ISDN 

 

 

วิถีชีวิตของคนในสังคมปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นนักเรียนชั้นประถม มัธยม นิสิต นักศึกษา พนักงานธุรกิจ นักธุรกิจ เจ้าของกิจการต่างๆ ล้วนแต่ใช้ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งเข้าสู่โลกอินเตอร์ (INTERNET) การเล่นเกมส์ออนไลน์ (GAME ON LINE) การสนทนาบนกระดานข่าว (CHAT) การค้นหาข่าวสารข้อมูลต่างๆของอีกมุมหนึ่งของโลกการดำเนินธุรกิจออนไลน์บนอินเตอร์เน็ต(E-COMMERCE) ก็เป็นสิ่งที่คุ้นเคยกันดีของคนสังคมไอที
 กระแสความแรงของอินเตอร์เน็ตที่สามารถตอบสนองคนในสังคมเกือบทุกรูปแบบ ทั้งในแง่มุมของความบันเทิง(ENTTERAINMENT) การศึกษา (EDUCTION)ทำให้และข้อมูลข่าวสาร (INFORMATION) ทำให้จำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและคาดว่าจะสูงขึ้นเรื่อยๆ
 ในขณะที่เนื้อหรือการบริการต่างๆ บนอินเตอร์เน็ตได้พัฒนาไปอย่างมากมาย โครงข่ายโทรศัพท์ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐาน ที่ช่วยสนับสนุนการใช้บริการอินเตอร์เน็ต มีประสิทธิ์ภาพสูงสุดมีความสมบูรณ์ในลักษณะมัลติมีเดียได้ (Mulitmedia) ก็กำลังพัฒนา ควบคู่ไปด้วยเช่นกัน
 โครงข่า ISDA (INTEGATED SERVICES DIGITAL NETWORK)  หรือโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิตอล เป็นโครงข่ายสื่อสารโทรคมนาคมที่มีคุณภาพที่สามารถรองรับการประยุกต์ใช้งานสื่อสารมัลติมีเดียได้อย่างหลากหลาย โครงข่าย ISDN ถูกพัฒนาขึ้นมาจาดโครงข่ายโทรศัพท์ระบบเดิมสามารถรองรับการติดต่อสื่อสารได้ทุกรูปแบบ ทั้งภาพ (VIDEO) ข้อมูล (DATA) และเสียง (VOICE) ด้วยระบบดิจิตอลตั้งแต่อุปกรณ์ต้นทางจนถึงอุปกรณ์ปลายทาง (END-TO-EDN DIGITAL) ในความเร็วในการรับส่งข้อมูลข่าวสาร ตั้งแต่ 64 Kbps.-2 Mbps.
 ทศท.ได้เปิดให้บริการ ISDA สักระยะเวลาหนึ่งแล้ว โดยมีบริการใช้ผู้ใช้บริการเลือกใช้ได้ตามความต้องการในการใช้งาน 2 ลักษณะด้วยกัน
1. บริการแบบ  BAI (BASIC ACCESS INTERACE)   เป็นบริการด้วยเคเบิลทองแดงที่มีประสิทธิภาพ โดย 1 คู่สายประเภท BAI ประกอบด้วยช่องสัญญาณในการรับส่งข้อมูลข่าวสาร 2 ช่องสัญญาณโดยความเร็ว 64 Kbps. ต่อช่องสัญญาณและความเร็ว 128 Kbps. ต่อ1 คู่สายซึ่งผู้ใช้บริการจะได้รับความเร็ว และความครบถ้วน ถูกต้องในการรับส่งข้อมูลข่าวสาร
2. บริการแบบ PRI (PRIMARY RATE ACCESS INTERACE)  เป็นบริการด้วยเคเบิลใยแก้วนำแสง(FIBER OPTIC)  หรืออุปกรณ์สื่อสารความเร็วสูง (HDSL) ไปยังอุปกรณ์ปลายทางของผู้ใช้บริการ เช่นตู่สาขาอัตโนมัติ (ISAD PABX) อุปกรณ์สื่อสารข้อมูลความเร็ว (ISDN Remote Access Server) อุปกรณ์  IVB Server (INTERACTIVE VOICE RESPONSE)โดยภายในคู่สาย ISDN  ประเภท PRI มีชิ่งสัญญาณรับส่ง 30 ช่องสัญญาณ แต่ละชิ่งสัญญาณ มีความเร็ว 64 Kbps.โดยมีความเร็วรวม 2 Kbps.
ผู้ใช้บริการ ISDN สามารถใช้งานอุปกรณ์ปลายทางโดยต่อผ่านอุปกรณ์ NT (NETWORK TERMINAL) เพื่อเข้าสู่โครงข่า ISDN ได้ 2ลักษณะด้วยกัน
1. ใช้อุปกรณ์  ISDN โดยตรง เช่น ISDN Card ,TERMINAL ADAPTER (TA) ผ่านพอร์ตข้อมูล RS 232  หรือ V.24 , ISDN ROUTER, ISDN Remote Access , VIDEO,POHE,VIDEO CONFERENCEโทรศัพท์ ISDN FAX G4 เป็นต้น การใช้งานอุปกรณ์ปลายทาง ISDN โดยตรง ทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการติดต่อสื่อสาร
2. ใช้อุปกรณ์ในระบบเดิม เช่น  โทรศัพท์,FAX G3  นำมาต่อผ่านพอร์ตแปลงสัญญาณใน TERMINAL ADAPTER  (TA)  เป็นการอำนวยความสะดวก เพิ่มขึ้นแก่ผู้ต้องการใช้อุปกรณ์ปลายทางทางระบบเดิมที่มีอยู่แล้ว
โครงข่าย ISDN เหมาะสำหรับการใช้งานอินเตอร์เน็ตทั้งผู้ให้บริการ  และผู้ใช้บริการ กล่าวคือผู้ใช้อินเตอร์เน็ต หรือ ISP (INTERNET SERIVCE PROOVIDER) สามารถเลือกบริการ ISDN  ประเภท PRI  สำหรับให้บริการแก่ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตที่ต้องการเรียกเข้าด้วย ด้วยความเร็วสูงกว่าการใช้สายโทรศัพท์คู่ธรรมดา ในขณะผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตสามารถใช้บริการ ISDN ประเภท BAI เพื่อเชื่อมต่อกับให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) ด้วยความเร็วที่สูงขึ้นตั้งแต่ 64 Kbps. ขึ้นไป ซึ่งผู้ใช้บริการจะได้รับประโยชน์มากมายจากการใช้งานโครงข่าย ISDN โดยเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นกว่าเพียงเล็กน้อย
การใช้งานอินเตอร์ผ่านคู่สาย ISDN จะช่วยให้งานอินเตอร์เน็ตเป็นไปอย่างรวดเร็วเนื่องจากคู่สาย 1 คู่สายประเภท BAI สามารถรองรับข้อมูลได้สูงสุด 128 Kbps. หรือหากมีการใช้งานอินเตอร์เน็ตเพียง 64Kbps. ก็ยังมีช่องสัญญาณเหลืออยู่อีก 1 ช่องสัญญาณสำหรับการใช้งานโทรศัพท์ได้ในหมายเลขเดียวกัน ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถเลือกใช้งานโทรศัพท์ได้ทั้งระบบธรรมดา หรือโทรศัพท์ดิจิตอล ISDN โดยนักเล่น อินเตอร์ก็จะไม่พลาดการติดต่อสื่อสาร แม้ว่าที่บ้านจะมีหมายเลขโทรศัพท์ ISDN เพียงหมายเลขเดียว
นอกจากนี้สัญญาณดิจิตอลจะช่วยลดปัญหาสัญญาณรบกวน (NOISE) ส่งผลให้การใช้อินเตอร์เน็ตด้วยคู่สาย ISDN เกิดประสิทธิภาพในการสื่อสารสูงขึ้น
ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตสามารถเชื่อมตรงอินเตอร์เน็ตโดยผ่านโครงข่าย ISDN ได้ใน 2 ลักษณะ
1. INDIVIDUAL เป็นลักษณะการเชื่อมต่อโดยใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC STAD ALONE) โดยใช้อุปกรณ์สื่อสารข้อมูลระบบ ISDN เช่น ISDN Card (ISDN InternalMODEM)หรือ TERMINAL ADAPTER(ISDN External MODEM) อุปกรณ์ NT (NETWORK TERMINAL) โดยผู้ใช้บริการสามารถเลือกใช้งานได้ด้วยความเร็ว 64 Kbps. พร้อมกับใช้สายโทรศัพท์หรือเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตความเร็วสูง 128 Kbps. ก็ได้
2. CORPORATEเป็นลักษณะการเชื่อมต่อด้วยระบบLAขององค์การหรือหน่วยงานธุรกิจต่างๆ โดยใช้อุปกรณ์ ISDN Router ต่อผ่านอปุกรณ์ NT (NETWORK TERMINAL) โดยผู้ใช้บริการจะได้รับความเร็วถึง 128 Kbps.
การใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่านคู่สาย ISDN  นั้นสามารถทำได้โดย
1. ขอติดตั้งหมายเลข ISDN จาก ทศท.
2. ติดต่อขอเป็นสมาชิกประเภท ISDN จากผู้ให้บิการอินเตอร์เน็ต (ISP) เช่น KSC,Lox info , Pacific Internet , A-net ,I-net, Roynet Internet เป็นต้น
3. จัดซื้ออุปกรณ์สื่อสารข้อมูลเช่น ISDN Card (ISDN InternalMODEM)TERMINAL ADAPTER(ISDN External MODEM), Router ISDN  เป็นต้น
โครงข่าย ISDN นอกจากรองรับ การใช้งานอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงได้แล้วยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายความต้องการ เช่น การจัดศูนย์ข้อมูลขนากใหญ่  (DATA BASE) ศูนย์ข้อมูลทางโทรศัพท์(ISDN Call Canter) ตู้สาขาอัตโนมัติ (ISDN PABX) การเชื่อต่อความเร็วสูง (HIGH SPEED DATA ) ระบบสำรองข้อมูล (ISDN Backup) การประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (VIDEO CONFERNCE) ระบบการศึกษาทางไกล (TELEEDUCATION) การฝึกอบรมทางไกล(TELETRAINING) การรักษาทางไกลผ่านจอภาพ(TELEMEICDICINE) และการรักษาความปลอดภัยทางไกล(TELE-SURVEILLANCE) เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม การพัฒนาโครงข่ายโทรคมนาคมของทศท.ก็ได้พัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆตามความต้องการของตลาด โครงข่าย B-ISDN หรือ Broad band ISDN เป็นอีกโครงข่ายหนึ่งที่พร้อมจะตอบสนองความต้องการของภาคธุรกิจ ที่ต้องการเส้นทางขนส่งข้อมูลข่าวสารหลากหลาย ทั้งระบบภาพเสียง ข้อมูลได้พร้อมกันๆในปริมาณมาก
โครงข่าย B-ISDN เป็นโครงข่ายสื่อสารสำหรับอนาคต ที่สามารถรองรับการติดต่อสื่อสารได้อย่างไม่มีขีดจำกัด ทั้งภาพเคลื่อนไหว (VIDEO) ข้อมูลจำนวนมาก (DATA)  เสียง (VIDEO) ได้ด้วยความเร็วตั้งแต่ 2Kbps. ข้นไป รองรับการใช้งานแบบมัลติมีเดีย(MULTIMEDIA) ได้อย่างสมบูรณ์ทำให้การติดต่อสื่อสารสะดวก รวดเร็ว มีลักษณะตอบโต้ได้แบบเหมือนจริง (INTERACTIVE)
โครงข่ายB-ISDN ใช้เทคโนโลยีATM (ASYNCHRONOUS TRANSFERMODE) และระบบสื่อสารความเร็วสูง SDH (SYNCHRONOUS DIGITAL HIERARCHY) ข้อมูลในรูปแบบของภาพ(VIDEO) ข้อมูล (DATA) และเสียง (VOICE) จะถูกตัดแบ่งเป็นเซลขนาด 53 ไบต์ซึ่งประกอบด้วย PAYLOAD 48 ไบต์ และ HEADER 5 ไบต์ทำให้สามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงได้
 ทศท. ได้เตรียมพร้อมสำหรับการให้บริการ B-ISDN โดยดำเนินการติดตั้ง ATM Core Switches จำนวน 6 แห่ง และ ATM Edge Switches  จำนวน 46 แห่งทั่งประเทศ ซึ่งโครงข่าย B-ISDN สมามารถให้บริการได้อย่างหลากหลาย เช่น
1. ให้บริการข้อมูลความเร็วสูงตั้งแต่ 2Mps. 34 Mps จนถึง 155 Mps (STM-1)
2. ให้บริการข้อมูลชั่วความเร็วต่ำกว่า 2 Mps เช่น 64 Kbps. 128 Kbps ฯลฯ ด้วยอุปกรณ์ FEAME RELAY CIRCUIT EMULATION SERVICE (CES)
3. ให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านอุปกรณ์ ADSL (ASYMMETRIC DIGHT SUBSCRIBER  Line) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงสุดบนสายทองแดง(คู่สายโทรศัพท์ )ความเร็วสูงตั้งแต่ 64 Kbps. ถึง 8 Kbps
4. ให้บริการอินเตอร์เน็ตที่บ้านทั้งที่เป็น PSTN และ ISDN โดยผ่านอุปกรณ์ RAN (REMOTE ACCESS NODE) ซึ่งในโครงข่าย PSTN สามารถส่งข้อมูลความเร็วสูงได้ 56 Kbps.
5. การให้บริการเสริมบนโครงข่าย ATM  เช่น  VIDEO ON DEMAND การบริการการประชุมทางไกลผ่าจอภาพ (Video Conference) ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างหลากหลาย ได้แก่ ระบบการศึกษา ไกล (TELE EDUCATION) การฝึกอบรมทางไกล (TELE TRAINING) การรักษาทางไหลผ่านจอภาพ  (TELEMEDICNE) เป็นต้น
6. การให้บริการโครงข่ายในลักษณะ VPN (VIRTUAL PRIVATE NETWORK) ซึ่งเปรียบเสมือนการมีโครงข่ายส่วนตัวของธุรกิจบนโครงข่าย ATM
จะเห็นได้ว่า ทศท. ได้พัฒนาเทคโนโลยีด้านโทรคมนาคมเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดตลอดมา รวมทั้งมุ่งมั่น สรรหาอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูงมาให้บริการเพื่อการติดต่อสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงของสังคมไอที



1