พระที่นั่งต่างๆในพระบรมมหาราชวัง

 พระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาท

        พระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาท เป็นพระที่นั่งบนแนวกำแพงแก้ว ล้อมเขตพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ด้านตะวันออกพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเป็นพลับพลาสำหรับประทับทรงพระราชยานในโอกาสต่างๆใช้เป็นที่เสด็จครั้งแรกในพระราชพิธีโสกันต์พระเจ้าลูกยาเธอพระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาท เป็นพระที่นั่งโถงจัตุรมุขยอดปราสาทตั้งอยู่บนฐานสูงเสมอกำแพงแก้ว สร้างด้วยไม้ทั้งองค์มีขนาดกว้าง 4.25 เมตร ยาว 9.40 เมตร หน้ามุขและมุขหลังสั้น มุขข้างยาว หน้ามุขทั้ง 4 ด้าน มีบันไดขึ้นลงทั้ง 4 ด้าน ยอดปราสาทเป็นทรงมณฑปซ้อน 5 ชั้น ที่มุมไม้สิบสองของยอดปราสาท จำหลักรูปหงส์รองรับแทนคันทวยทั้ง 4 มุข มุมละ 3 ตัว หลังคาเป็น หลังคาชั้นลด 4 ชั้น คาดดีบุก ประดับช่อฟ้า ใบระกา และนาคเบือนเครื่องยอด เครื่องตกแต่งหลังคาลงรักปิดทอง แต่ไม่ประดับกระจกสี หน้าบันจำหลักรูปพระอินทร์ประทับยืนเหนือพระแท่น พระหัตถ์ซ้ายทรงพระขรรค์พระหัตถ์ขวาอยู่ท่าประทานพรสองข้างเป็นรูปเทพนมทั้งหมดรายล้อมด้วยกนกเปลวใต้ลายหน้าบันเป็นหน้าบันฐานพระ และเบื้องล่างของหน้าบันฐานพระประกอบด้วยสาหร่ายรวงผึ้งลายกนกใบเทศเพดานปิดทองลายฉลุใบเทศประดับด้วยดวงดาราจำหลักเป็นรูปดอกจอกเสาพระที่นั่งเป็นเสาไม้ย่อมุมสิบสอง ปิดทองประดับกระจกเป็นลายประจำยาม ปลายเสาประกอบบัวจงกล ระหว่างช่องเสามีพนักติดแทนลูกกรง พนักจำหลักลายเทพนม ประกอบลายกนกก้านขด ตรงหน้ามุขทั้งสี่มีบันไดขึ้นลงทุกด้านพระที่นั่งองค์นี้ กรมศิลปากรเคยจำลองแบบไปสร้างเป็นศาลาไทยแสดงในงาน มหกรรมนานาชาติ ณ กรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยี่ยม ในปี พ.ศ.2501

 

พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท

พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาทเป็นพระที่นั่งบนกำแพงพระบรมมหาราชวังด้านทิศตะวันออกระหว่างประตูเทวาพิทักษ์และประตูศักดิ์ไชยสิทธิ์ สร้างเลียนแบบพระที่นั่งจักรวรรดิไพชยนต์ บนกำแพงพระราชวังหลวงกรุงศรีอยุธยาพระที่นั่งองค์นี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเป็นพลับพลาโถงจัตุรมุข สร้างด้วยเครื่องไม้ทั้งหมด หลังคาไม่มียอดปราสาท เรียกกันว่า พระที่นั่งพลับพลาสูง ” สำหรับใช้เป็นที่ประทับทอดพระเนตรกระบวนแห่พระราชพิธีสระสนานใหญ่ และทอดพระเนตรการฝึกช้างต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้รื้อสร้างใหม่เป็นพระที่นั่งผนังก่ออิฐ มียอดปราสาท พระราชทานนามว่า “ พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ”ครั้นปี พ.ศ. 2396 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้เปลี่ยนนามเป็น “ พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ ”

        ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใช้เป็นพระราชพิธีมณฑลในการพระราชพิธีและการพระราชกุศลต่างๆจัดเป็นที่ประดิษฐานพระบรมรูปอดีตพระมากษัตริย์ ตลอดจนการถวายบังคมพระบรมรูปในการพระราชพิธีฉัตรมงคล ในสมัยรัชกาลที่ 5

 

พระที่นั่งราชฤดี

พระที่นั่งราชฤดี เป็นพระที่นั่งภายในบริเวณกำแพงแก้ว พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ตั้งอยู่ข้างพระที่นั่งอมริทร์ฯ ด้านทิศตะวันออกสร้างขึ้นมนรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสำหรับเป็นที่สรงพระมูรธาภิเษกในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

        เมื่อสร้างเสด็จทรงพระราชทานนามว่า “ พระที่นั่งจันทรทิพโยภาส ” ต่อมาวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2466 จึงมีประกาศพระบรมราชโองการให้เปลี่ยนนามเป็น “ พระที่นั่งราชฤดี ” ตามชื่อพระที่นั่งแบบตึกฝรั่งปนจีนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นในบริเวณเดียวกันนี้ แต่ได้รื้อออกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรมมาก

    พระที่นั่งราชฤดี เป็นพระที่นั่งโถง พื้นหินอ่อน ฐานปูน มีบัวฐานอบย่างศิลปไทย กว้าง 7.35 เมตร ยาว 12.00 เมตร ยกพื้นสูง 0.69 เมตร ลักษณะเป็นแบบพลับพลาตรีมุข มุขด้านทิศตะวันออกหรือมุขหน้าเป็นมุขหน้าเป็นมุขสั้น มีหลังคาชั้นเดียว มุขด้านทิศเหนือและทิศใต้หรือมุขข้างเป็นมุขยาว มีหลังคาเป็นชั้นลด 2 ชั้นประดับด้วยช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ลงรักปิดทองเกลี้ยง หน้าบันจำหลักลายรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ ล้อมด้วยลายกนกก้านขดหัวนาค หน้าบันตอนที่มิได้จำหลักลายปิดกระจกสีขาวมีหน้าบันฐานพระอยู่ด้านล่าง ใต้หน้าบันฐานพระประดับสาหร่ายรวงผึ้ง ฉลุเป็นลายกนกก้านขดลงรักปิดทองเกลี้ยง เสาปิดทองลายฉลุเป็นลายกนกหน้าสิงห์ ปลายเสาประกอบบัวจงกลกลีบขนุน ลงรักปิดทองประดับกระจก ฝ้าเพดานปิดทองลายฉลุเป็นลายราชวัตรสี่กลีบบนพื้นแดง ตกแต่งด้วยดวงดาราแกะสลักฉลุลาย มุขด้านตะวันออก และมุขด้านเหนือมีชานหินอ่อนยื่นออกมาชานด้านเหนือเป็นที่สำหรับพระมหากษัตริย์เสด็จพระราชดำเนินออกทำพิธีสังเวยเทพยดา ชานด้านตะวันออกเป็นที่ตั้งพระแท่นสรงมูรธาภิเษกสนาน

 

     ปราสาทพระเทพบิดร

        ปราสาทพระเทพบิดร เดิมมีชื่อเรียกว่า พุทธปรางค์ปราสาท ” พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างขึ้นในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อ พ.ศ. 2394 โดยมีพระราชประสงค์ให้อัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานไว้ ณ ที่นี้ แต่เผอิญคับแคบไม่เหมาะแก่พระราชพิธีจึงงดไว้ครั้นสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดอัญเชิญพระเจดีย์กาไหล่ทองของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมาประดิษฐาน

ในปี พ.ศ. 2446 เกิดเพลิงไหม้พระพุทธปรางค์ปราสาทพระเจด์นี้ได้ละลายสูญหายไปจึงโปรดให้ซ่อมแซมปราสาทขึ้นใหม่ จนมาสำเร็จในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงโปรดให้เปลี่ยนนามใหม่เป็น “ ปราสาทพระเทพบิดร ” พร้อมโปรดให้อัญเชิญพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทั้ง 5 พระองค์ มาประดิษฐานภายในพระปราสาทนี้ จนกระทั่งปัจจุบันนี้ ยังคงใช้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมรูปรัชกาลที่ 1 – 8 สืบเนื่องต่อมา

ปราสาทพระเทพบิดร เป็นปราสาทจัตุรมุขยอดปรางค์นภศูลมีมงกุฎยอดปรางค์ประดับกระเบื้องเคลือบ มีมุขหน้าเป็นมุขลดโถงอยู่ทางทิศตะวันออก มีซุ้มทิศโดยรอบ ส่วนตอนบนยอดมีกลีบขนุนประดับเป็นปรางค์แบบไทยมุขต่างๆประกอบด้วย ช่อฟ้าใบระกา หางหงส์นับเป็นปราสาทยอดปรางค์องค์เดียวในประเทศไทย ซุ้มทวารและซุ้มพระบัญชร ทำเป็นรูปทรงมงกุฎ บานพระทวารและพระบัญชร เขียนลายรดน้ำปราสาทพระเทพบิดรนี้เปิดให้ประชาชนเข้าถวายสักการะได้ ในวันจักรี คือวันที่ 6 เมษายนนับตั้งแต่ พ.ศ. 2462 เป็นต้นมา

 

หอศาสตราคม

        หอศาสตราคม ตั้งอยู่ริมกำแพงแก้งด้านทิศตะวันออก ข้างพระที่นั่งอมริทร์ฯตรงข้ามกับพระที่นั่งดุสีตลาภิรมย์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเป็นพระที่นั่งโถง จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้รื้อพระที่นั่งเดิมออกแล้วสร้างเป็นหอศาสตราคมขึ้นมีผนัง หลังคามุงกระเบื้องเคลือบสี

หอศาสตราคมใช้เป็นที่ให้พระสงฆ์ฝ่ายรามัญนิกายทำพิธีสวดพระพุทธมนต์สัตปริตรคาถาเสกทำน้ำพระพุทธมนต์ สำหรับใช้สรงพระพักตร์ใช้สรงกายและประพรมรอบพระมหามณเฑียรทุกวัน ในปัจจุบันนิมนต์พระสงฆ์มาสวดทำน้ำพระพุทธมนต์ และประพรมรอบพระมหามณเฑียรเฉพาะวันพระเท่านั้น แต่ถวายน้ำพระพุทธมนต์ สำหรับสรงทุกวันตามประเพณี

 

พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ตั้งอยู่ตรงกลางระหว่างหมู่พระมหามณเฑียร และพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2419 มีลักษณะผสมผสานระหว่างศิลปะตะวันออกและตะวันตกตัวอาคารเป็นสถาปัตยกรรมแบบยุโรป หลังคาเป็นยอดปราสาทแบบไทย อยู่ด้านหน้าพระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์ และพระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติ โดยมีเจ้าพระยาภานุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) เป็นแม่กองสร้างและนายยอนคลูนิซ สถาปนิกชาวอังกฤษเป็นนายช่าง พระที่นั่งจักรีฯสร้างเป็นอาคาร 3 ชั้นเป็นปราสาท 3 องค์เรียงกันมีมุขกระสันเชื่อมโดยตลอดยอดปราสาทเป็นทรงมณฑป 7 ชั้น ที่มุมไม้สิบสองของยอดปราสาท แต่เดิมจำหลักครุฑนาค รองรบแทนคันทวยซึ่งภายหลังเปลี่ยนเป็นทวยรูปหงส์ หลังคาเป็นหลังคาลด 2 ชั้น มุงกระเบื้องเคลือบสี ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ และบราลี

พระที่นั่งองค์กลาง ชั้นบนเป็นหอพระบรมอัฐิ ประดิษฐานพระบรมอัฐิ ไว้ในคูหากระจกตามผนังหน้ามีมุขเด็จสำหรับเสด็จออก ด้านเหนือของมุขหนามีชานโค้งออก เป็นชานสีหบัญชร สำหรับเสด็จออกให้ประชาชนเฝ้าทูลละอองทุลีพระบาทในบางโอกาส ชั้นกลางเป็นท้องพระโรงหน้า แขวนพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลปัจจุบัน และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ชั้นล่างเป็นกองรักษาการณ์หมาดเล็กรักษาพระองค์ พระที่นั่งองค์ตะวันออก ชั้นบนประดิษฐานปูชนียะวัตถุ ชั้นกลางเป็นห้องรับรองพระราชอาคันตุกะผนังห้องแขวนพระบรมชาฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับร่วมกับสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ และพระบรมราชโอรส 5 พระองค์ ชั้นล่างเป็นห้องพักแขก พระที่นั่งองค์ตะวันตกชั้นบนประดิษฐานพระอัฐิพระมเหสี และพระอัฐิพระบรมราชวงศ์ ชั้นกลางเป็นห้องรับแขก ที่ผนังห้องแขวนพระบรมชาฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ชั้นล่างเป็นห้องสมุด มุขกระสันด้านตะวันออก ชั้นบนเป็นเฉลียงเชื่อมระหว่างพระที่นั่งองค์กลางกับองค์ตะวันออก ชั้นกลางเป็นห้องโถง 2 ตอน ตอนในเป็นห้องรับรองประดับพระบรมชายาลักษณ์ รัชกาลที่1 ถึง รัชกาล ที่7 ตอนนอกเป็นเฉลียง เชื่อมท้องพระโรงหน้ากับห้องรับแขก ผนังประดับพระบรมชาฉายาลักษณ์สมเด็จพระอัครมเหสีในรัชกาลที่ 4 รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 7 ชั้นล่างเป็นห้องโถง  ท้องพระโรงกลาง อยู่ต่อจากท้องพระโรงหน้า ใช้สำหรับเสด็จออกให้คณะทูตานุทูตเข้าเฝ้าฯ และเป็นที่ประกอบพระราชพิธีการกุศล หรือประกอบพระราชกรณียกิจอื่น ๆ ภายในประดิษฐานพระแท่นพุดตานถม ทำด้วยไม้หุ้มเงินลงยาทาทองที่เรียกว่า “ถมตะทอง” ผนังเบื้องหลังราชบัลลังก์ เป็นซุ้มจรนำเขียนตราจักรี ผนังด้านอื่นประดับภาพเขียนสีน้ำมัน ประวัติการเจริญทางพระราชไมตรีระหว่างประเทศไทยกับกับอังกฤษและฝรั่งเศส ท้องพระโรงหลัง อยู่ด้านหลัง ท้องพระโรงกลางเป็นที่สำหรับฝ่ายในเฝ้า ฯ เวลามีพระราชพิธีในท้องพระโรงกลาง ในสมัยที่ฝ่ายในยังไม่ได้ออกเฝ้า ฯ รวมกับฝ่ายหน้า

 

พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท

 

    พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นกลางทางฝั่งตะวันตกของพระรมมหาราชวัง มีลักษณะเป็นจตุรมุข มุขทั้งสี่มีขนาดเท่ากัน องค์พระที่นั่งก่ออิฐถือปูนยอดเป็นมณฑปซ้อนกัน 7 ชั้น ทำด้วยเครื่องไม้ ที่มุมไม้สิบสองของยอดปราสาทมีครุฑจำหลักรองรับแทนคันทวยทั้ง 4 มุม หลังคาเดิมคาดดีบุก แต่เปลี่ยนเป็นกระเบื้องเคลือบสีในรัชกาลที่ 3 หลังคามุขเป็นเป็นหลังคาลด 4 ชั้น มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ทำเป็นนาคเบือนเครื่องยอด และเครื่องตกแต่งหลังคา ชายคาเป็นไม้แกะสลักลงหลักปิดทองประดับกระจกหน้าบัน จำหลักรูปนารายณ์ทรงครุฑ มลายกนกก้านขดเทพนม ล้อมลงรักปิดทอง พื้นหน้าบันประดับกระจกสี พระทวารและพระบัญชร ทั้งหมดทำเป็นซุ้มยอดทรงมณฑปปิดทองประดับกระจก มุขหน้ามีมุขเด็จสำหรับเสด็จออกสมาคมหรือให้ประชาชนเฝ้า ฯ กลางผนังมุขด้านใต้ เจาะสร้างเป็นพระที่นั่งษุกบก สำหรับเสด็จออกให้พระบรมวงศ์และข้าราชการฝ่ายในเฝ้าฯ ภายในพระที่นั่งนมีพระแท่นราชบัลลังก์ประดะบมุกเป็นพระแท่นเศวตฉัตร ประพระที่นั่งทอดอยู่เหนือพระแท่นกลางพระมหาปราสาท และพระแท่นบรรจถรณ์ประดับมุกตั้งอยู่ทางมุขตะวันออก (เป็นพระแท่นบรรทมของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก) ซึ่งแท่นทั้งสองนี้เจ้าพระยามหาเสนา (บุนนาค)เป็นผู้อำนวยการประดิษฐ์ขึ้นทูลเกล้าฯถวายพระบาทสเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระที่นั่งดุสิตมหาประสาทใช้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมศพสมเด็จพระมหากษัตริย์พระอัครมเหสี ระหว่างที่ไม่ได้มีการประดิษฐานพระบรมศพก็ใช้ประกอบการพระราชพิธีและการพระราชกุศลต่างๆ ที่สำคัญคือพระราชพิธีฉัตรมงคล ในสมัยราชกาลสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยใช้เป็นที่เสด็จออกขุนนาง และใช้เป็นที่ชุมนุมสงฆ์ทำสังคายนาพระไตรปิฎก

 

พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน

พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยฯ เป็นพระที่นั่งสำคัญองค์หนึ่งในหมู่พระมหามณเฑียร ตั้งอยู่หน้าสุดในเขตพระราชฐานช้นกลางด้านทิศเหนือ ลักษณะเป็นท้องพระโรงยาวตามแนวทิศเหนือใต้ กว้าง 21 เมตร ยาว 31.50 เมตร ยกพื้นสูงจากพื้นดินเล็กน้อ ภายในเป็นเสาไม้กลม ซึ่งพระบทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่รัชกาลที่ 3 โปรดให้เปลี่ยนเป็นเสาเหลี่ยมก่ออิฐถือปูน โดยก่อหุ้มเสาไม้เดิม ครั้นถึงสมัยรัชกาลสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์โปรดเกล้าให้สร้างพระที่นั่งด้านหน้ามีลักษณะเป็นท้องพระโรงหน้า อีกชั้นหนึ่ง พร้อมกับขยายกำแพงแก้วด้านหน้าออกไป เปลี่นประตูหูช้างเป็นประตูซุ้ม 3 ช่องยอดทรงมงกุฎ ประดับกระเบื้องเคลือบสีพระราชทานนามว่า “พระทวารเทวาภิบาล”ต่อมาสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าให้สร้างมุขต่อจากองค์พระที่นั่ง บริเวณมุมต่อเนื่องกับพระที่นั่งไพศาลทักษิณ มีผนังและหลังคาต่อเนื่องเป็นแนวเดียวกันกับพระที่นั่งเดิม พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ฯ มุงหลังคากระเบื้องเคลือบสี มีช่อฟ้าใบระกา หางหงส์หน้าบันองค์พระที่นั่งจำหลักลายรูปพระอินทร์ ประทับเหนือบุษบกล้อมด้วยลายกนนกก้านขดหัวนาค

หน้าบันพระโรงหน้าจำหลักลายดอกพุดตานก้านแย่งประดับกระจกสี หน้ามุขจำหลักรูปเทพนม ล้อมรอบด้วยลายกนกก้านขดหัวนาค พื้นประดับกระจกสี ผนังและเสาเขียนลายพุ่มข้าวบิณฑ์ดอกไม้ปิดทองทั้งหมด พระทวารและพระบัญชร มีซุ้มเป็นซุ้มบันแถลงทั้งหมด ฝ้าเพดานภายในประดับดวงดาราฉลุลายเป็นรูปดาวกลีบบัว ลงรักปิดทองล่องชาดประดับกระจก ขื่อเขียนลายฉลุประกอบลายกรวยเชิงทั้งหัวท้าย ฝ้าเพดานภายนอกปิดทองลายฉลุ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ฯ ใช้เป็นท้องพระโรงสำหรับเสด็จออกฝ่ายหน้า เช่น เสด็จออกว่าราชการออกมหาสมาคม ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลต่าง ๆ

รัชกาลปัจจุบัน ทรงใช้เป็นที่เสด็จออกมหาสมาคม ในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาเป็นประจำ ภายในพระที่นั่ง มีพระราชบัลลังค์อยู่ 2 องค์ คือ พระที่นั่ง บุษบกมาลามหาพิมาน ตั้งอยู่ชิดกับชานอัฒจันทร์ ด้านหน้าพระทวารเทวราชมหาเศวตฉัตร ตั้งอยู่เบื้องหน้าพระที่นั่งบุษบกมาลาอีกทีหนึ่ง

 

พระที่นั่งอนันตสมาคม

พระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นสถานที่ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2451 เนื่องในรัชมังคลาภิเษกสมโภชสิริราชสมบัติ อันเป็นปีที่พระองค์เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 40 ปี บริบูรณ์ มีพระราชพิธีวางศิลาฤกษ์ในวนพุธที่ 11 พฤศจิกายน ร.ศ. 127 (พ.ศ. 2451) โดยจ้างช่างจากอิตาลี มีนายเอ็ม ตามานโย เป็นช่างออกแบ นายซี. อัลเลกรี เป็นวิศวกร เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เป็นแม่กองก่อสร้าง วัสดุที่ใช้สั่งตรงมาจากประเทศอิตาลี ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 8 ปี แล้วเสร็จบริบูรณ์ในปลายปี พ.ศ. 2458 สิ้นงบประมาณไป 15 ล้านบาท

พระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นสถาปัตยกรรมแบบอิตาเลียนสมัยเรอเนสซอง ตัวอาคารทำด้วยหินอ่อนสีขาว 2 ชั้น มีโดมสูงใหญ่สุดอยู่ตรงกลาง มีโดมเล็ก ๆ 6 ยอดอยู่โดยรอบ พระที่นั่งนี้มีขนาดกว้างประมาณ 48 เมตร ยาว ประมาณ 101 เมตร และสูงประมาณ 49 เมตร โดมปะธานีมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 15 เมตร โดมรองด้านทิศตะวันออก มีเส้นโดมเล็กด้านทิศเหนือและทิศใต้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 8 เมตร

โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ก่ออิฐฉาบปูน ทั้งผนังภายนอกและภายในประดับด้วยแผ่นหินสีขาวและหินอ่อนสลักลาย ลวดลายที่ผนังภายในส่งวนมากเป็นปูนปั้นปิดทองผนังหลังคาเป็น 2 ชั้น ชั้นในเป็นคอนกรีต ชั้นนอกบุด้วยแผ่นทองแดงและแผ่นตะกั่วนม ผนังภายนอกเป็นหินอ่อนลวดลายบัวหยดน้ำ โค้งหน้าต่าง และเสาประตู หน้าต่างเป็นไม้ช่องแสงเป็นกระจกติดขอบลวดลายหินอ่อน

ด้านนอกตอนบนเป็นระเบียงเดินได้รอบ มีทางระบายน้ำฝนจากยอดโดมรับช่วงตามชั้นต่าง ๆ ลงมาจนถึงพื้นดิน เพดานของโดมเป็นภาพเขียนสีน้ำมันขนาดใหญ่ ฝีมือนายริโกลี ช่างชาวอิตาลี เป็นภาพแสดงพระราชกรณียกิจที่สำคัญ ๆ ของ พระมหากษัตริย์ไทย 6 รัชกาล แรกในพระบรมราชจักรีวงศ์ รวมทั้งหมด 6 ภาพ เขียนด้วยวิธี REAL FRESCO และ SECCO TECHNIQUE ภาพมีแสงเงา และมีมิตตามแบบตะวันตก

พระที่นั่งอนันตสมาคมใช้เป็นรัฐสภามีการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก เมื่อเวลา 15.00 น. วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 จึงได้ย้ายรัฐสภาไปยังตึกใหม่ แต่กระนั้นก็ตามในงานรัฐพิธีเปิดสมัยประชุมทุกครั้งก็ยังคงทำกันในพระที่นั่งอนันตสมาคมแห่งนี้ ตลอดเสมอมาจนถึงปัจจุบัน

 

พระที่นั่งวิมานเมฆ

พระที่นั่งวิมานเมฆ เป็นพระที่นั่งภายในพระราชวังสวนดุสิต ซึ่งเป็นพระราชวังที่ปลูกสร้าง และตกแต่งตามแบบอย่างพระราชวังในตะวันตก เพื่อเป็นสถานที่สำหรับแประพระราชฐาน และเป็นพระตำหนักที่ประทับของเจ้านายต่างประเทศที่เสด็จเข้ามาเยี่ยมเยือน ตามที่ได้ทรงเคยมีความสนิทสนม เมื่อคราวเสด็จประพาสยุโรป

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระที่นั่งวิมานเมฆ ขึ้นเป็นพระที่นั่งองค์แรกในพระราชวังสวนดุสิต เมื่อปลายเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2443 โดยใช้เครื่องไม้สักที่ทรงให้รื้อย้ายมาจากพระที่นั่งมันธาตุรัตนโรจน์ ในพระราชวังจุฑาธุชราชฐาน เกาะสีชัง ซึ่งสร้างค้างอยู่มาปลูกขึ้นใหม่

พระที่นั่งวิมานเมฆ กำกับการออกแบบโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ใช้เวลาสร้างประมาณ 7 เดือนก็สำเร็จก็เรียบร้อยมีการเฉลิมพระราชมณเฑียร เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2444

พระที่นั่งฯองค์นี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้เป็นที่ประทับระหว่างการก่อสร้างพระที่นั่งอัมพรสถานจนกระทั่งแล้วเสร็จในพ.ศ. 2449 จึงทรงย้ายไปประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถานนับตั้งแต่นั้นมาและถูกทิ้งร้างจนชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา

จนกระทั่งปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯให้ดำเนินการซ่อมแซมองค์พระที่นั่ง กับบริเวณรอบพระที่นั่งขึ้นใหม่ และให้ สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจี พระวรราชชายามาประทับอยู่ ณ พระที่นั่งฯแห่งนี้ในปี พ.ศ. 2468จนกระทั่งพระองค์เสด็จสวรรคต จึงย้ายไปประทับที่ตำหนักในสวนหงส์ภายในบริเวณพระราชวังสวรสุดิตเช่นเดียวกัน

จากนั้น ก็ถูกปิดร้างอีกมามีการสร้างและบูรณะเพียงเล็กน้อย ใน พ.ศ. 2469 และใช้เป็นสถานที่เก็บรักษาพัสดุของสำนักพระราชวังของสำนักพระราชวังนับแต่นั้นมา

จวบจนในปี พ.ศ. 2525 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงสำรวจพบว่าพระที่นั่งวิมานเมฆยังอยู่ในสภาพดีมีการถ่ายฝีพระหัตถ์ และศิลปะวัตถุของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อยู่เป็นจำนวนมาก พระองค์จึงทรงโปรดเกล้าฯให้พระราชวัง ดำเนินการและประสานงานการบูรณะซ่อมแซมขึ้นใหม่เพื่อจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ ส่วนพระองค์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้เป็นเป็นสมบัติของชาติสืบไป

พระที่นั่งวิมานเมฆ เป็นพระที่นั่งไม้สักทั้งหลัง ด้านทิศใต้ขนานกับอ่างหยกอีกด้านติดกับคลองร่องไม้หอม ลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นแบบยุโรป องค์พระที่นั่งเป็นรูปตัวแอล ยาว ด้านละ 60 เมตร สูง 4 ชั้น ชั้นล่างสุดก่ออิฐเพียงชั้นเดียว ชั้นอื่นๆเป็นไม้สักทั้งสิ้น

จั่ว หน้าบันคอสองและเชิงชายโดยรอบ ประดับลายไม้ฉลุแบบ “ขนมปังขิง” ( Ginger Bread ) อันเป็นที่นิยมกันมากในสมัยนั้น

บันไดขึ้นลงแต่ละชั้น มีทั้งบันไดธรรมดา และบันไดเวียน ซึ่งมีราวฉลุลวดลายงดงามมาก

ทางด้านหลังของพระทีนั่งด้านทิศใต้ ตรงข้ามกับศาลาริมน้ำคนละฝั่งคลอง มีพระตำหนักเรือนต้น แบบเรือนไทยหมู่ สำหรับให้เพื่อนต้ ( พระสหายของพระมหากษัตริย์ที่เป็นบุคคลธรรมดา ) ใช้เป็นที่พักแรม ระหว่างกลุ่มเรือนไทย และองค์พระที่นั่งฯสะพานไม้ราวเหล็ก เชื่อมฝั่งคลองที่คั่นอยู่

ห้องที่จัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑ์ มีทั้งหมด 31 ห้อง ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

ห้องที่คงลักษณะในอดีตไว้ ได้แก่ ห้องบรรทม ห้องสรง ท้องพระโรง เป็นต้น
ห้องที่จัดแสดงศิลปะวัตถุแยกประเภท ได้แก่ ห้องเครื่องเงิน ห้องเครื่องลายครามจีน ห้องเครื่องเล่น เป็นต้น

 

พระที่นั่งศิวโมกข์พิมาน

พระที่นั่งศิวโมกข์พิมาน ตั้งอยู่ในเขตพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้า ด้านหน้าพระบรมมหาราชวัง เหนือวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2325 เพื่อเป็นท้องพระโรงสำหรับเสด็จออกขุนนางและบำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆ

พระที่นั่งศิวโมกข์พิมานเป็นพระที่นั่งโถง แบบพระที่นั่งทรงปืนในพระราชวังหลวงกรุงศรีอยุธยา เป็นเหตุให้มีชื่อเรียกพระที่นั่งองค์นี้อีกชื่อหนึ่งว่า “ พระที่นั่งทรงปืน ”

ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิ์พลเสพทรงปฏิสังขรณ์ขยายให้ใหญ่กว่าเดิมและเปลี่ยนจากเครื่องไม้เป้นก่ออิฐถือปูน มีฝาเพียงด้านใต้และด้านตะวันตก

จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกาศเลิกตำแหน่งวังหน้าได้พระราชทานวังนี้ให้จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์สถาน สำหรับพระนครขึ้นแทนพิพิธภัณฑ์ที่หอรัษฎากรพิพัฒน์ เมื่อปี พ.ศ. 2430 พร้อมแก้ไขดัดแปลงสภาพให้มีผนังทั้ง 4 ด้าน ทำมุขขึ้นทางด้านหน้าหลังคาเป็นชั้นลด 3 ชั้น มุงกระเบื้องดินเผา ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบันจำหลักลายลงรักปิดทอง พื้นประดับกระจกสี หน้าบันด้านตะวันออกจำหลักรูปพระนารายณ์ทรงครุฑล้อมด้วยลายกนกหน้าบันด้านตะวันตก จำหลักรูปพระพรหมทรงหงส์มีลายกนกล้อม

 

พระที่นั่งพุทไธสวรรย์

พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ เป็นพระที่นั่งที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2330 ตั้งอยู่ที่แขวงวัดชนะสงครามเขตพระนคร มีฐานะเป็นเสมือนหอพระแห่งวังหน้า ใช้เป็นสถานที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท (บุญมา) อัญเชิญมาจากเชียงใหม่

ตัวพระที่นั่งเป็นชั้นเดียวยกพื้นสูง ด้านหน้า-หลังมีชานยื่นออกมา มีบันไดขึ้นลงได้ทั้งสองทาง ด้านข้างเป็นเฉลียงมีเสารายหลังคาทำลดเป็น 2 ชั้น ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบันจำหลักหลักลายลงรักปิดทอง ที่คอสองทำลายปูนปั้นเขียนลายเทพชุมนุมและเรื่องปฐมสมโพธิ์

ครั้งสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท เสด็จสวรรคตพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าฯให้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ไปประดิษฐานยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม สมเด็จกรมพระราชวังบวรในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าฯให้ตั้งพระแท่นเศวตฉัตรขึ้นในพระที่นั่งเพื่อใช้เป็นที่เสด็จออกรับแขกเมืองและทำการพระราชพิธีต่างๆและสิ้นพระชนม์ก็ใช้เป็นที่ประดิษฐานพระศพด้วย

สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิ์พลเสพในรัชกาลที่ 3 ทรงปฏิสังขรณ์ โปรดเกล้าฯให้รื้อเครื่องบนลงทำใหม่ทั้งหมด เปลี่ยนหลังคาพาไลของเดิม ต่อเป็นเฉลียงเสาลอยไว้ ผนังข้างบนเป็นคอสอง ชุมพระแกลทำใหม่ แล้วเปลี่ยนนามจากพระที่นั่งสุทธาสวรรย์เป็นพระที่นั่งพุทไธสวรรย์พร้อมกับโปรดเกล้าฯให้ย้ายพระแท่นเศวตฉัตรไปไว้ที่พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย และใช้เป็นที่ประกอบพิธีพระราชกุศลดังเดิม

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้นำพระพุทธสิหิงค์ มาประดิษฐาน ณ พระที่นั่งนี้ดังแต่ก่อนเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งยังคงประดิษฐานอยู่ ณ แห่งนี้สืบต่อมาจนปัจจุบัน

(กลับสู่หน้าหลัก)