สาธารณสุขอำเภอปลาปาก
จำนวนคนเข้ามาเยี่ยม
สมุดเยี่ยม
ข้อมูลทั่วไป
โครงสร้างบริหาร
เครือข่ายประสานงาน
งบประมาณ
ผลการปฏิบัติงาน
สถานะสุขภาพ
link
สถานีอนามัย Iสถานีอนามัยหนองฮี Iสอ. หนองเทาใหญ่ I สถานีอนามัยโคกสว่าง I สถานีอนามัยกุตาไก้ I สถานีอนามัยมหาชัยI
I สถานีอนามัยนาดอกไม้ I
สถานีอนามัยโพนสวาง Iสถานีอนามัยนามะเขือ I สถานีอนามัยโคกสูง I

เนื้อหาสาระในการประชุม

กระบวนการสร้างเวทีประชาคม

  1. สำรวจปัญหาร่วมกัน
  2. กำหนดภาพฝัน(สิ่งที่ต้องการร่วมกัน)
  3. กำหนดแนวทางและวิธีแก้ไขปัญหา
  4. จัดทำแผนปฎิบัติการเสนอระดับตำบล อบต. อำเภอ และคณะกรรมการ
  5. ดำเนินการตามแผน
  6. ประเมินผล

วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งประชาคมแก้ไขปัญหาเอดส์ระดับอำเภอ

  1. เพื่อสำรวจและวิเคราะห์ปัญหาโรคเอดส์ระดับอำเภอ
  2. เพื่อกำหนดแนวทาง ภาระกิจ กลยุทธ์ กลวิธีในการแก้ไขปัญหาโรคเอดส์
  3. เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาโรคเอดส์

สรุปผลการประชุมประชาคม

อำเภอปลาปากมีปัญหาเกี่ยวกับโรคเอดส์และปัญหาที่เกี่ยวข้องในเรื่อง

  1. เศรษฐกิจ ประชาชนมีความยากจน ทำงานต่างถิ่นทำให้มีการนำเชื้อเข้ามาเผยแพร่ให้บุคคลในครอบครัว ชุมชน
  2. ความรู้ ความเข้าใจ ประชาชนขาดความรู้หรือรู้เท่าไม่ถึงการร์เกี่ยวกับโรคเอดส์และบางกลุ่มมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น กลุ่มเยาวชน
  3. ด้านสิ่งยั่วยุที่มีมากขึ้น มีสถานเริงรมย์และสถานบริการทางเพศมากขึ้น มีการยั่วยุทางสื่อมากขึ้น
  4. ด้านสังคม ชุมชนรังเกียจผู้ติดเชื้อ มีการแบ่งแยก
  5. ผู้ป่วยไม่ยอมรับว่ามีการติดเชื้อ ทำให้มีการแพร่ไปสู่ผู้อื่น
  6. ญาติพี่น้องดูแลลำบาก ญาติผู้ป่วยยังขาดความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยที่ติดเชื้อทำให้กลัวการระบาด

สรุปภาพที่ประชาคมอำเภอปลาปากต้องการเห็น

  1. อยากให้ประชาชน ผู้ป่วยโรคเอดส์ มีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและรักษาสุขภาพของตนเองมากขึ้น ไม่มีการสำส่อนทางเพศ
  2. อยากให้ประชาชนมีอาชีพ รายได้มากขึ้น ไม่ไปทำงานต่างถิ่น มีอาชีพในถิ่นฐานของตนเอง มีชีวิตอยู่กับครอบครัวอย่างอบอุ่น
  3. ลดสถานบริการหรือสถานเริงรมย์ที่เอื้อต่อการทำให้ติดเชื้อเอดส์
  4. ชุมชนไม่รังเกียจผู้ติดเชื้อ ให้การยอมรับและช่วยเหลือผู้ติดเชื้อในฐานะที่สังคมควรช่วยเหลือเกื้อกูล
  5. ต้องการให้มีอาสาสมัครที่เป็นผู้ติดเชื้อสามารถเป็นวิทยากร ให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวแก่ผู้ป่วยโรคเอดส์และประชาชนทั่วไปได้
  6. ต้องการให้มีการช่วยเหลือผู้ติดเชื้อเอดส์โดยการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมอาชีพแก่ผู้ที่ติดเชื้อในระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ
  7. ต้องการบริการสุขภาพแก่ผู้ป่วยโรคเอดส์ที่ไม่คิดมูลค่าในทุกระดับของสถานบริการ

แนวทางแก้ไขปัญหา

      1. ความรู้
      • เผยแพร่ความรู้แก่ประชาชนผ่านหอกระจายข่าวสารหมู่บ้าน
      • จัดประชุมให้ความรู้ในหมู่บ้านโดยการแทรกเข้าในวาระประชุมประจำเดือนของหมู่บ้าน
      • จัดตั้งกลุ่มช่วยเหลือทางด้านต่างๆแก่ผู้ที่ติดเชื้อเอดส์
      • หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องจัดประชุมชี้แจงในทุกระดับ ทั้งหลุ่มประชาชน เยาวชน พ่อบ้าน แม่บ้าน
      • จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์

2. เศรษฐกิจ

  • จั้ดตั้งกลุ่มส่งเสริมอาชีพ แก่ผู้ติดเชื้อและประชาชนทั่วไปโดยภาครัฐสนับสนุนงบประมาณและวิชาการรวมทั้งหาตลาดรองรับผลิตผลด้วย

3. สงคม

  • ส่งเสริมให้คนในสังคม มีคุณธรรม จริยธรรม ใช้ศาสนานำการแก้ไขปัญหา
  • ส่งเสริมให้คนในสังคม มีความเอื้อาทร ไม่รังเกียจผู้ติดเชื้อ
  • จั้งตั้งกองทุนในระดับหมู่บ้านในการช่วยเหลือผู้ที่ติดเชื้อ โดยการระดมทุนจากภาครัฐเอกชน มาช่วยเหลือ
  • ให้บริการด้านสาธารณสุขฟรีแก่ผู้ที่ติดเชื้อเอดส์
  • ลดสถานบริการ สถานเริงรมย์ให้น้อยลงและจัดให้มีการตรวจเลือดในหญิงบริการเริงรมย์ทุก 2 สัปดาห์ โดยผู้ที่ติดเชื้อไม่ให้ทำงานและส่งเสริมให้มีอาชีพอื่นทดแทน

วิสัยทัศน์ในการแก้ไขปัญหาโรคเอดส์

ชุมชนเข้มแข็ง ร่วมแรงช่วยเหลือ สังคมเอื้อเฟื้อ ผู้ติดเชื้อสุขภาพดี

{zone1}

 

 

 

 

Iกลับหน้าหลักI

copyright by thawatchai sangjun plapak health center ปรับปรุงครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2544 เวลา 10.00 น.