|
::
การดำเนินงาน
:: 1.
ทำการสำรวจพรรณไม้พื้นที่ของโรงเรียน
-
จัดทำบัญชีรายชื่อพันธุ์ไม้ตามชื่อท้องถิ่น
(จัดทำเป็นรูปเล่ม)
-
จัดทำบัญชีรายชื่อพันธุ์ไม้พร้อมชื่อวิทยาสาสตร์
(ในอนาคต)
-
แผนผังระบุตำแหน่งของพืชแต่ละชนิดในโรงเรียน
2.
ติดป้ายชื่อพันธุ์ไม้และข้อมูล ลักษณะของป้ายมี
4 แบบดังนี้
-
ป้ายชื่อท้องถิ่น
-
ป้ายชื่อท้องถิ่นและข้อมูลท้องถิ่น
-
ป้ายชื่อท้องถิ่น
ข้อมูลท้องถิ่น
และข้อมูลทางวิทยาศาสตร์
-
ป้ายข้อมูลพรรณไม้ที่สมบูรณ์
ซึ่งประกอบด้วย
ชื่อท้องถิ่น
ชื่อวิทยาศาสตร์
การกระจายพันธุ์
ประโยชน์
3. จัดทำตัวอย่างพันธุ์ไม้แห้งแบบมาตรฐานของพรรณไม้ต่างๆในโรงเรียน
รวมทั้งวัชพืช และของพรรณไม้บริเวณใกล้เคียงในอนาคตซึ่งนำมาจัดเก็บไว้ในตู้เก็บ
ตัวอย่างพรรณไม้ มีป้ายบันทึกข้อมูลท้องถิ่นประจำตัวอย่าง
จัดไว้ในห้องพิพิธภัณฑ์
หรือห้องวิทยาศาสตร์ตามความพร้อมของโรงเรียน
(ใช้ตู้ไม้ตู้เหล็กเก็บเอกสารหรือเก็บใส่
กล่องวางบนชั้นก็ได้)
ตัวอย่างแห้งนี้สามารถนำมาใช้ศึกษาได้
หรือให้โรงเรียนอื่นมาดู
เป็นตัวอย่างได้
4.
จัดทำสมุดบันทึกข้อมูลพรรณไม้ทุกชนิดในโรงเรียน ประกอบด้วย
-
ข้อมูลท้องถิ่น
ชื่อและการใช้ประโยชน์
ข้อมูลลักษณะพันธุ์ไม้
(
ที่บันทึกจากตัวอย่างจริง
เช่น ดอก ใบ
ผล
หรือวาดภาพประกอบ
)
-
ข้อมูลทางโดยสืบค้นจากเอกสารต่างๆ
5.
นำสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนใช้ในการเรียนการสอน และกิจกรรมต่างๆ
รวมทั้งการศึกษาข้อมูลพรรณไม้ด้านต่างๆเพิ่มเติม
6.
รวบรวมพันธุ์ไม้ท้องถิ่นที่น่าสนใจมาปลูกเพิ่มเติม
- จัดทำฐานข้อมูลพรรณไม้ในสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
-
ซึ่งข้อมูลนี้จะนำเข้าสู่โครงการฐานข้อมูลพรรณพืชของประเทศไทยในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ
ต่อไป
|