7.gif (5666 bytes)

 

ารดำน้ำในประเทศไทย เริ่มต้นขึ้นที่หน่วยประดาน้ำของกองทัพเรือไทย และติดตามด้วยนักดำน้ำที่เป็น ทหารของอเมริกาเข้ามาตั้งฐานทัพที่สัตหีบ จ.ชลบุรี นอกจากนั้นนักเรียนไทยที่จบการศึกษาจากต่างประเทศก็เป็น บุคคลอีกกลุ่มหนึ่งที่เข้ามาเพิ่มจำนวนนักดำน้ำไทยให้มากขึ้นด้วย บุคคลเหล่านี้ได้พบปะและรวมตัวกันแถบทะเล พัทยา โดยมีบุคคลสำคัญที่จัดเป็นปรมาจารย์ดำน้ำของไทย คือ นาย DUSTY RHODE ซึ่งเป็นครูฝึกทหาร นาวิกโยธินของอเมริกามาเป็นครูสอนนักดำน้ำไทย โดยมีลูกศิษย์ดำน้ำรุ่นแรก ๆ เช่น ดำรงค์ สาธุการ ดรล์ รัตนทัศนีย์ ปรีดา จุลละมณฑล ศรีพิจิตต์ เติมชัยเจริญศักดิ์ พลัง ยิ้มพาณิชย์ เป็นต้น นักดำน้ำไทยเหล่านี้เอง ที่เป็นรากฐานให้เกิดสถาบันสอนดำน้ำอีกหลายแห่ง ทำให้การดำน้ำได้แพร่หลายในประเทศไทยในเวลาต่อมา

ารดำน้ำไทยเริ่มกล่าวขวัญถึงเป็นครั้งแรก ในกรณีล่าสมบัติเรือจมในบริเวณหมู่เกาะต่าง ๆ ในอ่าวไทย มีผู้หัน มาสนใจการดำน้ำมากขึ้น ได้มีโรงเรียนสอนดำน้ำอย่างเป็นกิจจะลักษณะ เช่น บริษัท SEAT สี่พระยา และบริษัท มนุษย์กบไทย ซึ่งเป็นสถาบันสอนดำน้ำที่มีความสำคัญกับวงการดำน้ำไทยมาก เพราะเป็นสถาบันที่ผลิตนักเรียนดำ น้ำไทยจำนวนมากที่สุด

นุสาร อ.ส.ท. ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นสื่อมวลชนที่เปิดโลกใต้ทะเลให้ชาวไทยรู้จัก ด้วยการ เขียนสารคดีและถ่ายทอดภาพใต้ทะเลที่สวยงาม โดยหวังผลให้ผู้อ่านเกิดความรักและชื่นชมในความสวยงามของ โลกใต้ทะเลไทย เกิดความคิดที่จะช่วยกันอนุรักษ์ความสวยงามนี้ไว้ให้ยืนยง และก็ยังคงทำงานอย่างต่อเนื่อง โดยผลักดันให้เกิด "โครงการรักโลกใต้ทะเล" ขึ้น เพื่อทำงานด้านการอนุรักษ์ต่อไป

ารดำน้ำเป็นกิจกรรมที่แตกต่างจากกิจกรรมท่องเที่ยวประเภทอื่น เพราะเต็มไปด้วยความรับผิดชอบอย่างมาก กล่าวคือ
  1. รับผิดชอบต่อชีวิตและความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น เพราะการดำน้ำนั้นอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ หากขาดความรู้ความเข้าใจและความระมัดระวัง
  2. รับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อมใต้ทะเล เพราะต้นทุนอย่างหนึ่งของการดำน้ำก็คือ สภาพธรรมชาติใต้น้ำอัน เปราะบาง การนำพานักท่องเที่ยวลงไปสัมผัสกับความสวยงามใต้น้ำนั้น อาจทำให้เกิดการทำลายได้ จึงจำ เป็นต้องปลูกฝังนิสัยการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมใต้น้ำให้กับนักดำน้ำไว้ก่อน

ข้อปฏิบัติของนักท่องเที่ยวในแนวปะการัง
นักดำน้ำอาจเป็นผู้ที่ทำลายแนวปะการังลงไปโดยไม่ตั้งใจ นักดำน้ำที่ดีจะพยายามไม่แตะต้องแนวปะการังเลย เราสามารถที่จะหลีกเลี่ยงความเสียหายนี้ได้ดังต่อไปนี้

  1. ใช้ตะกั่วถ่วงน้ำหนักให้เหมาะสม และเอาใจใส่กับการปรับการลอยตัวอย่างเคร่งครัด
  2. ควบคุมการใช้ตีนกบเมื่อว่ายอยู่เหนือแนวปะการัง ระวังอย่าเตะตีนกบไปถูกแนวปะการัง และอย่าเตะทราย ให้ฟุ้งขึ้นมา เพราะทรายที่คลุ้งลอยไปตกบนตัวปะการัง จะทำให้ปะการังตาย
  3. อย่างเก็บสิ่งของจากท้องทะเลโดยเด็ดขาด
  4. อย่ายืนพักตัวบนปะการัง โขดปะการังขนาดใหญ่ แม้จะดูแข็งแรง แต่ในตัวมันนั้นคือชีวิตปะการังตัวเล็ก ๆ ที่อาจจะตายได้แค่ถูกสัมผัส 
  5. อย่าแตะต้องแนวปะการัง หลีกเลี่ยงการจับต้องปะการังที่ยังมีชีวิตอยู่ เพียงมือไปสัมผัสลงบนตัวปะการัง เพียงเบา ๆ แม้จะไม่ทำให้มันหักลงมาก็ตาม      แต่อาจจะฆ่าตัวปะการังได้
  6.   เก็บอุปกรณ์ที่เป็นสายระโยงระยางให้เรียบร้อย นักดำน้ำที่ปล่อยให้สายอากาศสำรอง หรือสายวัดอากาศ ลากไปมักจะไปเกี่ยวกับปะการังอยู่เสมอ ๆ
  7. รัดเข็มขัดตะกั่วให้เรียบร้อย เข็มขัดตะกั่วถ้าเกิดตกลงไปจะทำให้ปะการังเสียหายมาก
  8. อย่าสัมผัสหรือจับต้องสัตว์น้ำทุกชนิด อย่าดำน้ำไล่ต้อน แต่ให้เฝ้าชมอยู่ในระยะห่างพอสมควร โดย เฉพาะสัตว์ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นปลากระเบนราหูหรือปลาฉลามวาฬ เพราะจะเป็นเหตุให้สัตว์ใหญ่เหล่านี้ตื่น กลัว และอาจจะไม่ยอมเข้าใกล้นักดำน้ำอีกเลย

แนวปะการัง คือ ระบบนิเวศที่ซับซ้อน และมีความหลากหลายมากที่สุดใน ท้องทะเล แนวปะการังจัดเป็นสิ่งก่อสร้างของสิ่งมีชีวิตที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่ผู้ที่สร้างแนวปะการังขึ้นมานั้น กลับเป็นสัตว์ตัวเล็ก ๆ ที่เราเรียกว่า "ตัวปะการัง"การเจริญเติบโตของแนวปะการังเป็นไปอย่างช้า ๆ ในแต่ละปี ปะการังบาง ชนิดอาจเพิ่มขนาดของตนเองขึ้นมาได้เพียง 2-5 เซนติเมตร เท่านั้น ดังนั้นกว่า จะเป็นแนวปะการังอันกว้างใหญ่อย่างที่เราเห็นทุกวันนี้ จึงกินเวลายาวนานนับ หมื่น ๆ ปีเลยทีเดียว



นวปะการังในโลกแบ่งออกได้เป็น 3 แบบด้วยกัน คือ
  1. BARRIER REEF คือ แนวปะการังนอกฝั่ง แบบเดียวกับแนวปะการัง GREAT RARRIER REEF ของประเทศออสเตรเลีย เป็นแนวปะการังขนาดใหญ่โต มีความกว้างยาวนับเป็นร้อย ๆ ไมล์ แนวปะการังแบบนี้ไม่มีในประเทศไทย
  2. ATOLL คือ เกาะปะการัง เกิดขึ้นจากการรวมตัวทับถมกันของปะการังในแนวดิ่งจนกลายสภาพเป็นเกาะ ปะการัง แบบเดียวกับประเทศมัลดีฟส์ และเกาะสีปาดัน มาเลเซีย
  3. FRINGING REEF คือ แนวปะการังชายฝั่ง เป็นแนวปะการังที่เกิดขึ้นในบริเวณชายฝั่งและหมู่เกาะใน เขตน้ำค่อนข้างตื้น
นวปะการังในประเทศไทย   ทั้งหมดเป็นแบบ FRINGING REEF นี้ โดยพบว่าอาจแบ่งตามลักษณะสภาพ แวดล้อมที่แตกต่างกันเป็น 4 รูปแบบด้วยกัน คือ
  1. แนวปะการังริมฝั่ง เป็นแนวปะการังที่แท้จริง เพราะเป็นการสะสมตัวจนกลายเป็นแนวปะการัง พบได้ทั่ว ไปในแหล่งดำน้ำดูปะการังน้ำตื้นตามชายฝั่งและหมู่เกาะต่าง ๆ เป็นแนวปะการังชนิดที่ทรงคุณค่าที่สุด เพราะเป็นที่ที่สัตว์ทะเลจะใช้เวลาช่วงหนึ่งของชีวิตเข้ามาอาศัยเติบโตอยู่ในบริเวณนี้ ปะการังชนิดนี้ใน ปัจจุบันจัดเป็นปะการังที่มีความเสียหายมากที่สุด
  2. กลุ่มปะการังบนพื้นทราย เป็นกลุ่มปะการังเล็ก ๆ ที่เกิดขึ้นบนพื้นทราย ยังมีการสะสมตัวกันไม่มากนัก ส่วนมากเป็นปะการังสมองและเขากวาง
  3. ปะการังบนโขดหิน อยู่ในแนวน้ำลึก พบได้ในแหล่งดำน้ำทั่วไปในหมู่เกาะสิมิลัน เช่น ที่เกาะเจ็ด (หินหัว กะโหลก) หรือ แฟนตาซี รีฟ เป็นต้น แนวปะการังชนิดนี้เปรียบดังโอเอซีสกลางทะเลทราย จึงเป็นที่รวม ตัวของสัตว์ทะเลหลากหลาย โดยเฉพาะฝูงปลาต่าง ๆ ที่แวะเวียนเข้ามาหาอาหารอย่างสม่ำเสมอ
  4. แหล่งกัลปังหาและปะการังอ่อน ไม่เชิงเป็นแนวปะการัง มีศักยภาพในการเป็นที่หลบภัยและที่อยู่อาศัยของ ปลาเล็กปลาน้อยไม่มากนัก จึงไม่ค่อยมีคุณค่าเท่าใดนักในระบบนิเวศ หากแนวปะการังชนิดนี้และชนิด ปะการังบนโขดหิน กลับทรงคุณค่าอย่างยิ่งในแง่การท่องเที่ยว เพราะปะการังอ่อนและกัลปังหามีความ สวยงามมาก และเป็นจุดสนใจอย่างยิ่งของบรรดานักดำน้ำและช่างภาพใต้ทะเล


ด้วยเหตุนี้เอง การดำน้ำจึงถูกจัดให้เป็นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ หรือ ECOTOURISM ในส่วนของพวกเรา ที่เคยชื่นชอบความงดงามของโลกใต้ทะเลจากภาพถ่ายหรือภาพยนตร์ หากอยากจะลองลงไปสัมผัสกับธรรมชาติ อย่างใกล้ชิดแล้วละก็ ขอยืนยันว่า โลกใต้ทะเลไทยนั้น งดงามอย่างยิ่งจริง ๆ เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ท้าทายความกล้า หาญและความสามารถ เป็นการเปิดโลกทัศน์ให้กว้างขึ้น ทำให้เกิดความเข้าใจในทุกชีวิตที่ต้องแบ่งปันกันใช้ ทรัพยากรในโลกร่วมกัน


back.gif (1534 bytes)