เปรียบเสมือน หัวสมองของคอมพิวเตอร์ ส่วนที่ใช้คิด และคำนวณ จะสังเกตุว่า
จะใช้ความเร็วของ ซีพียู เป็นตัวเลขหลักในการวัดความเร็วของคอมพิวเตอร์ เช่น
AMD 500 MHz หมายถึงเครื่องนี้เร็ว 500 MHz
Pentium /// 900 MHz หมายถึงเครื่องนี้เร็ว 900 MHz เป็นต้น

ซีพียูในเครื่อง พีซีทั่วไป ( PC = Personal Computer แปลว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ) จะเป็นชิบไอซี ( IC = Integrated Circuit ) ขนาดเล็กซึ่งเรียกว่า ไมโครโปรเซสเซอร์ เริ่มพัฒนา โดยบริษัท อินเทล และเรียกกันเป็นตระกูล ว่า ตระกูล 80x86 โดย x หมายถึงตัวเลข เช่น

8086
8088
80286 ( เรียกว่ารุ่น 286 )
80386 ( มีรุ่น 386 SX และ 386 DX )
80486 ( มีรุ่น 486 SX และ 486 DX )
( รุ่น DX เร็วกว่า SX และมีคุณสมบัติบางประการเพิ่มขึ้นมา เช่น Math-co processor เป็นต้น )


เมื่อมาถึงระยะหนึ่ง บ.อินเทลก็ได้เปลี่ยนชื่อตระกูล โดยแทนที่จะเรียกรุ่นต่อมาว่า 80586 ก็ไม่เรียกแล้ว เนื่องจากเริ่มมีคู่แข่ง และด้วยเหตุผลที่ว่า คำว่า 586 ไม่สามารถจดทะเบียนสงวนลิขสิทธิ์ห้ามลอกเลียนแบบ ในฐานะเครื่องหมายการค้าได้ จึงตั้งชื่อรุ่น 586 ขึ้นมาใหม่ว่า "เพนเทียม" ( Pentium ) หรือ P5 หลังจากนั้นก็เริ่มมีตระกูล P6 ขึ้นมาเป็นรุ่น ๆ ได้แก่ Pentium Pro , Pentium // , Pentium /// และ Celeron ปัจจุบันหยุดอยู่ที่ Pentium 4

สังเกตุ

ทำไมความเร็ว CPU มีหน่วยเป็น เฮิต ไม่ใช่ กิโลเมตรต่อชั่วโมง ( ความเร็ว= ระยะทาง/เวลา) เพราะว่าความเร็วของซีพียูวัดจากความ ถี่ของการทำงานต่อช่วงเวลา ( วินาที )
ยกตัวอย่าง CPU ความเร็ว 500 MHz ( เมกกะเฮิต ) จะทำงานได้ 500 ล้านครั้งต่อวินาที

บริษัทที่ผลิต CPU

Intel บริษัทผู้บุกเบิก CPU
AMD ( Advanced Micro Device )
Via technology ผู้ผลิตชิปเซ็ตรายใหญ่ของใต้หวัน ( ผู้ซื้อกิจการของ Cyrix และ IDT และเริ่มเป็นคู่แข่งสำคัญอีกเจ้าหนึ่งของอินเทลในตลาดซีพียู )

BACK