กฎหมายเกี่ยวกับการสืบพยานเด็ก

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา ๑๓๓ ทวิ ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่สามปีขึ้นไปหรือในคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่ถึงสามปี และผู้เสียหายหรือพยานซึ่งเป็นเด็ก ร้องขอหรือในคดีทำร้ายร่างกายเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี การถามปากคำเด็กไว้ใน ฐานะเป็นผู้เสียหายหรือพยาน ให้แยกกระทำเป็นส่วนสัด ในสถานที่ที่เหมาะสม สำหรับเด็กและให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอและ พนักงานอัยการเข้าร่วม ในการถามปากคำนั้นด้วย

มาตรา ๑๓๓ ทวิ ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่สามปีขึ้นไปหรือในคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่ถึงสามปี และผู้เสียหายหรือพยานซึ่งเป็นเด็ก ร้องขอหรือในคดีทำร้ายร่างกายเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี การถามปากคำเด็กไว้ใน ฐานะเป็นผู้เสียหายหรือพยาน ให้แยกกระทำเป็นส่วนสัด ในสถานที่ที่เหมาะสม สำหรับเด็กและให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์บุคคลที่เด็กร้องขอและ พนักงานอัยการเข้าร่วม ในการถามปากคำนั้นด้วย

ให้เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวน ที่จะต้องแจ้งให้นักจิตวิทยาหรือ นักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอและพนักงาน อัยการทราบ

นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ หรือพนักงานอัยการที่เข้าร่วมในการถาม ปากคำอาจถูกผู้เสียหายหรือพยานซึ่งเป็นเด็กตั้งข้อรังเกียจได้ หากมีกรณีดังกล่าว ให้เปลี่ยนตัวผู้นั้น

ภายใต้บังคับแห่งมาตรา ๑๓๙ การถามปากคำเด็กตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานสอบสวนจัดให้มีการบันทึกภาพ และเสียงการถามปากคำดังกล่าวซึ่งสามารถ นำออกถ่ายทอดได้อย่างต่อเนื่องไว้เป็นพยาน

ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนอย่างยิ่งซึ่งมีเหตุอันควรไม่อาจรอนักจิตวิทยาหรือ นักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ และพนักงานอัยการเข้าร่วมในการ ถาม ปากคำพร้อมกันได้ ให้พนักงานสอบสวนปากคำเด็กโดยมีบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ตามวรรคหนึ่งอยู่ร่วมด้วยก็ได้ แต่ต้องบันทึกเหตุที่ไม่อาจรอบุคคลอื่นไว้ใน สำนวนการสอบสวน และมิให้ถือว่าการถามปากคำผู้เสียหายหรือพยานซึ่งเป็นเด็ก ในกรณีดังกล่าวที่ได้กระทำไปแล้วไม่ชอบด้วยกฎหมาย
มาตรา ๑๓๓ ตรี ในกรณีที่พนักงานสอบสวนมีความจำเป็นต้องจัดให้ เด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี ในฐานะเป็นผู้เสียหายหรือพยานชี้ตัวผู้ต้องหา ให้พนักงาน - สอบสวน จัดให้มีการชี้ตัวผู้ต้องหาในถานที่ที่เหมาะสมและสามารถจะป้องกันมิให้ ผู้ต้องหาเห็นตัวผู้เสียหายหรือพยาน การชี้ตัวผู้ต้องหาดังกล่าวให้มีนักจิตวิทยาหรือ นักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ และพนักงานอัยการร่วมอยู่ด้วย และให้นำบทบัญญัติในมาตรา ๑๓๓ ทวิ วรรคห้า มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา ๑๓๔ ทวิ ในคดีที่ผู้ต้องหามีอายุไม่เกินสิบแปดปีในวันที่ พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหา ก่อนเริ่มถามคำให้การให้พนักงานสอบสวน ถามผู้ต้องหาว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีให้รัฐจัดหาทนายความให้

การจัดหาทนายความตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานสอบสวนปฏิบัติตาม หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง และให้ทนายความ ที่รัฐจัดหาให้ได้รับเงินรางวัลและค่าใช้จ่ายตามระเบียบที่กระทรวงยุติธรรม กำหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง

มาตรา ๑๓๔ ตรี ให้นำบทบัญญัติในมาตรา ๑๓๓ ทวิ มาใช้บังคับ โดยอนุโลมแก่การสอบสวนผู้ต้องหาอายุไม่เกินสิบแปดปี



สรุป สาระสำคัญ พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม

พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ๒๐) พ.ศ.๒๕๔๒

(วิธีสืบพยานเด็ก)

มีผลใช้บังคับในวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๔๓ เป็นต้นไป มีสาระสำคัญดังนี้


๑. กำหนดให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสังเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอและพนักงานอัยการเข้าร่วม ในการร้องทุกข์ การสอบสวน การไต่สวนมูลฟ้อง และการพิจารณาในคดีที่พยานเป็นเด็กอายุไม่เกิน ๑๘ ปี เว้นแต่กรณีจำเป็นเร่งด่วนอย่างยิ่ง
๒. กำหนดวิธีสอบปากคำ การชี้ตัวผู้ต้องหาและการบันทึกปากคำชั้นสอบสวนในสถานที่และวิธีการ ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก และให้ใช้กับการจดบันทึกคำร้องทุกข์และการไต่สวนมูลฟ้องด้วย
๓. กำหนดให้การสอบสวนผู้ต้องหาที่เป็นเด็กจะต้องมีทนายความของเด็กร่วมด้วย และให้นำวิธีการ สอบปากคำและการให้ปากคำในชั้นสอบสวนสำหรับเด็กมาใช้โดยอนุโลม
๔. กำหนดให้มีวิธีการสืบพยานสำหรับเด็กอายุไม่เกิน ๑๘ ปี ในชั้นศาลเป็นพิเศษทั้งสถานที่ และวิธี การ และให้นำไปใช้ในการไต่สวนชันสูตรพลิกศพ การไต่สวนมูลฟ้องและการสืบพยานนอกศาล
๕. ปรับปรุงเหตุและวิธีการเกี่ยวกับการสืบพยานที่เป็นเด็กไว้ก่อนการฟ้องคดีต่อศาล และให้นำวิธี การสืบพยานสำหรับเด็กในศาลมาใช้กับกรณีดังกล่าว