HALL OF FAME
เนื่องจากในปี
2547
สาขาจักษุวิทยาได้เริ่มมีการพัฒนาระบบบริการและมีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยทางตา
ทำให้มีจำนวนผู้ป่วยมาใช้บริการที่งานจักษุวิทยาเพิ่มมากขึ้น
ดังนั้นในเดือนธันวาคม
ปี 2547
จึงมีการขออนุมัติโรงพยาบาลธรรมสาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
จัดตั้ง “ศูนย์ตาธรรมศาสตร์”
ขึ้น
เพื่อใช้ในการพัฒนาระบบบริการ
และประชาสัมพันธ์
เป็นการเพิ่มคุณภาพทั้งการให้บริการ
และงานวิชาการ
เพื่อมุ่งสู่การเป็น
แนวทางการดำเนินการพัฒนา
1.ด้านบริการ
1.1
ขยายพื้นที่การให้บริการ
-
งานผู้ป่วยนอก
ขยายพื้นที่
โดยใช้บริเวณห้องตรวจ
หู คอ จมูก
เดิม
ซึ่งจะย้ายไปอยู่ชั้น
2 อาคาร มรว.สุวพรรณ
เพื่อใช้จัดตั้งศูนย์เลสิคแก้ไขสายตาผิดปกติ
และหน่วยตรวจโรคเบาหวานขึ้นจอตาอย่างครบวงจร
-
งานผู้ป่วยใน
เพื่อให้การบริการผู้ป่วยในทางจักษุวิทยาเป็นไปตามมาตรฐาน
ซึ่งเป็นข้อกำหนดของแพทยสภาจึงจำเป็นต้องจัดให้มีหอผู้ป่วยจักษุวิทยาสามัญจำนวน
12 เตียง
ในหอผู้ป่วยศัลยกรรมชั้น
4,
หอผู้ป่วยจักษุวิทยาพิเศษจำนวน
10
เตียง
ณ
หอผู้ป่วยอาคารธนาคารทหารไทย
1.2
ให้บริการคลินิกเฉพาะทาง
ปัจจุบันศูนย์ตาธรรมศาสตร์มีจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะโรคจึงเปิดดำเนินการคลินิกพิเศษบางโรคหลายด้านเช่น
คลินิกโรคต้อหิน,
โรคกระจกตา,โรคจอประสาทตา, โรคเบาหวานจอประสาทตา
1.3
ศูนย์เลสิคแก้ปัญหาสายตา
ปัจจุบันการใช้เลเซอร์ในการรักษาโรคสายตาสั้น
ยาว เอียง
เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง
ศูนย์ตาธรรมศาสตร์จึงจะจัดตั้งเลสิค
เพื่อให้บริการแก่ผู้สนใจ
โดยใช้ระบบบริษัทที่สนใจร่วมใช้พื้นที่และแบ่งค่าตอบแทนให้โรงพยาบาล
(เปิดให้บริการได้ในเดือนมีนาคม
2549)
1.4
หน่วยดูแลโรคเบาหวานขึ้นจอตาอย่างครบวงจร
ศูนย์ตาธรรมศาสตร์จะได้จัดซื้อเครื่องมือถ่ายภาพจอประสาทตาเพื่อตรวจคัดกรองโรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตา
ซึ่งเป็นอาการแทรกซ้อนที่สำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานตาบอดได้
เพื่อเพิ่มคุณภาพการตรวจคัดกรองและป้องกันภาวะตาบอดในผู้ป่วยเบาหวาน(ให้บริการได้ตั้งแต่เดือน
สิงหาคม 2548)
1.5
หน่วยจอประสาทตา
โรคจอประสาทตาเป็นโรครุนแรงที่ทำให้ผู้ป่วยตาบอดและจำเป็นต้องใช้ทักษะและเทคโนโลยีในการรักษา
ปัจจุบันศูนย์ตาธรรมศาสตร์มีจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางโรคจอประสาทตา
และในปี 2548
ได้มีการจัดซื้อเครื่องมือผ่าตัดจอตาและวุ้นลูกตา
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยให้ได้รับการยอมรับมากขึ้นต่อไป
1.6 คลินิกพิเศษนอกเวลาราชการ
เพื่อเป็นการลดจำนวนผู้ป่วยที่มารอรับบริการที่ศูนย์ตาในเวลาราชการ
ซึ่งมีเป็นจำนวนมาก
และทางเลือกแก่ผู้มารับบริการ
ศูนย์ตาฯจึงเปิดให้บริการตรวจรักษาโรคตานอกเวลาราชการ
ทุกวันจันทร์ถึงศุกร์
ระหว่างเวลา 16.30 – 19.30 น.
อย่างครบวงจร
ทั้งการตรวจและผ่าตัดรักษาโรคทางตา
(คลินิกนอกเวลาของศูนย์ตา
เริ่มเปิดให้บริการมาตั้งแต่เดือนมกราคม
2548)
1.9
ห้องผ่าตัด
เพื่อเป็นการรองรับการผ่าตัดรักษาโรคตาซึ่งมีผู้ป่วยจำนวนมากและในปัจจุบันงานจักษุวิทยามีศักยภาพในการผ่าตัดโรคตาซึ่งมีความซับซ้อนมากจึงเปิดใช้ห้องผ่าตัดตา
1 ห้อง ตั้งแต่
วันจันทร์-
วันศุกร์ (เดิมมีห้องผ่าตัดตาเฉพาะ
วันอังคาร-
วันศุกร์)
และจะเปิดการผ่าตัดตา
2 เตียง
ตั้งแต่วัน
จันทร์-วันศุกร์
ต่อไป
เพื่อประโยชน์ในการเรียนการสอนของแพทย์ประจำบ้าน
2.
ด้านวิชาการ
2.1
การเปิดเป็นสถาบันฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาจักษุวิทยา
แพทย์สภาได้อนุมัติให้สาขาจักษุวิทยาเปิดเป็นสถาบันฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาจักษุวิทยาปีการศึกษาละ
3 คน
ตั้งแต่ปีการศึกษา
2549 เป็นต้นไป
2.2
จัดทำตำราจักษุวิทยา
โดยคณาจารย์ในสาขาจักษุวิทยาเพื่อให้นักศึกษาแพทย์
แพทย์ทั่วไปและทีมงานสุขภาพสามารถนำความรู้ไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยทางตา
โดยเน้นหลัก Problem-base
learning (แล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม2548)
2.3 งานวิจัย
สาขาจักษุวิทยาจะพยายามจัดทำงานวิจัยและเผยแผ่องค์ความรู้ใหม่เพื่อแก้ปัญหาสาธารณสุขของไทยและให้เกิดการยอมรับอย่างกว้างขวางโดยใช้ฐานข้อมูลและศักยภาพของศูนย์ตาธรรมศาสตร์
3.ด้านการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมสุขภาพ
3.1 จัดทำ Web site ของศูนย์ตาธรรมศาสตร์
(
3.2
จัดทำปฏิทินส่งเสริมสุขภาพ
ศูนย์ตาได้จัดทำปฏิทินตั้งโต๊ะจำนวน
500 เล่ม
เพื่อใช้ในหน่วยงานต่างๆของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ
และแจกจักษุแพทย์ทั่วประเทศ
โดยมีเนื้อหา
เน้นการดูแลและส่งเสริมสุขภาพตา
(ดำเนินการแล้วเสร็จตั้งแต่เดือน
ธันวาคม 2547)
3.3
ทำแผ่นพับเพื่อสุขภาพสำหรับประชาชนและผู้รับบริการโดยใช้โปรแกรม
Microsoft
Word เพื่อความสะดวกในการปรับปรุงเนื้อหา
ประหยัดค่าใช้จ่าย
โดยเน้นเรื่องที่เป็นประโยชน์ในการส่งเสริมสุขภาพทางตา
เช่น
ข้อแนะนำการตรวจสุขภาพตา
การเฝ้าระวังโรคเบาหวานขึ้นจอตา
โรคต้อกระจก
โรคต้อเนื้อ
และวิธีการใช้ยาหยอดตาเป็นต้น
(เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือนมกราคม
2548)
3.4
กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ
เพื่อมุ่งสู่การเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
(
- กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพตาในผู้ป่วยเบาหวาน
เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานอย่างครบวงจร
ศูนย์ตาคาดว่าจะจัดงาน
DM meeting โดยเชิญผู้ป่วยเบาหวานของโรงพยาบาลมาร่วมกิจกรรมในวันดังกล่าว
และจัดกิจกรรมตรวจโรคตาในผู้ป่วยเบาหวาน
สอนให้ความรู้เรื่องโภชนาการ
การใช้ยาเบาหวาน
การดูแลรักษาสุขภาพและการบริหารเท้าเพื่อป้องกันแผลที่เท้า
ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้ป่วยเบาหวานได้
(จัดกิจกรรมในช่วงวันเบาหวานโลก
พฤศจิกายน 2548)
4.ด้านการรับรองคุณภาพ
4.1
จัดตั้งคณะทำงานพัฒนาคุณภาพงานจักษุวิทยา
เพื่อพัฒนาระบบการให้บริการโดยยึดหลักผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง
และเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการทั้งด้านบริการและวิชาการ
และปรับเปลี่ยนเป็นคณะกรรมการดูแลผู้ป่วย
Patient Care Team (PCT) เพื่อเป็นโครงการนำร่องสู่การรับรองคุณภาพโรงพยาบาล
(
Hospital Accreditation) และการเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
(
4.2 มีการกำหนดตัวชี้วัดประสิทธิภาพการทำงาน
ทั้งด้านวิชาการ
การบริการ
การประเมินและถ่ายทอดเทคโนโลยี
เพื่อจัดทำแผนการปฏิบัติงานและติดตามงานให้เป็นไปตามนโยบายของโรงพยาบาลฯและนโยบายของศูนย์ตาธรรมศาสตร์