Narak.com :- Narak TopSite of Month
               
 

 

การดำเนินงาน ๑ ตำบล ๑ ผลิตภัณฑ์ จังหวัดตราด

 

 1.  การจัดตั้งองค์กรบริหารและการคัดเลือกผลิตภัณฑ์

                1.1  แต่งตั้งคณะอนุกรรมการฯ   ระดับจังหวัด  อำเภอ  กิ่งอำเภอ  จัดประชุมชี้แจงทำความเข้าใจในแนวนโยบาย  หลักการ  วิธีทำงานและประชาสัมพันธ์แก่สื่อมวลชน  ประชาชน

                1.2  ดำเนินการเพื่อคัดเลือกผลิตภัณฑ์และขึ้นบัญชีผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ของตำบลต่างๆ   เป็นการสนับสนุนและส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วม ในการพิจารณาคัดเลือกผลิตภัณฑ์  โดยกระบวนการประชาคมในระดับตำบล

               คณะอนุกรมการฯ อำเภอ จังหวัดร่วมดำเนินการจัดทำบัญชีรายชื่อผลิตภัณฑ์และข้อมูลผลิตภัณฑ์ในเบื้องต้นจากการเสนอของพื้นที่ที่ผ่านการประชาคมตำบล  รวม  37  ตำบล  จำนวน  61  รายการ  แยกเป็น  5  ประเภท  ดังนี้

                   ประเภทที่ 1      -  อาหาร                      จำนวน           25     รายการ

                   ประเภทที่ 2      -  เครื่องจักสาน            จำนวน             7      รายการ

                   ประเภทที่ 3      -  ผลิตภัณฑ์สมุนไพร     จำนวน            5      รายการ

                   ประเภทที่ 4      -  แหล่งท่องเที่ยว          จำนวน           19     รายการ

                   ประเภทที่ 5      -  กลุ่มอื่น ๆ                  จำนวน              5      รายการ

2. การประเมินสินค้าที่ผลิตโดยชุมชน   คณะอนุกรมการหนึ่งตำบล  หนึ่งผลิตภัณฑ์จังหวัดได้ทำการประเมินกลุ่มสินค้าที่ผลิตโดยชุมชน มีสินค้าผ่านเกณฑ์ประเมินตามหลักเกณฑ์มาตรฐานฯ  รวม  9  รายการ คือ

                                 1)  งอบใบจากน้ำเชี่ยว                              

                                2)  น้ำมันเหลือง

                                3)  จักสานเข่ง/เฟอร์นิเจอร์หวาย                   

                                4)  กะปิเกาะช้าง

                                5)  กล้วยสมุนไพรเมืองตราด                        

                                6)  กล้วยอบแผ่น

                               7)  ตะกร้าหวาย/ไม้ไผ่                              

                              8)  สับปะรดตราดสีทองแปรรูป

                              9)  ขนมเปี๊ยะ/โมจิ


3.  การคัดเลือกผลิตภัณฑ์เด่นของจังหวัด

     3.1  คณะอนุกรรมการฯ จังหวัด พิจารณาคัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดโดยใช้แนวทางการพิจารณาในด้านการตลาด  การยอมรับของประชาชนทั่วไปความเกี่ยวข้องของผลิตภัณฑ์ในวีถีชีวิตชุมชน  ภูมิปัญญาท้องถิ่นและทรัพยากรภายในท้องถิ่น มีผลิตภัณฑ์ดีเด่น  4  รายการ  คือ

            1)  งอบใบจากน้ำเชี่ยว

            2)  น้ำมันเหลือง

            3)  จักสานคุ้ม – คล้า

            4)  ตะกร้าหวาย / ไม้ไผ่

     3.2  ผลิตภัณฑ์ดีเด่นระดับจังหวัด  โดยใช้หลักเกณฑ์ผลิตภัณฑ์ชุมชนผนวกหลักเกณฑ์ความเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นในการใช้วัตถุดิบท้องถิ่น  ความเกี่ยวข้องต่อวิถีชีวตและภูมิปัญญาของชุมชน  ธนาคารนครหลวงไทยสนับสนุนงบประมาณรางวัลการประกวด  มีผลการประกวด  คือ

             รางวัลชนะเลิศ         งอบใบจากน้ำเชี่ยว  ผลิตโดยกลุ่มจักสานงอบใบจากน้ำเชี่ยว  ตำบลน้ำเชี่ยว  อำเภอแหลมงอบ

             รางวัลชมเชย     3  รางวัล 

                     1)  กะปิเกาะช้างบ้านสลักเพชร  หมู่ที่  2  ตำบลเกาะช้างใต้  กิ่งอำเภอเกาะช้าง

                     2)  สับปะรดตราดสีทองแปรรูป  หมู่ที่  6  ตำบลห้วยแร้ง  อำเภอเมืองตราด

                     3)  กล้วยสมุนไพรเมืองตราด   หมู่ที่  2  ตำบลเนินทราย  อำเภอเมืองตราด
 

4.  การคัดสรรสุดยอด ๑ ตำบล  ๑ ผลิตภัณฑ์ไทย (OTOP Product Champion

                                 การคัดสรรสุดยอด ๑ ตำบล  ๑ ผลิตภัณฑ์ไทย  เป็นโครงการที่รัฐบาลต้องการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ประเภทสินค้าอุปโภค บริโภค ให้สามารถส่งออกได้  โดยจะสนับสนุนให้มีการพัฒนามาตรฐานสินค้าและส่งเสริมการเชื่อมโยงตลาดทั้งภายในประเทศ  ตลาดภายนอกประเทศ  โดยจัดให้ผู้ผลิต  ผู้ค้า  เจรจาซื้อขายกันโดยตรง

                                การคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล  หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย  ได้แต่งตั้งคณะทำงานคัดสรรฯ  จากผู้เชี่ยวชาญ  ผู้ทรงคุณวุฒิจากราชการและภาคเอกชน พิจารณาสินค้าที่ส่งเข้าร่วมโครงการ  โดยใช้กรอบและหลักเกณฑ์การคัดสรรสุดยอดยอดหนึ่งตำบล  หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย  ที่กำหนดโดยคณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ (กอ.นตผ) มีสินค้าจากกลุ่ม ผู้ประกอบการ  เข้าร่วมการคัดสรร  60  รายการ  การจัดมาตรฐานและคุณภาพ  ใช้       เป็นตัวกำหนดใน 3 ระดับ  คือ

                                    ระดับ                                    23  รายการ

                                    ระดับ                                    35  รายการ

                                   ระดับ                                       2  รายการ

                              สินค้าคัดสรรเหล่านี้รัฐบาลจะนำมาจัดกลุ่ม  4  กลุ่ม  คือ

                                กลุ่ม  A  เป็นสินค้าที่มีมาตรฐานสามารถส่งออกได้ทันที 

                                กลุ่ม  B  เป็นสินค้าที่มีศักยภาพสูงเป็นที่ยอมรับระดับประเทศ  รัฐจะสนับสนุนให้พัฒนาสู่ตลาดภายนอกประเทศ

                                กลุ่ม  C  เป็นสินค้าระดับกลางที่สามารถพัฒนาสู่ระดับ B  ได้โดยภาครัฐให้การสนับสนุนการแก้ไขจุดอ่อน  ข้อจำกัดต่างๆ

                                กลุ่ม  D  เป็นสินค้าศักยภาพต่ำ  รัฐจะพัฒนาใน  2  แนวทาง  คือ

                                         D 1   ภาครัฐให้การสนับสนุนและมีการประเมินศักยภาพเป็นระยะเพื่อให้พัฒนาสู่ระดับ C

                                         D 2   เป็นสินค้าที่มีจุดอ่อนมากยากต่อการพัฒนาอาจจะยุติการส่งเสริมสินค้าคัดสรรระดับภาค

สินค้าที่ร่วมรายการตามโครงการคัดสรรทั้ง 60 รายการ  ได้จัดทำข้อมูลลงในเว็บไซต์