............BPPV... ถือเป็นโรคที่เป็นสาเหตุของอาการเวียนศรีษะแท้ที่พบได้บ่อยที่สุดโดยผู้ป่วยโรคนี้มักมี
อาการเวียนศรีษะแบบหมุน สัมพันธ์กับท่าทางของศรีษะ ..โรคนี้เริ่มค้นพบโดย Barany ในปี 1921..ต่อมา
Dix และ Hallpike ...ได้รายงานผู้ป่วยและนำเสนอวิธีการตรวจที่เรียกว่า Hallpike maneuve ..ซึ่งกระตุ้น
อาการเวียนศรีษะร่วมกับการกระตุก (nystagmus) ของลูกตา
...... พยาธิกำเนิดและพยาธิวิทยา
............มีการค้นพบตะกอนแคลเซียม (basophilic deposit) ซึ่งเป็น calcium carbonate สะสมอยู่ใน
บริเวณ cupula ของ semicircular canal โดย Schuknecht ได้ตั้งทฤษฎีชื่อว่า "Cupulolithiasis"
โดยได้อธิบายว่า เมื่อมีการเคลื่อนไหวศรีษะ ก็จะกระตุ้นให้เกิดการเคลื่อนที่ของตะกอนแคลเซียมซึ่งจะไป
กระตุ้น crista ampullaris ให้เกิด depolarization ก็เกิดอาการเวียนศรีษะแบบหมุน
............หลาย..ปีต่อมา ได้มีการค้นพบตะกอนแคลเซียมนี้บริเวณ semicurcular canal จากการผ่าตัด
บริเวณนี้โดย Parnes และ McClure จึงได้ตั้งทฤษฎีใหม่ เรียกว่า "Canalithiasis" ขึ้น เชื่อว่าตะกอนหิน
ปูนเคลื่อนอยู่ใน endolymph ใน semicircular canal กระตุ้นให้น้ำ endolymph ไหลเวียนไปกระตุ้นให้
เกิด depolarization บริเวณ crista ampullaris
....... อุบัติการณ์
............เป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุดในบรรดาผู้ป่วยที่มีอาการเวียนศรีษะแท้ ..ในคลินิกโรคเวียนศรีษะตาม
สถาบันต่างๆพบได้ประมาณร้อยละ 6-22 เนื่องจากสาเหตุมักเกิดจากการเสื่อมจึงมักพบอุบัติการณ์สูงใน
คนสูงอายุ สถิติโดยทั่วไปสามารถพบได้ตั้งแต่อายุ 30-70 ปี พบได้ทั้งสองเพศ แต่พบในเพศหญิงมากกว่า
เพศชายในอัตราส่วนประมาณ 1.5-2.2 : 1
............อุบัติการณ์การเกิด BPPV ทั้งสองข้าง .พบประมาณร้อยละ 15 ของจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด .และส่วน
ใหญ่ของผู้ป่วยกลุ่มนี้ .มักเกิดอาการตามหลังอุบัติเหตุทางศรีษะ ..นอกจากนี้ BPPV ยังสามารถพบร่วมกับ
โรคทางหูอื่นๆเช่น Meniere's disease, recurrent vestibulopathy, vestibular neuronitis เป็นต้น
............BPPV พบบ่อยในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก สาเหตุที่แน่นอนยังไม่ทราบ แต่ปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดภาวะ
นี้บ่อยขึ้นได้แก่
จากการเสื่อมตามวัย |
อุบัติเหตุโดยเฉพาะการบาดเจ็บบริเวณศรีษะ.Barder พบว่าเกิดจากภาวะนี้สูงถึงร้อยละ
....47 ของผู้ป่วย กะโหลกเทมพอราลหักและพบร้อยละ 20.8 ในรายที่มีการบาดเจ็บต่อศรีษะ
....โดยที่ไม่มีรอยแตกของกะโหลก..เชื่อว่าอุบัติเหตุต่อศรีษะอาจทำให้เกิด.. labyrinthine
....concussion ..รวมทั้งมีการกระทบกระทั่งต่อ .utricular .otolithic. organ. และ
...ทำให้ .otoconia. เคลื่อนหลุดออกมาได้ |
การอักเสบของหูชั้นกลาง ประวัติพบว่ามีการอักเสบของหูชั้นกลางมาก่อน มีมากถึงร้อยละ
.....26 ของผู้ป่วย BPPV |
การผ่าตัดหู ..... ..โดยเฉพาะการผ่าตัด ....stapedectomy.... กลไกคล้ายกับการเกิด
.....labyrinthine ..concussion ..ตามหลังการบาดเจ็บของศรีษะ กลุ่มนี้อาการมักดีขึ้น
.....เองภายในสัปดาห์หรือเดือน |
Vestibular neuritis ...มีหลักฐานจาก. temporal bone dissection ...บ่งถึงมี
....degeneration ..ของแขนงของเส้นประสาท ..vestibular ...ที่ไปเลี้ยง ..superior
....semicircular canal |
|
............ ลักษณะทางคลินิก
............ผู้ป่วยมักให้ประวัติอาการเวียนศรีษะแบบหมุนเมื่อมีการเคลื่อนไหวของศรีษะ โดยเฉพาะในแนวดิ่ง เช่น มีอาการเวียนศรีษะ เมื่อล้มตัวลงนอนหรือลุกจากที่นอน ก้มหยิบของ เงยหน้ามองที่สูง เป็นต้น โดยใน ท่าเหล่านี้แรงดึงดูดของโลกจะมีผลทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของตะกอนหินปูนหรือแคลเซียมที่ cupula ของ posterior semicircular canal ผู้ป่วยจะมีอาการเวียนศรีษะแบบหมุน ตามด้วยอาการเคลื่นไส้อาเจียน อาการเวียนศรีษะแบบหมุนมักจะมีอาการไม่นาน มักเป็นแค่ช่วงวินาทีที่ขยับศรีษะ แล้วอาการก็ค่อยๆหาย ไป แต่สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการได้อีก เมื่อผู้ป่วยขยับศรีษะในท่าเดิมอีก แต่อาการมักไม่รุนแรงเท่า ครั้งแรก
..........โดยทั่วไปอาการเวียนศรีษะในครั้งแรก มักจะรุนแรง ต่อไปจะค่อยๆลดความรุนแรง ต่อไปจะค่อยๆ ลดความรุนแรง อาการเวียนศรีษะเป็นได้หลายๆครั้งต่อวัน มักเป็นอยู่หลายวันแล้วจะค่อยๆดีขึ้น ในเวลา เป็นสัปดาห์หรือเดือน และในบางรายอาการจะกลับเป็นซ้ำอีกในเวลาเป็นเดือนหรือปี
..........ผู้ป่วยโรค BPPV จะไม่มีประวัติอาการหูอื้อ ไม่พบการสูญเสียการได้ยินหรือเสียงผิดปกติ(tinnitus) ในหู ยกเว้นในรายที่เป็นโรคเดิมอยู่ก่อนแล้ว โดยทั่วไป BPPV มักจะมีอาการแค่ระบบ vestibular อย่าง เดียวคือ อาการเวียนศรีษะแบบบ้านหมุนเท่านั้น ไม่พบอาการทางระบบประสาทอื่นร่วม ผู้ป่วยรู้ตัวดี ไม่มี อาการแขนขาชา หรืออ่อนแรง
.......... การวินิจฉัย
..........โรคนี้มักได้ประวัติลักษณะอาการที่เฉพาะ คือมีอาการเวียนศรีษะ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงท่าของ ศรีษะ เช่น ในระหว่างล้มตัวลงนอน เงยหน้าเป็นต้น อาการเวียนศรีษะเป็นแค่ช่วงสั้นๆไม่มีการสูญเสียการ ได้ยิน เมื่อทำการทดสอบ Hallpike maneuver โดยให้ผู้ป่วยล้มตัวลงนอนอย่างเร็วในท่าศรีษะตะแคงแล้ว ห้อยศรีษะเล็กน้อย จะพบการกระตุกของลูกตาร่วมกับอาการเวียนศรีษะ ในผู้ป่วยที่เป็นโรค BPPV จะให้ ผลบวกในการทดสอบ คือจะพบลักษณะดังนี้
 พบการกระตุกของลูกตาเป็นแบบ rotatory nystagmus หรือ horizonto-rotatory
....nystagmus โดยจะมีทิศชี้ลงล่าง (geotropic pattern) |
 การกระตุกของลูกตา พบโดยมีระยะเวลา หลังจากศรีษะห้อยลงพอสมควร คือมี delay in
....onset มักจะกินเวลาตั้งแต่ 2-15 วินาทีขึ้นไป |
 การกระตุกของลูกตา เป็นแค่เพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ คือมี duration ซึ่งมักไม่เกิน 60
....วินาที |
 เมื่อพบการกระตุกของลูกตา มักจะพบอาการเวียนศรีษะร่วมด้วยเสมอ |
 เมื่อทำซ้ำท่าเดิมอีก การกระตุกของลูกตา และอาการเวียนศรีษะลดน้อยลงไป
....(fatigability) |
|
.........การทดสอบ Hallike maneuveer นี้ จะทำทั้งสองข้าง ทีละข้าง พบความผิดปกติได้เมื่อหูข้างที่มี พยาธิสภาพอยู่ด้านล่าง (involve ear undermost)
.........การตรวจการได้ยิน มักปกติ ยกเว้นในรายที่มีความผิดปกติอยู่ก่อนแล้ว การตรวจ balance testing พบว่าในผู้ป่วย BPPV อาจมีความผิดปกติของ posturography แต่ไม่ช่วยในการวินิจฉัย การตรวจ ENG(electrony stagmography)มีประโยชน์ในรายที่ไม่สามารถเห็นการกระตุกของลูกตาอย่างชัดเจน จากการทำ Hallpike maneuver โดยมองจากตาเปล่า การบันทึกจากการทำ ENG โดยใช้ electrode หรือจากวิดีโอ จะช่วยให้เห็นการกระตุกของลูกตาได้ชัดเจนขี้น สำหรับการตรวจ caloric test และการทำ rotatory chair test ไม่พบว่ามีความสำคัญในการช่วยวินิจฉัยโรค BPPV
.......... การรักษา
..........การรักษาโรค BPPV แบ่งออกได้ดังนี้
วิธีแรก : |
......ให้คำแนะนำและรักษาตามอาการ เช่น ในขณะที่มีอาการ ให้หลีกเลี่ยงจากท่าที่ กระตุ้นให้เกิดอาการ ส่วนใหญ่อาการจะดีขึ้นได้เองโดยเฉพาะหลังจาก 1 เดือนขึ้นไป อาจให้ยาช่วยบำบัดอาการในระยะแรกๆ อย่างไรก็ดีไม่พบว่ายาใดจะช่วยในการรักษา โรค BPPV ได้ ผลดี ในกลุ่มนี้จะต้องระวัง กิจกรรมที่กระตุ้นให้เกิดอาการและมีอัน ตรายต่อผู้ป่วย เช่น ปีนป่ายในที่สูง ดำน้ำ และในผู้ป่วยสูงอายุ |
วิธีที่สอง : |
......ให้รักษาโดยการทำกายภาพบำบัด(physical therapy) ซึ่งเป็น วิธีที่ปัจจุบันนิยม และยอมรับว่าได้ผล การทำกายภาพบำบัดแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ แบบแรกทำ กายภาพบำบัดเพื่อเคลื่อนตะกอนหินปูนหรือแคลเซียมออก semicircular canal วิธี ที่นิยม ได้แก่ การทำกายภาพบำบัดวิธีของ Semont และ Epley (canalith repositioning therapy) ทั้งสองวิธีมีรายงานว่าได้ผลดีมากเมื่อทำในผู้ป่วย BPPV ขณะมีอาการและตรวจพบ nystagmus
.....การทำกายภาพบำบัดโดยวิธีของ Semont มีรายงานว่าได้ผลถึง ร้อยละ 84-93 ส่วนการทำ Epley maneuver หรือ canalith res- positioning maneuver ซึ่งค่อนข้างนิยมมากในระยะหลัง Dr. Epley รายงานว่าได้ผลมากถึงร้อยเปอร์เซนต์ เมื่อทำอย่างถูกวิธี และในขณะเกิดอาการ
.....อย่างไรก็ตาม Blankley ได้รายงานเปรียบเทียบการทำ physicaltherapy และ ไม่ทำ ผลที่ได้ ไม่พบว่ามีค่าแตกต่างกันทางสถิติชัดเจน หลังจากนั้น Asawa vic- hianginda S และคณะได้รายงานเปรียบเทียบ canalith repositioning therapy กับกลุ่มที่ไม่ทำกายภาพบำบัด ผลปรากฎว่ากลุ่มทำกายภาพโรคหายได้เร็วกว่าอาการ ของผู้ป่วยลดน้อยลงกว่าอย่างชัดเจนภายใน 1-2 สัปดาห์หลังการรักษา ยกเว้น 1เดือน หลังการรักษา ซึ่งผลไม่ค่อยแตกต่างกันมากนัก
|
วิธีที่สาม : |
......การผ่าตัด ใช้ในกรณีที่1และ2ไม่ได้ผล ติดตามผู้ป่วยอย่างน้อย 1 ปี พบมีอาการ อยู่ตลอด หรือกลับเป็นใหม่บ่อยๆ กลุ่มนี้นิยมให้ทำผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดมักได้ผลดีมาก มี 2 วิธี คือแบบ singular neurectomy เป็นวิธีดั้งเดิม แต่ปัจจุบันความนิยมลดลง เพราะค่อนข้างยาก ระยะหลังนิยมทำแบบ posterior canal occlusion เนื่องจาก เป็นวิธีที่ง่ายไม่ยุ่งยาก ผู้ป่วยมักไม่ค่อยมีปัญหาการได้ยินเสื่อม การผ่าตัดได้ผลดีมาก ในการควบคุมอาการเวียนศรีษะ
|
|