E-LEARNING

สำหรับแพทย์ประจำบ้านต่อยอด

หลักสูตรการฝึกอบรมต่อยอด สาขาจักษุวิทยาเด็กและตาเข

โครงการจัดตั้งภาควิชาจักษุวิทยา  คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Fellowship Training Program in Pediatric Ophthalmology and Strabismus

Department of Ophthalmology, Faculty of Medicine, Thammasat University

 

1. ประกาศนียบัตร     ประกาศนียบัตรรับรองการฝึกอบรมต่อยอด สาขาจักษุวิทยาเด็กและตาเข

                           Certificate of Fellowship in Pediatric Ophthalmology and Strabismus

 

2. หน่วยงานที่รับผิดชอบ     โครงการจัดตั้งภาควิชาจักษุวิทยา  คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

3. หลักการและเหตุผล

                 โครงการจัดตั้งภาควิชาจักษุวิทยา  คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เป็นหน่วยงานในสถานวิทยาศาสตร์คลินิก  คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่มีหน้าที่หลักในการจัดการเรียนการสอนในด้านจักษุวิทยา ซึ่งนอกจากการจัดการเรียนการสอนในระดับแพทยศาสตร์บัณฑิต ยังได้รับอนุมัติจากราชวิทยาลัญจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ให้จัดอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาจักษุวิทยา  ซึ่งโครงการจัดตั้งภาควิชาฯได้มีการพัฒนาทางด้านวิชาการและบริการ รวมทั้งการดูแลรักษาผู้ป่วยด้านจักษุวิทยาในเด็กอย่างครบวงจร ครอบคลุมทั้งการตรวจวินิจฉัย รักษา ผ่าตัด ส่งเสริม ป้องกันโรคตาในเด็ก และฟื้นฟูสมรรถภาพทางการมองเห็น  โดยให้บริการครอบคลุมโรคที่เป็นสาเหตุของความพิการทางตาในวัยเด็ก คือ

1. Amblyopia (ภาวะตาขี้เกียจ)  ซึ่งมีสาเหตุมาจากโรคตาที่สำคัญในวัยเด็กเล็ก ได้แก่

·       Refractive error

·       Strabismus

·       Congenital anomalies  เช่น Congenital cataract, Congenital glaucoma, Congenital ptosis, Other congenital anomalies with ocular deformities

2. Eye injuries

3. Ocular diseases เช่น โรคติดเชื้อทางตา โรคตาจากการขาดสารอาหาร  โรคทางพันธุกรรม  โรคทางเมตาโบลิก   Retinopathy of prematurity (ROP), Retinoblastoma,

                 ซึ่งการตรวจวินิจฉัยและการรักษาทางจักษุวิทยาในเด็ก มีความแตกต่างจากผู้ใหญ่เป็นอย่างมาก จึงมีความจำเป็นต้องเพิ่มพูนความรู้และทักษะให้กับจักษุแพทย์ที่จะต้องรับผิดชอบดูแลผู้ป่วยเหล่านี้ ทั้งนี้เพื่อให้การดูแลรักษามีความถูกต้อง ในระยะเวลาที่เหมาะสม และในอนาคต จักษุแพทย์ที่ได้รับการอบรม จะเป็นกำลังสำคัญในการลดความพิการทางตาของประชากรเด็กของ

 

4. วัตถุประสงค์    

                เพื่อให้จักษุแพทย์ผู้ผ่านการอบรมแล้วมีความชำนาญในสาขาจักษุวิทยาเด็กและตาเข โดยต้องมีความรู้ความสามารถและคุณสมบัติดังต่อไปนี้

4.1 สามารถวัดสายตา เพื่อประกอบแว่นแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติในเด็ก รวมทั้งให้แว่นสำหรับเด็กตาเขได้อย่างเหมาะสม

4.2 ทำการตรวจ วินิจฉัย ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับโรคตาในเด็ก และโรคตาเขทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ได้

4.3   ให้คำแนะนำและรักษาภาวะตาขี้เกียจ แบบต่างๆในเด็กได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง

4.4 ให้การรักษา ผ่าตัดโรคตาในเด็ก และโรคตาเขแบบต่างๆทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4.5 ให้การรักษา และดูแลอย่างต่อเนื่องในระยะยาวแก่ผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

4.6 รักษาภาวะแทรกซ้อน หรือแก้ไขปัญหาที่เกิดภายหลังการผ่าตัดรักษาโรคตาเขได้

4.7 ให้คำแนะนำหรือสอนแพทย์ประจำบ้าน นักศึกษาแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมทั้งให้คำปรึกษาปัญหาโรคตาในเด็กและโรคตาเขแก่ผู้ปกครอง ครู และประชาชนทั่วไปได้เป็นอย่างดี

4.8 ประสานงานกับผู้อื่นทางด้านวิชาการ การบริการ และการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ

4.9 ศึกษาและวิจัยโรคตาในเด็กและโรคตาเข รวมทั้งเรียนรู้และค้นคว้าด้วยตนเอง

4.10 เป็นแพทย์ที่มีจริยธรรม คุณธรรม และเจตคติอันดี ต่อผู้ป่วยและญาติ ผู้ร่วมงาน เพื่อนร่วมวิชาชีพและชุมชน

 

5. คุณสมบัติของผู้รับการอบรม    

                  เป็นผู้ได้รับวุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาจักษุวิทยาจากแพทยสภา

 

6. จำนวนผู้เข้าอบรม

                  ปีการศึกษาละ 1 คน

 

7. ระยะเวลาการฝึกอบรม    1 ปี

 

8. คณาจารย์

8.1 อาจารย์ในสาขาวิชาจักษุวิทยา  คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

8.2 อาจารย์พิเศษจากภายนอก

 

9. เนื้อหาของหลักสูตร

9.1 ความรู้พื้นฐาน (Basic medical science)

·       กายวิภาคศาสตร์ของลูกตาและกล้ามเนื้อตา

-      Anatomy and applied anatomy of eye

·       สรีระวิทยาของลูกตาและกล้ามเนื้อตา

-      Motor physiology

-      Sensory physiology

-      Pathology of binocular function

·       Embryology ของลูกตา

·       Genetic and Immunology

·       Normal visual development

·       การตรวจวัดระดับสายตาในเด็กวัยต่างๆ (Preverbal and verbal children)

·       การตรวจตาเด็ก

·       การตรวจตาเหล่และการแปลผลทั้งภาวะ motor และ sensory

-      Ocular and sensory examination

·       การวินิจฉัยแยกชนิด และการรักษาภาวะ amblyopia

·       Electrophysiology of eye

-      Electroretinography (ERG)

-      Visual evoked potential (VEP)

-      Electrooculography (EOG)

·       Ophthalmic ultrasonography

·       Fundus fluorescein angiography

·       หลักการของ Laser

9.2 ความรู้เกี่ยวกับโรคตาในเด็กและโรคของกล้ามเนื้อตา ทั้งที่พบบ่อยและไม่บ่อย โดยมีความรู้ความเข้าใจในแง่ของต้นเหตุ พยาธิสรีระวิทยา การดำเนินโรค และภาวะแทรกซ้อนของโรคต่อไปนี้

·       โรคของกล้ามเนื้อตา

-      Congenital strabismus

-      Acquired strabismus

-      Paralytic strabismus

-      Special forms of strabismus

-      Strabismus as part of syndromes

·       โรคของกระจกตาในเด็ก

-      Congenital corneal dystrophy

-      Corneal opacity associated with metabolic diseases

·       โรคต้อหินแต่กำเนิด

·       โรคของเลนส์ตาในเด็ก

-      Congenital cataract

-      Traumatic cataract

-      Spontaneous lens dislocation / subluxation

·       โรคของจอประสาทตาในเด็ก

-      Retinoblastoma

-      Retinopathy of prematurity

-      ความผิดปกติแต่กำเนิดของจอประสาทตาและโรคทางพันธุกรรม ได้แก่ Persistent hyperplastic primary vitreous (PHPV), Familial exudative vitreoretinopathy (FEVR), Norrie disease, X-linked recessive juvenile retinoschisis เป็นต้น

·       ภาวะสายตาผิดปกติในเด็ก

·       โรคทางพันธุกรรมที่มีความผิดปกติของตาร่วมด้วย เช่น

-      Craniofacial disorders เช่น Crouzon syndrome, Apert’s syndrome, Goldenhar syndrome, Treacher Collins syndrome

-      Bardet biedl syndrome

·       โรคอื่นๆ

-      Lid, orbit and lacrimal disorders

-      Infections and allergic ocular diseases

-      Iris abnormalities

-      Optic nerve disorders

-      Ocular and orbital tumors in children

-      Phakomatoses

-      Congenital nystagmus

9.3 สามารถให้การวินิจฉัยโรคที่กล่าวมาข้างต้น

9.4 หลักการของการปฏิบัติต่างๆ ได้แก่

·       การรักษาด้วยยา

·       การรักษาด้วยการผ่าตัด

·       การรักษาด้วย Laser

·       การป้องกันและรักษาภาวะแทรกซ้อน

·       การป้องกันและส่งเสริมสุขภาพตาในเด็ก

9.5 ทักษะในด้านต่างๆ

·       การตรวจ

-      การตรวจระดับการมองเห็นในเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงเด็กโต

-      การตรวจการทำงานของกล้ามเนื้อตา ทั้งด้าน sensory และ motor รวมทั้งการตรวจพิเศษต่างๆ เช่น Hess chart test และ Diplopia test เป็นต้น

-      การทำ refraction ในเด็ก

-      การตรวจตาเด็กด้วยเครื่องมือพิเศษ ได้แก่ slit lamp biomicroscopy, indirect ophthalmoscopy, gonioscopy

·       การแปลผลการตรวจพิเศษ หรือการแปลผลการสืบค้นด้วยการตรวจพิเศษ

-      Hess chart test

-      Electrophysiology ได้แก่ ERG, VEP, EOG

-      Ultrasonography

-      Fundus fluorescein angiography

·       การผ่าตัด

-      Strabismus surgery ทั้ง horizontal, vertical และ oblique muscles

-      Cataract surgery ในเด็ก

-      Glaucoma surgery ในเด็ก

-      Enucleation ในผู้ป่วย retinoblastoma

-      Lid surgery ในเด็ก ได้แก่ ptosis and entropion correction

-      แก้ไข face turn ใน congenital nyatagmus

·       การรักษาด้วย Laser และ Cryotherapy

-      ในผู้ป่วย retinoblastoma

-      ในผู้ป่วย retinopathy of prematurity

9.6 งานวิจัย

·       มีความรู้พื้นฐานเรื่องระเบียบวิธีวิจัยและสถิติ

·       สามารถวิเคราะห์และนำเสนองานวิจัยได้

·       มีผลงานวิจัยอย่างน้อย 1 เรื่อง

 

10. การจัดประสบการณ์การเรียนรู้

10.1 ปฏิบัติงานตรวจ ดูแลรักษา ผ่าตัด และติดตามผู้ป่วยโรคตาในเด็กและโรคของกล้ามเนื้อตา ทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก รวมทั้งคลินิกพิเศษ

10.2 ฝึกหัดการตรวจและแปลผลเกี่ยวกับการตรวจพิเศษต่างๆ

·       การตรวจทาง motor และ sensory ของกล้ามเนื้อตา การตรวจ amplitude of fusion ด้วยเครื่อง synoptophore หรือ prism bar

·       Electrophysiology ได้แก่ ERG, VEP, EOG

·       Ultrasonography

·       Fundus fluorescein angiography

10.3 เข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาการของโครงการจัดตั้งภาควิชาจักษุวิทยา

·       Grand round 1 ครั้ง / เดือน

·       Journal club 1 ครั้ง / เดือน

·       Special lecture 4 ครั้ง / เดือน

·       Morning report/conference 1 ครั้ง/สัปดาห์

10.4 เข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาการของ

·       โครงการจัดตั้งภาควิชาจักษุวิทยา  คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

·       ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย

·       สมาคมจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย

10.5 เสนองานวิจัยอย่างน้อย 1 เรื่อง

10.6 ดูงานด้านจักษุวิทยาเด็กและตาเข ที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เป็นเวลา 1 วันต่อ สัปดาห์

 

11. เกณฑ์การประเมินเพื่อประกาศนียบัตร

11.1 ต้องมีเวลาปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 11 เดือน

11.2 ผ่านการประเมินการดูแลผู้ป่วยด้าน clinical skill, knowledge, performance, responsibility, ethics และ human relationship จากคณาจารย์ของโครงการจัดตั้งภาควิชาจักษุวิทยา  คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

11.3 สอบข้อเขียน โดยได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60

11.4 สอบผ่านการสอบสัมภาษณ์โดยอาจารย์ของโครงการจัดตั้งภาควิชาจักษุวิทยา 

11.5 ผลิตงานวิจัยหรือรายงานผู้ป่วยที่มีคุณภาพอย่างน้อย 1 เรื่อง

 

12. คุณวุฒิ

                ผู้ฝึกอบรมและผ่านการประเมิน จะได้รับประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาจักษุวิทยาเด็กและตาเข จากคณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

ภาคผนวก

ตารางปฏิบัติงาน

·       งานตรวจผู้ป่วยนอก

1.      General ophthalmic clinic 1 days/week

2.      Special clinic 1 day/week

-         Pediatric Ophthalmology clinic 40 periods/year

-         Retinal clinic 10 periods/year

-         Muscle clinic 12 periods/year

-         Refraction clinic 12 periods/year

-         Low vision and visual stimulation clinic 12 periods/year

-         Glaucoma clinic 4 periods/year

-         Oculoplastic clinic 4 periods/year

-         Corneal clinic 4 periods/year

·       งานผ่าตัด 1 days/week

·       กิจกรรมวิชาการ

กิจกรรม

วัน/เวลา

สถานที่

ผู้รับผิดชอบ

Grand round

ศุกร์สัปดาห์ที่ 1

(14.00-16.00)

ห้องประชุมหน่วยตรวจตา

All staff

Journal club

ศุกร์สัปดาห์ที่ 4

(14.00-16.00)

ห้องประชุมหน่วยตรวจตา

All staff

Special lecture

จันทร์

(14.00-16.00)

ห้องประชุมหน่วยตรวจตา

All staff

Morning report

อังคาร, พฤหัสบดี

(8.00-9.00)

หอผู้ป่วยจักษุวิทยา

Ward staff

 

ตาราง Special lectures (33 topics / 40 periods)

Topic

Anatomy of eye and ocular muscle

Physiology of eye and ocular muscle

Embryology of the eye

Genetic and immunology

Normal visual development

VA measurement in children

Pediatric eye examination

Strabismus assessment

Basic principle of optic & refraction

Electrophysiology of eye

A&B scan ultrasonography

Fundus fluorescein angiography

Basic of laser

Eye coding

Strabismus

Pediatric corneal & external eye diseases

Congenital glaucoma

Pediatric lens disorders

Pediatric retinal diseases

Refractive error

Congenital and hereditary disorders

Pediatric systemic diseases with ocular involvement

Pediatric neuro-ophthalmology

Visual pathway and VF defect

Pediatric uveitis

Proptosis and orbital diseases

Low vision and visual stimulation

Eye glasses

Ethics &Laws in Ophthalmology

Power point Presentation Skill

Research methodology part I

Research methodology part II

Public health ophthalmology