
ตำนานเกาะช้าง
เกาะช้างของจังหวัดตราด
มีตำนานเล่าว่า เมื่อครั้งอดีตกาล
พระโพธิสัตว์ได้มาสร้างพระตำหนักเลี้ยงช้างอยู่บนเกาะแห่งนี้มานานหลายปี
ต่อมาได้มีช้างพลายเชือกหนึ่ง
ชื่อ อ้ายเพชร
ซึ่งเป็นช้างจ่าโขลงของเหล่าช้างทั้งหลายบนเกาะนี้
โดยมีสองตายายเป็นผู้คอยดูแลโขลงช้างนี้ตลอดมา
วันหนึ่ง
อ้ายเพชร ช้างจ่าโขลง
เกิดอาการตกมัน
แล่นเตลิดหนีเข้าป่า
และได้ไปผสมพันธุ์กับช้างพังซึ่งเป็นช้างป่าตัวหนึ่งจนตกลูกได้
3 ตัว
ต่อมาเมื่อพระโพธิสัตว์ทราบเรื่องเข้าจึงสั่งให้สองตายายผู้ดูแลช้างออกติดตามหาอ้ายเพชร
สองตายายครั้นได้รับคำสั่งแล้วจึงตกลงกันว่า
ควรจะแยกย้ายกันออกไปตามหาช้างจะดีกว่าเพราะเกาะมีพื้นที่กว้างขวางมาก
เมื่อคิดได้เช่นนั้น
ตากับยายจึงตกลงกันว่า
ให้ตาไปตามหาช้างทางทิศเหนือและให้ยายม่อมไปตามหาช้างทางทิศใต้
ขณะที่ตากับยายแยกย้ายกันออกไปค้นหาติดตามช้าง
ก็ได้ข่าวจากชาวบ้านบนเกาะว่า
อ้ายเพชร
ช้างจ่าโขลงเชือกนี้
ได้หนีไปจนสุดเกาะด้านทางทิศเหนือ
ซึ่งตากำลังออกติดตามอยู่พอดี
แต่แล้วมันก็ว่ายน้ำข้ามทะเลวกมาขึ้นฝั่งที่บ้านธรรมชาติ
ทำให้ลูกช้าง 3 ตัวได้ว่ายน้ำติดตามอ้ายเพชร
ช้างจ่าโขลงไปด้วย
แต่มันว่ายน้ำไม่เป็นจึงจมน้ำตายทั้ง
3 ตัวกลายเป็นกองหิน
3 กอง ปัจจุบันตั้งอยู่บริเวณอ่าวคลองสนซึ่งชาวบ้านมักจะเรียกกองหินนั้นว่า
หินช้างสามลูก
มาจนทุกวันนี้
ส่วนอ้ายเพชรได้ว่ายน้ำไปถึงกลางทะเล
ซึ่งเป็นร่องน้ำลึก
ก็ได้ถ่ายมูลเอาไว้
ต่อมา
ก็กลายเป็นกองหินกลางทะเล
ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า หินขี้ช้าง
ปัจจุบัน
ตรงหินขี้ช้างได้สร้างเป็นประภาคารหรือกระโจมไฟสำหรับการเดินเรือขึ้นบนกองหินแห่งนี้
ครั้นอ้ายเพชร
ช้างจ่าโขลง ขึ้นฝั่งได้แล้ว
ก็มุ่งหน้าไปตามชายฝั่งด้านทิศใต้
ซึ่งเป็นทางเดียวกันกับที่ยายม่อมกำลังออกติดตามค้นหา
ส่วนตาซึ่งออกติดตามขึ้นไปทางทิศเหนือตามไม่ทันจึงเดินทางกลับบ้านเสียก่อน
และปล่อยให้ยายม่อมติดตามหาช้างแต่เพียงลำพังคนเดียว
ยายม่อมออกตามหาช้างอ้ายเพชรไปทางทิศใต้จนถึงฝั่งแล้ว
จึงเดินเลาะเลียบตามชายฝั่งทะเลไปเรื่อยๆ
เพราะเหตุว่ายายไม่กล้าที่จะเดินไปตามป่าไม้
เนื่องจาก
มีสัตว์ป่าชุกชุมมากกลัวจะได้รับอันตราย
ครั้นเดินไปก็พลัดตกลงไปในบ่อโคลนลึกจนถอนตัวไม่ขึ้นจึง
ถึงแก่ความตายจนร่างกายเป็นหิน
ต่อมา
ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า
หินยายม่อม
สำหรับงอบที่ยายสวมอยู่บนศีรษะ
ก็ลอยไปติดที่ปลายแหลมแห่งหนึ่ง
จนกลายเป็นหิน
ชาวบ้านเรียกว่า แหลมงอบ
มาจนถึงทุกวันนี้
ครั้นพระโพธิสัตว์ทราบเรื่องว่า
อ้ายเพชร ช้างจ่าโขลง
มุ่งหน้าลงไปทางทิศใต้
จึงคะเนว่ามันจะต้องข้ามไปยังอีกเกาะหนึ่งเป็นแน่
จึงได้เกณฑ์ชาวบ้านหลายคนไปทำคอกดักเอาไว้ เกือบจะถึงท้ายเกาะด้านใต้
ซึ่งต่อมาเรียกว่า
บ้านคอก
ส่วนสลักและลิ่มไม้ที่นำมาตอกคอกช้าง
ต่อมาได้กลายมาเป็นเกาะชื่อ
เกาะลิ่ม และเกาะสลัก รวมเรียกว่า
บ้านสลักคอก
และในที่สุดอ้ายเพชรก็ได้ว่ายน้ำข้ามหนีไปยังเกาะตามที่พระโพธิสัตว์คาดการณ์เอาไว้
จนได้ถ่ายมูลทิ้งเอาไว้กลายเป็นหินกอง
แต่ระหว่างนั้นจะเป็นช่วงน้ำลึก
จึงมองไม่เห็นหินโผล่ขึ้นมา
แต่เมื่ออ้ายเพชรว่ายน้ำข้ามไปที่เกาะคอกแล้ว
มันได้อ้อมแหลมไปทางอ่าวหน้านอก
พระโพธิสัตว์จึงสั่งให้คนไปสกัดให้มันวกกลับมาเข้าคอก
นับแต่นั้นมาชาวบ้านจึงเรียกบริเวณนั้นว่า
บ้านสลักเพชร ซึ่งมีความหมายว่าที่สกัดอ้ายเพชรได้นั่นเองเนื่องด้วยได้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นบนเกาะช้าง
ฉะนั้น
พระโพธิสัตว์จึงได้ลงมือกระทำพิธีฝังอาถรรพ์เอาไว้ตามเกาะต่างๆ
บริเวณใกล้เคียง
ทั้งนี้เพื่อมิให้ช้างได้ขึ้นไปอาศัยอยู่บนเกาะเหล่านี้ได้อีก
ซึ่งก็เป็นความจริงอย่างที่ตำนานกล่าวไว้
เพราะว่านับแต่นั้นมา
เกาะเหล่านี้ก็ไม่มีช้างขึ้นไปอาศัยอยู่อีกเลย
ปัจจุบัน
เกาะช้างเป็นเกาะที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดตราด
ตั้งอยู่ในทะเลทางทิศตะวันตกของเมืองตราด
สามารถมองเห็นเกาะนี้ได้บริเวณอ่าวตาลคู่
อ่าวธรรมชาติ และเเหลมงอบ