปประทับยังพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
พระราชวังดุสิต
ที่ได้รับการซ่อมแซมแล้ว
และทรงประทับอยู่เรื่อยมาตราบจนทุกวันนี้