นโยบายโรงพยาบาลตราด
วิสัยทัศน์
โรงพยาบาลตราดมุ่งมั่นผ่านการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลในปีพศ.2546
พันธกิจ
โรงพยาบาลตราดมีพันธกิจในการให้บริการสาธารณสุขโดยองค์รวมประกอบด้วยการรักษาโรค
ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค
และฟื้นฟูสมรรถภาพแก่ผู้มารับบริการ
และเป็นศูนย์รับผู้ป่วยระดับทุติยภูมิในเขตรับผิดชอบ
รวมถึงการฝึกอบรม การวิจัย
สนับสนุนส่งเสริมหน่วยงานอื่นในการยกระดับสุขภาพของประชาชน
นโยบายคุณภาพ
เราจะให้การรักษาพยาบาล
และบริการที่มีคุณภาพเป็นที่พึงพอใจของผู้มารับบริการ
คำขวัญ
โรงพยาบาลมาตรฐาน
บริการประทับใจ
ประวัติโรงพยาบาลตราด
กระทรวงสาธารณสุข
เริ่มดำเนินการหาสถานที่ก่อสร้างเมื่อปี
พ.ศ. 2494
โดยเลือกเอาเนินไข่เต่าหรือบางท่านเรียกดอนไข่เต่า
เป็นสุสานเก่าซึ่งใช้เป็นสถานที่ฝังศพและเผาศพเป็นสถานที่ก่อสร้างได้ทำการล้างสุสานโดยขุดศพตามหลุมเก่าที่พอจะสังเกตุได้นำไปบำเพ็ญกุศลตามประเพณี
ซึ่งขณะนั้น
การคมนาคมที่จะติดต่อกับจังหวัดอื่น
ๆ ได้ทางเดียวคือ ทางทะเล
ซึ่งมีเรือโดยสารระหว่างจังหวัดตราดถึงกรุงเทพฯ
อาทิตย์ละครั้ง ใช้เวลา 3 วัน 3
คืน จึงจะถึงกรุงเทพฯ
ทางคมนาคมภายในจังหวัดมีถนนเพียงสองสายคือ
จากบ้านท่าเรือจ้างเข้ามาในตัวเมืองยาวประมาณ
2 กม. และจากตัวเมืองตราด-แหลมงอบยาวประมาณ
17 กม.
โรงพยาบาลตราด เปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2496 มีนายแพทย์พิสุทธิ์ อุตตะโมท เป็นผู้อำนวยการคนแรก โดยมีอาคารดังนี้คือเรือนคนไข้ใน 25 เตียง 1 หลัง ตึกอำนวยการ 1 หลัง โรงซักฟอก1 หลัง เรือนพักพยาบาล 1 หลัง บ้านพักแพทย์ 2 หลัง โรงครัว 1 หลัง มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 20-25 คน ต่อมาในปี พ.ศ. 2503 บรรดาเจ้าของโรงเลื่อยจักรได้เห็นว่ามีจำนวนคนไข้มากขึ้น ควรแยกผู้ป่วยหญิงและชายออกจากกันเป็นสัดส่วนจึงได้ร่วมกันสร้างเรือนคนไข้ขนาด 25 เตียง อุทิศให้โรงพยาบาลตราด 1 หลัง ต่อมาพลโทอัมพร จินตกานนท์ได้สร้างตึกพิเศษเดี่ยว 7 ห้อง 1 หลังและตระกูลจินตกานนท์บริจาควัสดุ อุปกรณ์ต่างๆประจำห้อง โดยตั้งชื่อตึกว่า พระยาอรรถวิรัชวาทะเศรณี สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้ทรงเปิดอาคารเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ.2512 และได้ต่อเติมเป็นตึกพิเศษเดี่ยว 19 ห้อง ในปี พ.ศ. 2521 ส่วนเรือนคนไข้ 25 เตียง ได้รื้อเพื่อใช้สถานที่สร้างตึกอุบัติเหตุ ตึกเอ็กซเรย์และตึกผ่าตัดในปัจจุบัน เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2542 ได้รับพระราชทานปัจจัยจากสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 19 (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช มหาสังฆปริณายก ทรงอนุมัติทุนทรัพย์ในการสร้างอาคารรักษาพยาบาล 108 เตียง 6 ชั้น ทรงพระราชทานนามว่า ตึกสกลมหาสังฆปริณายกที่ 15 (เป็นที่ระลึกแด่สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 15) ซึ่งจะเปิดดำเนินการ ในปี 2544 ต่อไป ปัจจุบัน โรงพยาบาลตราด มีเตียงในการรักษาพยาบาล 340 เตียง ประกอบด้วย อาคารรักษาพยาบาลจำนวน 11 หลัง อาคารสนับสนุน 11หลัง อาคารที่พักอาศัย 18หลังและอาคารสาธารณูปโภค 9หลัง
สถานที่ตั้ง เลขที่ 108 ถนนสุขุมวิท ตำบลวังกระแจะ อำเภอเมือง จังหวัดตราด รหัสไปรษณีย์ 23000
จำนวนพื้นที่ 33 ไร่ 37 ตารางวา
อาณาเขต ทิศเหนือ ติดต่อกับ ที่ดินส่วนบุคคล
ทิศใต้ ติดต่อกับ ถนนวิวัฒนะ
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ที่ดินส่วนบุคคล
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ถนนสุขุมวิท
ทำเนียบผู้อำนวยการโรงพยาบาลตราด
นายแพทย์พิสุทธิ์ อุตตะโมท |
พ.ศ. 2496 - พ.ศ. 2510 |
นายแพทย์สนอง โกศาคาร |
พ.ศ. 2510 - พ.ศ. 2516 |
นายแพทย์ปัญญา สอนคม |
พ.ศ. 2517 - พ.ศ. 2521 |
นายแพทย์บูรพา รัตน์นราทร |
พ.ศ. 2522 - 15 กันยายน 2528 |
นายแพทย์พจนารถ จันทโรจน์วงศ์ |
16 กันยายน 2528 - 30 ธันวาคม 2529 |
นายแพทย์ชอบ ดียิ่ง |
30 ธันวาคม 2529 - 16 มกราคม 2533 |
นายแพทย์นิยม พลับพลา |
17 มกราคม 2533 - 30 กันยายน 2534 |
นายแพทย์วุฒิ โอสถานนท์ |
1 ตุลาคม 2534 - 13 ตุลาคม 2538 |
นายแพทย์สมชาย เชื้อเพชระโสภณ |
14 ตุลาคม 2538 13 ตุลาคม 2542 |
นายแพทย์ชัยสิทธิ์ ภิญโญวิทยะกูล |
14 ตุลาคม 2542 - ปัจจุบัน |
อัตรากำลังเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลตราด
ลำดับ |
ชื่อตำแหน่ง |
กรอบ |
ปฏิบัติงานจริง |
พนักงานของรัฐ |
1 |
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลตราด |
1 |
1 |
|
2 |
รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ |
1 |
1 |
|
3 |
รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร |
1 |
1 |
|
4 |
นายแพทย์ |
102 |
29 |
7 |
5 |
พยาบาลวิชาชีพ |
268 |
221 |
11 |
6 |
พยาบาลเทคนิค |
127 |
102 |
5 |
7 |
เจ้าหน้าที่พยาบาล |
7 |
||
8 |
เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป |
1 |
1 |
|
9 |
เจ้าพนักงานธุรการ |
7 |
5 |
|
10 |
เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล |
4 |
2 |
|
11 |
บุคลากร |
1 |
1 |
|
12 |
เจ้าหน้าที่บริหารงานการเงินและการบัญชี |
1 |
1 |
|
13 |
นักวิชาการการเงินและบัญชี |
1 |
1 |
|
14 |
เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี |
12 |
4 |
|
15 |
เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี |
1 |
||
16 |
เจ้าพนักงานพัสดุ |
5 |
1 |
|
17 |
นักวิชาการสุขาภิบาล |
1 |
1 |
|
18 |
นักวิชาการสาธารณสุข |
4 |
2 |
|
19 |
นักวิชาการสุขศึกษา |
3 |
2 |
|
20 |
นักวิชาการควบคุมโรค |
1 |
1 |
|
21 |
เจ้าพนักงานโสตทัศนศึกษา |
2 |
3 |
|
22 |
เจ้าหน้าที่โสตทัศนศึกษา |
1 |
1 |
|
23 |
นายช่างศิลป์ |
2 |
- |
|
24 |
เจ้าหน้าที่เวชสถิติ |
4 |
3 |
25 |
นักเทคนิคการแพทย์ |
9 |
2 |
|
26 |
เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
17 |
14 |
1 |
27 |
เจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์การแพทย์ |
13 |
1 |
|
28 |
เจ้าหน้าที่รังสีการแพทย์ |
7 |
6 |
|
29 |
นักกายภาพบำบัด |
3 |
2 |
|
30 |
เจ้าพนักงานเวชกรรมฟื้นฟู |
3 |
3 |
|
31 |
เจ้าหน้าที่อาชีวบำบัด |
2 |
1 |
|
32 |
ช่างกายอุปกรณ์ |
2 |
1 |
|
33 |
นักโภชนาการ |
3 |
1 |
|
34 |
ทันตแพทย์ |
7 |
4 |
|
35 |
ผู้ช่วยทันตแพทย์ |
7 |
6 |
|
36 |
เภสัชกร |
12 |
11 |
|
37 |
เจ้าพนักงานเภสัชกรรม |
15 |
11 |
|
38 |
นักวิชาการส่งเสริมสุขภาพ |
2 |
1 |
|
39 |
นักสังคมสงเคราะห์ |
6 |
3 |
|
40 |
ลูกจ้างประจำ |
229 |
195 |
|
41 |
ลูกจ้างชั่วคราว |
96 |
74 |
|
รวมเจ้าหน้าที่ทั้งหมด |
983 |
728 |
ที่มา งานการเจ้าหน้าที่ ฝ่ายธุรการโรงพยาบาลตราด ( ข้อมูล ณ. วันที่ 13 ตุลาคม 2543 )
แผนที่โรงพยาบาลตราด
1. ตึกอุบติเหตุ
2. ตึกเอ็กซเรย์ , ห้องบำบัดยาเสพติด
3. ตึกผ่าตัด
4. ICU , กายภาพบำบัด, ห้องตรวจอายุรกรรม
5. ตึกเฉลิมพระเกียรติ
6. ตึกสกลมหาสังฆปรินายก
7. ตึกกุมารเวชกรรม
8. ตึกคลอด
9. ตึกอายุรกรรม
10.ตึก 60 พรรษา
11.ตู้ยาม