HALL OF FAME

 

สถาบันฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน

 

 

สาขาจักษุวิทยา

 

 

          สาขาวิชาจักษุวิทยา  คณะแพทยศาสตร์  ได้เริ่มเปิดให้บริการวิชาการและมีการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์มาตั้งแต่เดือนมิถุนายน  2536  โดยในช่วงตั้งแต่ปี 2536 ถึงปี 2547 มีอาจารย์ประจำสาขาวิชาเพียง 2-3 คน การเรียนการสอนและการให้บริการวิชาการเน้นในด้านจักษุวิทยาทั่วไป จนกระทั่งในปี 2547 รศ.นพ.กัมมาร  กุมาร  ปาวา  คณบดีคณะแพทยศาสตร์ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาสาขาวิชาจักษุวิทยา  โดยมีการพัฒนาศักยภาพ เริ่มตั้งแต่มีการส่งอาจารย์ในสาขาวิชาไปศึกษาต่อในอนุสาขาวิชาที่จำเป็น เพิ่มจำนวนอาจารย์ในสาขาวิชาเป็น 7 คนในปี 2547 แต่งตั้งหัวหน้าสาขาวิชาคนใหม่  และได้กำหนดเป็นนโยบายเร่งด่วน ในการเตรียมความพร้อมในการรับการประเมินเป็นสถาบันฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเพื่อเป็นตัวกระตุ้นให้สาขาวิชาจักษุวิทยา  มีความก้าวหน้าทางด้านวิชาการ และเป็นที่ยอมรับในระดับประเทศต่อไป 

          ด้วยความสนับสนุนอย่างเต็มที่จากท่านคณบดี  คณะแพทยศาสตร์ ในด้านวิชาการ อัตรากำลัง และการสนับสนุนด้านสถานที่ให้บริการวิชาการ เครื่องมือทางการแพทย์จากโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ  พร้อมทั้งความร่วมมือ ร่วมใจของคณาจารย์และบุคลากรที่เกี่ยวข้องในสาขาวิชาจักษุวิทยา  ทำให้สาขาวิชาได้มีการพัฒนาทางด้านวิชาการอย่างรวดเร็ว  อาทิเช่น 

-                         มีการจัดทำตำราจักษุวิทยา เล่มแรกของสาขาวิชา โดยคณาจารย์ทุกคนเพื่อให้นักศึกษาแพทย์ และผู้สนใจ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าทางจักษุวิทยา ดำเนินการแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม 2548 

-                         มีการพัฒนาการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์ ให้ครอบคลุมทั้งด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาโรค และการฟื้นฟูสมรรถภาพทางตา เช่นการจัดตั้งคลินิกสายตาเลือนราง เพื่อให้นักศึกษาแพทย์มีมุมมองในการนำไปใช้ประโยชน์ในอนาคต นอกจากนั้นเพื่อให้นักศึกษามีความรู้ในด้าน community base ดียิ่งขึ้น จึงจัดให้นักศึกษาแพทย์ได้มีโอกาสไปเรียนรู้เรื่องปัญหาตาในชุมชนที่ศูนย์บริการปฐมภูมิ ณ ตำบลคูคตอีกด้วย

-                         มีการจัดทำรายงานการประเมินตนเอง (Self assessment report) เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาชองคณะแพทยศาสตร์ มาตั้งแต่ปีการศึกษา 2546 เพื่อเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบและพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสาขาวิชาต่อไป

-                         มีการพัฒนาการให้บริการ โดยมุ่งเน้นงานด้านวิชาการ มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อประโยชน์ในด้านการเรียนการสอนและการรักษาผู้ป่วย เช่น การติดตั้งเครื่อง Excimer laser เพื่อแก้ไขสายตาผิดปกติ, การใช้เลเซอร์รักษาผู้ป่วยจอประสาทตาเสื่อม ด้วยวิธี photo-dynamic therapy นอกจากนั้นยังมีการให้บริการวิชาการเฉพาะทางครบทุกหน่วยสาขาวิชาย่อย เช่น หน่วยโรคต้อหิน หน่วยกระจกตา หน่วยจอประสาทตา หน่วยจักษุ วิทยาเด็ก หน่วยตาเข หน่วยสายตาผิดปกติ หน่วยจักษุตกแต่งและเสริมสร้าง หน่วยเลเซอร์  หน่วยเบาหวานจอประสาทตา และหน่วยสายตาเลือนราง ทำให้มีจำนวนผู้ป่วยมารับบริการเพิ่มมากขึ้น ผู้ป่วยนอกจากจำนวนประมาณ 30 รายต่อวัน ในช่วงต้นปี 2547 เป็น 130-140 รายต่อวันในปี 2548 ผู้ป่วยผ่าตัดทางจักษุวิทยาจากเดือนละ 20-30 รายในช่วงต้นปี 2547 เป็นประมาณ 100 รายต่อเดือนในปี 2548

 

จากการพัฒนาของสาขาวิชาจักษุวิทยาในช่วงปี 2547 ท่านคณบดี จึงได้ทำหนังสือขอรับการประเมินเป็นสถาบันฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน สาขาจักษุวิทยา ต่อแพทยสภาเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2547 และราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทยได้กำหนดให้คณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบมาประเมินความพร้อมในการเปิดเป็นสถาบันฝึกอบรมเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2548 โดยคณะกรรมการประเมินประกอบด้วย

1.ผศ.นพ.ธวัชชัย  ปานเสถียรกุล    ประธานคณะอนุกรรมการ

2.รศ.พญ.ไธวดี  ดุลยจินดา    หัวหน้าภาควิชาจักษุวิทยา  คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

3.อ.นพ.ธีระพงษ์  ทังสุบุตร     หัวหน้ากลุ่มงานจักษุวิทยา  โรงพยาบาลราชวิถี

4.รศ.พญ.สุดารัตน์  ใหญ่สว่าง หัวหน้าภาควิชาจักษุวิทยา  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเลขานุการคณะอนุกรรมการ

ซึ่งผลงานของสาขาวิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นที่พึงพอใจของคณะกรรมการประเมินเป็นอย่างมาก และต่อมาในวันที่  22 เมษายน 2548 จึงผ่านการรับรองจากกรรมการบริหารราชวิทยาลัยจักษุแพทย์  และได้รับการอนุมัติจากการประชุมแพทยสภาในวันที่ 12 พฤษภาคม 2548 ให้คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นสถาบันฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาจักษุวิทยาจำนวน 3 ตำแหน่งต่อปี และให้เริ่มฝึกอบรมได้ตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นไป

                

 

        ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ได้กำหนดให้มีการสัมภาษณ์ผู้ที่ประสงค์จะฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาจักษุวิทยาพร้อมกันในวันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม 2548  โดยสาขาวิชาจักษุวิทยา  คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  มีผู้ยื่นใบสมัคร 15 คนเป็นอิสระ 14 คน ต้นสังกัด 1 คน (ทุนรพ.ประจวบฯขอถอนตัวก่อนวันสัมภาษณ์) มีผู้มาสัมภาษณ์จริงรวม 11 คน ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดในประเทศไทย ผลสรุปผู้ได้รับการคัดเลือกคือ

          1.พญ.ปิยะดา  พูลสวัสดิ์  จบจาก  ศรีนครินทรวิโรฒ   เกรดเฉลี่ย 3.46   เกรดจักษุวิทยา  B  ประเภท  อิสระ

          2.พญ.รัชดาภรณ์  ตันติมาลา  จบจาก ธรรมศาสตร์    เกรดเฉลี่ย  2.96  เกรดจักษุวิทยา A  ประเภทอิสระ 

        3.นพ.วรวิทย์  อึ้งภูรีเสถียร    จบจาก  จุฬาลงกรณ์   เกรดเฉลี่ย 3.27   เกรดจักษุวิทยา  A  ประเภท  อิสระ

          สำรอง 2 ลำดับคือ พญ.ดุจเดือน   เมฆวรวุฒิ และ พญ.ทิพย์สุมาลย์   เมี้ยนกลาง 

          โดยจะเริ่มเข้ารับการฝึกอบรมตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 1 มิถุนายน 2549 เป็นต้นไป